ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
Coupe Henri Delaunay 2017.jpg
ถ้วยรางวัลแชมป์ยุโรป
ก่อตั้ง1958; 65 ปีที่แล้ว (1958)
ภูมิภาคยุโรป (ยูฟ่า)
จำนวนทีม24 (รอบสุดท้าย)
54 (รอบคัดเลือก)
ทีมชนะเลิศปัจจุบันธงชาติอิตาลี อิตาลี (สมัยที่ 2)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดธงชาติเยอรมนี เยอรมนี
ธงชาติสเปน สเปน
(3 สมัย)
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ
Soccerball current event.svg ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (อังกฤษ: European Football Championship) หรือที่นิยมเรียกทั่วไปว่า ฟุตบอลยูโร เป็นการแข่งขันฟุตบอลรายการสำคัญที่สุดของทีมชาติในทวีปยุโรป ซึ่งจัดขึ้นทุก 4 ปีโดยสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) และจะห่างจากการแข่งขันฟุตบอลโลกของฟีฟ่า 2 ปี เริ่มแข่งขันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ในชื่อรายการว่า ยูโรเปียนเนชันส์คัพ (European Nations Cup) จากแนวคิดของอ็องรี เดอโลแน เลขาธิการสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศสขณะนั้น ทั้งนี้การแข่งขัน 5 ครั้งแรก [1] มีทีมชาติร่วมแข่งขัน รอบสุดท้ายเพียง 4 ประเทศ ต่อมาตั้งแต่การแข่งขันครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) เปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น ยูโรเปียนฟุตบอลแชมเปียนชิพ ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และในครั้งที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) มีทีมชาติเข้าแข่งรอบสุดท้าย เพิ่มเป็น 8 ประเทศ ส่วนการแข่งขันนัดชิงลำดับที่สาม ยกเลิกไปในครั้งที่ 7 เมื่อ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) จากนั้นในครั้งที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) เพิ่มจำนวนเป็น 16 ประเทศ ในรอบสุดท้าย การแข่งขันครั้งล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) จัดการแข่งขันใน 11 ประเทศเจ้าภาพทั่วทวีปยุโรป

ประวัติ[แก้]

แผนที่ของทีมประเทศต่าง ๆ กับผลงานที่ดีที่สุด

ยุคแรกเริ่ม 4 ทีม[แก้]

เริ่มมีการแข่งขันครั้งแรกขึ้นมาในปี 1960 ในชื่อว่า ฟุตบอลยูโรเปี้ยน เนชั่นส์ คัพ โดยเริ่มต้นรูปแบบการแข่งขันยังเป็นระบบการเล่นเหย้า-เยือนในรอบต้นๆ ก่อนที่จะเล่นแบบน็อกเอาต์ในรอบรองชนะเลิศ บุคคลที่ผลักดันให้มีการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ในชาติเป็นกลางขึ้นมาคือ อองรี เดอลาเน่ย์ จากสหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส และ ทำให้การแข่งขันรอบสุดท้ายครั้งแรกมีขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส ในปี 1960 โดยเป็นการพบกันระหว่าง สหภาพโซเวียต กับ ยูโกสลาเวีย ซึ่งผลลงเอยด้วยชัยชนะของทีมจากแดนหลังม่านเหล็กในช่วงต่อเวลาพิเศษ 2-1 ในปี 1964 ได้มีปัญหาขัดแย้งทางการเมืองเข้ามายุ่งเกี่ยวในเกมกีฬา เมื่อ กรีซ ปฏิเสธที่จะเล่นกับ แอลเบเนีย หลังมีสงครามระหว่างประเทศ โดยการเล่นรอบชิงชนะเลิศ จัดที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน และแชมป์ก็ตกเป็นของเจ้าภาพที่เอาชนะ สหภาพโซเวียต 2-1

เพิ่มเป็น 8 ทีม[แก้]

จากนั้นในปี 1968 ได้เปลี่ยนชื่อการแข่งขันจากฟุตบอลยูโรเปี้ยน เนชั่นส์ คัพ มาเป็น ยูฟ่า ยูโรเปี้ยน แชมเปี้ยนชิพ พร้อมกับเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันเป็นแบบแบ่งกลุ่มโดยมี 8 สาย และแชมป์ของแต่ละกลุ่มจะเข้ามาเล่นในรอบก่อนรองชนะเลิศ ที่ต้องแข่ง 2 นัด ก่อนเข้ารอบตัดเชือก โดยแชมป์ครั้งนี้เป็นของเจ้าภาพ อิตาลี ที่เอาชนะ ยูโกสลาเวีย 2-0 ในนัดรีเพลย์ หลังเกมแรกเสมอกัน 0-0 ฟุตบอลยูโร 1972 รอบสุดท้าย ที่ประเทศเบลเยียม ยังคงใช้รูปแบบการแข่งขันเหมือนที่ผ่านมา โดยแชมป์ตกเป็นของ เยอรมัน ตะวันตก ที่ถล่ม สหภาพโซเวียต ไปอย่างขาดลอย 3-0 จากการทำประตูของ แกร์ด มุลเลอร์ คนเดียว 2 ลูก จากนั้นอีก 4 ปีต่อมา รอบชิงชนะเลิศมีขึ้นที่ยูโกสลาเวีย โดยที่ เชโกสโลวะเกีย เสมอ เยอรมัน 2-2 ก่อนที่จะมีการดวลจุดโทษครั้งแรก และแชมป์ก็ตกเป็นของ ขุนพลเช็กในที่สุด

มาถึงศึกยูโร 1980 ได้เริ่มใช้ระบบการแข่งแบบใหม่ โดย 8 ทีมจะต้องมาเล่นรอบสุดท้าย ที่ประเทศอิตาลี และแบ่งการเล่นออกเป็น 2 กลุ่ม นำแชมป์ของแต่ละกลุ่มมาเล่นรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งปรากฏว่า เยอรมันตะวันตก คว้าแชมป์ไปครองหลังเฉือนชนะ เบลเยียม 2-1 จนกระทั่งในศึกยูโร 1984 ที่ฝรั่งเศส ได้มีการเปลี่ยนระบบการแข่งขันให้ 2 ทีมที่มีคะแนนดีที่สุดของทั้ง 2 กลุ่ม เข้ามาเล่นในรอบ ตัดเชือก และในที่สุดเจ้าบ้านซึ่งนำทีมโดย มิเชล พลาตินี่ ก็ชนะ สเปน 2-0 ในรอบชิงชนะเลิศ พร้อมกับคว้าแชมป์ได้อย่างงดงาม จาก

นั้นในปี 1988 เยอรมันตะวันตก ได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันบ้างโดยใช้รูปแบบเหมือนครั้งที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แฟนบอลเมืองเบียร์ต้องอกหัก ปล่อยให้ ฮอลแลนด์ ที่มีนักเตะชั้นเยี่ยมอย่าง มาร์โก แวน บาสเท่น, แฟร้งค์ ไรจ์การ์ด และ รุด กุลลิท คว้าแชมป์ไปครอง หลังเอาชนะ สหภาพโซเวียต 2-0 ในรอบชิงชนะเลิศ มาถึงปี 1992 ที่สวีเดน ได้เกิดตำนานเทพนิยายเดนส์ขึ้นมา หลังจากทีมชาติเดนมาร์ก ได้เข้าร่วมการแข่งขันกะทันหัน เนื่องจาก ยูโกสลาเวีย ถูกตัดสิทธิ์ โดยขุนพลเมือง "โคนม" สร้างผลงานยอดเยี่ยมคว้าแชมป์ไปครองได้อย่างเหลือเชื่อทั้งที่มีเวลา เตรียมตัวไม่นานนัก

เพิ่มเป็น 16 ทีม[แก้]

ถึงศึกยูโร 1996 ที่อังกฤษ ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขันอีกครั้ง โดยมี 16 ทีมเข้ามาเล่นในรอบสุดท้าย ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 4 ทีม และ 2 อันดับแรกของแต่ละสายจะได้เข้ามาเล่นในรอบ 8 ทีมสุดท้าย นอกจากนั้น ยังมีการนำกฎ โกลเด้นโกล์มาใช้ครั้งแรกอีกด้วย และกฎนี้ก็ได้ใช้ตัดสินในรอบชิงชนะเลิศทันที โดยที่ โอลิเวอร์ เบียร์โฮฟ หัวหอกเยอรมัน ซัดดับชีพ สาธารณรัฐเช็ก 2-1

จากนั้นในปี 2000 ก็เป็นครั้งแรกที่มีเจ้าภาพร่วมโดย เบลเยียม และ ฮอลแลนด์ รับหน้าเสื่อคู่กัน จุดไคลแมกซ์ของการแข่งขัน ครั้งนี้อยู่ที่การทำประตูโกลเด้นโกล์ของ ดาวิด เทรเซเก้ต์ ที่พาฝรั่งเศส เอาชนะ อิตาลี พร้อมกับคว้าแชมป์ไปครองได้อย่างยอดเยี่ยม การชิงชัย 11 สมัยที่ผ่านมา ทำให้ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป กลายเป็นทัวร์นาเมนต์ที่แฟนบอลพูดกันว่าเพียงเติมบราซิล และอาร์เจนตินาลงไปในบรรดาทีมที่เข้ารอบสุดท้ายของศึกยูโรแต่ละครั้ง เราก็จะพบกับฟุตบอลโลกอีกเวอร์ชันดีๆ นี่เอง

เพิ่มเป็น 24 ทีม[แก้]

ในครั้งที่ 15 ซึ่งจะจัดขึ้นปี พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) ทีมชาติในรอบสุดท้ายจะเพิ่มขึ้นเป็น 24 ทีมชาติ จัดการแข่งขันที่สาธารณรัฐโปแลนด์และประเทศยูเครน การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีทีมลงแข่งขันในรอบสุดท้าย 24 ทีม เปลี่ยนจากการแข่งขันเดิมที่มี 16 ทีม ซึ่งเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ 1996 ภายใต้การจัดการแข่งขันแบบใหม่นั้น จะแบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม รอบแพ้คัดออกจะมี 3 รอบ และนัดชิงชนะเลิศ โดย 24 ทีมแบ่งเป็น 19 ทีม (แชมป์กลุ่มและรองแชมป์กลุ่มของรอบคัดเลือก 9 กลุ่ม รวมไปถึงทีมอันดับที่ 3 ทีมีคะแนนดีที่สุด)

ผลการแข่งขัน[แก้]

ปีที่จัด เจ้าภาพ ชิงชนะเลิศ ชิงอันดับ 3
ชนะเลิศ ผลการ
แข่งขัน
รองชนะเลิศ อันดับ 3 ผลการ
แข่งขัน
อันดับ 4
ฟุตบอลยูโร 1960
(2503)
Flag of France.svg ฝรั่งเศส Flag of the Soviet Union.svg สหภาพโซเวียต 2 - 1
ต่อเวลา
Flag of Yugoslavia (1946-1992).svg ยูโกสลาเวีย Flag of the Czech Republic.svg เชโกสโลวาเกีย 2 - 0 Flag of France.svg ฝรั่งเศส
ฟุตบอลยูโร 1964
(2507)
Flag of Spain.svg สเปน Flag of Spain.svg สเปน 2 - 1 Flag of the Soviet Union.svg สหภาพโซเวียต Flag of Hungary.svg ฮังการี 3 - 1
ต่อเวลา
Flag of Denmark.svg เดนมาร์ก
ฟุตบอลยูโร 1968
(2511)
Flag of Italy.svg อิตาลี Flag of Italy.svg อิตาลี 1 - 1
ต่อเวลา
2 - 0
แข่งใหม่
Flag of Yugoslavia (1946-1992).svg ยูโกสลาเวีย Flag of England.svg อังกฤษ 2 - 0 Flag of the Soviet Union.svg สหภาพโซเวียต
ฟุตบอลยูโร 1972
(2515)
Flag of Belgium.svg เบลเยียม Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก 3 - 0 Flag of the Soviet Union.svg สหภาพโซเวียต Flag of Belgium.svg เบลเยียม 2 - 1 Flag of Hungary.svg ฮังการี
ฟุตบอลยูโร 1976
(2519)
Flag of Yugoslavia (1946-1992).svg ยูโกสลาเวีย Flag of the Czech Republic.svg เชโกสโลวาเกีย 2 - 2
(5 - 3)
ดวลลูกโทษ
Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก Flag of the Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์ 3 - 2
ต่อเวลา
Flag of Yugoslavia (1946-1992).svg ยูโกสลาเวีย
ฟุตบอลยูโร 1980
(2523)
Flag of Italy.svg อิตาลี Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก 2 - 1 Flag of Belgium.svg เบลเยียม Flag of the Czech Republic.svg เชโกสโลวาเกีย 1 - 1
(9 - 8)
ดวลลูกโทษ
Flag of Italy.svg อิตาลี
 
ปีที่จัด เจ้าภาพ ชนะเลิศ ผลการแข่งขัน รองชนะเลิศ เข้ารอบรองชนะเลิศ (ไม่มีชิงที่ 3)
ฟุตบอลยูโร 1984
(2527)
Flag of France.svg ฝรั่งเศส Flag of France.svg ฝรั่งเศส 2 - 0 Flag of Spain.svg สเปน Flag of Denmark.svg เดนมาร์ก และ Flag of Portugal.svg โปรตุเกส
ฟุตบอลยูโร 1988
(2531)
Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก Flag of the Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์ 2 - 0 Flag of the Soviet Union.svg สหภาพโซเวียต Flag of Germany.svg เยอรมนีตะวันตก และ Flag of Italy.svg อิตาลี
ฟุตบอลยูโร 1992
(2535)
Flag of Sweden.svg สวีเดน Flag of Denmark.svg เดนมาร์ก 2 - 0 Flag of Germany.svg เยอรมนี Flag of the Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์ และ Flag of Sweden.svg สวีเดน
ฟุตบอลยูโร 1996
(2539)
Flag of England.svg อังกฤษ Flag of Germany.svg เยอรมนี 2 - 1
โกลเดนโกล
Flag of the Czech Republic.svg เช็กเกีย Flag of France.svg ฝรั่งเศส และ Flag of England.svg อังกฤษ
ฟุตบอลยูโร 2000
(2543)
Flag of Belgium.svg เบลเยียม และ
Flag of the Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์
Flag of France.svg ฝรั่งเศส 2 - 1
โกลเดนโกล
Flag of Italy.svg อิตาลี Flag of the Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์ และ Flag of Portugal.svg โปรตุเกส
ฟุตบอลยูโร 2004
(2547)
Flag of Portugal.svg โปรตุเกส Flag of Greece.svg กรีซ 1 - 0 Flag of Portugal.svg โปรตุเกส Flag of the Czech Republic.svg เช็กเกีย และ Flag of the Netherlands.svg เนเธอร์แลนด์
ฟุตบอลยูโร 2008
(2551)
Flag of Austria.svg ออสเตรีย และ
Flag of Switzerland.svg สวิตเซอร์แลนด์
Flag of Spain.svg สเปน 1 - 0 Flag of Germany.svg เยอรมนี Flag of Turkey.svg ตุรกี และ Flag of Russia.svg รัสเซีย
ฟุตบอลยูโร 2012
(2555)
Flag of Poland.svg โปแลนด์ และ
Flag of Ukraine.svg ยูเครน
Flag of Spain.svg สเปน 4 - 0 Flag of Italy.svg อิตาลี Flag of Germany.svg เยอรมนี และ Flag of Portugal.svg โปรตุเกส
ฟุตบอลยูโร 2016
(2559)
Flag of France.svg ฝรั่งเศส Flag of Portugal.svg โปรตุเกส 1 - 0
ต่อเวลา
Flag of France.svg ฝรั่งเศส Flag of Germany.svg เยอรมนี และ Flag of Wales.svg เวลส์
ฟุตบอลยูโร 2020
(2564)
Flag of Europe.svg ทั่วยุโรป Flag of Italy.svg อิตาลี 1 - 1
ต่อเวลา
(3 - 2)
ดวลลูกโทษ
Flag of England.svg อังกฤษ Flag of Denmark.svg เดนมาร์ก และ Flag of Spain.svg สเปน
ฟุตบอลยูโร 2024
(2567)
Flag of Germany.svg เยอรมนี

ความสำเร็จในฟุตบอลยูโร[แก้]

ภาพแผนที่ทวีปยุโรป แสดงจำนวนการชนะเลิศ ของทีมชาติแต่ละประเทศ
ทีมชาติ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ เข้าชิงชนะเลิศ
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี 3 (19721, 19801, 1996) 3 (19761, 1992, 2008) 6
ธงชาติสเปน สเปน 3 (1964*, 2008, 2012) 1 (1984) 4
ธงชาติอิตาลี อิตาลี 2 (1968* 2020) 2 (2000, 2012) 4
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 2 (1984*, 2000) 1 (2016*) 3
ธงชาติรัสเซีย รัสเซีย 1 (19603) 3 (19643, 19723, 19883) 4
ธงชาติเช็กเกีย เช็กเกีย 1 (19762) 1 (1996) 2
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 1 (2016) 1 (2004*) 2
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 1 (1988)
1
ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก 1 (1992)
1
ธงชาติกรีซ กรีซ 1 (2004)
1
ธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวีย
2 (1960, 1968) 2
ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม
1 (1980) 1
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ
1 (2020) 1
* เจ้าภาพ
1 เยอรมนีตะวันตก

อ้างอิง[แก้]

  1. "2005/2006 season: final worldwide matchday to be 14 May 2006". FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 19 December 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-12. สืบค้นเมื่อ 13 January 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]