ธงชาติอัฟกานิสถาน
การใช้ | ธงชาติ ensign |
---|---|
สัดส่วนธง | 1:2[1][2] |
ประกาศใช้ | 27 ตุลาคม 1997 15 สิงหาคม 2021 (ฟื้นฟูเอมิเรต) |
ลักษณะ | ธงมีพื้นสีขาว กลางธงมีข้อความชะฮาดะฮ์สีดำ |
การใช้ | ธงชาติ ensign |
---|---|
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | 19 สิงหาคม 2013 |
ลักษณะ | แถบสีดำ แดง และเขียวแนวตั้งที่มีตราแผ่นดินสีขาวตรงกลางแถบสีแดง และอยู่บนแถบดำและเขียวบางส่วน |
ธงชาติอัฟกานิสถาน (ปาทาน: د افغانستان بیرغ; ดารี: پرچم افغانستان)[3] ยังคงขัดแย้งระหว่างธงโดยพฤตินัยของเอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถานกับธงโดยนิตินัยของสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ประเทศนี้มีธงรวม 25 ผืนนับตั้งแต่การก่อตั้งราชวงศ์โฮทักใน ค.ศ. 1709 ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 อัฟกานิสถานมีธงชาติถึง 19 ผืน ซึ่งมากกว่าชาติอื่นใดในโลกยุคนั้น[4][5] และส่วนใหญ่มีสีดำ แดง และเขียว
หลังการยึดกรุงคาบูลในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2021 มีสองหน่วยงานที่อ้างสิทธิเป็นรัฐบาลอัฟกานิสถานโดยชอบธรรม ซึ่งใช้ธงไม่เหมือนกัน โดยเอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถานที่ควบคุมโดยตอลิบานใช้ธงขาวที่มีคำชะฮาดะฮ์สีดำ ส่วนนานาชาติยอมรับธงสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถานที่มีธงไตรรงค์กับตราแผ่นดินสีขาวตรงกลาง สำนักงานใหญ่สหประชาชาติในนิวยอร์กยังคงชูธงของสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถานต่อไป[6][7] และในกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 ซึ่งจัดขึ้นหลังคาบูลถูกยึด[8]
ประวัติ
[แก้]เอมิเรตอัฟกานิสถาน
[แก้]-
พ.ศ. 2252 - 2271
พ.ศ. 2369 - 2423 -
พ.ศ. 2444 - 2462
-
พ.ศ. 2462 - 2464
ธงชาติอัฟกานิสถานยุคแรก เริ่มใช้ในสมัยราชวงศ์โฮทาคิ มีลักษณะเป็นธงพื้นสีดำเกลี้ยง ต่อมาในสมัยการปกครองของอับดุร์ เราะห์มาน ข่าน (Abdur Rahman Khan) ได้มีการรื้อฟื้นธงพื้นสีดำเกลี้ยงใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการ ในสมัยการปกครองของฮาบิบุลเลาะห์ ข่าน (Habibullah Khan) ได้เพิ่มรูปตราแผ่นดินที่กลางผืนธง ต่อมา อมานุลเลาะห์ (Amanullah Khan) มีการแก้ไขแบบตรา โดยเพิ่มรัศมี 8 ทิศ ล้อมรอบรูปตราแผ่นดิน เป็นธงชาติผืนแรกในรัชสมัยของพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2469 (ต่อมาสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าชาห์ (Shah) เมื่อเปลี่ยนรูปแบบประเทศเป็นราชอาณาจักร)
จักรวรรดิดูรานี
[แก้]-
พ.ศ. 2385 - 2394
ราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน
[แก้]- พ.ศ. 2471 - 2472
-
พ.ศ. 2471
-
พ.ศ. 2471
-
พ.ศ. 2471 - 2472
ธงชาติผืนที่ 2 ได้มีการนำแบบธงยุคก่อนหน้าธงเมื่อ พ.ศ. 2462 มาปรับแก้ไข โดยยกเอารัศมีล้อมภาพออก และ ปรับขนาดแบบตรา โดยขยายตราให้ใหญ่ขึ้น ประกอบช่อชัยพฤกษ์รองรับที่ด้านล่างของตรา ธงชาติผืนที่ 3 พระเจ้าอมานุลเลาะห์ ได้มีการแก้ไขแบบธงในปี พ.ศ. 2471 ให้มีลักษณะเป็นธงสามสีแบ่งตามแนวนอน พื้นสีดำ-แดง-เขียว หมายถึงเลือดที่หลั่งออกมาเพื่อเอกราช ในสงครามอังกฤษ-อัฟกัน ครั้งที่ 3 และ ความหวังต่ออนาคตเบื้องหน้า กลางธงมีตราแผ่นดินยุค พ.ศ. 2462 แบบธงนี้เป็นไปได้ว่า พระเจ้าอมานูเลาะห์ชาห์จะทรงได้รับอิทธิพล จากธงชาติเยอรมนี (ธงสีดำ-แดง-ทอง) ภายหลังที่พระองค์เสด็จประพาสยุโรปเมื่อ พ.ศ. 2470
ธงชาติผืนที่ 4 ได้แก้ไขแบบธงจ่าก ธงแถบแนวนอนเป็นธงแถบแนวตั้ง ประกอบตราแผ่นดินแบบใหม่ ตราแผ่นดินมีลักษระเป็นภาพยอดเขาปกคลุมด้วยหิมะ เบื้องหลังเป็นพระอาทิตย์อุทัย หมายถึง การเริ่มต้นของราชอาณาจักรใหม่ซึ่งมีเอกราชของตนเอง
- พ.ศ. 2472 - 2473
-
พ.ศ. 2472
-
พ.ศ. 2473
ธงชาติในรัชสมัยพระเจ้าฮาบิบุลเลาะห์คาลาคานี หรือฮาบิบุลเลาะห์ข่าน (Habibullah Khan) พระนามอย่างเป็นทางการคือ บาชา-อี-ซาเกา (Bacha-i-Saqao) ลักษณะธงสามสี แดง-ดำ-ขาวนี้ เป็นธงของอัฟกานิสถาน อย่างที่เคยใช้ในสมัยการยึดครองโดยจักรวรรดิมองโกล ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 โดยประมาณ
- พ.ศ. 2473 - 2516
-
พ.ศ. 2472 - 2473
-
พ.ศ. 2473 - 2516
ธงชาติในรัชสมัยพระเจ้ามูฮัมหมัด นาดีร์ ชาห์สมัยแรก ในยุคนี้ธงสามสี สีดำ-แดง-เขียว ถูกนำมาใช้อีกครั้งหนึ่ง ส่วนภาพตราแผ่นดินกลางธงนั้น ใช้ตราอย่างธงชาติในสมัย พ.ศ. 2462 ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้ามูฮัมหมัด นาดีร์ ชาห์สมัยหลัง และพระเจ้ามูฮัมหมัด ซาฮีร์ ชาห์ ธงนี้ปรับปรุงจากธงในสมัย พ.ศ. 2472 โดยยกเอารัศมีแปดทิศออก และขยายตราให้ใหญ่ขึ้น ที่ระหว่างรูปสุเหร่าและช่อรวงข้าวที่ล้อมตราสัญลักษณ์นั้น มีเลขฮิจเราะห์ศักราชที่ 1348 เขียนด้วยอักษรอาหรับ (١٣٤٨) ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้ามูฮัมหมัด นาดีร์ ชาห์ เสวยราชสมบัติ (ตรงกับ ค.ศ. 1929 ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือ พ.ศ. 2472 โดยประมาณ)
สาธารณรัฐ
[แก้]-
พ.ศ. 2516
ธงชาติแบบแรกของสาธารณรัฐ เป็นการเอาธงในสมัยก่อนหน้ามาใช้เป็นการชั่วคราว โดยลบเลข ฮ.ศ. 1348 ออกเสีย ต่อมามีการแก้ไขแแบบธง สำหรับใช้เป็นธงของสาธารณรัฐแบบที่ 2 ใช้สีอย่างธงชาติเดิม แต่เรียงแถบสีใหม่ตามแนวนอน เป็นสีดำ-แดง-เขียว ตามลำดับ แถบสีเขียวนั้นกว้างเป็นสองเท่าของแถบสีดำและแดง ที่มุมธงบนด้านคันธงใช้ภาพตราสัญลักษณ์ใหม่ เป็นตรานกอินทรีสยายปีกมีรัศมีเปล่งที่ศีรษะ (หมายถึงสาธารณรัฐที่เกิดใหม่) มีรูปที่นั่งแสดงธรรมที่อกนก (หมายถึงสุเหร่า ศาสนาสถานในศาสนาอิสลาม) ล้อมรอบด้วยช่อรวงข้าว รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง สีธงชาติในสมัยนี้มีการนิยามไว้ว่า สีดำหมายถึงประวัติศาสตร์แห่งความมืดมนและทุกข์ยากของชาติ สีแดงหมายถึงเลือดที่หลั่งรินเพื่อเอกราช และสีเขียวหมายถึงความมั่งคั่งจากการทำเกษตรกรรม
สาธารณรัฐประชาธิปไตย
[แก้]-
พ.ศ. 2521
-
พ.ศ. 2521 - 2522
-
กันยายน-ธันวาคม พ.ศ. 2522
-
พ.ศ. 2523
-
พ.ศ. 2523 - 2530
เมื่อผู้นำของสาธารณรัฐ ถูกสังหารในการรัฐประหารโดยพรรคคอมมิวนิสต์ รัฐบาลระบอบใหม่ของพรรคดังกล่าว จึงได้ยกเอาสัญลักษณ์ในธงชาติของสาธารณรัฐเดิมออกเสีย ธงในยุคนี้ใช้ธงแดงมีรูปสัญลักษณ์ประกอบที่มุมธงบนด้านคันธง ตามความนิยมของประเทศที่ปกครองด้วยพรรคคอมมิวนิสต์โดยทั่วไป รูปสัญลักษณ์นั้น มีลักษณะเป็นรูปช่อรวงข้าวมีแพรแถบข้อความที่ตอนล่าง เหนือดวงตรามีรูปดาวสีเหลือง (หมายถึงชนชาติหลัก 5 ชนชาติของประเทศ) ภายในช่อรวงข้าวมีอักษรอาหรับ เป็นข้อความว่า "คาลก์" ("Khalq") แปลว่า ประชาชน ธงนี้เป็นธงเดียวกับธงของกลุ่มคาลก์ ของพรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถาน ภายใต้การนำของประธานาธิบดี นูร์ มูฮัมหมัด ตะรากี จนกระทั่งเขาถูกลอบสังหารเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2522
ธงนี้ใช้อยู่ในระยะเวลาอันสั้น ตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 ในสมัยที่ประเทศอยู่ภายใต้การนำของฮะฟีซอลลาห์ อะมีน ลักษณะเป็นธงแดง ภายในมีตรารูปฟันเฟืองกับรวงข้าวซ้อนทับกัน (หมายถึงการเกษตร) ซึ่งธงนี้เดิมก็ได้ใช้เป็นธงประจำพรรคประชาธิปไตยประชาชนอัฟกานิสถานด้วย การเข้ายึดครองอัฟกานิสถานโดยสหภาพโซเวียต ในเดือนธันวาคมของปีนั้น ทำให้รัฐบาลของนายฮะฟีซอลลาห์ อะมีน สิ้นสภาพลง
หลังจากการโค่นล้มรัฐบาลกลุ่มคาล์กของนายฮะฟีซอลลาห์ อะมีน โดยกลุ่มปาร์ชาม ภายใต้การนำของนายบาบรัค คาร์มาล ด้วยความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต รัฐบาลใหม่ได้นำธงสามสี ดำ-แดง-เขียว กลับมาใช้อีกครั้ง มีความหมายถึงประวัติศาสตร์ของชาติ การเสียสละเพื่อเอกราช และศาสนาอิสลาม ตามลำดับ ที่มุมธงบนด้านคันธง มีรูปตราสัญลักษณ์ใหม่ แสดงภาพพระอาทิตย์อุทัย (ตามนามเดิมของประเทศ ซึ่งมีชื่อว่า โคระส่าน (Khorasan) แปลว่า แดนแห่งพระอาทิตย์อุทัย) ภาพแท่นแสดงธรรมและคัมภีร์อัลกุรอาน (หมายถึง ศาสนาอิสลาม) ฟันเฟืองอันเป็นสัญลักษณ์ของอุตสาหกรรม ดาวแดงแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์ ทั้งหมดล้อมด้วยรูปช่อรวงข้าว พันด้วยแพรแถบสีธงชาติ
สาธารณรัฐที่ 2
[แก้]ธงในสมัยสาธารณรัฐที่ 2 ใช้ธงลักษณะอย่างธงยุคก่อนหน้า แต่รายละเอียดในตราสัญลักษณ์มีการเปลี่ยนแปลงหลายประการ โดยรูปดาวแดงและคัมภีร์อัลกุรอานถูกยกออกไป ย้ายรูปฟันเฟืองมาไว้ตอนล่าง และพื้นสีเขียวในตรานั้นเป็นรูปโค้งแสดงขอบฟ้า ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
รัฐอิสลาม
[แก้]-
27 เมษายน - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2535
-
พ.ศ. 2535 - 2544
-
พ.ศ. 2544 - 2545
ธงชาติในสมัยรัฐอิสลาม เมื่อ พ.ศ. 2535 ลักษณะเป็นธงสามสีแถบสีดำ-ขาว-เขียว แบ่งตามแนวนอน บนแถบสีดำมีข้อความภาษาอาหรับว่า "อัลลอหฺ อัคบาร์" (อัลลอหฺทรงยิ่งใหญ่ที่สุด) แถบกลางมีรูปอักษรที่เรียกว่า ชะฮาดะฮ์ ซึ่งเป็นข้อความภาษาอาหรับ แปลความได้ว่า "ข้าพเจ้านับถือว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากอัลลอหฺ และศาสดามุฮัมมัดคือศาสนทูตแห่งอัลลอหฺ" ในภายหลังได้มีการแก้ไขแบบธง โดยเพิ่มรูปตราแผ่นดินแบบลายเส้นสีทองที่กลางธง ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ได้เพิ่มข้อความภาษาอาหรับสีฟ้าอยู่ระหว่างตราแผ่นดินบนแถบสีขาว ความว่า
เอมิเรตอิสลาม
[แก้]-
พ.ศ. 2539 - 2540
-
พ.ศ. 2540 - 2544
15-18 สิงหาคม พ.ศ. 2564 -
พ.ศ. 2540 - 2544 ()
ธงชาติในสมัยเอมิเรตอิสลาม กลุ่มตอลิบานใช้ธงพื้นขาวเกลี้ยง เป็นธงชาติอัฟกานิสถานภายใต้การปกครองของตนเอง ภายหลังมีการเพิ่มอักษรชะฮาดะฮ์ได้มีการเพิ่มลงบนธงพื้นสีขาวในสมัยนี้ อนึ่งธงชาติอัฟกานิสถานในช่วง พ.ศ. 2540 - 2543 ได้ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งเนื่องจากกลุ่มตาลีบันได้ยึดกรุงคาบูลในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2564
รัฐบาลเฉพาะกาล
[แก้]-
ธงชาติ
-
ธงราชการ ตราแผ่นดินสีทอง
ธงชาติในสมัยรัฐบาลเฉพาะกาล ชุดถ่ายโอนอำนาจ ใช้ธงลักษณะคล้ายกับธงในสมัยราชอาณาจักรยุค พ.ศ. 2472 เป็นพื้นสีดำ-แดง-เขียว แบ่งตามแนวตั้ง กลางธงมีตราแผ่นดินแบบลายเส้นสี ธงนี้แตกต่างจากธงเดิม ตรงที่มีการเพิ่มรูปอักษรชะฮาดะฮ์ที่ตอนบนของตรา และเลขบนปีฮิจเราะห์ศักราชเป็นปี ฮ.ศ. 1298 (١۲۹٨) ตรงกับปี ค.ศ. 1919 หรือ พ.ศ. 2472 ตามปฏิทินเกรกอเรียน ซึ่งเป็นปีที่ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร ในส่วนราชการใช้ตราแผ่นดินแบบลายเส้นสีทองบนธง อัตราส่วน 1:2
สาธารณรัฐอิสลาม
[แก้]-
พ.ศ. 2547 - 2556
-
พ.ศ. 2556 - 2564
ธงชาติที่ใช้อยู่นี้ เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ลักษณะคล้ายธงก่อนหน้า แต่ปรับขนาดอัตราส่วนธงใหม่ นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มรูปอักษร "ชาฮาดาห์" ลงในตอนบนของตราด้วย ในปี พ.ศ. 2556 ได้มีการปรับแก้ในรายละเอียดของธงในบางประการ
ธงตำแหน่งราชการ
[แก้]-
พ.ศ. 2556 - 2561
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ รัฐบาลโดยพฤตินัยนับตั้งแต่การยึดกรุงคาบูล (พ.ศ. 2564)
- ↑ รัฐบาลที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Smith, Whitney (25 October 1997). "New flags: Islamic Emirate of Afghanistan". The Flag Bulletin. XXXVI-5 (177).
- ↑ "Flag and Emblem Law of the Islamic Emirate of Afghanistan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-03. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.
- ↑ "Afghanistan Flag". Flags Corner. June 9, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2016. สืบค้นเมื่อ August 28, 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - ↑ "Afghanistan". The World Factbook. Central Intelligence Agency. 11 August 2021. สืบค้นเมื่อ 16 August 2021.
- ↑ Artimovich, Nick; McMillan, Joe; Macdonald, Ian (2016-09-21). "Historical Flags (Afghanistan)". Flags of the World. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 4, 2017. สืบค้นเมื่อ February 11, 2020.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-15. สืบค้นเมื่อ 2021-09-09.
- ↑ https://www.un.org/en/about-us/member-states
- ↑ Berkeley, Geoff (24 August 2021). "New Zealand to miss Paralympic Opening Ceremony due to COVID-19 fears". Inside the Games. Dunsar Media Company Limited. สืบค้นเมื่อ 24 August 2021.