ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลทีมชาติลิทัวเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลทีมชาติลิทัวเนีย
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลลิทัวเนีย
(Lietuvos futbolo federacija – LFF)
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนValdas Urbonas [1]
กัปตันFiodor Černych
ติดทีมชาติสูงสุดAndrius Skerla (84)
ทำประตูสูงสุดTomas Danilevičius (19)
สนามเหย้าสนามกีฬาแอลเอฟเอฟ
รหัสฟีฟ่าLTU
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 142 Steady (19 ธันวาคม 2024)[2]
อันดับสูงสุด37 (ตุลาคม ค.ศ. 2008)
อันดับต่ำสุด148 (พฤศจิกายน ค.ศ. 2017)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ประเทศลิทัวเนีย ลิทัวเนีย 0–5 เอสโตเนีย 
(เคานัส ลิทัวเนีย; 24 มิถุนายน ค.ศ. 1923)
ชนะสูงสุด
ประเทศลิทัวเนีย ลิทัวเนีย 7–0 เอสโตเนีย 
(รีกา ลัตเวีย; 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1995)
แพ้สูงสุด
 อียิปต์ 10–0 ลิทัวเนีย ประเทศลิทัวเนีย
(ปารีส ฝรั่งเศส; 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1924)

ฟุตบอลทีมชาติลิทัวเนีย (ลิทัวเนีย: Lietuvos nacionalinė futbolo rinktinė) อยู่ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์ฟุตบอลลิทัวเนีย แข่งขันครั้งแรกในปี ค.ศ. 1923 แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1940 ประเทศลิทัวเนียถูกครอบครองโดยสหภาพโซเวียต และได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1990 และได้ลงแข่งขันในนามทีมชาติครั้งแรกในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 นัดที่พบกับจอร์เจีย

ลิทัวเนียไม่เคยผ่านรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลกหรือฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป แต่ก็ประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับภูมิภาคอย่างบอลติกคัพ ซึ่งจัดขึ้นทุก ๆ สองปี แข่งขันกันระหว่างสามทีมชาติ (ลิทัวเนีย, ลัตเวีย และเอสโตเนีย) โดยลิทัวเนียคว้าแชมป์บอลติกคัพถึง 11 สมัย (เคยคว้าแชมป์ 4 สมัยติดต่อกัน ระหว่างปี 1996-2000) เป็นรองเพียงแค่ลัตเวีย

ตั้งแต่ ค.ศ. 2012 ทีมชาติลิทัวเนียลงแข่งขันที่สนามกีฬาแอลเอฟเอฟในวิลนีอุส

ประวัติ

[แก้]

ในคริสต์ทศวรรษ 1990 ลิทัวเนียได้เข้าร่วมแข่งขันในรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลกและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป โดยจบอันดับที่ 3 ของกลุ่มในรอบคัดเลือกของฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 และฟุตบอลโลก 1998 ต่อมาในรอบคัดเลือกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 ลิทัวเนียทำผลงานได้ดีด้วยการบุกไปเสมอเยอรมนี และเปิดบ้านเอาชนะสกอตแลนด์ แต่ในนัดสุดท้าย ลิทัวเนียไปแพ้สกอตแลนด์ 1–0 ทำให้ต้องตกรอบ และในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2006 ลิทัวเนียจบอันดับที่ 5 ของกลุ่ม

รอบคัดเลือกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 ลิทัวเนียบุกไปเสมออดีตแชมป์ฟุตบอลโลกอย่างอิตาลีที่เนเปิลส์ 1–1 ในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2006 ซึ่งเป็นการแข่งขันนัดแรกของอิตาลีหลังคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก

วันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2008 ลิทัวเนียเอาชนะโรมาเนีย 3–0 ในรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลก 2010 นับเป็นชัยชนะแห่งประวัติศาสตร์[3] ต่อมาพวกเขาสามารถเอาขนะออสเตรียได้ 2–0

สถิติการแข่งขัน

[แก้]

ฟุตบอลโลก

[แก้]
ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
ปี รอบ อันดับ Pld W D* L GF GA Pld W D L GF GA
ประเทศอุรุกวัย 1930 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่มีการแข่งขัน
ประเทศอิตาลี 1934 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 1 0 0 1 0 2
ประเทศฝรั่งเศส 1938 2 0 0 2 3 9
ประเทศบราซิล 1950 ส่วนหนึ่งของ  สหภาพโซเวียต ส่วนหนึ่งของ  สหภาพโซเวียต
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 1954
ประเทศสวีเดน 1958
ประเทศชิลี 1962
ประเทศอังกฤษ 1966
ประเทศเม็กซิโก 1970
ประเทศเยอรมนีตะวันตก 1974
ประเทศอาร์เจนตินา 1978
ประเทศสเปน 1982
ประเทศเม็กซิโก 1986
ประเทศอิตาลี 1990
สหรัฐอเมริกา 1994 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 12 2 3 7 8 21
ประเทศฝรั่งเศส 1998 10 5 2 3 11 8
ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่น 2002 8 0 2 6 3 20
ประเทศเยอรมนี 2006 10 2 4 4 8 9
ประเทศแอฟริกาใต้ 2010 10 4 0 6 10 11
ประเทศบราซิล 2014 10 3 2 5 9 11
ประเทศรัสเซีย 2018 10 1 3 6 7 20
ประเทศกาตาร์ 2022 รอแข่งขัน
ทั้งหมด 0/21 73 17 16 40 59 111

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป

[แก้]

สถิติผู้เล่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://lff.lt/news/5647/lietuvos-futbolo-rinktine-treniruos-v-urbonas/
  2. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 19 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2024.
  3. FIFA World Cup uefa.com

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]