พระมหากษัตริย์ภูฏาน
หน้าตา
พระมหากษัตริย์ แห่งราชอาณาจักรภูฏาน | |
---|---|
อยู่ในราชสมบัติ | |
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมกเยล วังชุก ตั้งแต่ 14 ธันวาคม 2549 | |
รายละเอียด | |
พระราชอิสริยยศ | สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งภูฏาน |
รัชทายาท | เจ้าชายชิกเม นัมเกยล วังชุก องค์รัชทายาท |
กษัตริย์องค์แรก | สมเด็จพระราชาธิบดีโอกยัน วังชุก |
สถาปนาเมื่อ | 17 ธันวาคม 2450 |
ที่ประทับ | พระราชวังดาเชนโชลิง ทิมพู, ภูฏาน |
พระมหากษัตริย์ภูฏาน หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน เป็นประมุขแห่งรัฐของประเทศภูฏาน สถาปนาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2450 สมเด็จพระราชาธิบดีโอกยัน วังชุก เป็นปฐมกษัตริย์
รายพระนาม
[แก้]ระบอบกษัตริย์ภูฏานได้รับการสถาปนาใน ค.ศ. 1907 จากการรวบรวมดินแดนและปกครองโดยราชวงศ์วังชุก สืบทอดตำแหน่ง เปนลอป (เจ้าเมือง) แห่งตรองสา กษัตริย์ภูฏานหรือที่รู้จักในนามของดรุก กยาลโป ("ราชามังกร") ตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรภูฏาน ค.ศ. 2008 พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ขณะที่นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา[1]
พระบรมฉายาลักษณ์ | พระมหากษัตริย์ | รัชกาล |
สมเด็จพระราชาธิบดีโอกยัน วังชุก | พ.ศ. 2450 – พ.ศ. 2469 | |
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม วังชุก | พ.ศ. 2469 – พ.ศ. 2495 | |
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม โตเจ วังชุก | พ.ศ. 2495 – พ.ศ. 2515 | |
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เซ็งเค วังชุก | พ.ศ. 2515 – พ.ศ. 2549 | |
สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เคซาร์ นัมกเยล วังชุก | พ.ศ. 2549 – ปัจจุบัน |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Constitution of the Kingdom of Bhutan" (PDF). Government of Bhutan. 18 July 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 July 2011. สืบค้นเมื่อ 8 October 2010.