ฟุตบอลทีมชาติซานมารีโน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซานมารีโน
Shirt badge/Association crest
ฉายาLa Serenissima
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลซานมาริโน
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนฟาบริซิโอ กอสตันตีนี
กัปตันDavide Simoncini
ติดทีมชาติสูงสุดMatteo Vitaioli (81)
ทำประตูสูงสุดอันดี เซลวา (8)
สนามเหย้าสนามกีฬาโอลิมปิกแห่ง Serravalle
รหัสฟีฟ่าSMR
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 210 Steady (4 เมษายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด118 (กันยายน 1993)
อันดับต่ำสุด211 (พฤศจิกายน 2018 – กรกฎาคม 2019, มีนาคม 2022)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ชนะสูงสุด
ธงชาติซานมารีโน ซานมารีโน 1–0 ลีชเทินชไตน์ ธงชาติลีชเทินชไตน์
(Serravalle ประเทศซานมารีโน; 28 เมษายน ค.ศ. 2004)
แพ้สูงสุด
ธงชาติซานมารีโน ซานมารีโน 0–13 เยอรมนี ธงชาติเยอรมนี
(Serravalle ประเทศซานมารีโน; 6 กันยายน ค.ศ. 2006)

ฟุตบอลทีมชาติซานมารีโน (อิตาลี: Nazionale di calcio di San Marino) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของสาธารณรัฐซานมารีโน ควบคุมและบริหารงานโดยสหพันธ์ฟุตบอลซ​​านมารีโน (FSGC) โดยเป็นชาติสมาชิกที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับสองของยูฟ่า รองจากทีมชาติยิบรอลตาร์[2]

ทีมชาติซานมารีโนลงแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ.1990 ในรายการฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1992 รอบคัดเลือก โดยแพ้ให้กับทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ 0–4 ซึ่งก่อนหน้าการแข่งขันนัดดังกล่าวทีมชาติซานมารีโนเคยลงแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการกับทีมชาติแคนาดาชุดโอลิมปิกและแพ้ไป 0–1

หลังจากลงแข่งขันอย่างเป็นทางการ ทีมชาติซานมารีโนก็ได้เข้าร่วมลงแข่งขันในรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลกและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอยู่ทุกสมัย แต่ยังไม่เคยประสบกับชัยชนะเลยแม้แต่นัดเดียว โดยชัยชนะเพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของทีมชาติซานมารีโนเกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2004 ในการแข่งขันฟุตบอลนัดกระชับมิตรกับทีมชาติลิกเตนสไตน์ ซึ่งซานมารีโนเอาชนะไปได้ 1–0

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2014 ทีมชาติซานมารีโน เคยถูกจัดให้อยู่ในอันดับสุดท้ายของอันดับโลกฟีฟ่าร่วมกับทีมชาติภูฏาน และมักจะถูกวิจารณ์ให้เป็นทีมชาติที่มีผลงานย่ำแย่ที่สุดในวงการกีฬาอยู่เสมอๆ โดยนับตั้งแต่ที่ก่อตั้งทีมชาติมาประสบกับชัยชนะเพียงแค่ครั้งเดียวซึ่งเป็นการแข่งขันนัดกระชับมิตร เสียประตูไปแล้วมากเกินกว่า 600 ลูก และยิงประตูได้เพียง 24 ประตู มีค่าเฉลี่ยในการเสียประตูมากถึงนัดละ 4.2 ประตู

สถิติการแข่งขัน[แก้]

ฟุตบอลโลก[แก้]

ฟุตบอลโลก สถิติในรอบคัดเลือก
ปี ผ่านเข้ารอบ อันดับ ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
อุรุกวัย 1930 จนถึง อิตาลี 1990 ยังไม่ได้ก่อตั้งทีม ยังไม่ได้ก่อตั้งทีม
สหรัฐ 1994 ไม่ผ่านเข้ารอบ 10 0 1 9 2 46
ฝรั่งเศส 1998 8 0 0 8 0 42
เกาหลีใต้ญี่ปุ่น 2002 8 0 1 3 30
เยอรมนี 2006 10 0 0 10 2 40
แอฟริกาใต้ 2010 10 0 0 10 1 47
บราซิล 2014 10 0 0 10 1 54
รัสเซีย 2018 10 0 0 10 2 51
ประเทศกาตาร์ 2022 ยังไม่ได้แข่งขัน ยังไม่ได้แข่งขัน
แคนาดา เม็กซิโก สหรัฐ 2026
รวม 0/21 66 0 2 64 11 310

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป[แก้]

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป สถิติในรอบคัดเลือก
ปี ผ่านเข้ารอบ อันดับ ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ เสียประตู ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
ฝรั่งเศส 1960 จนถึง เยอรมนี 1988 ยังไม่ได้ก่อตั้งทีม ยังไม่ได้ก่อตั้งทีม
อังกฤษ 1992 ไม่ผ่านเข้ารอบ 8 0 0 8 1 33
เม็กซิโก 1996 10 0 0 10 2 36
เยอรมนีตะวันตก 2000 10 0 0 8 1 44
อาร์เจนตินา 2004 10 0 0 8 0 30
สเปน 2008 12 0 0 12 2 57
เม็กซิโก 2012 10 0 0 10 0 53
ฝรั่งเศส 2016 10 0 1 9 1 36
ยุโรป 2020 10 0 0 10 1 51
เยอรมนี 2024 ยังไม่ได้แข่งขัน ยังไม่ได้แข่งขัน
รวม 0/16 76 0 1 75 8 340

ยูฟ่าเนชันส์ลีก[แก้]

สถิติในยูฟ่าเนชันส์ลีก
ปี ลีก กลุ่ม แต้ม (รวม) ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย เลื่อนชั้น หรือตกชั้น อันดับโดยรวม
2018–19 ดี 2 4 6 0 0 6 0 16 Same position 55
2020–21 ดี 2 3 4 0 2 2 0 3 Same position 54
2022–23 ดี ยังไม่ได้แข่งขัน
รวมทั้งหมด 2/2 10 0 2 8 0 19 54

อ้างอิง[แก้]

  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 4 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2024.
  2. "Gibraltar given full UEFA membership at London Congress". BBC Sport. 24 May 2013. สืบค้นเมื่อ 24 May 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]