ข้ามไปเนื้อหา

รายพระนามสุลต่านบรูไน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สุลต่านบรูไน)
สุลต่านแห่งบรูไนดารุสซาลาม
Sultan dan Yang Di-Pertuan Negara Brunei Darussalam
อยู่ในราชสมบัติ
ฮัสซานัล โบลเกียห์
ตั้งแต่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1967
รายละเอียด
รัชทายาทมกุฎราชกุมาร อัลมุฮ์ตาดี บิลละฮ์
กษัตริย์องค์แรกสุลต่านมูฮัมมัด ชะฮ์
สถาปนาเมื่อ1368; 656 ปีที่แล้ว (1368)
ที่ประทับอิซตานานูรุลอีมัน บันดาร์เซอรีเบอกาวัน

สุลต่านแห่งบรูไนดารุสซาลาม เป็นประมุขแห่งรัฐของประเทศบรูไน และยังเป็นหัวหน้ารัฐบาลในฐานะนายกรัฐมนตรีบรูไน[1] โดยทรงเป็นสุลต่านพระองค์แรกพระองค์เดียวตั้งแต่ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1984 แต่ราชวงศ์บรูไนนั้นมีอายุยาวนานมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14[2] โดยพระอิสรริยยศอย่างเป็นทางการคือ สุลต่านยังดีเปอร์ตวนแห่งบรูไนดารุสซาลาม[1]

รายพระนามสุลต่าน

[แก้]
สุลต่านบรูไนตั้งแต่ ค.ศ. 1368[2]
ลำดับ พระบรมสาทิสลักษณ์ พระนาม เริ่มต้น สิ้นสุด หมายเหตุ
1 มูฮัมมัด ชะฮ์ / อาวัง อาลัก เบอตาตาร์ 1363[3] หรือ 1368 1402 สถาปนารัฐสุลต่าน[3]
2 อับดุล มาจิด ฮัซซัน / มหาราชากรรณะ 1402 1408 สวรรคตที่หนานจิง ประเทศจีน
3 อะฮ์มัด / อาวัง ปาเตะฮ์ เบอร์ไบ 1408 1425
4 ชะรีฟ อะลี / สุลต่านบาร์กัต (สุลต่านผู้ได้รับพร) 1425 1432 เดิมปกครองเป็นชะรีฟแห่งมักกะฮ์ในรัฐสุลต่านมัมลูก และไม่มีความเกี่ยวข้องทางสายพระโลหิตกับผู้ครองราชย์ก่อนหน้า แต่ได้รับเลือกเป็นพระชามาดาของอดีตสุลต่าน (อะฮ์มัด) และทรงรอบรู้ในศาสนาอิสลาม
5 ซูไลมัน 1432 1485 พระราชโอรสของสุลต่านชะรีฟ อะลี พระองค์สละราชสมบัติเพื่อให้โบลเกียห์ พระราชโอรส ขึ้นเป็นสุลต่าน
6 โบลเกียห์ / นาโคดารากัม (กัปตันผู้ขับร้อง) 1485 1524 พระราชโอรสของสุลต่านซูไลมัน และเป็นสุลต่านองค์แรกที่ใช้ปืนใหญ่ลำกล้อง
7 อับดุล กาฮาร์ 1524 1530 พระราชโอรสของสุลต่านโบลเกียห์
8 ไซฟุล รีจัล 1533 1581 พระราชนัดดาและพระราชโอรสบุตธรรมของสุลต่านอับดุล กาฮาร์ เกิดสงครามกัสติยาระหว่างบรูไนกับสเปน
9 ชะฮ์ เบอรูไน 1581 1582 พระราชโอรสองค์โตของสุลต่านไซฟุล รีจัล
10 มูฮัมมัด ฮาซัน 1582 1598 พระอนุชาในสุลต่านชะฮ์ เบอรูไน
11 อับดุล จาลีลุล อักบาร์ 1598 1659 สุลต่านที่ครองราชย์นานที่สุดในประวัติศาสตร์บรูไน
12 อับดุล จาลีลุล จับบาร์ 1659 1660
13 มูฮัมมัด อาลี 1660 1661 ถูกประหารชีวิตด้วยการบีบปลอกคอเหล็กโดยอับดุล ฮักกุล มูบิน ผู้ครองราชย์องค์ถัดไป นำไปสู่สงครามกลางเมืองบรูไน
14 อับดุล ฮักกุล มูบิน 1660 1673 เริ่มต้นสงครามกลางเมืองบรูไนด้วยการปลงพระชนม์สุลต่านมูฮัมมัด อาลี และภายหลังถูกปลงพระชนม์โดยมูฮ์ยิดดิน ผู้ครองราชย์องค์ถัดไป
15 มุฮ์ยิดดิน 1673 1690 พระราชโอรสในสุลต่านอับดุล จาลีลุล จับบาร์ผู้แก้แค้นการสวรรคตของสุลต่านมูฮัมมัด อาลี พระสัสสุระ ด้วยการปลงพระชนม์สุลต่านอับดุล ฮากิม มูบิน ทำให้สงครามกลางเมืองสิ้นสุดลง พระองค์นำดินปืนจากรัฐสุลต่านจัมบีในช่วงสงครามกลางเมือง
16 นัซรุดดิน 1690 1710
17 ฮูซิน กามาลุดดิน 1710 1730 ครั้งแรก พระองค์ขึ้นครองราชย์ครั้งที่สองใน ค.ศ. 1737 ถึง 1740
18 มูฮัมมัด อาลาอุดดิน 1730 1737 ทรงสั่งให้ดาตู อิหม่าม ยาอ์กุบให้เขียน ซัลซีละฮ์ราจา-ราจาเบอรูไน หรือพระราชวงศ์ของสุลต่านบรูไน
(17) ฮูซิน กามาลุดดิน 1737 1740 ครั้งที่สอง
19 โอมาร์ อาลี ไซฟุดดินที่ 1 1740 1778
20 มูฮัมมัด ตาจุดดิน 1778 1807 ทรงสั่งให้คาติบ อับดุล ชาติฟสลัก บาตูตาร์ซีละฮ์ หรือแผ่นศิลาจารึก
21 มูฮัมมัด จามาลุล อาลัมที่ 1 1804 1804
22 มูฮัมมัด กันซุล อาลัม 1807 1826
23 มูฮัมมัด อาลัม 1826 1828 พระองค์เรียกตัวพระองค์เป็นสุลต่านบรูไน ในรัชสมัยนี้ บรูไนถือครองดินแดนจากตันจงดาตูในรัฐซาราวักถึงกีมานิซในรัฐซาบะฮ์ แม้จะถูกมองว่าเป็นประเทศที่อ่อนแอและต้องได้รับการคุ้มครองมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเหตุนี้ บทความนี้จะเปิดเผยสถานการณ์จริงของจักรวรรดิบรูไนก่อนล่มสลายอย่างเลวร้ายหลังจากการสู้รบในช่วงสั้นๆ ชาวบรูไนส่วนใหญ่เกลียดชังพระองค์เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ และพระองค์ไม่เคารพขนบธรรมเนียมราชสำนักบรูไน ซึ่งจุดชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองครั้งที่สองระหว่างพระองค์กับเปองีรัน มูดา โอมาร์ อาลี ไซฟุดดิน ผู้ครองราชย์ต่อจากพระองค์
24 โอมาร์ อาลี ไซฟุดดินที่ 2 1828 1852 เจมส์ บรูกเดินทางมาและมีการลงนามสนธิสัญญาลาบวนใน ค.ศ. 1846
25 อับดุล โมมิน 1852 29 พฤษภาคม 1885 ลงนามสนธิสัญญาแห่งมิตรภาพและพาณิชย์ใน ค.ศ. 1847 ที่ทำให้ชาลส์ บรูกผนวกดินแดนต่อ และมีการประกาศ อามานัต ใน ค.ศ. 1885
26 ฮาชิม จาลีลุล อาลัม อากามัดดิน 29 พฤษภาคม 1885 10 พฤษภาคม 1906 ยังคงเสียดินแดนต่อแม้จะมีการทำ อามานัต และการลงนามข้อตกลงรัฐในอารักขากับรัฐบาลบริติชใน ค.ศ. 1888 การเข้ามาและรายงานของมัลคอล์ม แมคอาเธอร์ทำให้พระองค์ลงนามข้อตกลงเพิ่มเติม ค.ศ. 1905–1906
27 มูฮัมมัด จามาลุล อาลัมที่ 2 10 พฤษภาคม 1906 11 กันยายน 1924 พระองค์เป็นสุลต่านบรูไนองค์แรกที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ จากนั้น พระองค์นำกฎหมายอิสลามเข้ามาใช้ในรัฐสุลต่านเมื่อ ค.ศ. 1912 ตามมาด้วย พระราชบัญญัติการสมรสและการหย่าร้าง ใน ค.ศ. 1913 เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ เสด็จมายังรัฐสุลต่านในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1922 ในปีเดียวกัน พระองค์เป็นสุลต่านองค์แรกที่เสด็จประพาสสิงคโปร์ ในช่วงเกือบท้ายรัชสมัยมีการย้ายอิซตานากัมปงอาเยอร์ไปยังอิซตานามัจลิซ การแพร่ระบาดของมาลาเรียทำให้พระองค์และสมาชิก 3 พระองค์สวรรคต
28 อะฮ์มัด ตาจุดดิน 11 กันยายน 1924 4 มิถุนายน 1950 มีการค้นพบน้ำมันในช่วงต้นรัชสมัยเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1929 พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับเติงกู ไรฮานีในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1934 ในรัชสมัยนี้ พระองค์พบการครอบครองบรูไนของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1941 ถึง 1945 ทรงฉลองรัชดาภิเษกในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1949 พระองค์ประชวรที่แรฟเฟิลส์โฮเท็ลและสวรรคตที่โรงแรมสิงคโปร์เจเนอรัลในวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1950
29 โอมาร์ อาลี ไซฟุดดีนที่ 3 4 มิถุนายน 1950 5 ตุลาคม 1967 บรูไนพบการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญภายใต้การปกครอง 17 ปี พระองค์พัฒนาปรัชญาเมอลายูอิซลัมเบอราจา (Melayu Islam Beraja, MIB) ที่นำหน้าที่เป็นอุดมการณ์นำทางชาติ พระองค์ยังทรงริเริ่มการปฏิรูปการศึกษา ศาสนา สังคม และเศรษฐกิจ เพื่อเตรียมความพร้อมแก่ประชาชนของพระองค์ในการฟื้นฟูอำนาจอธิปไตยของรัฐ พระองค์ทรงทอดพระเนตรการร่างและการลงนามรัฐธรรมนูญบรูไนใน ค.ศ. 1959 พระองค์ยังได้เห็นความตึงเครียดที่เกิดจากการรวมตัวสหพันธรัฐมาเลเซีย ซึ่งนำไปสู่การกบฏบรูไนค.ศ. 1962 จากนั้นใน ค.ศ. 1967 พระองค์สละราชสมบัติแก่ฮัซซานัล โบลเกียห์ พระราชโอรสองค์โต
30 ฮัซซานัล โบลเกียห์ 5 ตุลาคม 1967 ยังครองราชย์ นับตั้งแต่บรูไนเป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1984 พระองค์ดำรงตำแหน่งทั้งนายกรัฐมนตรีและสุลต่านบรูไนตั้งแต่ ค.ศ. 1967 ถือเป็นหนึ่งในไม่กี่พระองค์ในโลกที่ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระองค์ขึ้นครองราชย์หลังพระราชบิดาสละราชสมบัติใน ค.ศ. 1967 ตามการจัดอันดับบางส่วนจัดให้พระองค์เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก พระองค์ยังเป็นประมุขแห่งรัฐที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในประวัติศาสตร์และเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุด มีการฉลองพิธีกาญจนาภิเษกในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2017

ความคลุมเครือ

[แก้]

บันทึกประวัติศาสตร์ช่วงต้นของสุลต่านบรูไนยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เนื่องจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์บรูไนในช่วงแรกมีไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ยังมีความพยายามที่จะทำให้ประวัติศาสตร์ "แผลงเป็นอิสลาม" โดยที่ "ประวัติศาสตร์ทางการ" ไม่ตรงกับแหล่งข้อมูลต่างประเทศที่สามารถตรวจสอบได้ [4] บาตูตาร์ซีละฮ์ บันทึกลำดับวงศ์ตระกูลของกษัตริย์แห่งบรูไน ยังไม่มีการเขียนจนกระทั่ง ค.ศ. 1807 ดังนั้น การตีความประวัติศาสตร์จำนวนมากจึงต้องพึ่งข้อมูลจีนก่อนหน้าและตำนาน ดูเหมืิอนว่ารัฐสุลต่านบรูไนช่วงแรกพึ่งพาแรงสนับสนุนจากจีน[3][5][6] และบางที สุลต่านช่วงแรกอาจมีต้นกำเนิดจากจีน[3] นอกจากนี้ สุลต่านยุคแรกอาจนับถือศาสนาฮินดูหรือพุทธ โดยที่พระนามในช่วงแรกบ่งชี้ถึงต้นตอเหล่านี้[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Prime Minister". The Prime Minister's Office of Brunei Darussalam. สืบค้นเมื่อ 24 April 2011.
  2. 2.0 2.1 "Sultan-Sultan Brunei" (ภาษามาเลย์). Government of Brunei. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2015. สืบค้นเมื่อ 24 April 2011.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Elisseeff, Vadime (January 2000). "Chapter 8: A Brunei Sultan of the Early Fourteenth Century – A Study of an Arabic Gravestone". The Silk Roads: Highways of Culture and Commerce. Berghahn Books. pp. 145–157. ISBN 978-1-57181-222-3. สืบค้นเมื่อ 26 December 2013.
  4. 4.0 4.1 "Brunei".
  5. "Malaysians Unplugged Uncensored: Malay History: What's Missing in Malaysian History Books". June 2013.
  6. "The golden history of Islam in Brunei | The Brunei Times". www.bt.com.bn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-26.