คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 41
คณะรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ 2 | |
---|---|
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 41 แห่งราชอาณาจักรไทย | |
พ.ศ. 2522 - 2523 | |
วันแต่งตั้ง | 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 |
วันสิ้นสุด | 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 (0 ปี 283 วัน) |
บุคคลและองค์กร | |
พระมหากษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
สถานะในสภานิติบัญญัติ | รัฐบาลผสม |
พรรคฝ่ายค้าน |
|
ประวัติ | |
การเลือกตั้ง | 22 เมษายน พ.ศ. 2522 |
สิ้นสุดจากการเลือกตั้ง | การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 |
ก่อนหน้า | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 40 |
ถัดไป | คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 42 |
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 41 ของไทย (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2523)
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ
พลอากาศเอก หะริน หงสกุล ประธานรัฐสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
รายชื่อคณะรัฐมนตรีคณะที่ 41 ของไทย
[แก้]คณะรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 มีรายนามดังต่อไปนี้[1]
- พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- พลเอก เสริม ณ นคร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายสมภพ โหตระกิตย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- เรืออากาศตรี บุญยง วัฒนพงศ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายสวัสดิ์ คำประกอบ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลโท เฉลิมชัย จารุวัสตร์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลอากาศโท สิทธิ เศวตศิลา เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายเกษม จาติกวณิช เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายปรีดา กรรณสูต เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายบุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายประมวล กุลมาตย์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลเอก พร ธนะภูมิ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเรือเอก กวี สิงหะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นายชาญชัย ลี้ถาวร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายสุธี สิงห์เสน่ห์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายอุปดิศร์ ปาจรียางกูร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายอรุณ ภาณุพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายวงศ์ พลนิกร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายอาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พลตำรวจตรี สง่า กิตติขจร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายระพี สาคริก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายสมพร บุณยคุปต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลอากาศเอก ประสงค์ คุณะดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลเรือเอก อมร ศิริกายะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายอบ วสุรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายปรก อัมระนันทน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พลเอก เล็ก แนวมาลี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายดำริ น้อยมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายประเทือง กีรติบุตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พลตำรวจเอก ชุมพล โลหะชาละ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายสุธรรม ภัทราคม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายชุบ กาญจนประกร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
- นายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นางยุพา อุดมศักดิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายบุญสม มาร์ติน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายกระแส ชนะวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายประสิทธิ์ ณรงค์เดช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นาวาอากาศเอก วิมล วิริยะวิทย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายเกษม สุวรรณกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
การปรับคณะรัฐมนตรี
[แก้]- วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีใหม่ หลังจากมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจและลงมติเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 มีรายนามดังนี้[2]
- พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พลเอก เสริม ณ นคร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- พลเอก เล็ก แนวมาลี เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
- นายบุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- นายดำริ น้อยมณี เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลเอก พร ธนะภูมิ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลเรือเอก กวี สิงหะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
- นายสมหมาย ฮุนตระกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- นายสุธี สิงห์เสน่ห์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- นายจำรัส จตุรภัทร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายอรุณ ภานุพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- นายระพี สาคริก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายปรีดา กรรณสูต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายอาณัติ อาภาภิรม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายวงศ์ พลนิกร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- นายสมพร บุณยคุปต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลเรือเอก อมร ศิริกายะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- พลเอก เทพ กรานเลิศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
- นายอบ วสุรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายจุมพล ธรรมจรีย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
- นายประเทือง กีรติบุตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- นายรัตน์ ศรีไกรวิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- นายสุรินทร์ เศรษฐมานิต เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
- นายบุญสม มาร์ติน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายสิปปนนท์ เกตุทัต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- นายเสม พริ้งพวงแก้ว เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- นายกระแส ชนะวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
- พลอากาศเอก ประสงค์ คุณะดิลก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- พลอากาศเอก วิมล วิริยะวิทย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายอาชว์ เตาลานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- นายเกษม สุวรรณกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
การสิ้นสุดของคณะรัฐมนตรีคณะที่ 41 ของไทย
[แก้]คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี ลาออกจากตำแหน่งในวันประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 โดยเหตุผลในการลาออกว่า "ได้เกิดการขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับรัฐสภาในปัญหาที่สำคัญหลายเรื่องและหลายครั้งจนยากที่จะบริหารงานของชาติให้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้"
ต่อมาในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 ได้มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ คณะรัฐมนตรีคณะนี้จึงพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-28.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ การเมืองตำนานการเมือง พล.อ.เกรียงศักดิ์ เป็นนายกฯ คนนอกได้เพราะเสียง ส.ว.[ลิงก์เสีย]