โรงพยาบาลด่านขุนทด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลด่านขุนทด
Dankhunthod Hospital
ประเภทโรงพยาบาลชุมชน (M2)
ที่ตั้งถนนสีคิ้ว-ชัยภูมิ
ตำบลด่านขุนทด อำเภอด่านขุนทด
จังหวัดนครราชสีมา 30210
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งพ.ศ. 2518 (สถานีอนามัยชั้น 1)
พ.ศ. 2522 (ยกระดับเป็นโรงพยาบาล)
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้อำนวยการนพ.ชวิศ เมธาบุตร
จำนวนเตียง90 เตียง (เตียงจริง 126 เตียง)
แพทย์13 คน
บุคลากร363 คน
เว็บไซต์http://www.dkthos.com

โรงพยาบาลด่านขุนทด เป็นโรงพยาบาลหลักของอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ให้บริการรักษาทั่วผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

ประวัติโรงพยาบาล[แก้]

อำเภอด่านขุนทดมีสถานีอนามัยชั้น 1 (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปัจจุบัน) เพื่อบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในเขตอำเภอด่านขุนทดมานาน

ปี พ.ศ. 2518 นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์ ได้เสนอตัวเข้ามาทำงานในสถานีอนามัยแห่งนี้ เมื่อมีแพทย์มาปฏิบัติงานสถานีอนามัยได้ยกระดับเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย ภายหลังเจ้าหน้าที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นทางศูนย์การแพทย์ได้ขยายสำนักงานแบ่งออกเป็น ห้องคลอด ห้องผ่าตัด และแผนกผู้ป่วยใน

ปี พ.ศ. 2519 กระทรวงสาธารณสุขได้เห็นความสำคัญของสถานบริการจึงได้อนุมัติงบประมาณในการสร้างโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง

เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 โรงพยาบาลด่านขุนทดได้เปิดบริการ โดยยกระดับเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง

ปี พ.ศ. 2530 โดยพระเทพปริยัติสุธี (ท่านเจ้าคุณเสรี) อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ และหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ (วัดบ้านไร่) เป็นผู้ริเริ่มที่ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยในหลังใหม่ขึ้นเนื่องจากอาคารเดิมที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการบริการ โดยได้รับความร่วมมือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายประสาน ด่านกุล (สส.สมัยนั้น) ได้จัดสรรงบประมาณของจังหวัดนครราชสีมาให้โรงพยาบาลด่านขุนทด 1 ล้านบาท และนายสมบูรณ์ จิระมะกร (สส.สมัยนั้น) ได้จัดสรรงบประมาณมาอีก 4 แสนบาท รวมเป็นเงิน 1 ล้าน 4 แสนบาท ส่วนค่าก่อสร้างตึกผู้ป่วยในนั้นราคาประมาณ 7 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจึงต้องหาเงินมาจากการบริจาคทั้งหมด ทั้งนี้เพราะกระทรวงฯไม่มีงบประมาณจัดสรรให้ และด้วยความร่วมมือของข้าราชการ พ่อค้าประชาชนและห้างร้านบริษัทต่างๆจึงทำให้การก่อสร้างสำเร็จลง[1]

ปี พ.ศ. 2559 ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก-อุบัติเหตุ เป็นอาคาร 4 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 6,721 ตารางเมตร ในพื้นที่โรงพยาบาลด่านขุนทดแห่งใหม่

ปี พ.ศ. 2564 ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน เป็นอาคาร 5 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 4,797 ตารางเมตร ในพื้นที่โรงพยาบาลด่านขุนทดแห่งใหม่ โดยจะพร้อมเปิดให้บริการในปี 2566

วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2566 นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดโรงพยายาลด่านขุนทดแห่งใหม่ พร้อมเปลี่ยนชื่อจาก โรงพยาบาลด่านขุนทด เป็น โรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ เนื่องในโอกาสวันครบรอบ 100 ปีชาตกาล หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ เพื่อรำลึกถึงคุณูปการอันยิ่งใหญ่ ของหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ที่มีต่อโรงพยาบาลและงานสาธารณสุข พร้อมรับมอบเงินบริจาคสมทบปรับปรุงอาคารและจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์สำหรับอาคารผู้ป่วยในที่ก่อสร้างใหม่ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12,320,000 บาท[2][3] [4]


การยกระดับโรงพยาบาลด่านขุนทด[แก้]

กระทรวงสาธารณสุขได้ยกระดับโรงพยาบาลด่านขุนทด ดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2522 โรงพยาบาลขนาด 30 เตียง (อาคารเดิม )
  • ปี พ.ศ. 2533 โรงพยาบาลขนาด 60 เตียง (เพิ่มอาคาร 60 ปี ภูมิพล )
  • ปี พ.ศ. 2537 โรงพยาบาลขนาด 90 เตียง (เพิ่มอาคารสมเด็จพระเทพฯและอาคารสิริกิติ์)
  • ปัจจุบัน โรงพยาบาลด่านขุนทด เป็นโรงพยาบาลชุมชน (M2) ขนาด 90 เตียง แต่มีจำนวนเตียงจริง 126 เตียง[1]

พื้นที่ของโรงพยาบาล[แก้]

พื้นที่เก่า (โรงพยาบาลด่านขุนทด)[แก้]

อยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอด่านขุนทด มีเนื้อที่แบ่งเป็น 4 ส่วน

ส่วนแรก เนื้อที่ 12 ไร่ เป็นอาคารสำนักงานทั้งหมด
ส่วนที่ 2 เป็นบริเวณบ้านพัก อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโรงพยาบาลมีเนื้อที่ 6 ไร่
ส่วนที่ 3 นั้นอยู่หลังที่ว่าการอำเภอด่านขุนทดมีเนื้อที่ 3 ไร่ (ส่วนนี้เป็นสถานที่สร้างบ้านพักเจ้าหน้าที่ อาคารโรงซักฟอกและโรงรถ)
ส่วนที่ 4 อยู่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำหนองกะจะมีเนื้อที่ 2 ไร่ เป็นบริเวณสร้างน้ำประปาสำหรับโรงพยาบาลโดยมีโรงสูบน้ำ กรองน้ำอยู่บริเวณนี้ทั้งหมด

สรุปแล้วเนื้อที่ของโรงพยาบาลรวมทั้งหมด 25 ไร่[1]

พื้นที่ใหม่ (โรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ)[แก้]

อยู่ทางทิศตะวันออกของตัวอำเภอด่านขุนทด มีพื้นที่ จำนวน 124 ไร่[5]

รายนามผู้อำนวยการโรงพาบาลด่านขุนทด[แก้]

ทำเนียบรายนามผู้อำนวยการโรงพาบาลด่านขุนทด[1]
รายนามผู้อำนวยการ วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1. นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์ 2518-2520
2. นพ.บุญนำ ลิ้มมงคล 2520-2522
3. นพ.สมบูรณ์ นันทานิช 2522-2531
4. นพ.พิทยาคม พงศ์เวทย์พาณิชย์ 2531-2538
5. นพ.ดนัย อดุลยศักดิ์ 2538-2541
6. นพ.วรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์ 2541-2549
7. พญ.ต้องตา ชนยุทธ 2549-2566
8. นพ.ชวิศ เมธาบุตร 1 มีนาคม 2566 ถึงปัจจุบัน

อาคารสถานที่[แก้]

อาคารต่าง ๆ ในโรงพยาบาลด่านขุนทด

พื้นที่เก่า (โรงพยาบาลด่านขุนทด)
  • อาคารผู้ป่วยนอก
  • อาคารประชารักษ์
  • อาคาร 60 พรรษาภูมิพลมหาราช (เปิดบริการปี พ.ศ. 2533)
  • อาคาร 36 พรรษาสมเด็จพระเทพฯ (เปิดบริการปี พ.ศ. 2534)
  • อาคาร 60 พรรษามหาราชินี (เปิดบริการปี พ.ศ. 2537)[1]
พื้นที่ใหม่ (โรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ)
  • อาคารผู้ป่วยนอก-อุบัติเหตุ 4 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 6,721 ตารางเมตร (ปีงบประมาณ 2559)[6]
  • อาคารผู้ป่วยใน 5 ชั้น จำนวน 114 เตียง[7] พื้นที่ใช้สอย 4,797 ตารางเมตร[8] (กำลังก่อสร้างและจะเปิดให้บริการได้ต้นปี 2566)[9]
  • อาคารวินิจฉัยและบำบัดรักษา 4 ชั้น (อยู่ในแผน)[5]

การบริการทางการแพทย์[แก้]

โรงพยาบาลแม่ข่าย[แก้]

โรงพยาบาลด่านขุนทด เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย (M2) และรับการส่งต่อจากโรงพยาบาลลูกข่าย 1 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และคลินิกหมอครอบครัว ได้แก่

  1. โรงพยาบาลเทพารักษ์ (โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก (F3))
  2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 15 แห่ง
  3. คลินิกหมอครอบครัว (PCC) 5 แห่ง[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "โรงพยาบาลด่านขุนทด".
  2. "พิธีเปิดโรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ". บ้านเมือง ออนไลน์.
  3. "พิธีเปิดโรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ". ข่าวสด ออนไลน์.
  4. "โรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ชื่อทางการของโรงพยาบาลด่านขุนทดแห่งใหม่". ข้อมูลบริการสุขภาพของไทย.
  5. 5.0 5.1 "โรงพยาบาลด่านขุนทดแห่งใหม่ (โรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ)". สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ.
  6. "โรงพยาบาลด่านขุนทดแห่งใหม่ (โรงพยาบาลหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ)". สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา.
  7. "ข้อมูลอาคารหอผู้ป่วยใน 5 ชั้น โรงพยาบาลด่านขุนทด" (PDF). สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-18. สืบค้นเมื่อ 2022-11-05.
  8. "ข้อมูลอาคารหอผู้ป่วยใน 5 ชั้น โรงพยาบาลด่านขุนทด" (PDF). ประกาศจังหวัดนครราชสีมา.
  9. "ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลด่านขุนทด" (PDF). เขตสุขภาพที่ 9 หน้าที่ 60.[ลิงก์เสีย]
  10. "หน่วยการบริการทางการแพทย์โรงพยาบาลด่านขุนทด".