อาทิวราห์ คงมาลัย
อาทิวราห์ คงมาลัย | |
---|---|
![]() อาทิวราห์ในงานแบทแมนพบซูเปอร์แมน ดอว์นออฟจัสติกมิดไนท์รันบางกอก | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | อาทิวราห์ คงมาลัย |
เกิด | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย |
แนวเพลง | โมเดิร์นร็อก, ป็อปพังค์, ป็อปร็อก, ยูทูบเบอร์ |
อาชีพ | นักร้อง นักกีฬา ยูทูบเบอร์ |
เครื่องดนตรี | ร้องนำ, กีตาร์ |
ช่วงปี | พ.ศ. 2539 – ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | มิวสิค บั๊กส์ (2540–2547) จีนี่เรคอร์ดส (2547–ปัจจุบัน) |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ละอ่อน, บอดี้สแลม |
ตูน บอดี้แสลม ชื่อเล่น ตูน (เกิดวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2522) ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นนักร้องและนักจัดกิจกรรมเพื่อสังคมชาวไทย อาทิวราห์เข้าประกวดเวทีฮอตเวฟมิวสิคอวอร์ดครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2539 และเป็นสมาชิกวงละอ่อน และได้เซ็นสัญญากับทางค่ายมิวสิค บั๊กส์ ก่อนที่สมาชิกบางส่วนในวงได้ไปศึกษาเรียนต่อต่างประเทศ ในเวลาต่อมา อาทิวราห์กับธนดล ช้างเสวก และรัฐพล พรรณเชษฐ์ ได้ก่อตั้งวงดนตรีใหม่ชื่อว่า บอดี้แสลม และผลิตผลงานเพลงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
อาทิวราห์ คงมาลัย ยังเป็นผู้เข้าแข่งขันเทเบิลเทนนิสอย่างต่อเนื่อง และได้รับเชิญให้เป็นทูตกีฬาเทเบิลเทนนิสจากสมาคมเทเบิลเทนนิสแห่งประเทศไทย เขายังเป็นหัวหน้าโครงการ "ก้าวคนละก้าว" เพื่อระดมทุนแก่โรงพยาบาลไทย
ประวัติ[แก้]
อาทิวราห์ คงมาลัย เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรคนที่ 2 ของอนุรัตน์ และประนอม คงมาลัยและมี พี่สาว 1 คน และ น้องชาย 1 คน สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนสุพรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี[1] สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (OSK 115 รุ่น รสช.) และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับ ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดนตรีสากล มหาวิทยาลัยรามคำแหง
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดนตรี[แก้]
อาทิวราห์ คงมาลัย เริ่มเล่นดนตรีจากการเป็นสมาชิกวงละอ่อน กับเพื่อนนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย[2] รวมมีสมาชิก 6 คน หลังได้รางวัลชนะเลิศจากเวทีการประกวดฮอตเวฟมิวสิคอวอร์ดครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2539)[3] และเซ็นสัญญากับทางค่ายเพลง มิวสิค บั๊กส์ และวางจำหน่ายอัลบั้ม ละอ่อน ในปี พ.ศ. 2540 และ อัลบั้ม เทพนิยายนายเสนาะ ในปี พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นสมาชิกวงก็ได้แยกย้ายกันไปเรียนต่อ ก่อนที่สมาชิกบางส่วนในวงได้ไปศึกษาเรียนต่อ และในเวลาต่อมานี้ อาทิวราห์ ธนดล ช้างเสวก และ รัฐพล พรรณเชษฐ์ ได้ก่อตั้งวงใหม่ขึ้นมา บอดี้แสลม
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ด้านกีฬา[แก้]
ในด้านกีฬา อาทิวราห์ คงมาลัย เป็นผู้เข้าร่วมการแข่งขันรายการเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2555 โดยในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เป็นฝ่ายแพ้วัชรพล ราชโหดี 3-2 เกม และปีถัดมา ได้จับคู่กับอดีตนักกีฬาทีมชาติไทย อย่างสุริยะ พ่วงสมบัติ ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ในประเภทชายคู่ อย่างไรก็ตามทั้งคู่เป็นฝ่ายแพ้ที่ 2-3 เกมในรอบคัดเลือก
ในปี พ.ศ. 2557 อาทิวราห์ได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเข้าร่วมทีมเทเบิลเทนนิสของจังหวัดเจ้าภาพ และเป็นตัวแทนนักกีฬากล่าวคำปฏิญาณตนในพิธีเปิด
นอกจากนี้แล้ว อาทิวราห์ยังเป็นแฟนประจำสุพรรณบุรีเอฟซี และทอตนัมฮอตสเปอร์ ชื่นชอบในการเล่นฟุตบอล, วิ่ง, ปั่นจักรยานอย่างมาก เคยลงแข่งขันฟุตบอลกรมพละในปี พ.ศ. 2534 รวมถึงยังเคยลงแข่งขันไตรกีฬา[4][5]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กิจกรรมทางสังคม[แก้]
อาทิวราห์จัดกิจกรรมวิ่งระดุมทุนในโครงการ ก้าวคนละก้าว จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้
- พ.ศ. 2559 โครงการ ก้าวคนละก้าวเพื่อโรงพยาบาลบางสะพาน โดย ตูน บอดี้สแลม ซึ่งทำการระดมทุนด้วยการ วิ่งระยะไกล เริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่ โรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมเป็นระยะทาง 400 กิโลเมตร และสามารถระดมทุนจากคนไทยทั่วประเทศได้ถึง 85 ล้านบาท [6]
- พ.ศ. 2560 โครงการ ก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ เป็นการวิ่งระยะไกลเพื่อระดมทุนไปซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลจำนวน 11 แห่ง โดยวิ่งจากอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ถึงอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ระยะทาง 2,191 กิโลเมตร[7] โดยตั้งเป้ายอดเงินบริจาคถึง 700 - 1000 ล้านบาท[8][9] [10]
การจัดสรรเงินที่ได้ในโครงการ ก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หลังจากสิ้นสุดโครงการ มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้จัดสรรเงินที่ได้รับบริจาคจำนวน 1,300ล้านบาท ไปในโรงพยาบาลต่างๆเหล่านี้[11]
- โรงพยาบาลยะลา 91ล้านบาท
- โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี 136.5 ล้านบาท
- โรงพยาบาลราชบุรี 180 ล้านบาท
- โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชสุพรรณบุรี 91ล้านบาท
- โรงพยาบาลสระบุรี 104 ล้านบาท
- โรงพยาบาลขอนแก่น 143 ล้านบาท
- โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรปราจีนบุรี 91ล้านบาท
- โรงพยาบาลนครพิงค์ เชียงใหม่ 91ล้านบาท
- โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ 110.5 ล้านบาท
- โรงพยาบาลน่าน 91ล้านบาท
- โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า 221 ล้านบาท
ชีวิตส่วนตัว[แก้]
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เขาหมั้นกับรัชวิน วงศ์วิริยะ (ก้อย) หลังคบหากันกว่า 10 ปี[12]
ปัจจุบันสมรสแล้ว ได้แต่งงานเข้าประตูวิวาห์กับนักแสดงหญิง ก้อย รัชวิน วงศ์วิริยะ หลังได้ฤกษ์แต่งงานและฉลองมงคลสมรส วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ที่ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล กรุงเทพฯ
ปัจจุบันเขาและรัชวิน ภรรยาสาว ได้มีบุตรด้วยกัน1คนเป็นบุตรชาย มีชื่อว่า ด.ช. อาชวิน คงมาลัย ชื่อเล่น น้องทะเล เกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564
ผลงาน[แก้]
ผลงานเพลง[แก้]
วงละอ่อน[แก้]
- อัลบั้ม ละอ่อน (2540)
วงบอดี้สแลม[แก้]
- อัลบั้ม บอดี้สแลม (2545)
- อัลบั้ม ไดรฟ์ (2546)
- อัลบั้ม บีลีฟ (2548)
- อัลบั้ม เซฟมายไลฟ์ (2550)
- อัลบั้ม คราม (2553)
- อัลบั้ม ดัม-มะ-ชา-ติ (2557)
- อัลบั้ม วิชาตัวเบา (2562)
ผลงานเพลงรับเชิญ[แก้]
- ศักดิ์เอ๋ย - บิ๊กแอส (อัลบั้ม XL) (2543)
- ของมีคม - บิ๊กแอส (อัลบั้ม My World) (2546)
- เสียดาย - บอดี้สแลม (อัลบั้ม Play Project) (2552)
- ขอความสุขคืนกลับมา - รวมศิลปิน (2553)
- คิดแล้วลุย - บอดี้สแลม, ไผ่ พงศธร (2557)
- ลูกขอสัญญา - บอดี้สแลม, บิ๊กแอส, ลาบานูน (2559)
- นักผจญเมือง - ไมค์ ภิรมย์พร, ไผ่ พงศธร และต่าย อรทัย (2560)
- จะไม่ทิ้งกัน - BOYd KOSIYABONG (รวมศิลปิน อัญชลี จงคดีกิจ, ธนชัย อุชชิน, ชลาทิศ ตันติวุฒิ, สุวีระ บุญรอด, ณัฐวุฒิ ศรีหมอก, อาทิวราห์ คงมาลัย และพงษ์สิทธิ์ คำภีร์) (2563)
ผลงานภาพยนตร์[แก้]
- เก๋า..เก๋า (The Possible) (ศิลปินรับเชิญ) (2549)
- ซักซี้ด ห่วยขั้นเทพ (ศิลปินรับเชิญ) (2554)
- 2,215 เชื่อ บ้า กล้า ก้าว (2561)
คอนเสิร์ต[แก้]
- คอนเสิร์ต เทศกาลดนตรี พัทยา พัทยา มิวสิก เฟสติวัล (2546)
- คอนเสิร์ต Hightlight (2546)
- คอนเสิร์ต HOTWAVE LIVE : BODYSLAM MAXIMUM LIVE (2547)
- คอนเสิร์ต Bodyslam Believe Concert (2548)
- คอนเสิร์ต เล็ก ชิ้น สด ตอน Everybody Slam (2548)
- คอนเสิร์ต Big Body Concert (2548)
- คอนเสิร์ต Peak U Up Concert (2548)
- คอนเสิร์ต m150 คนไทย (2549)
- คอนเสิร์ต Bodyslam Save My Life Concert (2550)
- คอนเสิร์ต เปิดพรหมลิขิต (2550)
- คอนเสิร์ต 25 ปี คาราบาว (2550)
- คอนเสิร์ต Every Bodyslam Concert (2551)
- คอนเสิร์ต Malang Rock Day Concert (2551)
- คอนเสิร์ต บอดี้สแลม ไลฟ์ อิน คราม (2553)
- คอนเสิร์ต มันใหญ่มาก 2 (2553)
- คอนเสิร์ต o2 one concert (2553)
- คอนเสิร์ต ร็อคไทยใจเดียวกัน (2553)
- คอนเสิร์ต big mountain music festival (2553)
- คอนเสิร์ต บอดี้สแลมไลฟ์อินลาว : เวิลด์ทัวร์ (2554)
- คอนเสิร์ต มันใหญ่มาก 3 (2554)
- คอนเสิร์ต Praew Charity Concert (2554)
- คอนเสิร์ต Chick Mountain Music Festival (2554)
- คอนเสิร์ต บอดี้สแลม นั่งเล่น (2555)
- คอนเสิร์ต Chang Fest เทศกาลดนตรีร็อกกลางฤดูร้อน (2556)
- คอนเสิร์ต ปรากฏการณ์ดัมมะชาติ (2557)
- คอนเสิร์ต บอดี้สแลมสิบสาม (2558)
- คอนเสิร์ต PLAYBOY Halloween Masquerade (2558)
- คอนเสิร์ต big mountain music festival 7 (2558)
- คอนเสิร์ต IN THE NAME OF THE ROSE (2558)
- ฃคอนเสิร์ต Toyota It’s Mine presents จิ้มไหล่ มิวสิคเฟสติวัล 2 (2558)
- คอนเสิร์ต ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ : เผลอ (2558)
- คอนเสิร์ต The Grandslam Live Bodyslam With The Orchestra (2559)
- คอนเสิร์ต Chang Music Connection presents Chang Friend Fest (2559)
- คอนเสิร์ต Chang Music Connection Presents Runaway Music Festival (2559)
- คอนเสิร์ต Big Mountain Music Festival 8 (2559)
- คอนเสิร์ต เที่ยว พัด-ลุง (2559)
- คอนเสิร์ต G16 (2559)
- คอนเสิร์ต Beats (2560)
- คอนเสิร์ต ร็อคเธอเสมอ (2560)
- คอนเสิร์ต Bodyslam The Power Of Sharing Concert (2560)
- คอนเสิร์ต G19 (2561)
- คอนเสิร์ต 50 ปี ม.อ. (2561)
- คอนเสิร์ต BODYSLAM FEST วิชาตัวเบา LIVE IN ราชมังคลากีฬาสถาน (2562)
- คอนเสิร์ต POTATO Magic Hours Concert #มันคือเรื่องจริง (2562)
- คอนเสิร์ต big mountain music festival 9 (2562)
- คอนเสิร์ต big mountain music festival 10 (2562)
- คอนเสิร์ต big mountain music festival X (2562)
- คอนเสิร์ต Bodyslam นับ 1 ถึง 7 (2563)
- คอนเสิร์ต ไทยประกันชีวิต presents THE GENTLEMEN LIVE (2563)
- คอนเสิร์ต Good Morning Bangkok (2563)
- คอนเสิร์ต BODYSLAM The Origin Concert (2564)
พิธีกร[แก้]
- พ.ศ. 2564 : รายการ KT’s Journey ทางช่อง Youtube:Rachwin Journey
รางวัล[แก้]
- รางวัลพระราชทานบันเทิงเทิดธรรม จาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงาน ไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ด 2018[13]
- ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดนตรีสากล จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[14]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ด.ช อาทิวราห์ คงมาลัย - genie records[ลิงก์เสีย]
- ↑ อาทิวราห์ คงมาลัย ไทยรัฐ
- ↑ ย้อนอดีต Hotwave Music Awards มีใคร แจ้งเกิด จากเวทีนี้กันบ้าง!?
- ↑ "เซอร์ไพรส์ 'ตูน บอดี้สแลม' โผล่เชียร์สเปอร์สถึงไวท์ฮาร์ทเลน". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2020-02-01. สืบค้นเมื่อ 2015-08-08.
- ↑ "ตูน-บอดี้สแลม"จัดเต็ม! ลงศึกไตรกีฬานานาชาติ
- ↑ เปิดใจ ตูน บอดี้สแลม กับโครงการวิ่งการกุศล #ก้าวคนละก้าว
- ↑ "ต้องมี"ตูน บอดี้สแลม"วิ่งอีกกี่คน? เงินถึงจะพอช่วยรพ.ทุรกันดารทั่วประเทศ..." คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2017-11-02. สืบค้นเมื่อ 2017-12-06.
- ↑ "ตูน บอดี้สแลม" เตรียมออกวิ่งระดมทุน 700 ล้านช่วย 11 รพ. พรุ่งนี้
- ↑ 'ก้าวคนละก้าว' ครั้งสุดท้ายของ 'ตูน บอดี้สแลม'
- ↑ พระ ว.วชิรเมธี มอบ 25 ล้าน สมทบก้าวคนละก้าว “ฮ้องขวัญ” สุดยิ่งใหญ่ ก้อย น้ำตาคลอ
- ↑ ปรากฏการณ์ ตูน บอดี้สแลม
- ↑ ในที่สุดก็ได้เฮ ตูน บอดี้สแลม ขอแต่งงาน ก้อย รัชวิน มอบแหวนตอน Plank
- ↑ 'แม่การะเกด'คว้าขวัญใจมหาชน ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ด เดลินิวส์ออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2561
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรคุณาภรณ์ หน้า ๒ เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒ ข, ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่August 2021
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2522
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดสุพรรณบุรี
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักร้องไทย
- นักร้องชายชาวไทย
- นักร้องชาย
- บอดี้สแลม
- นักเทเบิลเทนนิสชาวไทย
- ยูทูบเบอร์ชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- นิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ภ.
- บทความเกี่ยวกับ นักร้อง ที่ยังไม่สมบูรณ์