ฟุตบอลทีมชาติหมู่เกาะแฟโร
![]() | |||
ฉายา | Landsliðið (ทีมชาติ) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สมาคมฟุตบอลหมู่เกาะแฟโร | ||
สมาพันธ์ | ยูฟ่า (ยุโรป) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | Lars Olsen | ||
ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน | Jóannes Jakobsen | ||
กัปตัน | Atli Gregersen | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | Fróði Benjaminsen (95) | ||
ทำประตูสูงสุด | Rógvi Jacobsen (10) | ||
สนามเหย้า | ทอร์สวอลลูร์ | ||
รหัสฟีฟ่า | FRO | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 123 ![]() | ||
อันดับสูงสุด | 74 (กรกฎาคม ค.ศ. 2015, ตุลาคม ค.ศ. 2016) | ||
อันดับต่ำสุด | 198 (กันยายน ค.ศ. 2008) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
![]() ![]() (Akranes ไอซ์แลนด์; 24 สิงหาคม ค.ศ. 1988) | |||
ชนะสูงสุด | |||
![]() ![]() (Toftir หมู่เกาะแฟโร; 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1995) ![]() ![]() (ยิบรอลตาร์; 1 มีนาคม ค.ศ. 2014) ![]() ![]() (Marbella สเปน; 25 มีนาคม ค.ศ. 2018) | |||
แพ้สูงสุด | |||
![]() ![]() (เบลเกรด ยูโกสโลวาเกีย; 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1991) ![]() ![]() (บูคาเรสต์ โรมาเนีย; 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1992) ![]() ![]() (Toftir หมู่เกาะแฟโร; 11 สิงหาคม ค.ศ. 1993) ![]() ![]() (Toftir หมู่เกาะแฟโร; 6 ตุลาคม ค.ศ. 1996) |

ฟุตบอลทีมชาติหมู่เกาะแฟโร (แฟโร: Føroyska fótbóltsmanslandsliðið; เดนมาร์ก: Færøernes fodboldlandshold) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของหมู่เกาะแฟโร อยู่ภายใต้การควบคุมของสมาคมฟุตบอลหมู่เกาะแฟโร โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของฟีฟ่าในปี ค.ศ. 1988 และยูฟ่าในปี ค.ศ. 1990 ซึ่งหมู่เกาะแฟโรเป็นดินแดนที่มีประชากรน้อยเป็นอันดับที่สี่ในยุโรป
หมู่เกาะแฟโรไม่เคยผ่านเข้ารอบสุดท้ายของฟุตบอลโลกหรือฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป แต่เคยเข้าร่วมแข่งขันไอแลนด์เกมส์ในปี ค.ศ. 1989 และ 1991 ซึ่งทีมชาติหมู่เกาะแฟโรคว้าแชมป์ทั้ง 2 สมัย พวกเขาเคยเข้าร่วมการแข่งขันนอร์ดิกฟุตบอลแชมเปียนชิปในปี 2000–01 สำหรับทีมชาติหมู่เกาะแฟโร รู้จักกันในชื่อ landsliðið โดยผู้คนบนเกาะ สนามเหย้าของทีมชาติคือทอร์สวอลลูร์
เกียรติประวัติ[แก้]
- ไอแลนด์เกมส์: ชนะเลิศ
- 1989, 1991
สนาม[แก้]
ระหว่างปี ค.ศ. 1999-2011 ทีมชาติหมู่เกาะแฟโรใช้สนามเหย้า 2 แห่งสลับกัน ระหว่างทอร์สวอลลูร์และ Svangaskarð โดยการแข่งขันนัดสุดท้ายที่สนาม Svangaskarð คือนัดที่แฟโรเอาชนะเอสโตเนีย 2–0 ในการแข่งขันรอบคัดเลือกของฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2011[2] ต่อมาแฟโรก็ใช้ทอร์สวอลลูร์เป็นสนามหลัก และได้ปรับปรุงสนามอยู่หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการปรับสภาพหญ้า การนำเทคโนโลยีเข้าติดตั้งในสนาม หรือการติดตั้งเก้าอี้และหลังคา[3]
สถิติ[แก้]
นับเฉพาะการแข่งขันอย่างเป็นทางการ
ลงเล่นมากที่สุด[แก้]
ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2017 หลังจากนัดที่พบกับฮังการี[4]
อันดับ | ผู้เล่น | ลงเล่น (นัด) |
---|---|---|
1 | Fróði Benjaminsen | 93 |
2 | Óli Johannesen | 83 |
3 | Jákup Mikkelsen | 73 |
4 | Jens Martin Knudsen | 65 |
5 | Julian Johnsson | 62 |
6 | Jákup á Borg | 61 |
7 | John Petersen | 57 |
8 | Allan Mørkøre | 54 |
Jónas Tór Næs | ||
10 | Rógvi Jacobsen | 53 |
Súni Olsen |
ทำประตูสูงสุด[แก้]
ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2017 หลังจากนัดที่พบกับฮังการี[5]
อันดับ | ผู้เล่น | ประตู |
---|---|---|
1 | Rógvi Jacobsen | 10 |
2 | Todi Jónsson | 9 |
3 | Uni Arge | 8 |
4 | John Petersen | 6 |
Fróði Benjaminsen | ||
6 | Jóan Símun Edmundsson | 5 |
7 | Jan Allan Müller | 4 |
Julian Johnsson | ||
Christian Holst |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 22 ธันวาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2022.
- ↑ uefa.com (7 June 2011). "UEFA EURO 2012 - History - Faroe Islands-Estonia – UEFA.com". uefa.com. สืบค้นเมื่อ 10 March 2017.
- ↑ "Útbygging: Seta spakan í". fsf.fo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-14. สืบค้นเมื่อ 10 March 2017.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-27. สืบค้นเมื่อ 2018-05-02.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-27. สืบค้นเมื่อ 2018-05-02.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ฟุตบอลทีมชาติหมู่เกาะแฟโร |
- เว็บไซต์ทางการ
- RSSSF archive of results 1930–2008
- RSSSF Record of Faroese International Players
- UEFA.com
- Footballsupporters.fo (12. Maður – "12th Man", the supporters of the Faroe Islands national football team)