จะลาลาบาด
จะลาลาบาด جلالآباد | |
---|---|
เมือง | |
จากบนซ้ายไปขวา: ภาพพาโนรามาของย่านหนึ่งในจะลาลาบาด; สะพานจะลาลาบาด; สนามกีฬาคริกเกตจะลาลาบาด; จัตุรัสพัชตูนิสถาน; มัสยิดในจะลาลาบาด; บ้านผู้ว่าการในจะลาลาบาด; สิ่งก่อสร้างในถนนสายหลัก | |
พิกัด: 34°26′03″N 70°26′52″E / 34.43417°N 70.44778°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | นันการ์ฮาร์ |
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1570 |
การปกครอง | |
• นายเทศมนตรี | Qari Ehsanullah Sajid[1] |
พื้นที่ | |
• พื้นดิน | 122 ตร.กม. (47 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 575 เมตร (1,886 ฟุต) |
ประชากร (2021)[2] | |
• ทั้งหมด | 280,685 คน |
[2] | |
เขตเวลา | UTC+4:30 (เวลามาตรฐานอัฟกานิสถาน) |
ภูมิอากาศ | BWh |
จะลาลาบาด (ปาทาน/ดารี: جلالآباد, Jalālābād) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ในประเทศอัฟกานิสถาน โดยมีประชากรประมาณ 356,274 คน[3] และทำหน้าที่เป็นเมืองหลักในจังหวัดนันการ์ฮาร์ ห่างจากคาบูลประมาณ 130 กิโลเมตร (80 ไมล์) จะลาลาบาดตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำคาบูลและแม่น้ำคูนาร์ในที่ราบสูงทางใต้ของเทือกเขาฮินดูกูช[4] ทางตะวันตกมีทางหลวงเชื่อมไปที่คาบูลและทางตะวันออกผ่านทางผ่านไคเบอร์ไปยังเมืองเปศวาร์ของประเทศปากีสถาน
จะลาลาบาดเป็นศูนย์กลางด้านกิจกรรมทางสังคมและการค้า เพราะตัวเมืองอยู่ในชายแดนTorkhamที่อยู่ห่างไป 65 กิโลเมตร (40 ไมล์)[5] โดยมีอุตสาหกรรมทำกระดาษ สินค้าเกษตร เช่น ส้ม ข้าว และอ้อย ซึ่งมีปัจจัยจากภูมิอากาศแบบอบอุ่น[6] เมืองนี้เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนันการ์ฮาร์ สถาบันการศึกษาที่มีขนาดใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ กษัตริย์อัฟกันหลายพระองค์ทรงโปรดปรานเมืองนี้มาหลายศตวรรษ[7] ในรัชสมัยตีมูร์ ชาฮ์แห่งจักรวรรดิดูร์รานี จะลาลาบาดทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงฤดูหนาวของประเทศอัฟกานิสถาน[8]
ภูมิอากาศ
[แก้]
จะลาลาบาดมีสภาพภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh) และเป็นหนึ่งในเมืองที่ร้อนที่สุดในประเทศอัฟกานิสถาน[9] โดยได้รับหยาดน้ำฝน 6 - 8 นิ้วต่อปี (152 - 203 มิลลิเมตรต่อปี) ซึ่งพบได้เฉพาะช่วงฤดูหนาวถึงฤดูใบไม้ผลิ และในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิสามารถเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 49 °C[10]
เนื่องจากอุณหภูมิที่อบอุ่นในอัฟกานิสถานช่วงฤดูหนาว ทำให้จะลาลาบาด (ร่วมกับเปศวาร์) มักเป็น "เมืองหลวงฤดูหนาว" ของผู้นำอัฟกันมาหลายศตวรรษ[8][11] โดยคนรวยจะย้ายไปที่บ้านพักตากอากาศในจะลาลาบาดเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศหนาวที่คาบูล[12]
ข้อมูลภูมิอากาศของจะลาลาบาด | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 25.0 (77) |
28.8 (83.8) |
34.5 (94.1) |
40.5 (104.9) |
45.4 (113.7) |
47.5 (117.5) |
44.7 (112.5) |
42.4 (108.3) |
41.2 (106.2) |
38.2 (100.8) |
32.4 (90.3) |
25.4 (77.7) |
47.5 (117.5) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 15.9 (60.6) |
17.9 (64.2) |
22.5 (72.5) |
28.3 (82.9) |
34.7 (94.5) |
40.4 (104.7) |
39.3 (102.7) |
38.0 (100.4) |
35.2 (95.4) |
30.5 (86.9) |
23.3 (73.9) |
17.5 (63.5) |
28.63 (83.53) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 8.5 (47.3) |
10.9 (51.6) |
16.3 (61.3) |
21.9 (71.4) |
27.7 (81.9) |
32.7 (90.9) |
32.8 (91) |
31.9 (89.4) |
28.1 (82.6) |
22.2 (72) |
14.9 (58.8) |
9.5 (49.1) |
21.45 (70.61) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 2.9 (37.2) |
5.6 (42.1) |
10.5 (50.9) |
15.3 (59.5) |
19.8 (67.6) |
24.7 (76.5) |
26.7 (80.1) |
26.2 (79.2) |
21.4 (70.5) |
14.4 (57.9) |
6.9 (44.4) |
3.5 (38.3) |
14.83 (58.69) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | −14.1 (6.6) |
-9.5 (14.9) |
-1.0 (30.2) |
6.1 (43) |
10.6 (51.1) |
13.5 (56.3) |
19.0 (66.2) |
17.5 (63.5) |
11.0 (51.8) |
2.7 (36.9) |
−4.5 (23.9) |
−5.5 (22.1) |
−14.1 (6.6) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 18.1 (0.713) |
24.3 (0.957) |
39.2 (1.543) |
36.4 (1.433) |
16.0 (0.63) |
1.4 (0.055) |
6.9 (0.272) |
7.7 (0.303) |
8.3 (0.327) |
3.2 (0.126) |
8.3 (0.327) |
12.1 (0.476) |
181.9 (7.161) |
ความชื้นร้อยละ | 61 | 60 | 62 | 59 | 47 | 40 | 52 | 58 | 56 | 55 | 58 | 63 | 55.9 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 4 | 5 | 8 | 8 | 4 | 1 | 1 | 1 | 1 | 1 | 2 | 3 | 39 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 180.9 | 182.7 | 207.1 | 227.8 | 304.8 | 339.6 | 325.9 | 299.7 | 293.6 | 277.6 | 231.0 | 185.6 | 3,056.3 |
แหล่งที่มา: NOAA (1964-1983) [13] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Zarifi, Yousaf (18 August 2021). "Control food prices, Nangarharis urge Taliban".
- ↑ 2.0 2.1 "Estimated Population of Afghanistan 2021-22" (PDF). National Statistic and Information Authority (NSIA). April 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ June 21, 2021.
- ↑ "The State of Afghan Cities report2015". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-31.
- ↑ "Afghan poets dream of peace in Pashtun Jalalabad | Arts & Ent, Culture | THE DAILY STAR". The Daily Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ 2020-12-03.
- ↑ "Jalālābād". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ 2011-08-15.
- ↑ "CLIMATE OF AFGHANISTAN – Afghanistan photos". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-28. สืบค้นเมื่อ 2022-02-01.
- ↑ Burns, John F.; Times, Special To the New York (1989-05-11). "Inside Jalalabad: A Sad, Crumbling Shel (Published 1989)". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2020-12-03.
- ↑ 8.0 8.1 Wright, Colin. "Jellalabad, the bastion where General Elphinstone and others were buried during the seige [sic] 1841-42". www.bl.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-11. สืบค้นเมื่อ 2020-12-03.
- ↑ "Afghanistan - Drainage". Britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-03.
- ↑ Michel, p. 30
- ↑ Latifi, Ali M. "Afghanistan halts independence festivities after wedding massacre". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-03.
- ↑ http://www.island.lk/index.php?page_cat=article-details&page=article-details&code_title=144825 [ลิงก์เสีย]
- ↑ "Jalal Abad Climate Normals 1964-1983". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ December 25, 2012.
ข้อมูล
[แก้]- Aloys Arthur Michel. The Kabul, Kunduz, and Helmand Valleys and the National Economy of Afghanistan: A Study of Regional Resources and the Comparative Advantages of Development. National Academies.
อ่านเพิ่ม
[แก้]ตีพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19
[แก้]- Edward Balfour (1885), "Jalalabad", Cyclopaedia of India (3rd ed.), London: B. Quaritch
ตีพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20
[แก้]. สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 15 (11 ed.). 1911. p. 130.
ตีพิมพ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 21
[แก้]- Grove Encyclopedia of Islamic Art & Architecture. Oxford University Press. 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Ghazi Amanullah Khan City ที่ยูทูบ
- The Silk Road Journey With Xuanzang By Sally Hovey Wriggins
- "Jalalabad". Islamic Cultural Heritage Database. Istanbul: Organization of Islamic Cooperation, Research Centre for Islamic History, Art and Culture. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-15.