ฝิ่น
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ฝิ่น | |
---|---|
ผลฝิ่นมียางไหลออกมาเนื่องจากการกรีด | |
Source plant(s) | Papaver somniferum |
Part(s) of plant | น้ำยาง แคปซูล หรือ ผลแห้งแตก และเมล็ด |
Geographic origin | Uncertain, possibly Asia Minor,[1] or Spain, southern France and northwestern Africa[2] |
Active ingredients | |
Main producers | |
Main consumers | Worldwide (#1: Iran)[3] |
Legal status |
|
ฝิ่น (อังกฤษ: Opium, poppy tears: ชื่อวิทยาศาสตร์: Lachryma papaveris)[4] เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมายประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคาลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษร้ายแรง ออกฤทธิ์กดระบบประสาท จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 โดยผู้ที่เสพจะมีอาการจิตใจเลื่อนลอย ง่วง ซึม แก้วตาหรี่ พูดจาวกวน ความคิดเชื่องช้า ไม่รู้สึกหิว ชีพจรเต้นช้า
แอลคาลอยด์ในฝิ่นแบ่งแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- ประเภทที่ 1 ออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการมึนเมาและเป็นยาเสพติดให้โทษโดยตรง แอลคาลอยด์ประเภทนี้ทางเภสัชวิทยาถือว่าเป็นยาทำให้นอนหลับ (Hypnotic) แอลคาลอยด์ที่เป็นสารเสพติดซึ่งออกฤทธิ์ตัวสำคัญที่สุดในฝิ่น คือ มอร์ฟีน (Morphine)
- ประเภทที่ 2 ออกฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบหย่อนคลายตัว ซึ่งในทางเภสัชวิทยาถือว่าแอลคาลอยด์ในฝิ่นประเภทนี้ไม่เป็นสารเสพติดแต่มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายหย่อนคลายตัว ซึ่งมีปาปาเวอร์รีน (Papaverine) เป็นตัวสำคัญ
ฝิ่นเป็นพืชล้มลุกขึ้นในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000 ฟุตขึ้นไป เป็นยาเสพติดที่เป็นต้นตอของยาเสพติดร้ายแรง เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเคอีน มีการลักลอบปลูกฝิ่นมากทางภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณแนวพรมแดน ที่เรียกว่าสามเหลี่ยมทองคำ เนื้อฝิ่นได้มาจากยางของผลฝิ่นที่ถูกกรีดจะมีสีขาว เมื่อถูกอากาศจะมีสีคล้ำลง กลายเป็นยางเหนียวสีน้ำตาลไหม้ หรือดำ มีกลิ่นเหม็นเขียวและรสขม เรียกว่า ฝิ่นดิบ ส่วนฝิ่นที่มีการนำมาใช้เสพ เรียกว่า ฝิ่นสุก ได้มาจากการนำฝิ่นดิบไปต้มหรือเคี่ยวจนสุก
ฝิ่นมีองค์ประกอบทางเคมีเป็นอัลคาลอยด์มากกว่า 30 ชนิด ที่สำคัญและในปัจจุบันยังใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ ได้แก่
- มอร์ฟีน พบในฝิ่นราวร้อยละ 4-21 ใช้เป็นยาแก้ปวดที่อาจทำให้เสพติด เป็นยานอนหลับและทำให้เสพติดอย่างแรง ใช้ในรูปยาฉีดเท่านั้น เมื่อเอามอร์ฟีนไปทำปฏิกิริยาทางเคมีกับอะเซติกแอนไฮดรายด์ จะได้สารกึ่งธรรมชาติเรียก เฮโรอีน มีฤทธิ์เหมือนกับมอร์ฟีน แต่แรงกว่าและติดได้ง่ายกว่ามาก
- โคดีอีน พบในฝิ่นร้อยละ 0.8-2.5 ใช้เป็นยาแก้ปวดที่อาจทำให้เสพติดเป็นยาระงับอาการไอ ใช้เป็นยานอนหลับให้ผู้ป่วยที่นอนไม่หลับเนื่องจากอาการไอ มีฤทธิ์เหมือนมอร์ฟีน แต่อ่อนกว่า และผู้ใช้ติดยาได้น้อยกว่ามาก ใช้ได้ทั้งในรูปกินและฉีด
- นอสคาพีน หรือ นาร์โคทีน พบในฝิ่นร้อยละ 4-8 ใช้เป็นยาระงับอาการไอไม่ทำให้เสพติดรุนแรง
- พาพาเวอรีน พบในฝิ่นราวร้อยละ 0.5-2.5 ใช้เป็นยาคลายกล้ามเนื้อเรียบใช้ได้ทั้งรูปยากินและยาฉีด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSchiff
- ↑ Professor Arthur C. Gibson. "The Pernicious Opium Poppy". University of California, Los Angeles. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 20, 2013. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 22, 2014.
- ↑ "The Global Heroin Market" (PDF). October 2014.
- ↑ "ประเภทของยาเสพติด". www.phichai.ac.th.