ตีแยรี อ็องรี
ข้อมูลส่วนตัว | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | ตีแยรี ดานีแยล อ็องรี[1] | |||||||||||||||||||||||||||
วันเกิด | [2] | 17 สิงหาคม ค.ศ. 1977|||||||||||||||||||||||||||
สถานที่เกิด | เลซูว์ลิส ฝรั่งเศส | |||||||||||||||||||||||||||
ส่วนสูง | 1.88 m (6 ft 2 in)[1] | |||||||||||||||||||||||||||
ตำแหน่ง | กองหน้าตัวเป้า | |||||||||||||||||||||||||||
สโมสรเยาวชน | ||||||||||||||||||||||||||||
1983–1989 | เซโอเลซูว์ลิส | |||||||||||||||||||||||||||
1989–1990 | อูว์แอ็สปาแลโซ | |||||||||||||||||||||||||||
1990–1992 | วีรี-ชาตียง | |||||||||||||||||||||||||||
1992 | แกร์ฟงแตน | |||||||||||||||||||||||||||
1992–1994 | มอนาโก | |||||||||||||||||||||||||||
สโมสรอาชีพ* | ||||||||||||||||||||||||||||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) | |||||||||||||||||||||||||
1994–1999 | มอนาโก | 105 | (20) | |||||||||||||||||||||||||
1999 | ยูเวนตุส | 16 | (3) | |||||||||||||||||||||||||
1999–2007 | อาร์เซนอล | 254 | (174) | |||||||||||||||||||||||||
2007–2010 | บาร์เซโลนา | 80 | (35) | |||||||||||||||||||||||||
2010–2014 | นิวยอร์กเร็ดบุลส์ | 122 | (51) | |||||||||||||||||||||||||
2012 | → อาร์เซนอล (ยืมตัว) | 4 | (1) | |||||||||||||||||||||||||
รวม | 581 | (284) | ||||||||||||||||||||||||||
ทีมชาติ | ||||||||||||||||||||||||||||
1997 | ฝรั่งเศส อายุไม่เกิน 20 ปี | 5 | (3) | |||||||||||||||||||||||||
1997–2010 | ฝรั่งเศส | 123 | (51) | |||||||||||||||||||||||||
จัดการทีม | ||||||||||||||||||||||||||||
2018–2019 | มอนาโก | |||||||||||||||||||||||||||
2019–2021 | มอนทรีออลอิมแพ็กต์ | |||||||||||||||||||||||||||
2021– | เบลเยียม (ผู้ช่วยผู้จัดการทีม) | |||||||||||||||||||||||||||
เกียรติประวัติ
| ||||||||||||||||||||||||||||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
ตีแยรี ดานีแยล อ็องรี (ฝรั่งเศส: Thierry Daniel Henry ; เกิด 17 สิงหาคม ค.ศ. 1977) เป็นผู้ฝึกสอนและอดีตนักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส ปัจจุบันเป็นผู้จัดการทีมชาติฝรั่งเศสรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี และเป็นนักวิเคราะห์ฟุตบอล เขาได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางให้เป็นหนึ่งในผู้เล่นตำแหน่งกองหน้าที่ดีที่สุดตลอดกาล รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขันพรีเมียร์ลีก[3][4][5] และยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสรอาร์เซนอล[6] เขาได้รับการบรรจุชื่อเข้าสู่หอเกียรติยศพรีเมียร์ลีกใน ค.ศ. 2021[7] และได้รับการยกย่องให้มีชื่ออยู่ในฟีฟ่า 100 ใน ค.ศ. 2004[8]
อ็องรีเกิดที่เมืองเลซูว์ลิส จังหวัดเอซอน (ชานเมืองของปารีส) เขาเล่นให้กับทีมท้องถิ่น เป็นเด็กหนุ่มที่มีความมั่นใจในฐานะดาวยิงประตู จนอาแอ็ส มอนาโกได้เห็นแววใน ค.ศ. 1990 และได้เซ็นสัญญาโดยทันที เขาลงแข่งในฐานะนักฟุตบอลอาชีพใน ค.ศ. 1994 มีฟอร์มการเล่นที่ดีจนทำให้ติดทีมชาติใน ค.ศ. 1998 หลังจากที่เขาเซ็นสัญญากับยูเวนตุสในเซเรียอาในฤดูกาลป้องกันตำแหน่งแชมป์ แต่ก็ผิดหวังไปในการเล่นตำแหน่งปีก ก่อนที่เขาจะเซ็นสัญญากับอาร์เซนอลด้วยค่าตัว 11 ล้านปอนด์ ใน ค.ศ. 1999 ในการอยู่กับอาร์เซนอลทำให้อ็องรีมีชื่อเป็นนักฟุตบอลระดับโลก เขาเป็นผู้ทำประตูสูงสุดของอาร์เซนอลในแทบทุกฤดูกาลที่เขาอยู่ ภายใต้การเป็นผู้จัดการทีมอันยาวนานของอาร์แซน แวงแกร์ อ็องรีเป็นกองหน้าตัวเป้าที่ทำประตูมากมาย และเป็นผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของอาร์เซนอลจำนวน 228 ประตูในทุกรายการ เขาช่วยให้ทีมชนะเลิศพรีเมียร์ลีก 2 ครั้ง (รวมทั้งแชมป์ไร้พ่ายหนึ่งครั้ง) และเอฟเอคัพ 2 ครั้ง เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี 2 ครั้ง และได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ 2 ครั้ง และนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ 3 ครั้ง และยังเป็นผู้ทำประตูสูงสุดประจำฤดูกาลของพรีเมียร์ลีกถึง 4 ครั้ง อ็องรีเป็นกัปตันทีมอาร์เซนอลใน 2 ฤดูกาลสุดท้ายของเขา นำทีมเข้ารอบชิงชนะเลิศในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในฤดูกาล 2005–06
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 หลังจากใช้เวลา 8 ปีกับอาร์เซนอลเขาย้ายมาอยู่กับบาร์เซโลนาด้วยค่าตัว 24 ล้านยูโร เกียรติประวัติแรกกับสโมสรเกิดขึ้นใน ค.ศ. 2009 เมื่อสโมสรได้ 3 แชมป์ โดยชนะเลิศลาลิกา โกปาเดลเรย์ และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และทีมยังได้รางวัลเป็น 6 ถ้วยรางวัลโดยรวมจากการชนะเลิศอีก 3 ถ้วยในปีนั้นคือ ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา ยูฟ่าซูเปอร์คัพ ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ โดยรวมแล้วอ็องรีได้รับการเสนอชื่อทีมแห่งปีของยูฟ่า 5 ครั้ง ต่อมาใน ค.ศ. 2010 เขาย้ายมาอยู่กับนิวยอร์กเรดบูลส์ในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ นำทีมชนะเลิศในอีสเทิร์นคอนฟีเรนซ์ใน ค.ศ. 2010 ก่อนที่อาร์เซนอลได้ยืมตัวเขาใน ค.ศ. 2012 เป็นเวลา 2 เดือน และประกาศเลิกเล่นอาชีพใน ค.ศ. 2014
ความสำเร็จในฐานะนักฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส เขานำทีมชนะเลิศฟุตบอลโลก 1998, ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000, คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 ซึ่งเขาได้รับทั้งรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมและผู้ทำประตูสูงสุดในการแข่งขัน เขาทำลายสถิติของมีแชล ปลาตีนีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 กับสถิติเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของฝรั่งเศส ซึ่งเขาครองสถิติดังกล่าวจนถึง ค.ศ. 2022 อ็องรียังได้รับรางวัลนักฟุตบอลชาวฝรั่งเศสยอดเยี่ยมแห่งปีถึง 5 ครั้ง อ็องรีเกษียณตัวเองจากทีมชาติหลังฟุตบอลโลก 2010 โดยลงสนามรวม 123 นัดและทำไป 51 ประตู
ภายหลังเกษยีณตนเองจากการเป็นนักฟุตบอล อ็องรีผันตัวเองไปทำหน้าที่ผู้ฝึกสอน เริ่มต้นด้วยการเป็นผู้ฝึกสอนทีมเยาวชนอาร์เซนอลใน ค.ศ. 2015 และทำหน้าที่นักวิเคราะห์การแข่งขันพรีเมียร์ลีกให้แก่ช่องสกายสปอร์ตควบคู่ไปด้วย ต่อมาใน ค.ศ. 2016 เขารับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยฝึกสอนทีมชาติเบลเยียมก่อนจะไปรับหน้าที่คุมทีมมอนาโกในลีกเอิงในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 และย้ายไปคุมทีมมอนทรีออลอิมแพ็กต์ในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ซึ่งเขาพาทีมเข้าถึงรอบเพล์ยออฟเพื่อตัดสินแชมป์ และกลับมาเป็นผู้ช่วยผู้ฝึกสอนทีมชาติเบลเยียมอีกครั้งจนถึง ค.ศ. 2022 ส่วนเรื่องนอกสนามเขาเป็นโฆษกเรื่องการต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติในกีฬาฟุตบอล อันเนื่องจากเคยมีประสบการณ์ถูกเหยียดสีผิวมาก่อน
ชีวิตช่วงแรก
อ็องรีมีเชื้อสายชาวเลสเซอร์แอนทิลลีส[9] โดยบิดา อ็องตวน มาจากกัวเดอลุป เกาะลาเดซีราด ส่วนมารดา มารีเซ มาจากมาร์ตีนิก เขาเกิดและโตในเมืองเลซูว์ลิส ชานเมืองของปารีส ถึงแม้ว่าจะเป็นย่านที่มีสังคมที่ไม่ดีนัก แต่ก็มีอุปกรณ์กีฬาฟุตบอลที่ดี[10][11] ในวัย 7 ปี อ็องรีได้แสดงศักยภาพที่ดีเยี่ยม สะดุดตาโกลด เชแซล ได้ชวนเขาร่วมกับสโมสรท้องถิ่น เซโอเลซูว์ลิส (CO Les Ulis) พ่อของเขาได้บังคับให้เขาร่วมฝึก เหตุด้วยในวัยเด็กของเขาจะยังไม่สนใจกีฬาฟุตบอลนี้นัก[2] เขาร่วมกับสโมสรอูว์แอ็สปาแลโซ (US Palaiseau) ใน ค.ศ. 1989 แต่หลังจากนั้น 1 ปี พ่อของเขาก็มีความขัดแย้งกับสโมสร อ็องรีจึงย้ายมาอยู่ เออแอ็สวีรี-ชาตียง (ES Viry-Châtillon) อยู่กับสโมสรนี้นาน 2 ปี[9] โดยมีผู้ฝึกสอนของอูว์แอ็สปาแลโซที่ชื่อ ฌ็อง-มารี ปันซา ได้ตามเขามาอยู่กับสโมสรนี้ด้วย[10]
ฟุตบอลสโมสร
โมนาโก (1992–1999) และยูเวนตุส (1999)
ใน ค.ศ. 1990 โมนาโกได้ส่งแมวมอง อาร์โนลด์ แคทาลาโน มาดูอ็องรี ซึ่งขณะนั้นอายุ 13 ปี มาดูการเล่นของเขา[12] อ็องรียิงได้ทั้งหมด 6 ประตู ทำให้ทีมชนะ 6–0 แคทาลาโนชวนเขามาอยู่โมนาโก โดยยังไม่ได้ทดลองการเล่นเลย แคทาลาโนร้องขอทางสถาบันแกร์ฟงแตนในการเรียนของอ็องรีให้ครบหลักสูตรการเรียน ถึงแม้ว่าผู้บริหารจะไม่เต็มใจนัก เพราะอ็องรีมีผลการเรียนไม่ดี แต่ท้ายสุดก็อนุญาตให้เขาจบหลักสูตรการเรียนและร่วมทีมเยาวชนของโมนาโกของอาร์แซน แวงแกร์[2] หลังจากนั้น อ็องรีเซ็นสัญญาอาชีพกับโมนาโก และเปิดตัวในฐานะนักฟุตบอลอาชีพเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1994 ในนัดที่แพ้นิส 2–0[12] ถึงแม้ว่าแวงแกร์จะคาดคะเนว่าอ็องรีอาจเป็นตัวนำทัพในฐานะกองหน้าตัวรุก แต่เขาก็ให้อ็องรีเล่นตำแหน่งปีกซ้าย เพราะเชื่อว่าฝีเท้าของเขา กับการควบคุมลูกบอลอย่างเป็นธรรมชาติและทักษะ จะทำให้มีประสิทธิภาพ ในตำแหน่งฟูลแบ็ก มากกว่าตำแหน่งเซนเตอร์แบ็ก[9]
หลังจากเริ่มทดลองอาชีพในโมนาโก อ็องรีได้รับตำแหน่งนักฟุตบอลดาวรุ่งฝรั่งเศสยอดเยี่ยมใน ค.ศ. 1996 และในฤดูกาล 1996–97 ผลงานอันแสดงความแข็งแกร่งของเขาทำให้สโมสรชนะเลิศฟุตบอลลีกเอิง[2][13] ในระหว่างฤดูกาล 1997–98 เขาเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำทีมเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก สร้างสถิติใหม่ของฟุตบอลฝรั่งเศส โดยยิง 7 ประตูในการแข่งขันนี้[9][14] ในฤดูกาลที่ 3 ของเขา เขาได้ลงแข่งในฐานะนักฟุตบอลทีมชาตินัดแรก และเป็นส่วนหนึ่งของทีมในชุดที่ชนะเลิศฟุตบอลโลก 1998[9] เขายังคงสร้างความประทับใจอย่างต่อเนื่องในระหว่างอยู่กับโมนาโก หลังจากอยู่กับสโมสรนี้ 5 ฤดูกาล ปีกวัยรุ่นคนนี้ยิงประตูในลีกได้ 20 ประตูจากการลงสนาม 105 นัด[13]
อ็องรีออกจากโมนาโกในเดือนมกราคม ค.ศ. 1999 ย้ายไปอยู่กับสโมสรอิตาลีในเซเรียอา สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส ด้วยค่าตัว 10.5 ล้านปอนด์[2] เขาเล่นในตำแหน่งปีก[15] แต่เขาก็ไม่สามารถฝ่าด่านกองหลังทีมเซเรียอา ในตำแหน่งที่ไม่ได้เป็นบุคลิกลักษณะสำหรับเขา โดยยิงได้เพียง 3 ประตู ในการลงสนาม 16 นัด[16]
อาร์เซนอล (1999–2007)
หลังจากไม่ประสบความสำเร็จในอิตาลีนัก อ็องรีย้ายออกจากยูเวนตุส เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1999 มาอยู่กับสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล ด้วยค่าตัวราว 11 ล้านปอนด์ กลับมาอยู่กับอดีตผู้จัดการทีมของเขาอีกครั้ง อาร์แซน แวงแกร์[17][18] เมื่ออยู่กับอาร์เซนอลทำให้ชื่อเขาติดอยู่ในนักฟุตบอลระดับโลก[19] และถึงแม้ว่าการย้ายมาจะไม่ปราศจากข้อพิพาทซะทีเดียว เพราะแวงแกร์โน้มน้าวว่าอ็องรีคุ้มค่าแก่การมีค่าตัว[9] และได้แทนที่เขากับศูนย์หน้าชาวฝรั่งเศส เพื่อนร่วมชาติ นีกอลา อาแนลกา โดยแวงแกร์ให้อ็องรีเป็นฝึกในตำแหน่งกองหน้าตัวเป้าโดยทันที การลงทุนของทีมก็เห็นผลในเวลาต่อมา แต่ก็มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถในการปรับเปลี่ยนความเร็วและลักษณะโดยธรรมชาติของฟุตบอลอังกฤษ เมื่อเขายิงประตูไม่ได้ใน 8 นัดแรก[10] หลังจากความยากลำบากในหลายเกมในอังกฤษ อ็องรียอมรับว่า "เขาต้องเรียนใหม่เกี่ยวกับศิลปะการเป็นศูนย์หน้าตัวเป้า"[10] ข้อสงสัยเริ่มคลายลงไปเมื่อจบฤดูกาลแรกที่อาร์เซนอล โดยเขายิงประตูสร้างความประทับใจได้ 26 ประตู[20] อาร์เซนอลอยู่อันดับ 2 ในฤดูกาลนั้นเป็นรองแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และแพ้ในยูฟ่าคัพ ต่อสโมสรตุรกี กาลาทาซาไร[9]
หลังจากกลับมาพร้อมชัยชนะในยูโร 2000 กับทีมชาติฝรั่งเศส อ็องรีก็พร้อมที่จะสร้างผลกระทบในฤดูกาล 2000–2001 ถึงแม้ว่าสถิติประตูและการช่วยส่งลูกยิงประตูจะน้อยกว่าในฤดูกาลแรก แต่ผลงานอ็องรีในฤดูกาลที่สองกับอาร์เซนอลก็พิสูจน์การแจ้งเกิดของเขา ทำให้เขากลายเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดของสโมสร[21] ติดอันดับหนึ่งในกองหน้าตัวเป้าที่ดีที่สุดในลีก ทำให้อาร์เซนอลเข้าใกล้คู่แข่งอันยาวนานอย่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด อย่างรวดเร็ว ในการเป็นผู้ชนะเลิศในลีก แต่อ็องรีก็ยังผิดหวัง เพราะจริง ๆ แล้ว เขายังไม่ได้นำทีมชนะในการแข่งขันในลีกนี้ และมักจะแสดงอารมณ์ความปรารถนาสร้างให้อาร์เซนอลเป็นมหาอำนาจ[9]
ในที่สุดความสำเร็จก็มาถึงในฤดูกาล 2001–2002 อาร์เซนอลเป็นแชมป์ในลีกโดยมีคะแนนเหนือลิเวอร์พูล 7 คะแนน และชนะเชลซี 2–0 ในเอฟเอคัพนัดชิงชนะเลิศ[9] อ็องรีเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดในลีก และยิงได้ 32 ประตูในทุกการแข่งขัน ทำให้อาร์เซนอลชนะเลิศได้ทั้งในลีกและฟุตบอลถ้วย และเป็นถ้วยแรกของเขากับสโมสร[2][21] มีความคาดหวังอย่างมากที่เขาจะมีฟอร์มการเล่นอย่างที่เล่นกับสโมสร ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 กับทีมชาติฝรั่งเศส แต่แล้วการป้องกันตำแหน่งแชมป์นี้ก็สร้างความตกตะลึงเมื่อฝรั่งเศสตกรอบตั้งแต่รอบแบ่งกลุ่ม[9]
ฤดูกาล 2002–2003 ก็พิสูจน์ได้ว่าเป็นอีกหนึ่งฤดูกาลที่รุ่งเรืองของอ็องรี เขายิงประตูได้ 32 ประตูในทุกการแข่งขัน และจ่ายลูกยิงประตู 23 ประตู เป็นการกลับมาเล่นตำแหน่งศูนย์หน้าตัวเป้า อันโดดเด่น[21] เขานำอาร์เซนอลชนะเลิศเอฟเอคัพอีกครั้ง (ซึ่งเขาได้เป็นผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัดในนัดชิงชนะเลิศ)[22] ถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะไม่ได้เป็นแชมป์ในพรีเมียร์ลีก[23] แต่ตลอดทั้งฤดูกาล เขามีสถิติยิงประตูในลีกสูสีกับรืด ฟัน นิสเติลโรย ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แต่จบด้วยการยิงประตูน้อยกว่าฟัน นิสเติลโรย[9] อย่างไรก็ตาม อ็องรีก็ได้รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอและนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษแห่งปี[24][25] ความเฉิดฉายของเขาในฐานะหนึ่งในนักฟุตบอลที่ดีที่สุดในโลก สามารถยืนยันได้จากการที่เขาเป็นรองชนะเลิศนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี ในค.ศ. 2003[19]
เมื่อเข้าสู่ฤดูกาล 2003–2004 อาร์เซนอลมีความตั้งใจที่จะครองแชมป์พรีเมียร์ลีก เป็นอีกครั้งที่อ็องรีเป็นเครื่องมือในความสำเร็จอันดีเยี่ยมของอาร์เซนอล ร่วมด้วยกับเพื่อนร่วมทีมอย่างแด็นนิส แบร์คกัมป์, ปาทริค วิเอร่า และรอแบร์ ปีแร็ส อ็องรีทำให้แฟนปืนใหญ่มีความมั่นใจ โดยกลายเป็นทีมแรกในประวัติศาสตร์กว่า 100 ปี ที่แข่งในลีกในฤดูกาลโดยไม่แพ้ทีมใดเลย (เรียกทีมชุดนี้ว่า ทีมไร้พ่าย) และครองแชมป์ลีกได้[26] นอกจากนั้นเขายังได้รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอและนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ เป็นปีที่สอง[24][25] อ็องรียังได้ที่ 2 ของรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี 2004[19] เขายิงประตู 39 ประตูในทุกการแข่งขัน เป็นผู้ทำประตูสูงสุดในลีกและได้รางวัลรองเท้าบูตทองคำแห่งยุโรป[2][27] อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 2002 อ็องรีไม่สามารถนำทีมชาติชนะเลิศในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 ได้[9]
ความสำเร็จก็ลดลงไปเมื่ออาร์เซนอลไม่สามารถป้องกันแชมป์ โดยเสียแชมป์ให้กับเชลซีในฤดูกาล 2004–05 ถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะชนะเลิศเอฟเอคัพ (โดยในนัดชิงชนะเลิศอ็องรีไม่ได้ลงแข่งเนื่องจากบาดเจ็บ)[13] อ็องรียังครองชื่อเสียงในฐานะหนึ่งในกองหน้าตัวเป้าที่น่ากลัวที่สุดในยุโรป โดยยิงประตูสูงสุดในลีก[2] กับจำนวนประตู 31 ประตูในทุกการแข่งขัน[28] เขาได้รับรางวัลรองเท้าบูตทองคำแห่งยุโรปร่วมกับเดียโก ฟอร์ลัน โดยเป็นนักฟุตบอลคนเดียวอย่างเป็นทางการที่ได้รางวัลนี้ 2 ครั้งติดต่อกัน (แอลลี แม็กคอยต์ได้รางวัลรองเท้าบูตทองคำ 2 ครั้งติดต่อกัน แต่ทั้งสองครั้งไม่ถือเป็นรางวัลอย่างเป็นทางการ)[27] หลังจากนั้นปาทริก วีเยรา เพื่อนร่วมชาติก็ออกจากทีมอย่างไม่คาดฝันในกลาง ค.ศ. 2005 ทำให้อ็องรีได้เป็นกัปตันทีม ตำแหน่งที่หลายคนรู้สึกว่าไม่เหมาะกับเขา ซึ่งกัปตันทีมส่วนมากมักจะให้กับกองหลังหรือกองกลาง ที่มีตำแหน่งบนสนามดีกว่า ในการอ่านเกม[2] เขาได้รับหน้าที่รับผิดชอบในการนำทีมวัยรุ่นที่ยังไม่ประสานกันดี[29]
ฤดูกาล 2005–06 พิสูจน์ให้เห็นว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่โดดเด่น ในวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2005 อ็องรีทำลายสถิติสโมสรโดยเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาล[30] โดย 2 ประตูในนัดแข่งกับสปาร์ตาปรากในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยทำลายสถิติของเอียน ไรต์ ที่ทำไว้ 185 ประตู[31] เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 เขายิง 1 ประตูในนัดพบกับเวสต์แฮมยูไนเต็ด ทำให้เขาเป็นผู้ยิงประตูในลีกสูงสุดของอาร์เซนอล ทำลายสถิตินักฟุตบอลตำนานอย่างคลิฟฟ์ แบสติน[32] อ็องรียิงประตูที่ 100 ในลีกที่สนามไฮเบอรี เป็นสถิติที่ไม่มีใครเทียบได้ในประวัติศาสตร์ของสโมสร และมากที่สุดในพรีเมียร์ลีกของสโมสร[33] โดยเมื่อจบฤดูกาล เขาเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดของลีก[2] และเป็นครั้งที่ 3 ที่เขาได้รับลงคะแนนเป็นนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ[13]
ถึงอย่างไรก็ตาม อาร์เซนอลไม่สามารถชนะเลิศพรีเมียร์ลีกได้อีกครั้ง แต่ก็มีความหวังในการคว้าถ้วยเมื่ออาร์เซนอลสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2006 แต่ท้ายสุดอาร์เซนอลก็แพ้ 2–1 ให้กับบาร์เซโลนา และอาร์เซนอลก็ไม่สามารถชนะเลิศลีกได้เป็นฤดูกาลที่ 2 ติดต่อกัน ประกอบกับผู้เล่นอ่อนประสบการณ์ของอาร์เซนอล เป็นเหตุพิจารณาให้อ็องรีย้ายออกสโมสร แต่อย่างไรก็ตามเขาออกมาประกาศว่าเขารักสโมสรและรับสัญญา 4 ปี และพูดว่าจะอยู่กับอาร์เซนอลตลอดชีพ[25] ในเวลาต่อมา เดวิด ดีน รองประธานของอาร์เซนอล กล่าวว่าสโมสรได้ปฏิเสธการยื่นประมูลตัวอ็องรีจากสโมสรในสเปน เป็นจำนวนเงิน 50 ล้านปอนด์ ก่อนที่จะเซ็นสัญญาใหม่กับเขา[34] ซึ่งหากสโมสรตกลงจะเป็นการทำลายสถิติค่าตัวของซีเนดีน ซีดาน กับจำนวนเงิน 47 ล้านปอนด์[34]
ในฤดูกาล 2006–2007 อ็องรีบาดเจ็บ[35] แต่ก็ยังสามารถยิงประตู 10 ประตูในการลงแข่ง 17 นัดให้กับอาร์เซนอล แต่ฤดูกาลของเขาก็จบลงในเดือนกุมภาพันธ์ เขาไม่สามารถลงแข่งได้เนื่องจากปัญหาการบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวาย ส่วนเท้าและหลัง และคาดว่าจะฟิตพอที่จะลงเป็นตัวสำรองได้ในการแข่งกับเพยัสเฟไอนด์โฮเวน (ดัตช์: PSV Eindhoven) ในการแข่งแชมเปียนส์ลีก[36] แต่ก็ต้องเดินโขยกเขยกหลังลงเล่นได้ไม่นาน ผลการสแกนพบว่าเขาต้องพักอย่างน้อย 3 เดือนเพื่อรักษาบริเวณขาหนีบและท้อง ทำให้เขาต้องพักในเวลาที่เหลือของฤดูกาล 2006–2007[37] แวงแกร์ กล่าวเมื่อเขาบาดเจ็บว่า อ็องรียังมีความสนใจที่จะอยู่กับอาร์เซนอลเพื่อสร้างทีมใหม่ในฤดูกาล 2007–2008[35]
บาร์เซโลนา (2007–2010)
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2007 เหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น อ็องรีย้ายไปอยู่กับสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาด้วยค่าตัว 24 ล้านยูโร โดยเซ็นสัญญา 4 ปี ได้รับค่าเหนื่อย 6.8 ล้านยูโร (4.6 ล้านปอนด์) ต่อฤดูกาล[38] ในสัญญาระบุค่าฉีกสัญญาเก่า 125 ล้านยูโร (84.9 ล้านปอนด์)[39] อ็องรีอ้างเหตุผล หลังจากที่ดีนได้ออกจากอาร์เซนอลและความไม่แน่นอนของอนาคตแวงแกร์ที่จะคุมทีม[40][41] แต่พูดต่อว่า "ผมพูดอยู่เสมอว่าถ้าผมจะออกจากอาร์เซนอล จะเล่นให้กับบาร์เซโลนา"[42] ถึงแม้ว่ากัปตันคนนี้จะออกจากทีมไป แต่อาร์เซนอลก็ยังคงสร้างความประทับใจได้ในฤดูกาล 2007–2008 อ็องรีก็ยอมรับว่า การอยู่ร่วมทีมของเขาอาจเป็นสิ่งกีดขวางการช่วยเหลือทีม เขากล่าวว่า "เพราะความอาวุโสของผม กับความเป็นจริงที่ผมเป็นกัปตันทีมและงานที่ต้องไล่ลูกบอล พวกเขาก็มักจะให้ตำแหน่งนี้ที่ไม่ใช่ตำแหน่งที่ดีที่สุดของผม จะเป็นการดีสำหรับทีมถ้าผมออกไป"[43] อ็องรีออกจากอาร์เซนอลในฐานะผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของสโมสร กับจำนวนประตู 174 ประตู และเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลในการแข่งขันฟุตบอลยุโรป โดยยิงได้ 42 ประตู[2] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 แฟนอาร์เซนอลลงคะแนนให้เขาเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดที่มีมาของอาร์เซนอล ในแบบสำรวจผู้เล่นที่ดีที่สุดของชาวกันเนอส์ ในเว็บไซต์ อาร์เซนอล.คอม[44]
กับบาร์เซโลนา อ็องรีสวมเสื้อหมายเลข 14 หมายเลขเดียวกับครั้งเมื่ออยู่กับอาร์เซนอล เขายิงประตูแรกให้กับสโมสรใหม่เมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2007 นัดชนะลียง 3–0 ในแชมเปียนส์ลีกรอบแบ่งกลุ่ม[45] หลังจากนั้น 10 วัน เขายิงแฮตทริกแรกให้กับบาร์ซาในลีก นัดแข่งกับเลบันเต[46] แต่อ็องรีก็เปลี่ยนมาเล่นปีกตลอดทั้งฤดูกาล เขาไม่สามารถยิงประตูได้เหมือนที่ประสบความสำเร็จกับอาร์เซนอล เขาแสดงความผิดหวังในการย้ายมาบาร์เซโลนาในปีแรก ๆ ท่ามกลางข่าวที่แพร่สะพัดว่าเขาจะกลับมาเล่นพรีเมียร์ลีก แต่ท้ายสุดเมื่อจบฤดูกาลแรกของเขา เขาก็เป็นผู้ยิงประตูสูงสุด จำนวน 19 ประตูและช่วยส่งลูกยิงประตู 9 ประตูในลีก
อ็องรียิงประตูมากขึ้นในฤดูกาล 2008–2009 ได้ถ้วยแรกกับบาร์เซโลนาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 เมื่อบาร์เซโลนาชนะอัตเลติกเดบิลบาโอในนัดชิงชนะเลิศโกปาเดลเรย์ บาร์เซโลนายังเป็นผู้ชนะเลิศลาลิกาและยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกหลังจากนั้น ได้ 3 ถ้วยในฤดูกาลเดียว เมื่อรวมกับผลงานยิงประตูของเขากับลิโอเนล เมสซิ และ ซามูแอล เอโต แล้ว มีประตูรวมถึง 100 ประตูในฤดูกาลนั้น ทั้ง 3 คนสามารถทำสถิติยิงประตูในลีก 72 ประตู แซงหน้าสถิติเดิมของเรอัลมาดริด 66 ประตูของเฟเรนส์ ปุชคัช, อัลเฟรโด ดี สเตฟาโน และลุยส์ เดล ซอล ในฤดูกาล 1960–1961 และต่อมาใน ค.ศ. 2009 อ็องรีช่วยให้บาร์เซโลนาชนะถ้วยรางวัลเพิ่มเป็น 6 ถ้วย รวมกับถ้วยที่กล่าวมาตอนต้นกับ โดยชนะเลิศ ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ[47]
ในฤดูกาลถัดมาเมื่อเปโดร โรดรีเกซแจ้งเกิด ทำให้อ็องรีได้ลงสนามในลีกเพียง 15 นัด[21] ก่อนฤดูกาลในลาลิกาจะจบลง และอีกไม่ถึงปีก่อนสัญญาจะหมด ประธานสโมสร ชูอัน ลาปอร์ตา กล่าวเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ว่า "อ็องรีอาจออกจากสโมสรในช่วงการซื้อขายนักเตะช่วงฤดูร้อน ถ้าหากเป็นสิ่งที่อ็องรีต้องการ"[48] หลังอ็องรีกลับมาจากการแข่งฟุตบอลโลก 2010 บาร์เซโลนายืนยันในการขายอ็องรีให้กับสโมสรแห่งหนึ่ง ซึ่งอ็องรียอมรับเงื่อนไขของสโมสรใหม่นี้[49]
นิวยอร์ก เรดบูลส์ (2010–2014)
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2010 อ็องรีเซ็นสัญญาหลายปีกับสโมสรนิวยอร์ก เรดบูลส์ ในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ ในฤดูกาล 2010 เป็นนักฟุตบอลคนที่ 2 เมื่อเริ่มมีกฎผู้เล่นแต่งตั้ง[50] เขาลงแข่งครั้งแรกในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ในการแข่งขันเสมอกับฮิวสตัน ไดนาโม 2–2 โดยเป็นผู้ช่วยส่งลูกทำประตูให้ควน ปาโบล อังเคล ทั้ง 2 ลูก ส่วนประตูลูกแรกในเมเจอร์ลีกซอกเกอร์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ในชัยชนะเหนือแซนโฮเซ เอิร์ทเควกส์ 2–0 ท้ายสุดเรดบูลส์ ติดอันดับ 1 ของฝั่งตะวันออก โดยมีคะแนนนำโคลัมบัส ครูว์ 1 คะแนน[51] แต่พ่ายให้กับแซนโฮเซ เอิร์ทเควกส์ ในผลรวมคะแนน 3–2 รอบก่อนชิงชนะเลิศของถ้วยเอ็มแอลเอสเพลย์ออฟส์ 2010[52] ฤดูกาลถัดมาเรดบูลส์ ติดอันดับ 10 ในลีก[53] และเข้ารอบรองชนะเลิศ ของถ้วยเอ็มแอลเอสเพลย์ออฟส์ 2011
อาร์เซนอลยืมตัว
หลังจากได้ร่วมฝึกซ้อมกับอาร์เซนอลในระหว่างปิดฤดูกาลของเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ อ็องรีได้เซ็นสัญญาอีกครั้งในสัญญายืมตัวกับอาร์เซนอลเป็นเวลา 2 เดือน เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2012 เพื่อทดแทนในช่วงที่แฌร์วินโยและมารูยาน ชามัคห์ ที่ต้องไปแข่งขันในแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2012[54] อ็องรีลงแข่งนัดแรกเป็นครั้งที่ 2 กับอาร์เซนอลในการเปลี่ยนตัวของการแข่งขันเอฟเอคัพ รอบที่ 3 แข่งขันกับลีดส์ยูไนเต็ด โดยเขายิงประตูในนัดที่ทีมชนะเพียงประตูเดียวนี้[55] ต่อมาวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 เขายิงประตูแรกในลีกหลังจากการกลับมา ในนัดแข่งกับสโมสรฟุตบอลแบล็กแบร์นโรเวอส์ ทีมชนะ 7–1[56] ในสัปดาห์ต่อมา ในนัดสุดท้ายในลีก เขายิงประตู ทำให้ทีมชนะซันเดอร์แลนด์ 2–1[57] สัญญายืมตัวหมดลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 และอ็องรีกลับสู่เรดบูลส์
ทีมชาติ
อ็องรีประสบความสำเร็จในฐานะนักฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส โดยลงแข่ง 123 นัด เริ่มลงนัดแรกในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1997 เมื่อเขามีฟอร์มการเล่นดีให้กับโมนาโก ทำให้เขาถูกเรียกตัวเล่นให้กับทีมชาติฝรั่งเศสรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี เขาลงแข่งในฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี ค.ศ. 1997 ร่วมกับเพื่อนร่วมทีมในอนาคตของเขาอย่างวีลียาม กาลัส และดาวิด เตรเซแก[2] และภายใน 4 เดือน หัวหน้าโค้ชชาวฝรั่งเศส แอเม ฌาเก เรียกตัวอ็องรีเข้าเล่นกับทีมรุ่นใหญ่ เขาลงแข่งเปิดตัวนัดแรกในฐานะทีมรุ่นใหญ่เมื่ออายุ 20 ปี เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1997 โดยชนะแอฟริกาใต้ 2–1[58] ฌาเกประทับใจในตัวอ็องรี โดยยังให้เขาลงเล่นในฟุตบอลโลก 1998 ถึงแม้ว่า ณ ตอนนั้นอ็องรียังไม่เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติอย่างกว้างขวาง แต่เมื่อจบการแข่งขัน เขาเป็นผู้เล่นฝรั่งเศสที่ทำประตูสูงสุด คือยิงได้ 3 ประตู[59] ในนัดชิงชนะเลิศที่ฝรั่งเศสชนะบราซิล 3–0 ทีมมีแผนว่าจะให้เขาลงในฐานะตัวสำรอง แต่เนื่องจากมาร์แซล เดอซาลีถูกใบแดง จึงจำเป็นต้องเสริมเกมรับแทน ในปี ค.ศ. 1998 อ็องรีได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นสูงสุดของฝรั่งเศส[60]
อ็องรียังติดอยู่ในทีมชุดยูโร 2000 ของฝรั่งเศส เป็นอีกครั้งที่เขายิงได้ 3 ประตูในการแข่งขัน เมื่อจบแล้วเขาเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดของทีมชาติฝรั่งเศส รวมถึงประตูที่เขายิงประตูเสมอในนัดแข่งกับโปรตุเกสในรอบรองชนะเลิศ [61] ท้ายสุดฝรั่งเศสชนะโปรตุเกสในการต่อเวลาพิเศษ โดยซีเนดีน ซีดานยิงจุดโทษ ฝรั่งเศสแข่งนัดตัดสินกับอิตาลี และสามารถชนะได้ในการต่อเวลาพิเศษ ทำให้อ็องรีได้เหรียญทองเป็นเหรียญที่สองในฐานะทีมชาติ[62] ในระหว่างการแข่งขันครั้งนี้ อ็องรีได้รับลงคะแนนเสียงเป็น ผู้เล่นแห่งนัด 3 นัด รวมถึงในนัดตัดสินที่แข่งกับอิตาลีด้วย[63]
ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 ฝรั่งเศสตกรอบไปอย่างรวดเร็วในรอบแบ่งกลุ่ม อ็องรีไม่สามารถยิงประตูได้ในการแข่งทั้ง 3 นัด[2] ฝรั่งเศสแพ้ในนัดแรกของรอบแบ่งกลุ่ม และอ็องรีก็ได้ใบแดงไปในการไถลตัวอันตราย ในอีกนัดที่แข่งกับอุรุกวัย[9] ในเกมนี้ฝรั่งเศสเสมอ 0–0 ทำให้อ็องรีไม่สามารถลงแข่งในนัดสุดท้าย ที่ฝรั่งเศสแพ้เดนมาร์ก 2–0[9]
อ็องรีเรียกฟอร์มกลับคืนให้กับทีมชาติได้อีกครั้งในคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 ถึงแม้ว่าทีมจะไม่มีผู้นำทีมอย่าง ซีดานและปาทริก วีเยรา ฝรั่งเศสก็สามารถชนะการแข่งขันนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการเล่นอันโดดเด่นของอ็องรี เขาได้เป็นผู้เล่นแห่งนัดจากกลุ่มการศึกษาทางเทคนิคของฟีฟ่า จาก 3 ใน 5 นัด[2] ในนัดตัดสินเขายิงประตูชัยในการต่อเวลาพิเศษ ทำให้ทีมเจ้าภาพนี้ชนะเหนือแคเมอรูน[2] อ็องรีได้รับรางวัลลูกบอลทองคำ ในฐานะผู้เล่นที่โดดเด่นของการแข่งขันและได้รางวัลรองเท้าทองคำในฐานะผู้เล่นที่ยิงประตูสูงสุด คือยิงได้ 4 ประตู[2]
ในฟุตบอลยูโร 2004 อ็องรีได้ลงเล่นทุกนัดให้กับฝรั่งเศส เขายิงได้ 2 ประตู[13] ฝรั่งเศสชนะอังกฤษในรอบแบ่งกลุ่ม แต่ท้ายสุด แพ้ด้วยประตู 1–0 ให้กับกรีซ ทีมแชมป์ของการแข่งขันนี้ ในรอบก่อนชิงชนะเลิศ[64] ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 อ็องรียังคงเป็นหนึ่งในทีม เขาเล่นเป็นกองหน้าตัวเป้าเพียงผู้เดียว แต่ถึงแม้ว่าฝรั่งเศสจะเริ่มต้นไม่ค่อยดีนัก แต่ท้ายสุดเขาก็เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ดีที่สุดของฟุตบอลโลกครั้งนี้ เขายิงได้ 3 ประตู รวมถึงประตูชัยจากลูกฟรีคิกของซีดานในการแข่งกับแชมป์เก่า บราซิล[2] อย่างไรก็ดี ฝรั่งเศสก็แพ้ให้กับอิตาลีในการดวลจุดโทษ (5–3) ในนัดชิงชนะเลิศ อ็องรีไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้ยิงจุดโทษนี้ เขาถูกเปลี่ยนตัวในการต่อเวลาพิเศษ หลังจากที่เป็นตะคริวที่ขา[65] อ็องรีติดอยู่ใน 1 ใน 10 ของรางวัลลูกบอลทองคำสาขาผู้เล่นแห่งการแข่งขันครั้งนี้ แต่ผู้ได้รางวัลคือเพื่อนร่วมทีม ซีดาน[66] และเขาติดอยู่ในผู้เล่นกองหน้าตัวเป้าของทีมฟิฟโปรเวิลด์ XI ปี 2006[67]
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2007 อ็องรียิงประตูที่ 41 ในนัดแข่งกับหมู่เกาะแฟโร ทำให้เขามีสถิติร่วมกับมีแชล ปลาตีนีในฐานะผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของฝรั่งเศส[43] หลังจากนั้น 4 วันที่สนามสตาดเดอลาโบฌัวร์ เขายิงอีก 2 ประตูในท้ายนัดที่แข่งกับลิทัวเนีย และสร้างสถิติใหม่ในฐานะผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของฝรั่งเศส[68] ในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 2008 อ็องรีลงแข่งในฐานะนักฟุตบอลทีมชาติเป็นนัดที่ 100 ในนัดแข่งกับโคลอมเบีย ถือเป็นนักฟุตบอลฝรั่งเศสคนที่ 6 ที่ลงเล่นทีมชาติผ่าน 100 นัด[69]
ทีมชาติฝรั่งเศสพยายามดิ้นรนต่อสู้ในการแข่งขันขันรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010 และจบลงด้วยการเป็นที่ 2 ของกลุ่มตามหลังเซอร์เบีย และในการแข่งขันรอบเพลย์ออฟกับไอร์แลนด์ อ็องรีมีส่วนเกี่ยวข้อกับกรณีพิพาทในนัดที่ 2 ของเกมที่แข่งขันที่สตาดเดอฟร็องส์ ในวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2009 ในขณะที่นั้นผลประตูรวมเสมอ 1–1 เมื่อมาถึงการต่อเวลาพิเศษ เขาใช้มือปัดเพื่อควบคุมลูกบอลก่อนที่จะส่งลูกข้ามผ่านไปยังวีลียาม กาลัส ยิงลูกเข้าประตูจนได้ชัยชนะ[70] เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดกระแสวิจารณ์ต่อต้านอ็องรี ขณะที่ผู้จัดการทีมชาติฝรั่งเศส แรมง ดอแมแน็ก และผู้จัดการทีมอาร์เซนอล อาร์แซน แวงแกร์ ออกมาปกป้องเขา[71][72] สมาคมฟุตบอลไอร์แลนด์แสดงความไม่พอใจกับฟีฟ่า โดยร้องขอให้มีการแข่งขันใหม่ แต่ฟีฟ่าปฏิเสธไป[73] อ็องรีออกมาพูดว่า เขาได้พิจารณาการเกษียณตัวเองออกจากการเล่นทีมชาติหลังจากเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้[74] แต่ยังคงแสดงเจตนารมณ์ว่าเขาไม่ได้โกง โดยกล่าวหลังจากที่ฟีฟ่าปฏิเสธการแข่งขันใหม่ไม่กี่ชั่วโมง และเขากล่าวต่อว่า การแก้ปัญหาที่ยุติธรรมที่สุดควรเป็นการแข่งขันใหม่[75] ประธานฟีฟ่า เซปป์ บลัตแตร์ (Sepp Blatter) กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่า "เป็นการเล่นที่ยุติธรรมอย่างเห็นได้ชัด" และประกาศว่าจะมีการสอบสวนว่าจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกในอนาคตได้อย่างไร และยังกล่าวต่อว่า เหตุการณ์ครั้งนี้จะตรวจสอบโดยคณะกรรมการด้านวินัย[76] บลัตแตร์ยังบอกว่าอ็องรีบอกเขาว่า ครอบครัวของเขาถูกคุกคามหลังจากเกิดเหตุครั้งนี้[77] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2010 ฟีฟ่าประกาศว่า อ็องรีไม่มีความผิดใด[78]
อ็องรีไม่ได้ลงแข่งในชุดทีมชาติฝรั่งเศส ในฟุตบอลโลก 2010 แต่เริ่มแรก ฝรั่งเศสแข่งขันนัดแรกโดยเสมอกับอุรุกวัย แต่พ่าย 2–0 ให้กับเม็กซิโกในนัดที่ 2 และทีมอยู่ในความสับสนวุ่นวายเมื่อนีกอลา อาแนลกาถูกไล่ออกจากทีม และกัปตันทีม ปาทริส เอวรา นำทีมต่อต้านโดยปฏิเสธการขึ้นรถไฟ[79] ในนัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่ม ที่แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ อ็องรีลงแข่งในฐานะตัวสำรองในครึ่งหลัง ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ 2–1 และตกรอบไป ไม่นานนักเขาก็ประกาศเกษียณจากการเล่นฟุตบอลทีมชาติ โดยเขาลงแข่งขึ้นให้กับทีมชาติ 123 นัด และยิงประตู 51 ประตู[80]
รูปแบบการเล่น
ถึงแม้ว่าอ็องรีจะเล่นในตำแหน่งกองหน้าตัวเป้าตั้งแต่ครั้งอยู่ในชุดเยาวชน[10] แต่เมื่อเขาอยู่กับโมนาโกและยูเวนตุส เขาก็ได้เล่นในตำแหน่งปีก จนเมื่ออ็องรีเข้ามาอยู่กับอาร์เซนอลในปี ค.ศ. 1999 แวงแกร์ก็ได้เปลี่ยนตำแหน่งการเล่นเขาทันที โดยเปลี่ยนมาเล่นในตำแหน่งที่เขาเคยเล่นสมัยเยาวชน โดยจะเล่นคู่กับเพื่อนร่วมทีมชาวดัตช์ที่มากประสบการณ์อย่าง แด็นนิส แบร์คกัมป์[15] ในฤดูกาล 2004–05 แวงแกร์เปลี่ยนรูปแบบการเล่นของอาร์เซนอลมาเป็น 4–5–1[81] การเปลี่ยนรูปแบบการเล่นนี้ทำให้อ็องรีต้องปรับตัวอีกครั้ง มีหลายเกมที่เขาเล่นเป็นกองหน้าตัวเป้าคนเดียว[15] อ็องรียังคงเป็นผู้เล่นแนวรุกที่สำคัญของอาร์เซนอล มีหลายครั้งสามารถยิงประตูได้น่าตื่นเต้นดุจดั่งเวทมนตร์ แวรแกร์เคยพูดถึงเขาไว้ว่า "ตีแยรี อ็องรี สามารถที่จะนำพอลได้จากกลางสนามและสามารถยิงประตูที่ไม่มีใครในโลกสามารถยิงได้"[82]
หนึ่งในเหตุผลที่เขาได้รับการชมเชยในการเล่นอันน่าประทับใจในการเล่นกองหน้านั้น คือความสามารถที่ยิงประตูแบบหนึ่งต่อหนึ่งได้อย่างใจเย็น[83] นี่รวมถึงความยอดเยี่ยมของฝีเท้า ที่เขาสามารถเลี้ยงลูกฝ่ากองหลังเข้าทำประตูได้เป็นประจำ[10][84] เมื่อเริ่มเล่น เขาเป็นที่รู้จักในด้านการเคลื่อนตัวไปทางแนวกว้างไปในตำแหน่งปีกซ้าย[85][86] จากนั้นเขาก็สามารถเป็นผู้จ่ายบอลได้มากมาย โดยในระหว่างฤดูกาล 2002–2003 และ 2004–2005 เขาเป็นผู้จ่ายบอลยิงประตูได้ 50 ลูก แสดงให้เห็นถึงความใจกว้างและความคิดสร้างสรรค์ในการเล่นของเขา[30] อีกรูปแบบการเล่นของเขา อ็องรีดันตัวเองมาอยู่ ณ ตำแหน่งล้ำหน้าเพื่อหลอกกองหลัง จากนั้นก็วิ่งถอยไปให้อยู่ในตำแหน่งไม่ล้ำหน้า ก่อนที่จะเล่นลูก และทำลายกับดักล้ำหน้าของทีมคู่แข่ง[87] ความหลากหลายในการเล่นทั้งในตำแหน่งปีกและกองหน้าตัวเป้า เขาไม่ใช่นักฟุตบอลที่เดาทางถูกได้ง่าย เขาเป็นกองหน้าตัวเป้าอย่างแท้จริง เขายังเป็นกองหน้าที่ยิงลูกได้อย่างเป็นกอบเป็นกำอย่างสม่ำเสมอของยุโรป[9] อ็องรีเป็นตัวเลือกแรกในการยิงลูกโทษ การเตะลูกเซตพีซ และการเตะลูกฟรีคิกของอาร์เซนอลเสมอ โดยเขายังสามารถยิงประตูได้อย่างสม่ำเสมออีกด้วย[88]
รางวัลและเกียรติยศ
สโมสร
- โมนาโก
- ลีกเอิง (1): 1996–97
- โตรเฟเดช็องปียง (1): 1997
- อาร์เซนอล
- พรีเมียร์ลีก (2): 2001–2002, 2003–2004
- เอฟเอคัพ (3): 2002, 2003, 2005
- เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ (2): 2002, 2004
- บาร์เซโลนา
- ลาลิกา (2): 2008–2009, 2009–2010
- โกปาเดลเรย์ (1): 2008-2009
- ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา (1): 2009
- ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (1): 2008-2009
- ยูฟ่าซูเปอร์คัพ (1): 2009
- ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก (1): 2009
- นิวยอร์ก เรดบูลส์
ทีมชาติ
- ฝรั่งเศส
- ชนะเลิศ: ฟุตบอลโลก 1998
- รองชนะเลิศ: ฟุตบอลโลก 2006
- ชนะเลิศ: ยูโร 2000
- ชนะเลิศ: คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003
- ชนะเลิศ: ถ้วยฮัสซานที่ 2 ปี ค.ศ. 2000
เกียรติยศส่วนตัว
อ็องรีได้รับการยกย่องและรางวัลในอาชีพการเล่นฟุตบอลหลากหลายรางวัล เขาได้ตำแหน่งรองชนะเลิศนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี 2003 และ 2004[19] ใน 2 ฤดูกาลนี้เขายังได้รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ[25] อ็องรียังเป็นนักฟุตบอลคนเดียวที่เคยได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ 3 ปี (2003, 2004, 2006)[25] และยังถือสถิติได้รางวัลนักฟุตบอลฝรั่งเศสแห่งปี 4 ครั้ง เขายังได้รับลงคะแนนเสียงทีมแห่งทศวรรษประเภททีมโพ้นทะเล ในการสำรวจจาก 10 ฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก ใน ค.ศ. 2003[89] และใน ค.ศ. 2004 เขายังติดรายชื่อนักฟุตบอล 125 คน ที่ยังมีชีวิตอยู่ที่ดีที่สุดของเปเล่[90]
ในด้านรางวัลการยิงประตู อ็องรีได้รางวัลรองเท้าบูตทองคำยุโรปใน ค.ศ. 2004 และ 2005 (ได้รางวัลร่วมกับเดียโก ฟอร์ลัน แห่งสโมสรฟุตบอลบิยาร์เรอัล ใน ค.ศ. 2005)[27] อ็องรียังถือสถิติ เป็นผู้ยิงประตูสูงสุดในพรีเมียร์ลีก 4 ฤดูกาล (2002, 2004, 2005, 2006)[2] ใน ค.ศ. 2006 เขาเป็นผู้เล่นคนแรกที่ยิงประตูได้มากกว่า 20 ประตูใน 5 ฤดูกาลติดต่อกัน (ตั้งแต่ ค.ศ. 2002 ถึง 2006)[91] เขายังคงถือสถิติเป็นผู้ยิงประตูสูงสุดตลอดกาลของพรีเมียร์ลีก อันดับที่ 3 เป็นรองเพียงอลัน เชียเรอร์และแอนดี โคล เขาเป็นชาวฝรั่งเศสที่ยิงประตูสูงสุดตลอดกาล และยังได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักฟุตบอลที่ดีที่สุดในโลก จากโค้ช นักฟุตบอล และผู้เชี่ยวชาญด้านฟุตบอล[21][92][93][94] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เขาติดอยู่อันดับ 33 ของการจัดอันดับนักฟุตบอลที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่เคยมีมา โดยสถาบันนักสถิติฟุตบอล[95] แฟนฟุตบอลอาร์เซนอลยกย่องเขาใน ค.ศ. 2008 โดยประกาศให้เป็นนักฟุตบอลที่ยอดเยี่ยมที่สุดของอาร์เซนอล[44] นอกจากนี้ในการสำรวจใน ค.ศ. 2008 เขาติดอยู่ในรายชื่อผู้เล่นที่เป็นที่ชื่นชอบที่สุดในพรีเมียร์ลีกตลอดกาล จากการสำรวจคน 32,000 คน[96][97] ในปี ค.ศ. 2009 อ็องรีได้รับลงคะแนนเสียงว่าเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดในพรีเมียร์ลีกในคริสต์ทศวรรษ 2000[98] และเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2011 อาร์เซนอลเปิดตัวรูปปั้นทำจากบรอนซ์ ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเฉลิมฉลองครบรอบ 125 ปีของอาร์เซนอล[99]
รายชื่อรางวัลที่อ็องรีได้รับ:
- รางวัลนักฟุตบอลดาวรุ่งลีกเอิงของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพฝรั่งเศส (1): 1996–1997
- นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ (2): 2002–03, 2003–2004
- ทีมยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ (6): 2000-2001, 2001-2002, 2002-2003, 2003-2004, 2004-2005, 2005-2006
- นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ (3): 2002–2003, 2003–2004, 2005–2006
- รางวัลรองเท้าบูตทองคำพรีเมียร์ลีก (4): 2001–2002, 2003–2004, 2004–2005, 2005–2006.
- รางวัลรองเท้าบูตทองคำ แลนด์มาร์ก 10 (1): 2004–2005
- รางวัลรองเท้าบูตทองคำ แลนด์มาร์ก 20 (1): 2004–2005
- รางวัลผู้เล่นแห่งเดือนของพรีเมียร์ลีก (4): เมษายน 2000, กันยายน 2002, มกราคม 2004, เมษายน 2004
- ประตูแห่งฤดูกาล (1): 2002–2003
- ทีมแห่งปีของยูฟ่า (5): 2001, 2002, 2003, 2004, 2006
- ผู้เล่นที่ดีที่สุด 11 คนของเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ (1): 2011
- ผู้เล่นแห่งเดือนของเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ (1): มีนาคม 2012
- อ็องซ์ดอร์ (2): 2003, 2006
- รองเท้าบูตทองคำยุโรป (2): 2003-2004, 2004-2005
- นักฟุตบอลฝรั่งเศสแห่งปี (5): 2000, 2003, 2004, 2005, 2006
- ผู้เล่นยิงประตูสูงสุดแห่งปีของสหพันธ์ประวัติศาสตร์และสถิติฟุตบอลนานาชาติ (1): 2003
- ฟีฟ่าฟิฟโปรเวิลด์ XI (1): 2006
- รางวัลฟุตบอลโลก ทีมรวมดารา (1): ฟุตบอลโลก 2006
- รางวัลลูกบอลทองคำคอนเฟเดอเรชันส์คัพ (1): คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003
- รางวัลรองเท้าทองคำคอนเฟเดอเรชันส์คัพ (1): คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003
- รางวัลทีมยอดเยี่ยมฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (1): 2000
- ฟีฟ่า 100 : 2004
- ไทม์ 100 วีรบุรุษและนักบุกเบิก อันดับ 16 : 2007
- หอเกียรติยศแห่งฟุตบอลอังกฤษ : 2008
- หอเกียรติยศพรีเมียร์ลีก : 2021
- รางวัลพรีเมียร์ลีก 10 ฤดูกาล (1992–2093 – 2001–2002)
- ทีมแห่งทศวรรษประเภททีมโพ้นทะเล
- เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ : 1998
สถิติ
สโมสร
สโมสร | ฤดูกาล | ลีก | คัป[102] | ฟุตบอลแห่งทวีป[103] | รวม | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลงแข่ง | ประตู | ช่วยทำประตู | ลงแข่ง | ประตู | ช่วยทำประตู | ลงแข่ง | ประตู | ช่วยทำประตู | ลงแข่ง | ประตู | ช่วยทำประตู | ||
โมนาโก | 1994–95 | 8 | 3 | 1 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 8 | 3 | 1 |
1995–96 | 18 | 3 | 5 | 3 | 0 | 1 | 1 | 0 | 0 | 22 | 3 | 6 | |
1996–97 | 36 | 9 | 8 | 3 | 0 | 1 | 9 | 1 | 4 | 48 | 10 | 13 | |
1997–98 | 30 | 4 | 9 | 5 | 0 | 2 | 9 | 7 | 1 | 44 | 11 | 12 | |
1998–99 | 13 | 1 | 3 | 1 | 0 | 0 | 5 | 0 | 2 | 19 | 1 | 5 | |
รวม | 105 | 20 | 26 | 12 | 0 | 4 | 24 | 8 | 7 | 141 | 28 | 37 | |
ยูเวนตุส | 1998–99 | 16 | 3 | 2 | 3 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 19 | 3 | 2 |
รวม | 16 | 3 | 2 | 3 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 19 | 3 | 2 | |
อาร์เซนอล | 1999–2000 | 31 | 17 | 9 | 5 | 1 | 0 | 11 | 8 | 2 | 47 | 26 | 11 |
2000–01 | 35 | 17 | 3 | 4 | 1 | 0 | 14 | 4 | 0 | 53 | 22 | 3 | |
2001–02 | 33 | 24 | 5 | 5 | 1 | 2 | 11 | 7 | 0 | 49 | 32 | 7 | |
2002–03 | 37 | 24 | 23 | 6 | 1 | 0 | 12 | 7 | 1 | 55 | 32 | 24 | |
2003–04 | 37 | 30 | 9 | 4 | 4 | 2 | 10 | 5 | 3 | 51 | 39 | 14 | |
2004–05 | 32 | 25 | 15 | 2 | 0 | 1 | 8 | 5 | 1 | 42 | 30 | 17 | |
2005–06 | 32 | 27 | 7 | 2 | 1 | 0 | 11 | 5 | 2 | 45 | 33 | 9 | |
2006–07 | 17 | 10 | 6 | 3 | 1 | 1 | 7 | 1 | 0 | 27 | 12 | 7 | |
รวม | 254 | 174 | 77 | 31 | 10 | 6 | 84 | 42 | 9 | 369 | 226 | 92 | |
บาร์เซโลนา | 2007–08 | 30 | 12 | 9 | 7 | 4 | 0 | 10 | 3 | 2 | 47 | 19 | 11 |
2008–09 | 29 | 19 | 8 | 1 | 1 | 0 | 12 | 6 | 4 | 42 | 26 | 12 | |
2009–10 | 21 | 4 | 2 | 3 | 0 | 0 | 8 | 0 | 1 | 32 | 4 | 3 | |
รวม | 80 | 35 | 19 | 11 | 5 | 0 | 30 | 9 | 7 | 121 | 49 | 26 | |
นิวยอร์ก เรดบูลส์ | 2010 | 11 | 2 | 3 | 1 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 12 | 2 | 3 |
2011 | 26 | 14 | 4 | 3 | 1 | 1 | 0 | 0 | 0 | 29 | 15 | 5 | |
2012 | 8 | 9 | 5 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | 8 | 9 | 5 | |
รวม | 45 | 25 | 12 | 4 | 1 | 1 | 0 | 0 | 0 | 49 | 26 | 13 | |
อาร์เซนอล (ยืมตัว) | 2011–12 | 4 | 2 | 0 | 2 | 1 | 0 | 1 | 0 | 0 | 7 | 3 | 0 |
รวม | 258 | 176 | 77 | 33 | 11 | 6 | 85 | 42 | 9 | 376 | 229 | 92 | |
รวมทั้งหมด | 501 | 259 | 135 | 63 | 17 | 11 | 139 | 59 | 23 | 706 | 332 | 171 |
ทีมชาติ
ทีมชาติ | ฤดูกาล | ลงแข่ง | ประตู |
---|---|---|---|
ฝรั่งเศส ยู 20 | 1996–97 | 5 | 3 |
รวม | 5 | 3 | |
ฝรั่งเศส | 1997 | 1 | 0 |
1998 | 10 | 2 | |
1999 | 0 | 0 | |
2000 | 14[A] | 6 | |
2001 | 7 | 3 | |
2002 | 10 | 3 | |
2003 | 14 | 11 | |
2004 | 13 | 3 | |
2005 | 6 | 3 | |
2006 | 16 | 8 | |
2007 | 6 | 5 | |
2008 | 11 | 4 | |
2009 | 9 | 3 | |
2010 | 6 | 0 | |
รวม | 123 | 51 |
- หมายเหตุ
A รวมถึงการลงแข่งในนัดฟีฟ่า XI เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 2000 ที่ฟีฟ่าและสมาคมฟุตบอลฝรั่งเศสนับว่าเป็นการแข่งขันกระชับมิตรอย่างเป็นทางการ [108]
ประตูทีมชาติ
ยู–20
- ประตูและผลที่ทำประตูในฐานะยู 20
# | วัน | สถานที่ | คู่แข่ง | ประตู | ผล | การแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | 19 มิถุนายน ค.ศ. 1997 | สนามกีฬาซาราวัก, กูจิง | เกาหลีใต้ | 1–0 | 4–2 | ฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี ค.ศ. 1997 |
2. | 3–0 | |||||
3. | 22 มิถุนายน ค.ศ. 1997 | สนามกีฬาซาราวัก, กูจิง | แอฟริกาใต้ | 3–1 | 4–2 | ฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี ค.ศ. 1997 |
รุ่นใหญ่
- ประตูและผลที่ทำประตูในฐานะทีมชุดใหญ่
# | วัน | สถานที่ | คู่แข่ง | ประตู | ผล | การแข่งขัน |
---|---|---|---|---|---|---|
1. | 12 มิถุนายน ค.ศ. 1998 | สตาดเวลอดรอม, มาร์แซย์ | แอฟริกาใต้ | 3–0 | 3–0 | ฟุตบอลโลก 1998 |
2. | 18 มิถุนายน ค.ศ. 1998 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | ซาอุดีอาระเบีย | 1–0 | 4–0 | ฟุตบอลโลก 1998 |
3. | 3–0 | |||||
4. | 29 มีนาคม ค.ศ. 2000 | แฮมป์เดนพาร์ก, กลาสโกว์ | สกอตแลนด์ | 1–0 | 2–0 | นัดกระชับมิตร |
5. | 6 มิถุนายน ค.ศ. 2000 | สตาดโมฮัมเหม็ด V, กาซาบล็องกา | โมร็อกโก | 1–0 | 5–1 | นัดกระชับมิตร |
6. | 11 มิถุนายน ค.ศ. 2000 | สนามกีฬาแยนไบรเดิล, บรูช | เดนมาร์ก | 2–0 | 3–0 | ยูโร 2000 |
7. | 16 มิถุนายน ค.ศ. 2000 | สนามกีฬาแยนไบรเดิล | เช็กเกีย | 1–0 | 2–1 | ยูโร 2000 |
8. | 28 มิถุนายน ค.ศ. 2000 | สนามกีฬาคิงโบดวง, บรัสเซลส์ | โปรตุเกส | 1–1 | 2–1 | ยูโร 2000 |
9. | 24 มีนาคม ค.ศ. 2001 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | ญี่ปุ่น | 2–0 | 5–0 | นัดกระชับมิตร |
10. | 25 เมษายน ค.ศ. 2001 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | โปรตุเกส | 3–0 | 4–0 | นัดกระชับมิตร |
11. | 6 ตุลาคม ค.ศ. 2001 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | แอลจีเรีย | 3–0 | 4–1 | นัดกระชับมิตร |
12. | 27 มีนาคม ค.ศ. 2002 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | สกอตแลนด์ | 3–0 | 5–0 | นัดกระชับมิตร |
13. | 16 ตุลาคม ค.ศ. 2002 | สนามกีฬาแห่งชาติตากาลี, วัลเลตตา | มอลตา | 1–0 | 4–0 | รอบคัดเลือกยูโร 2004 |
14. | 2–0 | |||||
15. | 29 มีนาคม ค.ศ. 2003 | สตาดเฟลิกซ์-บอลาร์ต, ล็องส์ | มอลตา | 2–0 | 6–0 | นัดกระชับมิตร |
16. | 3–0 | |||||
17. | 30 เมษายน ค.ศ. 2003 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | อียิปต์ | 1–0 | 5–0 | นัดกระชับมิตร |
18. | 2–0 | |||||
19. | 18 มิถุนายน ค.ศ. 2003 | สตาดเดอแฌร์ล็อง, ลียง | โคลอมเบีย | 1–0 | 1–0 | คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 |
20. | 22 มิถุนายน ค.ศ. 2003 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | นิวซีแลนด์ | 2–0 | 5–0 | คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 |
21. | 26 มิถุนายน ค.ศ. 2003 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | ตุรกี | 1–0 | 3–2 | คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 |
22. | 29 มิถุนายน 2003 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | แคเมอรูน | 1–0 | 1–0 | คอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 |
23. | 6 กันยายน ค.ศ. 2003 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | ไซปรัส | 4–0 | 5–0 | รอบคัดเลือกยูโร 2004 |
24. | 11 ตุลาคม ค.ศ. 2003 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | อิสราเอล | 1–0 | 3–0 | รอบคัดเลือกยูโร 2004 |
25. | 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2003 | เฟลทินส์-อารีนา, เกลเซนเคียร์เชิน | เยอรมนี | 1–0 | 3–0 | นัดกระชับมิตร |
26. | 21 มิถุนายน ค.ศ. 2004 | อิชตาจีอูซีดาดีจีกูอิงบรา, กูอิงบรา | สวิตเซอร์แลนด์ | 2–1 | 3–1 | ยูโร 2004 |
27. | 3–1 | |||||
28. | 13 ตุลาคม ค.ศ. 2004 | จีเอสพีสเตเดียม, นิโคเซีย | ไซปรัส | 2–0 | 2–0 | รอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2006 |
29. | 17 สิงหาคม ค.ศ. 2005 | สตาดเดอลามอซซง, มงเปอลีเย | โกตดิวัวร์ | 3–0 | 3–0 | นัดกระชับมิตร |
30. | 7 กันยายน ค.ศ. 2005 | แลนส์ดาวโรด, ดับลิน | ไอร์แลนด์ | 1–0 | 1–0 | รอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2006 |
31. | 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 | สตาดดอเนอร์เดอดีลง, ฟอร์-เดอ-ฟร็องส์ | คอสตาริกา | 3–2 | 3–2 | นัดกระชับมิตร |
32. | 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 | สตาดเฟลิกซ์-บอลาร์ต, ล็องส์ | สโลวีเนีย | 1–0 | 2–0 | นัดกระชับมิตร |
33. | 7 มิถุนายน ค.ศ. 2006 | สตาดเฌออฟ-กุยชาร์, แซ็งเตเตียน | จีน | 3–1 | 3–1 | นัดกระชับมิตร |
34. | 18 มิถุนายน ค.ศ. 2006 | เซนทรัลสตาดีออน, ไลพ์ซิจ | เกาหลีใต้ | 1–0 | 1–1 | ฟุตบอลโลก 2006 |
35. | 23 มิถุนายน ค.ศ. 2006 | ฟีฟ่าเวเอ็นสตาดีออนโคล์น, โคโลญ | โตโก | 2–0 | 2–0 | ฟุตบอลโลก 2006 |
36. | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2006 | ฟีฟ่าเวเอ็นสตาดีออนแฟรงก์เฟิร์ต, แฟรงก์เฟิร์ต | บราซิล | 1–0 | 1–0 | ฟุตบอลโลก 2006 |
37. | 6 กันยายน ค.ศ. 2006 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | อิตาลี | 2–0 | 3–1 | รอบคัดเลือกยูโร 2008 |
38. | 11 ตุลาคม ค.ศ. 2006 | สตาดโอกุสต์โบนัล, มงเบลียาร์ | หมู่เกาะแฟโร | 2–0 | 5–0 | รอบคัดเลือกยูโร 2008 |
39. | 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | กรีซ | 1–0 | 1–0 | นัดกระชับมิตร |
40. | 22 สิงหาคม ค.ศ. 2007 | สตาดีออนอันโตนามาลาตินสเกโฮ, เตอร์นาวา | สโลวีเนีย | 1–0 | 1–0 | นัดกระชับมิตร |
41. | 13 ตุลาคม ค.ศ. 2007 | ทอร์สวอลเลอร์, ทอร์เชาน์ | หมู่เกาะแฟโร | 2–0 | 6–0 | รอบคัดเลือกยูโร 2008 |
42. | 17 ตุลาคม ค.ศ. 2007 | สตาดเดอลาโบฌัวร์, น็องต์ | ลิทัวเนีย | 1–0 | 2–0 | รอบคัดเลือกยูโร 2008 |
43. | 2–0 | |||||
44. | 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 | โอลิมปิยเนชันแนลสปอตส์คอมเพลกซ์, เคียฟ | ยูเครน | 1–1 | 2–2 | รอบคัดเลือกยูโร 2008 |
45. | 13 มิถุนายน ค.ศ. 2008 | สตาดเดอซุอิส, แบร์น | เนเธอร์แลนด์ | 1–2 | 1–4 | ยูโร 2008 |
46. | 10 กันยายน ค.ศ. 2008 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | เซอร์เบีย | 1–0 | 2–1 | รอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010 |
47. | 14 ตุลาคม ค.ศ. 2008 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | ตูนิเซีย | 1–1 | 3–1 | นัดกระชับมิตร |
48. | 2–1 | |||||
49. | 5 กันยายน ค.ศ. 2009 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | โรมาเนีย | 1–0 | 1–1 | รอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010 |
50. | 9 กันยายน ค.ศ. 2009 | สตาเดียนเอฟเคเคอร์เวนาซเวซดา, เบลเกรด | เซอร์เบีย | 1–1 | 1–1 | รอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010 |
51. | 14 ตุลาคม ค.ศ. 2009 | สตาดเดอฟร็องส์, แซ็ง-เดอนี | ออสเตรีย | 2–0 | 3–1 | รอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010 |
สถิติรวม
สถิติรวมตลอดอาชีพ | ||||
---|---|---|---|---|
ทีม | ลงแข่ง | ประตู | ช่วยทำประตู | ประตูต่อนัด |
สโมสร | 702 | 328 | 169 | 0.46 |
ทีมชาติฝรั่งเศส | 123 | 51 | 29 | 0.41 |
รวม | 825 | 379 | 198 | 0.46 |
ยุติการเล่นฟุตบอล
ตีแยรี อ็องรี ได้ประกาศยุติการเล่นฟุตบอลเป็นการถาวรเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2014 ด้วยวัย 37 ปี โดยจะผันตัวเองไปเป็นผู้บรรยายและวิเคราะห์ฟุตบอลทางสถานีโทรทัศน์สกายสปอร์ตส์ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ แทน โดยเริ่มตั้งแต่ฤดูกาล 2015–16 เป็นต้นไป โดยทำสถิติยิงประตูให้กับอาร์เซนอลไปทั้งสิ้น 175 ประตู เฉพาะในพรีเมียร์ลีก นับเป็นสถิติอันดับหนึ่งของสโมสร และเป็นอันดับที่ 4 ของพรีเมียร์ลีก [109]
ด้านอื่น
ชีวิตส่วนตัวและครอบครัว
อ็องรีสมรสกับนางแบบชาวอังกฤษ นิโคล เมร์รี หรือชื่อจริงคือ แคลร์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 2003[10] พิธีสมรสจัดขึ้นที่ปราสาทไฮแคลร์ และในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 ทั้งคู่มีบุตรคนแรก ชื่อ ตีอา[110] อ็องรีอุทิศการยิงประตูแรกหลังที่ตีอาเกิดโดยการทำนิ้วรูปตัว "ที" และจูบนิ้วนั้น หลังจากที่ยิงในนัดที่แข่งกับนิวคาสเซิลยูไนเต็ด[111] เมื่อตอนที่อ็องรีอยู่กับอาร์เซนอล เขาได้ซื้อบ้านที่แฮมป์สเตด ในนอร์ทลอนดอน[10] อย่างไรก็ตาม ไม่นานหลังจากย้ายไปบาร์เซโลนา เขาประกาศหย่ากับภรรยา โดยมีคำสั่งศาลให้หย่าเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2007[112] การแยกทางจบลงในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2008 เมื่ออ็องรีจ่ายเงินสำหรับการหย่าที่เมอร์รีเรียกร้อง รวมเป็นเงิน 10 ล้านปอนด์[113]
อ็องรียังเป็นแฟนบาสเกตบอลในเอ็นบีเอ เขากับเพื่อน โทนี พาร์กเกอร์มักไปดูการแข่งขันในยามที่เขาไม่ได้แข่งขันฟุตบอล อ็องรีให้สัมภาษณ์ว่าเขาชื่นชอบบาสเกตบอล ที่คล้ายกับฟุตบอลเรื่องการวิ่งและความตื่นเต้น[114] ที่ผ่านมาเขามักไปดูเอ็นบีเอนัดตัดสินเป็นประจำ โดยเคยไปดูพาร์กเกอร์แข่งให้กับทีมซานแอนโตนิโอ สเปอรส์ ในนัดตัดสินเอ็นบีเอ 2007[115] และในนัดตัดสินเอ็นบีเอ 2001 เขาเดินทางไปฟิลาเดลเฟียเพื่อช่วยรายการโทรทัศน์ฝรั่งเศสทำรายการนัดตัดสิน และเพื่อดูอัลเลน ไอเวอร์สัน ที่เขาเคยบอกว่าเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่เขาชื่นชอบ[114]
งานด้านสังคม
ยูนิเซฟ
อ็องรีเป็นสมาชิกของยูนิเซฟ-ฟีฟ่า ที่เป็นการรวมนักฟุตบอลอาชีพ เขาปรากฏตัวในโฆษณาทางโทรทัศน์หลายตัว มีผู้ชมมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก ในช่วงระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 และ 2006 โดยในโฆษณา ผู้เล่นจะประชาสัมพันธ์การเล่นฟุตบอลให้กับเด็ก ๆ[59]
สแตนด์อัป สปีกอัป
เขาเกี่ยวข้องกับประเด็นการเหยียดสีผิวตั้งแต่ในอดีต อ็องรีเป็นโฆษกต่อต้านการเหยียดสีผิวในฟุตบอล กรณีอื้อฉาวที่เกี่ยวข้องกับอ็องรีเช่น ในระหว่างการฝึกซ้อมกับฟุตบอลทีมชาติสเปนในปี ค.ศ. 2004[116][117] เมื่อทีมงานโทรทัศน์ของสเปนจับภาพของโค้ช ลุยส์ อาราโกเนส ที่พูดถึงอ็องรีกับโคเซ อันโตเนียว เรเยส ว่าเป็น "สวะคนดำ" (black shit) ซึ่งเรเยสเป็นเพื่อนร่วมทีมของอ็องรีที่อาร์เซนอล[111] เหตุการณ์ครั้งนี้ก่อให้เกิดความวุ่นวายกับสื่ออังกฤษ และเรียกร้องให้ไล่อาราโกเนสออก[118] อ็องรีได้ร่วมกับไนกี้ ในโครงการสแตนด์อัป สปีกอัป เพื่อต่อต้านการเหยียดสีผิวในฟุตบอล หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น[119] ต่อมาในปี ค.ศ. 2007 นิตยสาร ไทม์ ให้เขาเป็นหนึ่งใน ไทม์ 100 วีรบุรุษและนักบุกเบิก[120]
งานอื่น
เขาร่วมกับนักฟุตบอลอีก 45 คนเพื่อร้องเพลง "Live for Love United" ที่จัดขึ้นโดยฟีฟ่า ในปี ค.ศ. 2002 ออกขายเป็นซิงเกิลในช่วงฟุตบอลโลก 2002 เป็นซิงเกิลการกุศลที่รายได้เข้าสู่การวิจัยโรคเอดส์ อ็องรียังสนับสนุนมูลนิธิโรคซีสติกไฟโบรซีส และซีสติกไฟโบรซีสทรัส อีกด้วย[121]
โฆษณา
ในปี ค.ศ. 2006 อ็องรีติดอยู่ในอันดับ 9 ของนักฟุตบอล ผู้ทำรายได้จากสินค้ามากที่สุดในโลก[122] และยังเป็นผู้ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับ 8 ในพรีเมียร์ลีก กับรายได้ 21 ล้านปอนด์[123]
เรโนลต์
อ็องรีแสดงในภาพยนตร์โฆษณาเรโนลต์ คลิโอ เขาได้สร้างคำที่มีชื่อเสียงอย่าง วา-วา-วูม (va-va-voom) ที่มีความหมายว่า "ชีวิต" หรือ "ความหลงใหล" นางแบบในโฆษณานั้นต่อมาเป็นภรรยาของเขา (หย่า) แคลร์เมอร์รี ต่อมาคำว่า วา-วา-วูม ได้รับการบันทึกไว้ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษคอนไซส์ออกซฟอร์ด[124]
ไนกี้
ในปี ค.ศ. 2004 อ็องรีเซ็นสัญญากับบริษัทผลิตเครื่องกีฬาไนกี้ หนึ่งในโฆษณาที่เขาได้เลี้ยงลูกฟุตบอลหลบดาราฟุตบอลคนอื่นอย่าง โกลด มาเกเลเล, เอ็ดการ์ ดาวิดส์ และเฟรดริก ยุงแบร์ (Fredrik Ljungberg) ในสถานที่อย่างเช่นห้องนอนและห้องรับแขก ในโฆษณาชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งจากชีวิตของเขาเอง ที่เขามักจะเล่นฟุตบอลในสถานที่แบบนั้น อย่างเช่นในบ้าน[125] อ็องรียังเล่นในโฆษณาที่ชื่อ "ซีเครตทัวร์นาเมนต์" (Secret Tournament) ที่มีดาราฟุตบอลอีก 24 คนอย่างเช่น ยุงแบร์, รอนัลดีนโย และฟรันเชสโก ตอตตี ต่อจากนั้นในฟุตบอลโลก 2006 เขาแสดงในโฆษณาที่ใช้ชื่อในภาษาโปรตุเกสว่า Joga Bonito มีความหมายว่า "เกมที่สวยงาม"[126]
รีบ็อก
หลังฟุตบอลโลก 2006 เขาหมดสัญญากับไนกี้ จากนั้นได้เซ็นสัญญากับรีบ็อก ได้แสดงในโฆษณาที่ชื่อว่า "ไอแอมวอตไอแอม" (I Am What I Am)[127] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์โฆษณาที่ชื่อ "เฟรมด์" (Framed) อ็องรีได้แสดงในตอนนี้ที่มีความยาวครึ่งชั่วโมง ที่แสดงรายละเอียดในการถ่ายทำโฆษณา กำกับโดยนักแสดงชาวสเปน ปัซ เบกา[128]
พูมา
ในปี ค.ศ. 2011 อ็องรีเปลี่ยนมาเซ็นสัญญากับรองเท้าพูมา[129] เขาสวมรองเท้านี้ครั้งแรกในนัดรวมดาวเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ 2011 ที่แข่งขันกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ก่อนที่จะประกาศเซ็นสัญญาหลายปีกับพูมา ส่วนนัดแรกที่เขาใส่พูมาในการเล่นคือในการแข่งขันเอมิเรตส์คัป ที่แข่งกับทีมเก่าอาร์เซนอล
ยิลเลตต์
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 อ็องรีได้เป็นหนึ่งใน 3 ของทูตแห่งแบรนด์ของยิลเลตต์ ที่ใช้ชื่อว่า "แชมเปียนส์โปรแกรม" (Champions Program) ที่มีนักกีฬาที่เป็นที่รู้จัก ที่ได้รับความเคารพ และประสบความสำเร็จที่สุดในยุคปัจจุบัน โดยเขาได้แสดงร่วมกับโรเจอร์ เฟเดอเรอร์และไทเกอร์ วูดส์ ในซีรีส์ของภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์[27] แต่ด้วยเหตุผลด้านความเป็นที่รู้จัก จึงได้มีการใช้เดเรก เจเตอร์แทนอ็องรี ในโฆษณาที่ออกอากาศในอเมริกาเหนือ[130] และหลังจากกรณีที่เขาทำแฮนด์บอลในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2010 ที่ฝรั่งเศสแข่งกับไอร์แลนด์ ยิลเลตต์ได้ยกเลิกและกล่าวขออภัย และได้เปลี่ยนแปลงโปสเตอร์โฆษณาในฝรั่งเศส แต่ต่อมาทางยิลเลตต์ก็ได้ออกมากล่าวสนับสนุนอ็องรี[131]
เป๊ปซี่
อ็องรีเป็นส่วนหนึ่งของโฆษณา "แดร์ฟอร์มอร์" (Dare For More) ในปี ค.ศ. 2005 แสดงร่วมโฆษณากับนักฟุตบอลอย่างเดวิด เบคแคมและรอนัลดีนโย[132]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "FIFA World Cup South Africa 2010 – List of Players" (PDF). Fédération Internationale de Football Association (FIFA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-05-17. สืบค้นเมื่อ 5 June 2013.
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 2.18 "Goal.com Profile: Thierry Henry" (web archive). Goal.com. 25 June 2007. Retrieved 23 September 2007.
- ↑ Hussein, Ceylan (2018-02-19). "Ranked! The 30 best strikers in Premier League history". fourfourtwo.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Staff, FourFourTwo (2021-02-15). "Best Premier League players EVER: 100 greatest footballers in England's top flight since 1992". fourfourtwo.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "How peerless Thierry Henry transformed English football forever". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2019-03-30.
- ↑ "Gunners Greatest 50 Players". www.arsenal.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-07-20.
- ↑ "Shearer and Henry inducted into Hall of Fame". www.premierleague.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Pele's list of the greatest" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2004-03-04. สืบค้นเมื่อ 2023-12-06.
- ↑ 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 9.11 9.12 9.13 9.14 "Thierry Henry Bio" เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. JockBio. Retrieved 5 May 2008.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 10.7 Anthony, Andrew (3 October 2004) "Thierry Henry, you're having a laugh". The Observer. Retrieved 18 May 2008.
- ↑ O'Connor, Ashling; Smith, Ben (19 November 2009) "Sponsors stand by Thierry Henry but fans call for boycott over handball" เก็บถาวร 2023-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Times. Retrieved 10 December 2009.
- ↑ 12.0 12.1 "Thierry Henry returns: factfile". The Independent. Retrieved 11 January 2012.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 13.5 "Henry". footballdatabase.com. Retrieved 23 December 2011.
- ↑ "Soccerbase stats for AS Monaco Semi Final game" เก็บถาวร 2008-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Soccerbase. Retrieved 30 September 2007.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 Clarke, Richard (14 November 2006) "Henry – Why I must adapt to our new formation". Arsenal F.C. Retrieved 26 March 2007. Archive copy ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ "Thierry Henry – France". CBC.ca. Retrieved 30 September 2007.
- ↑ "Henry joins Arsenal in record deal". BBC Sport. 3 August 1999. Retrieved 10 January 2011.
- ↑ Harris, Nick (4 August 1999) "Henry adds to Arsenal's firepower". The Independent. Retrieved 3 January 2011.
- ↑ 19.0 19.1 19.2 19.3 "Ronaldinho wins Fifa player award". BBC Sport. 20 December 2004. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ "Games played by Thierry Henry in 1999–2000" เก็บถาวร 2012-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Soccerbase. Retrieved 25 March 2007.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 "Thierry Henry" เก็บถาวร 2007-08-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. Retrieved 30 September 2007.
- ↑ "Gunners take home Cup". The Football Association. 17 May 2003. Retrieved 13 February 2011.
- ↑ Freedman, Dan (17 May 2003) "Gunners take home Cup". The Football Association. 17 May 2003. Retrieved 24 April 2007.
- ↑ 24.0 24.1 "Past Footballers of the Year". Pub Quiz Help. Retrieved 31 May 2011.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 "Henry to stay a Gunner until 2010". BBC Sport. 19 May 2006. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ Hughes, Ian (15 May 2004) "Arsenal the Invincibles". BBC Sport. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 27.3 "Tiger Woods, Roger Federer and Thierry Henry Are Introduced As the Faces of the New Gillette Champions Program". Procter & Gamble. 4 February 2007. Retrieved 22 March 2007.
- ↑ "Games played by Thierry Henry in 2004/2005" เก็บถาวร 2012-05-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Soccerbase. Retrieved 26 March 2007.
- ↑ Lowe, Sid (22 February 2006) "Wenger hopes Henry will stay and usher in new era". The Guardian. Retrieved 26 March 2007.
- ↑ 30.0 30.1 Winter, Henry (22 October 2005) "Record-breaking Henry still a master of humility" เก็บถาวร 2008-06-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Daily Telegraph. Retrieved 25 March 2007.
- ↑ "Thierry Henry eases to scoring record". China Daily. 22 October 2005. Retrieved 22 March 2007.
- ↑ "Arsenal 2–3 West Ham". BBC Sport. 1 February 2006. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ My Love Affair with Highbury – "Henry". Sporting Life. Retrieved 26 March 2007
- ↑ 34.0 34.1 "Arsenal rejected 50 million-pound bids for Henry, says Dein". China Daily. 22 May 2006. Retrieved 26 March 2007.
- ↑ 35.0 35.1 "Wenger: Henry staying with Gunners" เก็บถาวร 2012-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 6 April 2007. Retrieved 7 April 2007.
- ↑ Clarke, Richard (7 March 2007) "Wenger – The hidden benefits of having Henry". Arsenal F.C. 7 March 2007. Retrieved 31 May 2011.
- ↑ Clarke, Richard (8 March 2007) "Henry ruled out for the remainder of season" เก็บถาวร 2012-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Arsenal F.C. 8 March 2007. Retrieved 31 May 2011.
- ↑ "Thierry Henry signs for Barcelona" เก็บถาวร 2007-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Nation. 23 June 2007. Retrieved 22 July 2007.
- ↑ "Henry seals deal with Barcelona". Daily Express. 25 June 2007. Retrieved 28 June 2007.
- ↑ "Thierry: Why I'm going" เก็บถาวร 2007-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน/ The Sun. 23 June 2007. Retrieved 28 June 2007
- ↑ "Arsenal announce Henry departure". BBC Sport. 23 June 2007. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ "Henry hoping Wenger remains Gunners' boss" เก็บถาวร 2012-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 26 June 2007. Retrieved 15 October 2007.
- ↑ 43.0 43.1 "Fabregas was right about me, says Henry" เก็บถาวร 2012-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ESPN Soccernet. 14 October 2007. Retrieved 15 October 2007.
- ↑ 44.0 44.1 "Gunners' Greatest Players – 1. Thierry Henry". Arsenal F.C. Retrieved 2 March 2011. เก็บถาวร 2012-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Thierry Henry scores as Barcelona take charge" เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Daily Telegraph. 20 September 2007. Retrieved 23 September 2007.
- ↑ "Levante 1–4 Barcelona" เก็บถาวร 2012-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 29 September 2007. Retrieved 5 October 2007
- ↑ "The year in pictures" เก็บถาวร 2012-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. FIFA. 23 December 2009. Retrieved 12 March 2010.
- ↑ "Barcelona happy for Henry to leave" เก็บถาวร 2012-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Independent. 5 May 2010. Retrieved 14 July 2010.
- ↑ "Henry and Toure to leave Barcelona". Reuters. 28 June 2010. Retrieved 14 July 2010.
- ↑ "New York Red Bulls sign international star Thierry Henry" เก็บถาวร 2014-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. New York Red Bulls. 13 July 2010. Retrieved 15 July 2010.
- ↑ "Standings". Major League Soccer. Retrieved 26 December 2011.
- ↑ "Earthquakes advance" เก็บถาวร 2010-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 5 November 2010. Retrieved 26 December 2011.
- ↑ "2011 MLS Standings & Leaders" เก็บถาวร 2012-01-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Major League Soccer. Retrieved 27 December 2011.
- ↑ "Thierry Henry joins Arsenal from New York Red Bulls". BBC Sport. 6 January 2012. Retrieved 6 January 2012.
- ↑ McNulty, Phil (9 January 2012) "Arsenal 1–0 Leeds". BBC Sport. Retrieved 10 January 2012.
- ↑ "Arsenal 7-1 Blackburn" เก็บถาวร 2012-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Star. 4 February 2012. Retrieved 6 February 2012.
- ↑ "Thierry Henry open to third Arsenal spell - if asked". BBC Sport. 11 February 2012. Retrieved 12 February 2012.
- ↑ "A striking comparison". The Football Association. Retrieved 26 March 2007.
- ↑ 59.0 59.1 "2006 FIFA World Cup – Thierry Henry, top scorer and role model" เก็บถาวร 2009-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. UNICEF. Retrieved 26 March 2007.
- ↑ "Décret du 24 juillet 1998 portant nomination à titre exceptionnel", Journal Officiel de la République Française. 25 July 1998. Retrieved 12 March 2009.
- ↑ "France 2–1 Portugal". UEFA. 28 June 2000. Retrieved 23 March 2007. เก็บถาวร 2008-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "France 2–1 Italy". UEFA. 2 July 2000. Retrieved 23 March 2007. เก็บถาวร 2008-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Thierry Henry" เก็บถาวร 2012-11-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Sports Illustrated. Retrieved 9 July 2009.
- ↑ "France 0–1 Greece". BBC Sport. 25 June 2004. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ Stevenson, Jonathan (9 July 2006) "Italy 1–1 France (aet)". BBC Sport. 9 July 2006. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ "Sent-off Zidane named best player". BBC Sport. 10 July 2006. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ "Ronaldinho regains FifPro crown". BBC Sport. 6 November 2006. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ "France 2–0 Lithuania: Henry smashes Platini record" เก็บถาวร 2012-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 17 October 2007. Retrieved 18 October 2007.
- ↑ "Henry reaches 100-cap milestone". BBC Sport. 3 June 2008. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ "Villain Henry as Ireland, Ukraine, Russia exit in play-offs" เก็บถาวร 2012-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 18 November 2009. Retrieved 19 November 2009.
- ↑ "Defiant Domenech condemns Henry backlash" เก็บถาวร 2012-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 24 November 2009. Retrieved 10 December 2009.
- ↑ Ley, John (20 November 2009) "Arsene Wenger urges France to replay World Cup match after Thierry Henry handball". The Daily Telegraph. Retrieved 10 December 2009.
- ↑ "Defiant Domenech condemns Henry backlash" เก็บถาวร 2012-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 24 November 2009. Retrieved 26 November 2009.
- ↑ "Thierry Henry contemplated international retirement" เก็บถาวร 2012-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. South Wales Echo. 23 November 2009. Retrieved 27 November 2009.
- ↑ "Thierry Henry: Replay the "fairest solution" for Ireland" เก็บถาวร 2012-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 20 November 2009. Retrieved 26 November 2009.
- ↑ Ziegler, Martyn (3 December 2009) "Henry's 'blatant unfair play' could lead to ban in South Africa". Yorkshire Post. Retrieved 9 December 2009.
- ↑ Eason, Kevin (1 December 2009) "Henry consoled after death threats to family". Herald Express. 1 December 2009. Retrieved 9 December 2009.
- ↑ "FIFA not to take any action against Henry handball" เก็บถาวร 2010-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 18 January 2010. Retrieved 20 January 2010.
- ↑ "Domenech: Player protest was 'stupid'" เก็บถาวร 2012-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 21 June 2010. Retrieved 23 June 2010.
- ↑ "Thierry Henry retires from internationals to concentrate on New York mission – and gets ready for an Irish American backlash". Daily Mail. 16 July 2010. Retrieved 18 July 2010.
- ↑ Hatherall, Chris (30 October 2006) "Henry defends Arsenal's pursuit of beautiful game". The Independent. Retrieved 23 April 2007. เก็บถาวร 2013-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Clarke, Richard (17 July 2007) "Wenger – Don't compare Eduardo to Henry". Arsenal F.C. Retrieved 27 July 2007. เก็บถาวร 2013-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Reyna, Claudio, and Woitalla, Mike, More Than Goals: The Journey from Backyard Games to World Cup Competition (2004), p 122, Human Kinetics, ISBN 0-7360-5171-6
- ↑ Hansen, Alan (13 March 2006) Alan Hansen's column". BBC Sport. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ Daniel, Jacob, The Complete Guide to Coaching Soccer Systems and Tactics (2003), Reedswain, p 190, ISBN 1-59164-068-7
- ↑ "Papin: attack at the double". BBC Sport. 12 April 2002. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ ""English Debate: Can Arsenal Lift Major Silverware This Campaign?" เก็บถาวร 2008-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Goal.com. 22 September 2008. Retrieved 22 September 2008.
- ↑ "Henry ready to get ugly" เก็บถาวร 2012-05-21 ที่ archive.today. Sporting Life. 28 August 2003. Retrieved 30 October 2007.
- ↑ "Thierry Henry" เก็บถาวร 2006-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Premier League. Retrieved 25 July 2007.
- ↑ "Fifa names greatest list". BBC Sport. 4 March 2004. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ "Thierry Henry: The wizard of Highbury". Australian Broadcasting Corporation. 25 April 2006. Retrieved 27 March 2007.
- ↑ Lacey, David (30 August 2003) "The best player in the world is wearing Arsenal's colours". The Guardian. Retrieved 27 March 2007.
- ↑ Ingle, Sean (11 July 2006) "First half good, second half not bad either". The Guardian. 11 July 2006. Retrieved 27 March 2007.
- ↑ "Wenger: Henry is the world's greatest". China Daily. 7 November 2005. Retrieved 27 March 2007.
- ↑ Raynor, Dominic (7 November 2007) "Your Verdict: 100 greatest ever footballers" เก็บถาวร 2017-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. 7 November 2007. Retrieved 10 November 2007.
- ↑ Brown, Oliver (11 December 2008) "Cristiano Ronaldo pipped by Fernando Torres in Premier League popularity stakes" เก็บถาวร 2009-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Daily Telegraph. 11 December 2008. Retrieved 12 December 2008.
- ↑ Caroe, Charlie (10 December 2008) "Former Arsenal striker Thierry Henry all-time fans' favourite Premier League footballer". The Daily Telegraph. 10 December 2008. Retrieved 31 October 2011.
- ↑ Bellwood, Tom (18 December 2009) "The List: Top 50 players of the decade in the Premier League - Nos 10-1". Daily Mail. 18 December 2009. Retrieved 31 October 2011.
- ↑ "Arseanl Unveil Statues of Three Legends" เก็บถาวร 2012-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Arsenal F.C. Retrieved 12 December 2011.
- ↑ "Thierry Henry History" เก็บถาวร 2011-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ESPN Soccernet. Retrieved 23 December 2011.
- ↑ "Barcelona FC's player statistic for Thierry Henry" เก็บถาวร 2012-07-30 ที่ archive.today. FC Barcelona. Retrieved 5 June 2009.
- ↑ รวมถึงถ้วยกุปเดอฟร็องส์, กุปเดอลาลีก, โกปปาอีตาเลีย, เอฟเอคัป, ลีกคัพ, เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์, ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา, ยูเอสโอเพนคัพ และเอ็มแอลเอสคัปเพลย์ออฟส์
- ↑ รวมถึง ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และคอนคาแคฟแชมเปียนส์ลีก
- ↑ "Henry, Thierry". National-Football-Teams. Retrieved 3 August 2009.
- ↑ "Thierry Henry" เก็บถาวร 2015-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. FIFA. Retrieved 2 January 2012.
- ↑ "Thierry Henry" เก็บถาวร 2012-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. French Football Federation. Retrieved 2 January 2012.
- ↑ Mamrud, Roberto (17 September 2010) "Thierry Henry – Century of International Appearances". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. Retrieved 3 January 2012.
- ↑ Pla Diaz, Emilio (23 July 2006) "Zinedine Zidane – Century of International Appearances". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. Retrieved 2 January 2012.
- ↑ หน้า 23 กีฬา, อองรีประกาศแขวนสตั๊ดแล้ว. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,806: วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557 แรม 11 ค่ำ เดือน 1 ปีมะเมีย
- ↑ Thierry "Va Va Vooms Away From Wife". Sky News. 16 July 2007. Retrieved 19 July 2007.
- ↑ 111.0 111.1 "Famous Fathers: Thierry Henry" เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. FQ magazine. Retrieved 26 March 2007.
- ↑ "Henry's wife is granted divorce". BBC News. 3 September 2007. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ "Thierry Henry pays wife £8m divorce settlement" เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Daily Telegraph. 5 December 2008. Retrieved 5 December 2008.
- ↑ 114.0 114.1 "The Dish: Thierry Henry". National Basketball Association. June 2001. Retrieved 20 June 2007.
- ↑ "Your Gripping NBA Champions" เก็บถาวร 2012-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Deadspin. 15 June 2007. Retrieved 20 June 2007.
- ↑ "Aragones fined for Henry remarks". BBC Sport. 1 March 2005. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ Witzig, Richard (2006). The Global Art of Soccer. CusiBoy Publishing. p. 44. ISBN 0-9776688-0-0.
{{cite book}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help) - ↑ "Family urged Aragones to resign". BBC Sport. 1 December 2004. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ "Caborn welcomes anti-racism stand". BBC Sport. 9 February 2005. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ Parker, Tony (3 May 2007) "Thierry Henry" เก็บถาวร 2012-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Time. Retrieved 20 October 2007.
- ↑ "Thierry Henry". Look to the Stars. Retrieved 25 February 2009.
- ↑ "Ronaldinho's brand worth more than Beckham's" เก็บถาวร 2012-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Reuters. 30 May 2006. Retrieved 27 March 2007.
- ↑ "The Rich List top ten...". Daily Mail. 6 December 2006. Retrieved 27 March 2007.
- ↑ Va-va-voom is in the dictionary. Newsround. 8 July 2004. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ ""Henry loves home match" เก็บถาวร 2013-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Daily Mirror. 30 May 2004. Retrieved 19 February 2009.
- ↑ Stevenson, Seth (17 April 2006) "Keep Soccer Beautiful!". Slate. Retrieved 24 March 2007.
- ↑ Bond, David (12 April 20060 "Henry drops bombshell by moving to Reebok" เก็บถาวร 2008-06-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Daily Telegraph. 12 April 2006. Retrieved 27 March 2007.
- ↑ "Reebok gets the Picture" เก็บถาวร 2012-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Reebok. Retrieved 5 March 2008.
- ↑ "Official Henry to wear Puma boots". FootballBoots.co.uk. Retrieved 3 August 2011.
- ↑ "Smack Talkin' Tiger" (with clips) เก็บถาวร 2012-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. gototennis. 13 July 2008. Retrieved 1 January 2012.
- ↑ "Boycott threat to Gillette products over Thierry Henry 'handball' row" เก็บถาวร 2010-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Daily Telegraph. 21 November 2009. Retrieved 9 December 2009.
- ↑ Mitchell, Susan (10 April 2005) "Footballers kick off Pepsi campaign" เก็บถาวร 2012-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Sunday Business Post. 10 April 2005. Retrieved 28 January 2008.
แหล่งข้อมูลอื่น
- MLS player profile
- Thierry Henry – สถิติการลงแข่งจากสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (FIFA) (ในภาษาอังกฤษ)
- Thierry Henry profile เก็บถาวร 2012-08-03 ที่ archive.today ที่ fcbarcelona.cat
- Thiery Henry biographyเก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ที่ jockbio.com
- สถิติของ Thierry Henry ที่ Soccerbase
- Thierry Henry ที่ Internet Movie Database
ก่อนหน้า | ตีแยรี อ็องรี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
รอแบร์ ปีแร็ส | นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ (พ.ศ. 2546-2547) |
แฟรงก์ แลมพาร์ด | ||
รืด ฟัน นิสเติลโรย | นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ (พ.ศ. 2546-2547) |
จอห์น เทร์รี |
- บทความคัดสรร
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2520
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส
- นักฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศส
- ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวฝรั่งเศส
- ผู้จัดการทีมอาแอ็ส มอนาโก
- ผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา
- ผู้เล่นนิวยอร์กเร็ดบุลส์
- ผู้เล่นในพรีเมียร์ลีก
- ผู้เล่นในลาลิกา
- ผู้เล่นในเซเรียอา
- ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2002
- ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2006
- ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 2010
- ผู้เล่นในชุดชนะเลิศฟุตบอลโลก
- ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008
- บุคคลจากเลซูว์ลิส
- ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 1998
- ผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004
- กองหน้าฟุตบอล
- ชาวฝรั่งเศสในสหรัฐ
- ชาวฝรั่งเศสในสหราชอาณาจักร
- ชาวฝรั่งเศสในประเทศสเปน
- ฟีฟ่า 100
- ผู้เข้าหอเกียรติยศพรีเมียร์ลีก