สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด
![]() | ||||
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | ราชันชุดขาว | |||
ก่อตั้ง | 6 มีนาคม ค.ศ. 1902 (ในชื่อ สโมสรฟุตบอลโซซิเอดัดมาดริด)[1] | |||
สนาม | สนามกีฬาซานเตียโก เบร์นาเบว | |||
ความจุ | 81,044 ที่นั่ง[2] | |||
ประธาน | โฟลเรนติโน เปเรซ | |||
ผู้จัดการทีม | ซีเนดีน ซีดาน | |||
ลีก | ลาลิกา | |||
2019–20 | อันดับที่ 1 | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
| ||||
สโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด (สเปน: Real Madrid Club de Fútbol) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศสเปน ตั้งอยู่ที่กรุงมาดริดเมืองหลวงของประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1902 เล่นในลาลิกา และเป็นหนึ่งในสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในวงการฟุตบอลศตวรรษที่ 20 โดยสามารถคว้าแชมป์ลาลิกา 34 สมัย ถ้วยโกปาเดลเรย์ 19 สมัย ราชันชุดขาวนั้นเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์รายการแข่งขันของยูฟ่าด้วยการคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 13 สมัยและยูฟ่าคัพ 2 สมัย ซึ่งมากกว่าสโมสรอื่น ๆ ทุกสโมสร [3] มีเพียงโทรฟียุโรปเดียวที่เรอัลมาดริดยังไม่เคยได้ นั่นคือ ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ ซึ่งมีสิทธิ์เล่น 2 ครั้งแต่ก็พ่ายไปทั้งสองนัดโดยครั้งแรกแพ้ให้กับเชลซี 2-1 ในปี ค.ศ. 1971 และเสมอ 1-1 ในนัดแรกก่อนที่จะแพ้ 1-0 ในนัดที่สองให้กับแอเบอร์ดีนด้วยประตูรวม 2-1 ในปี ค.ศ. 1983
เรอัลมาดริดยังได้เป็นสมาชิกของกลุ่มจี-14 ซึ่งเป็นกลุ่มของสโมสรฟุตบอลชั้นนำของยุโรปอีกด้วย[4]
สนามเหย้าของสโมสรคือสนามซานเตียโก เบร์นาเบวอันมีชื่อเสียงแห่งกรุงมาดริด เรอัลมาดริดเป็นสโมสรที่มีหุ้นส่วน (socios) เป็นเจ้าของและเป็นผู้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1902 ซึ่งแตกต่างกับสโมสรส่วนใหญ่ เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 2000 ฟีฟ่าได้จัดว่าเรอัลมาดริดเป็นสโมสรที่ดีที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20[5] เรอัลมาดริดยังเป็นสโมสรที่ใหญ่ที่สุดและได้รับความนิยมสูงสุดในโลกจากกรณีศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในปี ค.ศ. 2007[6] และยังเป็นสโมสรที่ทำรายได้มากที่สุดในโลกอีกด้วย[7] เรอัลมาดริดเคยเดินทางมาเตะกับทีมชาติไทยในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) ที่ราชมังคลากีฬาสถาน ผลการแข่งขันเรอัลมาดริดสามารถชนะทีมชาติไทยไป 2–1
ประวัติ
ช่วงปีแรก (ค.ศ. 1897-1945)

ต้นกำเนิดของสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดต้องย้อนกลับไปในช่วงที่กีฬาฟุตบอลได้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในกรุงมาดริด โดยนักวิชาการและนักศึกษาของโครงการสถาบันการศึกษาเสรี (Institución Libre de Enseñanza) ซึ่งมีผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และออกซ์ฟอร์ดรวมอยู่ด้วย พวกเขารวมตัวกันสร้างสโมสร ฟุตบอลคลับสกาย ขึ้นในปี ค.ศ. 1897 โดยเล่นกันประจำในวันอาทิตย์ตอนเช้าที่ย่านมองโกลอา และต่อมาได้มีการแยกตัวออกเป็น 2 สโมสรในปี ค.ศ. 1900 ได้แก่ นิว-ฟุตบอลเดมาดริด (New Foot-Ball de Madrid) และ กลุบเอสปัญญอลเดมาดริด (Club Español de Madrid)[8] ในวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1902 หลังจากที่คณะกรรมการชุดใหม่ (ซึ่งมีฆวน ปาโดรส เป็นประธาน) ได้รับการเลือกตั้งเข้ามา สโมสรฟุตบอลมาดริดจึงได้รับการก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ[9] สามปีหลังหลังจากที่ก่อตั้งสโมสรขึ้นได้สามปี ในปี ค.ศ. 1905 สโมสรมาดริดสามารถคว้าแชมป์การแข่งขันได้เป็นครั้งแรกหลังจากเอาชนะอัตเลติกเดบิลบาโอไปในการแข่งขันสแปนิชคัพรอบชิงชนะเลิศ
สโมสรฟุตบอลมาดริดกลายเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งราชสหพันธ์ฟุตบอลสเปนในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1909 เมื่อประธานสโมสร อาดอลโฟ เมเลนเดซ ได้ลงนามข้อตกลงตามรากฐานของสเปนเอฟเอคัพ หลังจากเปลี่ยนสถานที่ฝึกซ้อมอยู่หลายแห่ง ในปี ค.ศ. 1912 สโมสรก็ได้เปิดใช้สนามของตนเองเป็นครั้งแรกที่กัมโปเดโอโดเนล (Campo de O'Donnell)[10] และในปี ค.ศ. 1920 สโมสรได้เปลี่ยนชื่อเป็น เรอัลมาดริด (Real Madrid) หลังจากที่พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน ได้พระราชทานตำแหน่ง "เรอัล" (ในภาษาสเปนแปลว่าของกษัตริย์หรือของหลวง) ให้กับสโมสร[11]
ในปี ค.ศ. 1929 ได้มีการก่อตั้งระบบการแข่งขันระหว่างสโมสรในสเปนขึ้นเป็นครั้งแรก เรอัลมาดริดสามารถครองอันดับที่ 1 มาตลอดในช่วงนัดแรกของฤดูกาลจนมาถึงนัดสุดท้ายซึ่งแพ้ให้กับอัตเลติกเดบิลบาโอ ทำให้สโมสรได้แค่อันดับที่ 2 และพลาดตำแหน่งแชมป์ให้กับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา[12] เรอัลมาดริดสามารถได้แชมป์ลีกสเปนได้ครั้งแรกในฤดูกาล 1931-1932 และในปีถัดมาพวกเขาก็สามารถคว้าแชมป์ลีกได้อีกครั้งเป็นสมัยที่สองติดต่อกัน จึงทำให้สโมสรนี้เป็นทีมแรกในลีกสเปนที่คว้าแชมป์ติดต่อกันสองสมัย[13]
ในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1931 สเปนเปลี่ยนไปใช้การปกครองระบอบสาธารณรัฐอีกครั้ง เมื่อไม่มีกษัตริย์เป็นผู้อุปถัมภ์ เรอัลมาดริดจึงพ้นจากตำแหน่งสโมสรหลวงและเปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อสโมสรฟุตบอลมาดริดตามเดิม การแข่งขันฟุตบอลยังคงดำเนินต่อไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และในวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1943 สโมสรมาดริดสามารถเอาชนะสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาไปถึง 11-1 ในนัดที่สองของรอบก่อนชิงชนะเลิศ[14] ของการแข่งขันโกปาเดลเฆเนราลิซิโม (โกปาเดลเรย์หรือ "ถ้วยรางวัลของกษัตริย์" ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ถ้วยรางวัลของจอมพล" เพื่อเป็นเกียรติแก่นายพลฟรังโก)[15] อย่างไรก็ตาม มีการชี้ให้เห็นว่า ผู้เล่นของบาร์เซโลนาถูกข่มขู่จากตำรวจ[15] และจากผู้อำนวยการฝ่ายความมั่นคงของรัฐที่ "ถูกอ้างว่า ได้บอกกับสโมสรว่า นักฟุตบอลบางคน [ของบาร์เซโลนา] ได้ลงเล่นก็เพราะความใจกว้างของรัฐบาลที่อนุญาตให้พวกเขายังอยู่ในประเทศได้เท่านั้น"[16] และประธานสโมสรบาร์เซโลนา เอนริก ปิญเญย์โร ก็ถูกแฟนบอลมาดริดทำร้ายร่างกายด้วย[17]
ซานเตียโก เบร์นาเบว เยสเต และประสบความสำเร็จในเวทียุโรป (ค.ศ. 1945-1978)

ซานเตียโก เบร์นาเบว เยสเต ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งประธานของสโมสรเรอัลมาดริดในปี ค.ศ. 1945[18] ภายใต้ประธานสโมสรเขาได้ลงทุนสร้างสนามกีฬาซานเตียโก เบร์นาเบว และสิ่งอำนวยความสะดวกการฝึกอบรมซิวดัดเดปอร์ตีบา (มาดริด) ได้รับการสร้างขึ้นมาใหม่หลังจากที่สงครามกลางเมืองสเปนได้สงบลงซึ่งความมีเสียหายตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 นอกจากนั้นเขาตัดสินใจไปกับกลยุทธ์ด้านการเงินของเขาด้วยการซื้อผู้เล่นในผู้เล่นระดับโลกจากต่างประเทศที่โดดเด่นที่สุดอย่างอัลเฟรโด ดิ เอสเตฟาโน เข้ามาร่วมทีม[19]
ในปี ค.ศ. 1955, ได้มีการแสดงความคิดเห็นที่เสนอโดยนักข่าวกีฬาฝรั่งเศสและบรรณาธิการของกาเบรียล ฮานอต, เบร์นาเบว, เบดริกนาน และ กุสซตาฟ เซเบสสร้างการแข่งขันการจัดนิทรรศการของทีมได้รับเชิญจากทั่ว ยุโรปว่า ในที่สุดก็จะเป็นในสิ่งที่วันนี้เป็นที่รู้จักกัน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก[20] มันเป็นภายใต้การแนะนำของเบร์นาเบวที่เรอัลมาดริดจัดตั้งตัวเองเป็นกำลังสำคัญในวงการฟุตบอลสเปนและยุโรป.สโมสรสมารถชนะเลิศและคว้าแชมป์ได้ 5 สมัยในช่วงปี 1956 ถึง 1960 ซึ่งรวมถึงการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศที่ชนะ ไอน์ทรัต แฟรงค์เฟิร์ต 7-3 ที่แฮมป์เดนพาร์ก ในปีค.ศ. 1960.[19] หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการคว้าแชมป์ห้าสมัยติดต่อกันจริงอย่างถาวรทำให้สโมสรได้รับรางวัลถ้วยเดิมและได้รับสิทธิในการสวมใส่เกียรติตรายูฟ่า[21] สโมสรสามารถคว้าแชมป์รายการนี้เป็นสมัยที่หกได้ในปี ค.ศ. 1966 ด้วยการชนะพาร์ทีซาน เบลกราเด ไป 2-1 ในรอบชิงชนะเลิศซึ่งเป็นครั้งที่สโมสรส่งผู้เล่นสัญชาติสเปนทั้งหมดลงทำการแข่งขัน[22] สโมสรกลายเป็นที่รู้จักในชื่อ เย-เย ซึ่งมาจากเนื้อร้อง เย, เย, เย ของวงเดอะบีเทิลส์ จากเพลง "ชี เลิฟส์ ยู" หลังจากสี่สมาชิกของทีมที่ถูกลงเป็นข่าวของ มาร์กา ในอัลบั้มชุดบีทเทิลส์วิกรุ่นเย-เย ยังเป็นเพลงที่ใช้เปิดในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบชิงชนะเลิศ 1962 และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบชิงชนะเลิศ 1964[22]
ในปีช่วงทศวรรษที่ ค.ศ. 1970 เรอัลมาดริดสามารถคว้าแชมป์ลีกสเปนได้ 5 สมัย และสแปนิชคัปได้ 3 สมัย[23] สโมสรได้มีสิทธิไปเล่นในรายการยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพครั้งแรกในปี ค.ศ. 1971และก็ต้องปรารชัยให้แก่สโมสรฟุตบอลเชลซีจากอังกฤษไป 2-1.[24] ในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1978 ประธานสโมสร ซานเตียโก เบร์นาเบวได้เสียชีวิตลง ในขณะที่ฟุตบอลโลก กำลังแข่งขันที่ประเทศอาร์เจนตินา ประเทศพันธมิตรของสมาคมฟุตบอล (ฟีฟ่า) กำหนดไว้สามวันของการไว้ทุกข์เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาในระหว่างการแข่งขัน.[25] ในปีถัดมาสโมสรได้จัดการแข่งขัน โทรเฟโอ ซานเตียโก เบร์นาเบว เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ท่านประธานสโมสรจนถึงปัจจุบัน
กินตาเดลบุยเตร และแชมป์ยุโรปสมัยที่ 7 (1980-2000)
ในช่วงต้นทศวรรษที่ ค.ศ. 1980 สโมสรเรอัลมาดริดไม่สามารถคว้าแชมป์ ลาลิกาได้และพวกเขาใช้เวลาไม่กี่ปีที่จะได้กลับมาอีกครั้งเพื่อไปแย่งแชมป์ลีกด้วยการผ่านความช่วยเหลือของนักเตะใหม่ที่ช่วยนำพาสโมสรกลับมาประสบความสำเร็จอีกครั้ง.[26] นักข่าวกีฬาชาวสเปนคนหนึ่งที่ชื่อ คูลีโอ เซซาร์ อีเกลเซียส ได้ให้ฉายากับทีมรุ่นนี้ว่า กินตาเดลบุยเตร,ซึ่งได้มาจากชื่อเล่นให้กับหนึ่งในนักเตะของสโมสร, เอมีลีโอ บูตรากูเอโน. และสมาชิกอีกสี่คนที่เหลือมี มานูเอล ซานชิส, มาร์ติน บัซเกซ, มีเชล และ มีกูเอล พาร์เดซา.[27] ด้วย กินตาเดลบุยเตร (ซึ่งสมาชิกในกลุ่มเหลือ 4 คนโดยพาร์เดซาได้ย้ายไปอยู่กับซาราโกซาในปี ค.ศ. 1986) และการซื้อผู้เล่นที่โดดเด่นและเป็นกำลังหลักของสโมสรในเวลาต่อมา อาทิ ฟรานซิสโก บูโย ผู้รักษาประตูชาวสเปน, มีเกล ปอร์ลัน เชนโด แบ็กขวาชาวสเปน และกองหน้าชาวเม็กซิโก อูโก ซานเชซ เรอัลมาดริดจึงเป็นหนึ่งทีมที่ดีที่สุดในสเปนและยุโรปในช่วงปลายทศวรรษที่ ค.ศ. 1980 ด้วยการคว้าแชมป์ ยูฟ่าคัพ 2 สมัย, สเปนนิชแชมเปียนชิพ 5 สมัย, โกปาเดลเรย์ 1 สมัย และซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา อีก 3 สมัย[27] ภายหลังฉายา กินตาเดลบุยเตร ได้หายไปจากแฟนบอลเรอัลมาดริด หลังจาก เอมีลีโอ บูตรากูเอโน, มาร์ติน บัซเกซ และมีเชลได้ย้ายออกไปจากสโมสร
ในปี ค.ศ. 1996 ประธานสโมสรลอเรนโซ ซานซ์ ได้แต่งตั้งให้ฟาบีโอ กาเปลโล อดีตผู้จัดการทีมเอซี มิลาน เข้าเป็นผู้จัดการทีมให้กับสโมสร แม้ว่าเขาดำรงตำแหน่งเพียงแค่หนึ่งฤดูกาล, แต่เขาก็สามารถนำเรอัลมาดริดคว้าแชมป์ลีกได้หนึ่งสมัยและได้ซื้อผู้เล่นตัวเก่งมากมาย เช่น โรเบร์ตู การ์ลูส, เพรดรัก มีจาโตวิช, ดาวอร์ ซือเกอร์ และคลาเรนซ์ ซีดอร์ฟ เข้ามาเล่นร่วมกับผู้เล่นเดิมของสโมสรอย่างราอุล กอนซาเลซ, เฟร์นันโด เอียร์โร, อีวาน ซาโมราโน และเฟร์นันโด เรดอนโด เป็นผลทำให้เรอัลมาดริด (ด้วยนอกเหนือจากเฟร์นันโด โมเรียนเตส ในปี ค.ศ. 1997) ในที่สุดสิ้นสุดวันที่รอคอยมา 32 ปีสำหรับถ้วยูโรเปียนคัพ สมัยที่ 7 ในปี ค.ศ. 1998 ภายใต้การคุมทีมของยุพพ์ ไฮน์เคส สโมสรสามารถเอาชนะสโมสรฟุตบอลยูเวนตุส ตัวแทนสโมสรจากประเทศอิตาลี ไป 1-0 ในรอบชิงชนะเลิศด้วยการยิงประตูชัยลูกเดียวของเพรดรัก มีจาโตวิช[28]
โลสกาลักตีโกสและประธานคนใหม่ (2000-2009)
หลังจากปี ค.ศ. 1999 ที่สโมสรคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ได้เป็นสมัยที่ 8 ของสโมสรด้วยการชนะบาเลนเซีย สโมสรร่วมชาติเดียวกันได้ 3-0 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2000 สโมสรเรอัลมาดริดได้แต่งตั้งประธานสโมสรคนใหม่คือ โฟลเรนตีโน เปเรซ และยังได้ถูกรับเลือกว่าเป็นนักธุรกิจชาวสเปนที่รวยที่สุดในประเทศสเปน ณ เวลานั้น[29] ก่อนที่เขาจะมาดำรงตำแหน่งประธานสโมสร ในระหว่างหาเสียงของเขาเขาสัญญว่าจะลบหนี้ของสโมสรและสร้างสิ่งทันสมัยและสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่สโมสร แต่สัญญาที่สำคัญที่ขับเคลื่อนให้เปเรซไปสู่ชัยชนะเลือกตั้งด้วยการนักเตะชื่อดังชาวโปรตุเกสอย่าง ลูอิช ฟีกู ซึ่งเป็นอดีตนักเตะของสโมสรบาร์เซโลนา คู่ปรับร่วมเมืองของเรอัลมาดริด.[30] ในปีถัดมาสโมสรเรอัลมาดริดได้สร้างค่ายฝึกอบรมใหม่และใช้เงินที่พวกเขาสามารถมีอยู่จากปีก่อนที่ด้วยการจัดการสรรหาดาวผู้เล่นที่ นักข่าวสเปนเรียกว่า ลอส กาลาตีกอส โดยมีชื่อนักเตะชื่อดังในยุคนั้นอาทิเช่น ซีเนดีน ซีดาน, โรนัลโด, เดวิด เบคแคม, ฟาบีโอ กันนาวาโร, ลูอิช ฟีกู, โรเบร์ตู การ์ลูส และ ราอุล กอนซาเลซ อาจจะมีการนักข่าวบางส่วนอภิปรายเมื่อผู้เล่นถูกซื้อโดยเปเรซเล่นล้มเหลวในการสนับสนุนความสำเร็จของสโมสร แต่เปเรซก็ใช้คำสบประมาทของนักข่าวด้วยการนำสโมสรเรอัลมาดริดคว้าแชมป์ยูโรเปียนส์คัพ เป็นสมัยที่ 9 ของสโมสร และคว้าแชมป์ ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรยุโรปและอเมริกาใต้ ได้หนึ่งในปี ค.ศ. 2002 ในปีถัดมาสโมสรก็สามารถคว้าแชมป์ ลาลิกา, สโมสรล้มเหลวที่จะคว้าแชมป์รางวัลที่สำคัญสำหรับในสามฤดูกาลถัดมา.[31]
ในช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 2003 หลังจากคว้าแชมป์ลาลิกาได้อีกหนึ่งสมัย โฟลเรนตีโน เปเรซ และ คณะกรรมการด้านฝ่ายบริหารของสโมสรได้ปฏิเสธการต่อสัญญาฉบับใหม่ของ บีเซนเต เดล โบสเก หลังจากที่เกิดความคัดแย้งกับกัปตันทีมของสโมสร เฟร์นันโด เฮียร์โร ที่จะย้ายออกจากสโมสรและเซ็นสัญญากับผู้จัดการทีมชาวโปรตุเกส การ์รอส เกวรีออซ เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมด้วยสัญญาคุมทีม 1 ฤดูกาลซึ่งเกวรีออซก็สามารถนำสโมสรคว้าแชมป์ ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา ได้หนึ่งสมัยก่อนจะหมดสัญญากับสโมสร.ในช่วงฤดูกาล 2005-2006 สโมสรได้ซื้อผู้เล่นคนใหม่เข้ามาเสริมทัพมากมาย เช่น จูลีโอ บาปติสตา (20 ล้านยูโร), โรบินยู (30 ล้านยูโร) และ เซร์คีโอ ราโมส (30 ล้านยูโร) โดยในฤดูกาลนี้สโมสรได้เปลี่ยนผู้จัดการทีม 2 คน คนแรกคือ ฟานเดอร์เริล ลักเซมบูร์กู แล้วได้เปลี่ยนเป็นควน ราโมส โลเปซ การ์โล ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2005 โดยราโมสนำสโมสรได้รองชนะเลิศลาลิกาและทำผลงานไม่ค่อยดีเท่าที่ควรจึงได้ถูกยกเลิกสัญญาไปในการคุมสโมสรฤดูกาลหน้า
ในปี ค.ศ. 2006 สโมสรได้แต่งตั้งประธานสโมสรคนใหม่แทนเปเรซคือ รามอน กัลเดรอน และสโมสรสามารถกลับมาคว้าแชมป์ได้อีกครั้งในรายการลาลิกา ด้วยฝีมือการคุมทีมของ ฟาบีโอ กาเปลโล ที่ตัดสินใจกลับมาคุมทีมอีกครั้ง โดยในฤดูกาลนี้สโมสรขายนักเตะชื่อดังหลายคนไปมากมายไม่ว่าจะเป็นเดวิด เบคแคม, ลูอิช ฟีกู, โรนัลโด และซีเนดีน ซีดาน ที่ได้ขอเลิกเล่นฟุตบอลกับสโมสรแล้วแขวนสตัดไป แต่กาเปลโลก็สามารถซื้อนักเตะใหม่เข้ามาเสริมแทนตำแหน่งเดิมได้ อาทิ กอนซาโล อีกวาอิน กองหน้าชาวอาร์เจนตินา, มาร์เซลู วีเอรา กองหลังชาวบราซิล, รืด ฟัน นิสเติลโรย กองหน้าชาวดัตช์จากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ต่อมาในปี ค.ศ. 2007 สโมสรก็ต้องเปลี่ยนผู้จัดการทีมอีกครั้งหลังจากที่กาเปลโลอยู่กับสโมสรเพียงฤดูกาลเดียว ด้วยการเซ็นสัญญากับ แบรนด์ ชูสเตอร์ อดีตผู้เล่นชื่อดังในช่วงทศวรรษที่ 1980 ของสโมสร และสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมแทนกาเปลโล โดยชูสเตอร์ได้ซื้อผู้เล่นที่มีทั้งประสบการณ์และทักษะที่ดีมากมาย เช่น เปปี, เวสลีย์ สไนเดอร์, อาร์เยิน รอบเบิน, แยร์ซี ดูแด็ก เป็นต้น ชูสเตอร์นำสโมสรไปเล่นใน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ไม่ค่อยดีนนักโดยตกรอบสิบหกทีมสุดท้ายด้วยการปราชัยให้แก่โรม่าจากอิตาลี ไป 4-2 แต่กลับทำผลงานในลีกได้อย่างดีด้วยการนำสโมสรไม่แพ้ใครมา 9 นัดติดในช่วงก่อนเก้านัดสุดท้ายก่อนจบฤดูกาลแล้วคว้าแชมป์ลาลิกาสมัยที่ 30 ของสโมสรไปได้
ในช่วงก่อนเปิดฤดูกาล 2008-09 ชูสเตอร์สามารถนำสโมสรคว้าแชมป์ ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา ด้วยการชนะสโมสรฟุตบอลบาเลนเซีย ไป 6-5. แต่แล้วชูสเตอร์ก็ถูกไล่ออกจากการผู้จัดการทีมโดยไม่ทราบสาเหตุ. ทางสโมสรจึงแต่งตั้งให้ ควนเต ราโมส เป็นผู้จัดการทีม แต่ราโมสก็ไม่สามารถนำสโมสรประสบความสำเร็จมากซึ่งในรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ก็ปราชัยให้กับ สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล จากอังกฤษ ไป 5-0 ในรอบสิบหกทีมสุดท้ายและผลงานในลีกก็ทำได้แค่จบอันดับ 2 ซึ่งก็ทำให้ราโมสโดนไล่ออกไป
การกลับมาของเปเรซและมูรีนโย (2009-2013)

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2009 โฟลเรนตีโน เปเรซ อดีตประธานคนเก่าของสโมสรได้กลับมารับดำรงตำแหน่งประธานสโมสรอีกครั้ง[32][33] โดยการกลับมาในครั้งนี้เปเรซมีแผนที่จะสร้าง กาลักตีโกส ซึ่งเป็นนโยบายการซื้อนักเตะที่มีทักษะและฝีมือชั้นยอดเข้ามาสู่สโมสรโดยคนแรกที่เข้าซื้อมาคือ กาก้า กองกลางตัวรุกจากเอซี มิลาน ด้วยค่าตัว 65 ล้านยูโร[34] และคริสเตียโน โรนัลโด ปีกริมเส้นจากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ด้วยค่าตัว 80 ล้านยูโร และได้เซ็นสัญญากับมานวยล์ เปเยกรีนี ผู้จัดการทืมชาวชิลีเป็นเวลาหนึ่งฤดูกาล ซึ่งเปเยกรีนีก็ทำผลงานได้ดีในการคุมสโมสรด้วยการจบอันดับที่ 2 ในลาลิกา
หลังจากสัญญาการคุมทีมของเปเยกรีนีได้หมดลง เปเรซก็ตัดสินใจเซ็นสัญญากับโชเซ มูรีนโย อดีตผู้จัดการทีมของสโมสรฟุตบอลเชลซีชาวโปรตุเกส ในช่วงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2010[35][36] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2011 ได้เกิดสิ่งแปกประหลาดเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นในการแข่งขันเอลกลาซีโก ซึ่งเกิดขึ้นทั้งหมดถึง 4 รอบ รอบแรกคือในการแข่งขันลาลิกาซึ่งเรอัลมาดริดเสมอกับบาร์เซโลนาไป 1-1, รอบที่สองคือในรอบชิงชนะเลิศโกปาเดลเรย์ซึ่งเรอัลมาริดแพ้บาร์เซโลนาไป 0-1 และในการแข่งขัน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2010-11 ก็พบกันสองรอบในรอบก่อนรอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 27 เมษายน และ 2 พฤษภาคม (รวมผลสองนัด บาร์เซโลนาชนะไป 3-1) แล้วในฤดูกาลนี้สโมสรก็ต้องได้รองแชมป์ลาลิกา และ คริสเตียโน โรนัลโด ก็เป็นดาวซัลโวสูงสุดของสโมสรและลาลิกาในฤดูกาลนี้ด้วยการยิงประตูไป 40 ประตู
ในฤดูกาล 2011-12 เรอัลมาดริดสามารถคว้าแชมป์ลาลิกามาได้เป็นสมัยที่ 32 ของสโมสรในประวัติศาสตร์การแข่งขันลาลิกาและจบอันดับ 1 ของฤดูกาลด้วยการมีคะแนนทั้งหมด 100 คะแนน จากทั้งหมด 114 คะแนน ยิงประตูคู่แข่งได้มากถึง 121 ประตู และเสียประตูให้คู่แข่งไป 32 ประตู และผลต่างของลูกได้กับลูกเสียคือ 89 ประตู พร้อมกับชนะคู่แข่งทั้งหมด 32 นัด เสมอ 4 นัด และแพ้ 2 นัด[37] และคริสเตียโน โรนัลโด กลายเป็นผู้เล่นที่เร็วที่สุดในการทำประตูมากกว่า 100 ลูก ในประวัติศาสตร์ลีกสเปนยังเป็นผู้เล่นที่ทำประตูได้ โดยโรนัลโดทำประตู 101 ประตู จากการลงเล่นแค่ 92 โดยทำให้โรนัลโดแซงสถิติของเฟเรนส์ ปุชคัช อดีตนักฟุตบอลชาวฮังการีของสโมสรที่ทำประตูที่ 100 จากการลงเล่น 105 นัด แล้วโรนัลโดยังเป็นผู้เล่นคนแรกของสโมสรที่ทำประตูสูงสุดในหนึ่งปี (60 ประตู) และโรนัลโดยังเป็นผู้เล่นคนแรกที่ยิงประตูคู่แข่งทั้ง 19 สโมสรในลาลิกาเพียงฤดูกาลเดียวอีกด้วย[38][39]
แต่ในฤดูกาล 2012-13 สโมสรกลับมีปัญหามากมาย โมรีนยูมีปัญหากับนักเตะอาวุโสของทีม เช่น อีเกร์ กาซียัส, เซร์คีโอ ราโมส ซึ่งสร้างความไม่พอใจอย่างมากกับแฟนบอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสโมสรไม่ได้แชมป์รายการใด ๆ เลย โดยในรายการโกปาเดลเรย์ ทีมยังแพ้สโมสรฟุตบอลอัตเลติโกเดมาดริด 1-2 คาสนามซานเตียโก เบร์นาเบว ทำให้โมรีนยูยกเลิกสัญญากับสโมสรในที่สุด
อันเชลอตตีและลาเดซีมา (2013-2015)
ในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2013 สโมสรได้เซ็นสัญญากับการ์โล อันเชลอตตี ผู้จัดการทีมที่เคยเป็นตำนานนักเตะของเอซี มิลาน และเมื่อคุมทีมก็สามารถพาทีมคว้าแชมป์ยุโรปได้ถึงสองครั้งมาเป็นผู้จัดการทีม ในวันที่ 1 กันยายน สโมสรได้เซ็นสัญญากับแกเร็ธ เบล นักเตะชาวเวลส์จากทอตนัมฮอตสเปอร์สในพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ด้วยค่าตัวสถิติโลกถึง 100 ล้านยูโร ในฤดูกาลแรกของอันเชลอตตี ทีมสามารถคว้าแชมป์โกปาเดลเรย์ ด้วยการชนะบาร์เซโลนา 2-1 ซึ่งเบลทำประตูชัยด้วย และยังสามารถคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นสมัยที่ 10 โดยชนะอัตเลติโกเดมาดริดในช่วงต่อเวลาได้ถึง 4-1 เป็นการล้างแค้นหลังจากที่ทีมทำได้แค่อันดับ 3 ในลาลิกา ซึ่งคว้าแชมป์ยุโรปครั้งนี้ของทีม มีชื่อเรียกกันว่า ลาเดซีมา (La Decima)
ในฤดูกาลต่อมา เรอัลมาดริดทำสถิติชนะติดต่อกันถึง 21 นัด (ลาลิกา 12 นัด, ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 6 นัด, โกปาเดลเรย์ 2 นัด และฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 1 นัด)[40] แต่สุดท้ายแล้วทีมจบฤดูกาลด้วยมือเปล่า ทำให้อันเชลอตตีถูกปลดออกจากตำแหน่ง[41]
เบนีเตซ, และซีดาน (2015-ปัจจุบัน)

ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2015 สโมสรได้แต่งตั้งราฟาเอล เบนิเตซ ผู้ที่เคยพาลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในปี ค.ศ. 2005 เข้ามาคุมทีม แต่ปรากฏว่าทำผลงานได้ย่ำแย่มาก โดยชนะแค่ 11 จาก 18 นัดในการคุมทีมตลอด 7 เดือน ทำให้เบนิเตซถูกปลดออกจากตำแหน่งในวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 2016 และได้แต่งตั้ง ซีเนอดีน ซีดาน ซึ่งในชณะนั้นคุมทีมสำรองอยู่เข้ามาคุมทีมแทน[42] และสามารถพาทีมบุกไปชนะบาร์เซโลนา 2-1 ได้ถึงถิ่นกัมนอว์ คว้ารองแชมป์ลาลิกาโดยที่มีคะแนนตามบาร์เซโลนาเพียงคะแนนเดียว และสามารถคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้สำเร็จ หลังดวลจุดโทษชนะ อัตเลติโกเดมาดริด คู่ปรับเก่าในปี ค.ศ. 2014 ไปได้ 5-3 หลังในเวลา 90 นาทีเสมอกัน 1-1 ในรอบชิงชนะเลิศ[43]
ผู้เล่น
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
- ณ วันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2020[44]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ตราสัญลักษณ์และสี
ผู้ผลิตชุดและผู้สนับสนุน
ช่วงเวลา | ผู้ผลิตชุด | ผู้สนับสนุน |
---|---|---|
1980–1982 | อาดิดาส | ไม่มี |
1982–1985 | ซานุสซี | |
1985–1989 | ฮัมเมล | ปาร์มาลัต |
1989–1991 | เรนีปิกอต | |
1991–1992 | โอไตซา | |
1992–1994 | เทคา | |
1994–1998 | เกลเม | |
1998–2001 | อาดิดาส | |
2001–2002 | Realmadrid.com* | |
2002–2005 | ซีเมนส์โมไบล์ | |
2005–2006 | ซีเมนส์ | |
2006–2007 | เบนคิว ซีเมนส์ | |
2007–2011 | บีวิน | |
2011–2013 | ||
2013–2018 | ฟลายเอมิเรตส์ |
*Realmadrid.com ปรากฏอยู่บนเสื้อเพื่อเป็นการโฆษณาเว็บไซต์ใหม่ของสโมสร
บุคลากร
ทีมงานฝ่ายเทคนิคในปัจจุบัน
ตำแหน่ง | เจ้าหน้าที่ |
---|---|
ผู้จัดการทีม | การ์โล อันเชลอตตี |
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม | ไอตอร์ การันก้า |
ผู้ฝึกสอนด้านฟิตเนส | รูอี ฟาเรีย |
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู | ซิลวิโน ลูโร |
ผู้จัดการด้านฟุตบอล | โซเซ โมไรซ์ |
ผู้จัดการสถาบัน | เชนโด้ |
ข้อมูลล่าสุด: 10 June 2011
อ้างอิง: Board of Directors, Organisation
Template:Fb cs staff (Football - coach staff - staff)
Parameters bg : background color. y = yes; blank = no p : staff position s : staff
Template:Fb cs footer (Football - coach staff - footer)
คณะกรรมการและผู้บริหาร
ตำแหน่ง | เจ้าหน้าที่ |
---|---|
ประธานสโมสร | โฟลเรนตีโน เปเรซ |
ประธานกิตติมศักดิ์ชีวิต | อัลเฟรโด ดิ เอสเตฟาโน |
รองประธานสโมสรคนที่ 1 | เฟร์นันโด เฟร์นานเดซ ตาปีอัส |
รองประธานสโมสรคนที่ 2 | อดูอาร์โด เฟร์นันเดซ เดอ บลัส |
เลขานุการคณะกรรมการ | เอนรีเก ซานเชซ กอนซาเลซ |
อธิบดี | โคเซ แอนเจิล ซานเชซ |
ผู้อำนวยการสำนักงานของประธานาธิบดี | มานูเอล เรดอนโด |
ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การสังคม | โคเซ ลุยส์ ซานเชซ |
- Last updated: 10 June 2011
- Source: Board of Directors, Organisation
เกียรติประวัติ
ระดับ | รายการ | ชนะเลิศ | ฤดูกาล |
---|---|---|---|
![]() ระดับประเทศ |
ลาลิกา | 34 | 1931–32, 1932–33, 1953–54, 1954–55, 1956–57, 1957–58, 1960–61, 1961–62, 1962–63, 1963–64, 1964–65, 1966–67, 1967–68, 1968–69, 1971–72, 1974–75, 1975–76, 1977–78, 1978–79, 1979–80, 1985–86, 1986–87, 1987–88, 1988–89, 1989–90, 1994–95, 1996–97, 2000–01, 2002–03, 2006–07, 2007–08, 2011–12, 2016–17, 2019–20 |
โกปาเดลเรย์ | 19 | 1905, 1906, 1907, 1908, 1917, 1934, 1936, 1946, 1947, 1961–62, 1969–70, 1973–74, 1974–75, 1979–80, 1981–82, 1988–89, 1992–93, 2010–11, 2013–14 | |
ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา | 11 | 1988, 1989*, 1990, 1993, 1997, 2001, 2003, 2008, 2012, 2017, 2019–20 | |
โกปาเอบาดัวร์เต | 1 | 1947 | |
โกปาเดลาลิกา | 1 | 1985 | |
![]() |
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | 13 | 1955–56, 1956–57, 1957–58, 1958–59, 1959–60, 1965–66, 1997–98, 1999–2000, 2001–02, 2013–14, 2015–16, 2016–17, 2017–18 |
ยูฟ่ายูโรปาลีก | 2 | 1984–85, 1985–86 | |
ยูฟ่าซูเปอร์คัพ | 4 | 2002, 2014, 2016, 2017 | |
![]() |
อินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ | 3s | 1960, 1998, 2002 |
ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ | 4 | 2014, 2016, 2017, 2018 |
- เป็นแชมป์ของรายการดังกล่าวสูงที่สุด
ในประเทศไทย
สำหรับชาวไทยที่มีชื่อเสียงที่เป็นผู้สนับสนุนเรอัลมาดริด เช่น ณเดชน์ คูกิมิยะ (นักแสดง), วรินทร ปัญหกาญจน์ (นักแสดง) เป็นต้น
อ้างอิง
- ↑ "1902-1911". Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-09.
- ↑ "Santiago Bernabéu Stadium | Real Madrid CF". Real Madrid C.F. - Web Oficial (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 26 August 2017.
- ↑ "ข้อเท็จจริงสโมสร: เรอัลมาดริด". Uefa.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-30. (See:UEFA club competition milestones)
- ↑ "เรอัลมาดริดคือหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่ม G-14". G14.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-17.
- ↑ "สโมสรที่ดีที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20" (PDF). FIFA.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-18. Voted exclusively by the readers of the bi-monthly FIFA Magazine on December 2000.
- ↑ "รามอน กัลเดรอนกล่าวคำปราศรัยกับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอเมริกันชื่อดังหลายแห่ง". Realmadrid.com. 2008-02-05. สืบค้นเมื่อ 2008-02-06.
- ↑ "ยูไนเต็ดทำรายได้มากขึ้นแต่เรอัลมาดริดยังครองเบอร์หนึ่ง". Deloitte UK. 2008-02-14. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16.
- ↑ Ball, Phil p. 117.
- ↑ Luís Miguel González. "Pre-history and first official title (1900–1910)". Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 12 July 2008.
- ↑ "History — Chapter 1 – From the Estrada Lot to the nice, little O'Donnel pitch". Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 11 July 2008.
- ↑ Luís Miguel González. "Bernabéu's debut to the title of Real (1911–1920)". Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 12 July 2008.
- ↑ Luís Miguel González (28 February 2007). "A spectacular leap towards the future (1921–1930)". Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 12 July 2008.
- ↑ Luís Miguel González. "The first two-time champion of the League (1931–1940)". Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 18 July 2008.
- ↑ "Real Madrid v Barcelona: six of the best 'El Clásicos'". London: The Telegraph. 9 December 2011. สืบค้นเมื่อ 19 December 2011.
- ↑ 15.0 15.1 Aguilar, Paco (10 December 1998). "Barca - Much more than just a Club". FIFA. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 29 April 2008. สืบค้นเมื่อ 19 December 2011. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Aguilar 19981210" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ Ball, Phil (12 December 2003). Morbo: the Story of Spanish Football. WSC Books Ltd. ISBN 978-0-9540134-6-2.
|access-date=
requires|url=
(help) - ↑ Spaaij, Ramn (2006). Understanding football hooliganism: a comparison of six Western European football clubs. Amsterdam: Amsterdam University Press. ISBN 978-90-5629-445-8. สืบค้นเมื่อ 19 December 2011.
- ↑ Luís Miguel González. "Bernabéu begins his office as President building the new Chamartín Stadium (1941–1950)". Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 12 July 2008.
- ↑ 19.0 19.1 Luís Miguel González. "An exceptional decade (1951–1960)". Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 12 July 2008.
- ↑ Matthew Spiro (12 May 2006). "Hats off to Hanot". uefa.com. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 19 May 2008. สืบค้นเมื่อ 11 July 2008.
- ↑ "Regulations of the UEFA Champions League" (PDF). UEFA. สืบค้นเมื่อ 12 July 2008.; Page 4, §2.01 "Cup" & Page 26, §16.10 "Title-holder logo"
- ↑ 22.0 22.1 Luís Miguel González. "The generational reshuffle was successful (1961–1970)". Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 12 July 2008.
- ↑ "Trophy Room". Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 12 July 2008.
- ↑ "European Competitions 1971". RSSS. สืบค้นเมื่อ 27 September 2008.
- ↑ "Santiago Bernabéu". Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 12 October 2008.
- ↑ "The "Quinta del Buitre" era begins". Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 11 July 2008.
- ↑ 27.0 27.1 Luís Miguel González (5 March 2008). "1981–1990 – Five straight League titles and a new record". Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 12 July 2008.
- ↑ "1991–2000 – From Raúl González to the turn of the new millennium". Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 12 July 2008.
- ↑ "Florentino Pérez era" (ภาษาสเปน). Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 12 July 2008.
- ↑ "Figo's the Real deal". BBC Sport. 24 July 2000. สืบค้นเมื่อ 12 July 2008.
- ↑ "2001 – present — Real Madrid surpasses the century mark". Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 12 July 2008.
- ↑ "First measures adopted by the Real Madrid Board of Directors". Realmadrid.com. 1 June 2009. สืบค้นเมื่อ 15 August 2011.
- ↑ "Perez to return as Real president". BBC Sport. 1 June 2009. สืบค้นเมื่อ 3 June 2009.
- ↑ The Times Madrid Signs Kaká timesonline.co.uk
- ↑ Tynan, Gordon (28 May 2010). "Mourinho to be unveiled at Madrid on Monday after £7m compensation deal". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 31 May 2010.
- ↑ "Real Madrid unveil José Mourinho as their new coach". BBC Sport. 31 May 2010. สืบค้นเมื่อ 31 May 2010.
- ↑ ลาลิกา ฤดูกาล 2011–12
- ↑ 21:59 GMT (24 March 2012). "BBC Sport - Cristiano Ronaldo is fastest La Liga player to 100 goals". Bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 19 August 2012.
- ↑ "Jose Mourinho, Real Madrid earn vindication after La Liga conquest - La Liga News | FOX Sports on MSN". Msn.foxsports.com. 13 May 2012. สืบค้นเมื่อ 19 August 2012.
- ↑ "คอลัมนิสต์เขียนให้คุณอ่าน: ความต่าง". สยามกีฬารายวัน. 19 ธันวาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2016. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "'ราชัน' แถลงปลด 'อันเช่' พ้นเก้าอี้กุนซือ". สยามกีฬารายวัน. 26 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2016. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ ตามคาด! มาดริดปลดราฟา, ตั้งซีดานคุมทัพ
- ↑ ราชันแม่นโทษดับตราหมี5-3ซิวจ้าวยุโรปสมัย11 จากสยามกีฬารายวัน
- ↑ 44.0 44.1 44.2 44.3 44.4 "Squad". Realmadrid.com. สืบค้นเมื่อ 5 October 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เรอัลมาดริด |