จังหวัดชัยนาท
จังหวัดชัยนาท | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Chai Nat |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดชัยนาทเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | นที มนตริวัต (ตั้งแต่ พ.ศ. 2565) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 2,469.746 ตร.กม. (953.574 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 65 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 316,220 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 68 |
• ความหนาแน่น | 128.04 คน/ตร.กม. (331.6 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 30 |
รหัส ISO 3166 | TH-18 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | มะตูม |
• ดอกไม้ | ชัยพฤกษ์ |
• สัตว์น้ำ | ปลาแดง |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนพรหมประเสริฐ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท 17000 |
• โทรศัพท์ | 0 5641 1234 |
• โทรสาร | 0 5641 2104 |
เว็บไซต์ | http://www.chainat.go.th/ |
ชัยนาท เดิมสะกดว่า ไชยนาท[3] เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย[4] มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอุทัยธานี
ประวัติ
[แก้]ชัยนาทแปลตามศัพท์มีความหมายว่า "เสียงบันลือแห่งชัยชนะ" เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่ง ตัวเมืองเดิมอยู่บริเวณฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองแพรกศรีราชา ใต้ปากน้ำเก่า สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยพระยาเลอไทยครองกรุงสุโขทัยระหว่าง พ.ศ. 1860–1879 เมืองแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า เมืองแพรกหรือเมืองสรรค์ มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางใต้ เมื่อกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง เมืองแพรกได้กลายเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนเหนือของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้เกิดชุมชนใหม่ไม่ไกลจากเมืองสรรค์ เมืองที่เกิดขึ้นใหม่นี้เป็นเมืองใหญ่ มีชื่อว่า ชัยนาท ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ย้ายตัวเมืองจากบริเวณแหลมยาง มาตั้งตรงฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนเมืองสรรค์นั้นเสื่อมลงเรื่อย ๆ เพราะผู้คนอพยพมาอยู่ที่ชัยนาทเป็นส่วนใหญ่ ในที่สุดก็กลายเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของชัยนาทเท่านั้น ชัยนาทเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เคยใช้เป็นที่ตั้งทัพรับศึกพม่าหลายครั้งและมีชัยทุกครั้งไป จึงเป็นที่มาของชื่อเมืองชัยนาทแห่งนี้
ภูมิศาสตร์
[แก้]ลักษณะภูมิประเทศ
[แก้]จังหวัดชัยนาทมีลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่มมีพื้นที่ประมาณ 99.06 ของพื้นที่ทั้งหมด ได้แก่ พื้นที่ตอนกลางตอนใต้และตะวันออกของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบจนถึงพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดมีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำน้อย ไหลผ่านพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทุกอำเภอ เช่น
- แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลผ่านอำเภอมโนรมย์ วัดสิงห์ เมืองชัยนาท และสรรพยา
- แม่น้ำท่าจีน หรือแม่น้ำมะขามเฒ่า ไหลผ่านอำเภอวัดสิงห์ และหันคา
- แม่น้ำน้อย ไหลผ่านอำเภอสรรคบุรี
- คลองชลประทาน ซึ่งมีหลายสายไหลผ่านพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ คลองอนุศาสนนันท์ คลองมหาราช คลองพลเทพ เป็นต้น ล้วนเป็นแหล่งน้ำสำคัญสำหรับการเกษตรกรรมตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วไป
นอกจากลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบแล้ว ยังมีเนินเขาเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 1 – 3 กิโลเมตร กระจ่ายอยู่ทั่วไปที่สำคัญได้แก่ เขาธรรมามูล ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์สำคัญของจังหวัดชัยนาท เขาพลอง เขาขยาย เขากระดี่ เขาใหญ่เขารัก เขาดิน เขาหลัก เขาไก่ห้อย เขาสารพัดดี เขาราวเทียน เขาสรรพยา และเขาแก้ว เป็นต้น
อาณาเขต
[แก้]จังหวัดชัยนาทเป็นจังหวัดหนึ่งของภาคกลางตอนบน ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี และชัยนาท ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยาและเป็นตอนเหนือสุดของภาคกลาง บนเส้นรุ้งที่ 15 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 องศาตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 16.854 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 2,469.746 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,543,591 ไร่หรือเท่ากับร้อยละ 15.5 ของพื้นที่ในภาคกลางตอนบนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม 1,219,669 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 79.02 ของพื้นที่ทั้งหมด ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 195 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงคือ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดนครสวรรค์
- ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดสิงห์บุรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดอุทัยธานี
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
[แก้]- คำขวัญประจำจังหวัด: หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา
- ตราประจำจังหวัด: รูปพระธรรมจักร รองรับด้วยพญาครุฑ เบื้องหลังเป็นแม่น้ำและภูเขา ซึ่งหมายถึงสัญลักษณ์รูปพระธรรมจักรที่ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารวัดธรรมามูลวรวิหาร ตั้งอยู่บนไหล่เขาธรรมามูล
- ธงประจำจังหวัด: เป็นรูปตราประจำจังหวัดบนพื้นสีบานเย็น (magenta) ซึ่งเป็นสีประจำจังหวัด
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: มะตูม (Aegle marmelos)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกชัยพฤกษ์ (Cassia javanica)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด: ปลาแดง (Phalacronotus bleekeri)
-
ตราประจำจังหวัดชัยนาท
-
ต้นมะตูม (Aegle marmelos) ต้นไม้ประจำจังหวัด
-
ดอกชัยพฤกษ์ (Cassia javanica) ดอกไม้ประจำจังหวัด
-
ปลาแดง (Phalacronotus bleekeri) สัตว์น้ำประจำจังหวัด
การเมืองการปกครอง
[แก้]หน่วยการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]จังหวัดชัยนาทแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 53 ตำบล 503 หมู่บ้าน โดยอำเภอทั้ง 8 มีดังนี้
- อำเภอเมืองชัยนาท
- อำเภอมโนรมย์
- อำเภอวัดสิงห์
- อำเภอสรรพยา
- อำเภอสรรคบุรี
- อำเภอหันคา
- อำเภอหนองมะโมง
- อำเภอเนินขาม
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]จังหวัดชัยนาทมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 60 แห่ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยนาท, เทศบาลเมือง 1 แห่ง คือ เทศบาลเมืองชัยนาท, เทศบาลตำบล 38 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 20 แห่ง[5] โดยรายชื่อเทศบาลทั้งหมดจำแนกตามอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดชัยนาทมีดังนี้
อำเภอเมืองชัยนาท
อำเภอมโนรมย์
|
อำเภอวัดสิงห์
อำเภอสรรพยา
|
อำเภอสรรคบุรี
|
อำเภอหันคา
อำเภอหนองมะโมง
อำเภอเนินขาม
|
รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด
[แก้]
|
|
วัฒนธรรมและประเพณี
[แก้]งานมหกรรมหุ่นฟางนก
[แก้]เป็นการนำฟางข้าวที่ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ มาประดิษฐ์เป็นรูปนกขนาดใหญ่หลายชนิด โดยนกแต่ละชนิดนำมาติดตั้งบนรถแต่ละคัน ซึ่งตกแต่งไว้อย่างสวยงามเป็นรูปขบวน หลังจากการประกวดหุ่นฟางนกทั้งหมดจะนำมาตั้งแสดงที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด กำหนดจัดงานประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี นอกจากนี้ ในบริเวณงานจะมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และผลิตผลทางการเกษตร
งานส้มโอชัยนาท
[แก้]ชัยนาทเป็นจังหวัดที่สามารถปลูกส้มโอทุกพันธุ์ได้ผลดี ส้มโอสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชัยนาทคือ ส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา ซึ่งมีลักษณะพิเศษดังนี้คือ ผลกลม ผิวเรียบ เปลือกบาง รสหวานกรอบอมเปรี้ยว ไม่มีรสขม ปัจจุบันจังหวัดเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนปลูกกันเป็นอาชีพและจัดงานส้มโอชัยนาทเป็นประจำทุกปี ช่วงระหว่างปลายเดือนสิงหาคมหรือต้นเดือนกันยายนที่บริเวณหน้าศาลากลาง จังหวัดชัยนาท มีกิจกรรมที่น่าสนใจคือการประกวดส้มโอ การจัดนิทรรศการให้ความรู้ จากหน่วยงานทางราชการ การออกร้านจำหน่ายกิ่งพันธุ์และผลส้มโอของเกษตรกรชาวชัยนาท
สถานที่สำคัญ
[แก้]
|
|
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]
|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_66.pdf 2566. สืบค้น 20 มีนาคม 2567.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
- ↑ "Chainat". Tourism Authority of Thailand (TAT). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-10. สืบค้นเมื่อ 29 May 2015.
- ↑ ข้อมูลจำนวน อปท. แยกรายจังหวัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด เก็บถาวร 2006-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
15°11′N 100°08′E / 15.18°N 100.13°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดชัยนาท
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย