พ.ศ. 2543
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 2000)
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2543 |
ปฏิทินเกรกอเรียน | 2000 MM |
Ab urbe condita | 2753 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1449 ԹՎ ՌՆԽԹ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6750 |
ปฏิทินบาไฮ | 156–157 |
ปฏิทินเบงกอล | 1407 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2950 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 48 Eliz. 2 – 49 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2544 |
ปฏิทินพม่า | 1362 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7508–7509 |
ปฏิทินจีน | 己卯年 (เถาะธาตุดิน) 4696 หรือ 4636 — ถึง — 庚辰年 (มะโรงธาตุโลหะ) 4697 หรือ 4637 |
ปฏิทินคอปติก | 1716–1717 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3166 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1992–1993 |
ปฏิทินฮีบรู | 5760–5761 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2056–2057 |
- ศกสมวัต | 1922–1923 |
- กลียุค | 5101–5102 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12000 |
ปฏิทินอิกโบ | 1000–1001 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1378–1379 |
ปฏิทินอิสลาม | 1420–1421 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 12 (平成12年) |
ปฏิทินจูเช | 89 |
ปฏิทินจูเลียน | เกรกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4333 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 89 民國89年 |
เวลายูนิกซ์ | 946684800–978307199 |
พุทธศักราช 2543 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2000 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีมะโรง โทศก จุลศักราช 1362 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- ปีสุดท้ายของคริสต์สหัสวรรษที่ 2 และคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่เป็นปีแรกของคริสต์ทศวรรษ 2000
- ปีสากลเพื่อวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ
- ปีคณิตศาสตร์โลก 2000 like a 1991
- 100 ปี ชาตกาล ดร. ปรีดี พนมยงค์
ผู้นำประเทศไทย[แก้]
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี: นายชวน หลีกภัย (9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
เหตุการณ์[แก้]
มกราคม[แก้]
- 1 มกราคม - ฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ได้ปฏิรูปการนำเสนอข่าวครั้งใหญ่ โดยปรับปรุงทั้งรูปแบบการนำเสนอข่าว การเปลี่ยนไตเติ้ลกราฟิกเปิดรายการข่าวในช่วงต่าง ๆ ใหม่ทั้งหมด โดยใช้กราฟิกรูปแบบใหม่ รวมทั้งปรับปรุงห้องส่งข่าวในช่วงต่าง ๆ ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น เพื่อให้ทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ และความเปลี่ยนแปลงของโลก
- 24 มกราคม - เหตุการณ์ก๊อด'ส อาร์มี่บุกยึดสถานทูตพม่า พ.ศ. 2542 และโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี พ.ศ. 2543: กองกำลังก๊อด'ส อาร์มี่ จำนวน 10 คน บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี จับแพทย์ พยาบาล คนไข้และญาติกว่า 1,000 คนเป็นตัวประกัน หลังการเจรจาเกือบ 24 ชั่วโมง ทางรัฐบาลไทยตัดสินใจให้กองกำลังผสมหน่วย ฉก.90 หน่วยนเรศวร 261 และหน่วยอรินทราช 26 จำนวน 50 นาย บุกเข้าช่วยเหลือตัวประกัน และสังหารกองกำลังก๊อด'ส อาร์มี่ ทั้งหมดในเช้ามืดวันต่อมา
กุมภาพันธ์[แก้]
- 18 กุมภาพันธ์ - สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับ นางสาวแอนนา คาราโบ มอตโซเอเนง หลังจากการอภิเษกสมรสแล้วเธอได้รับการสถาปนาจากพระราขสวามีเป็น สมเด็จพระราชินีแห่งราชอาณาจักรเลโซโท ทรงพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระราชินีมาเซเนต โมฮาโต เซเอโซ ปัจจุบันทั้ง 2 พระองค์ ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 3 พระองค์
- 25 กุมภาพันธ์ - การรั่วไหลของกัมมันตรังสีโคบอลต์ 60 จากเครื่องมือแพทย์เก่า ที่ถูกขโมยไปจากโกดังที่เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ไปขายให้พ่อค้าขายของเก่าที่ซอยวัดมหาวงศ์ อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ มีผู้เสียชีวิต 2 คน และได้รับบาดเจ็บกับบาดเจ็บสาหัสเป็นจำนวนมาก
มีนาคม[แก้]
- 4 มีนาคม - วันการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการทั่วไปเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
- 10 มีนาคม - ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก ขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ 5,048.62 จุด ในช่วงที่ธุรกิจดอตคอมเฟื่องฟู
พฤษภาคม[แก้]
- 24 พฤษภาคม - ประเทศอิสราเอลถอนกำลังออกจากทางใต้ของประเทศเลบานอนหลังจากยึดครองมานาน 22 ปี
- 28 พฤษภาคม - แดนเนรมิต ประกาศปิดให้บริการลงอย่างเป็นทางการ
มิถุนายน[แก้]
- 13 มิถุนายน - คิม แดจุง ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ พบปะกับ คิม จองอิล ผู้นำเกาหลีเหนือ ในการประชุมสุดยอดครั้งแรกระหว่างเกาหลี ณ กรุงเปียงยาง
กรกฎาคม[แก้]
- 25 กรกฎาคม - เครื่องบินคองคอร์ดของสายการบินแอร์ฟรานซ์ เที่ยวบิน 4590 เกิดอุบัติเหตุตก หลังทะยานขึ้นจากท่าอากาศยานใกล้กรุงปารีส ทำให้ผู้โดยสารเสียชีวิต 113 คน
- 28 กรกฎาคม - พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 4 รอบ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
สิงหาคม[แก้]
- 5 สิงหาคม - กลุ่มเจไอลอบวางระเบิดโรงแรม เจ ดับบลิว แมริออตในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย
- 12 สิงหาคม - โศกนาฏกรรมเรือดำน้ำนิวเคลียร์ K-141 Kursk ของรัสเซีย เกิดอุบัติเหตุจากตอร์ปิโดทำให้เรือเสียหายอย่างหนักและจมลงในทะเลแบเร็นตส์และทำให้ลูกเรือเสียชีวิตจำนวน 118 นาย(ลูกเรือทั้งหมด)
กันยายน[แก้]
- 15 กันยายน - มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 27 จัดขึ้นที่นครซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย
ตุลาคม[แก้]
- 1 ตุลาคม - ทหารไม่ระบุกลุ่มวางระเบิดโบสถ์คริสต์ในเมืองดูชานเบ ประเทศทาจิกิสถาน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 7 คน
- 7 ตุลาคม - เจ้าชายอ็องรี แกรนด์กยุกรัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก เสด็จขึ้นครองราชย์เป็น แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก หลังจาก แกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก พระราชบิดา สละราชสมบัติ
- 12 ตุลาคม - มีการลอบนำดินระเบิดไปทำลายยูเอสเอสโคล ของสหรัฐที่เมืองเอเดน ประเทศเยเมน มีผู้เสียชีวิต17 คน สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือของโอซามา บิน ลาเดน
- 21 ตุลาคม - วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครบ 100 ปี
พฤศจิกายน[แก้]
- 2 พฤศจิกายน - นักบินอวกาศชุดแรกเดินทางถึงสถานีอวกาศนานาชาติ
- 9 พฤศจิกายน - ชวน หลีกภัย ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร
- 21 พฤศจิกายน - เกิดอุทกภัยที่อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา
- 22 พฤศจิกายน - เกิดเหตุนักโทษชาวพม่า 9 คนจับเจ้าหน้าที่เรือนจำสมุทรสาครเป็นตัวประกันและยิงเจ้าหน้าที่เรือนจำคนหนึ่งเสียชีวิต ก่อนพยายามหลบหนีด้วยรถยนต์ ภายหลังนักโทษทั้ง 9 คนถูกวิสามัญฆาตกรรมในเช้าวันต่อมา
- 24 พฤศจิกายน - นักสู้เสรีกัมพูชาก่อการจลาจลในกรุงพนมเปญ มีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีผู้เสียชีวิต 200 คน
ธันวาคม[แก้]
- 3 ธันวาคม – ทีมฟุตซอลทีมชาติสเปนได้รับตำแหน่งชนะเลิศในรายการฟุตซอลโลก 2000 ที่สาธารณรัฐกัวเตมาลา ด้วยการเอาชนะทีมฟุตซอลทีมชาติบราซิลในรอบชิงชนะเลิศ 4 ประตูต่อ 3
- 4 ธันวาคม - สหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 18 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันสากลว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่น
- 30 ธันวาคม - เกิดการลอบวางระเบิดบริเวณจตุรัสหน้าสถานทูตสหรัฐในฟิลิปปินส์ ไม่มีผู้เสียชีวิต คาดว่าเป็นฝีมือแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร
ไม่ทราบวัน[แก้]
- ค้นพบ ธาตุลิเวอร์มอเรียม
วันเกิด[แก้]
ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2543
มกราคม[แก้]
- 4 มกราคม - ภัณฑิรา พิพิธยากร นักแสดงหญิงชาวไทย
- 8 มกราคม - โนอาห์ ไซรัส นักร้องและนักแสดงชาวอเมริกา น้องสาวของนักร้องดังไมลีย์ ไซรัส
- 11 มกราคม - อี แช-ย็อน ศิลปินชาวเกาหลีใต้ สมาชิกวง ไอซ์วัน
- 15 มกราคม - วชิรวิชญ์ เรืองวิวรรธน์ นักแสดงชายชาวไทย
กุมภาพันธ์[แก้]
- 3 กุมภาพันธ์ - มนัญญา เกาะจู (นิ้ง) สมาชิกวง BNK48
- 18 กุมภาพันธ์ - พาขวัญ น้อยใจบุญ (พาขวัญ) สมาชิกวง BNK48
มีนาคม[แก้]
- 23 มีนาคม - กุลจิราณัฐ อินทรศิลป์ (เจน) สมาชิกวง BNK48
- 26 มีนาคม
- ณัฐธิดา ตรีชัยยะ นักแสดงหญิงชาวไทย
- จุฑามาศ คลทา (เข่ง (ชื่อเดิมอุ้ม)) สมาชิกวง BNK48
เมษายน[แก้]
- 29 เมษายน - ธัญญวีร์ ชุณหสวัสดิกุล นักแสดงหญิงชาวไทย
พฤษภาคม[แก้]
มิถุนายน[แก้]
กรกฎาคม[แก้]
- 4 กรกฎาคม
- เจนนิษฐ์ โอ่ประเสริฐ (เจนนิส) สมาชิกวง BNK48
- เพลินพิชญา โกมลารชุน (จูเน่) อดีตสมาชิกวง BNK48
- 7 กรกฎาคม - เจ้าหญิงปูรณิกาแห่งเนปาล พระราชธิดาพระองค์แรกใน เจ้าชายปารัส มกุฎราชกุมารแห่งเนปาล กับ เจ้าหญิงหิมานี มกุฎราชกุมารีแห่งเนปาล
- 8 กรกฎาคม - ธัญญภัสร์ ภัทรธีรชัยเจริญ นักแสดงหญิงชาวไทย
- 12 กรกฎาคม - ธนัตถ์ศรันย์ ซำทองไหล นักแสดงชายชาวไทย
- 13 กรกฎาคม - วรพล จินตโกศล นักแสดงชายชาวไทย
สิงหาคม[แก้]
- 10 สิงหาคม - ริชาร์ด เกียนี่ นักแสดงชายชาวไทย
- 13 สิงหาคม - แจมิน นาแจมิน สมาชิกวง NCT
กันยายน[แก้]
ตุลาคม[แก้]
- 31 ตุลาคม - วิลโลว์ สมิธ นักร้อง นักแสดงชาวอเมริกา
พฤศจิกายน[แก้]
- 9 พฤศจิกายน - ปัญสิกรณ์ ติยะกร (ปัญ) สมาชิก BNK48
- 11 พฤศจิกายน - ภัทรนรินทร์ เหมือนฤทธิ์ (นาย) สมาชิกวง BNK48
- 20 พฤศจิกายน - คอนนี ทัลบอต นักร้อง นักแสดงชาวอังกฤษ
ธันวาคม[แก้]
- 18 ธันวาคม - กรภัทร์ เกิดพันธุ์ นักแสดงชายชาวไทย
วันถึงแก่กรรม[แก้]
ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: หมวดหมู่:บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2543
- 20 กุมภาพันธ์ - ภมร อโนทัย นักจัดรายการแต่งเพลงอิสระ (เกิด 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500)
- 29 เมษายน - พระพรหมมุนี (บู่ สุจิณฺโณ) อดีตพระราชาคณะเจ้าคณะรอง อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร (เกิด 20 มีนาคม พ.ศ. 2451)
- 16 มิถุนายน - สมเด็จพระจักรพรรดินีโคจุงแห่งญี่ปุ่น (ประสูติ 6 มีนาคม พ.ศ. 2446)
- 9 สิงหาคม - อมรเทพ ดีโรจน์วงศ์ นักธุรกิจชาวไทย (เกิด 20 เมษายน พ.ศ. 2486)
- 24 กันยายน - แผ้ว สนิทวงศ์เสนี บุคคลดีเด่นด้านศิลป์ (เกิด 25 ธันวาคม พ.ศ. 2446)
- 17 สิงหาคม - หม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ ศิลปินชาวไทย (เกิด 28 ธันวาคม พ.ศ. 2457)
- 24 สิงหาคม - ฟ้ารุ่ง ชาลีรักษ์ นักแสดงชาวไทย (เกิด 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2517)
- 7 พฤศจิกายน - อิงกริดแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก (ประสูติ 28 มีนาคม พ.ศ. 2453)
รางวัลโนเบล[แก้]
- สาขาเคมี – Alan J. Heeger, Alan G MacDiarmid, Hideki Shirakawa
- สาขาวรรณกรรม – เกา ซิงเจี้ยน
- สาขาสันติภาพ – คิม แดจุง
- สาขาฟิสิกส์ – Zhores Ivanovich Alferov, Herbert Kroemer, Jack Kilby
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – อาร์วิด คาร์ลสัน, พอล กรีนการ์ด, อีริค อาร์. แคนเดล
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – James J. Heckman, Daniel McFadden
วิดีโอเกมส์[แก้]
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: พ.ศ. 2543 |