หม่ำ จ๊กมก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
หม่ำ จ๊กมก | |
---|---|
![]() เพ็ชรทายในงานฉายภาพยนตร์ ต้มยำกุ้ง รอบสื่อในปี 2552 | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
เกิด | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2508 (55 ปี)![]() |
คู่สมรส | เอ็นดู วงษ์คำเหลา (พ.ศ. 2538 – ปัจจุบัน) |
บุตร | 2 คน |
อาชีพ | นักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์ นักธุรกิจ พิธีกร |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2533 - ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น | แก๊งสามช่าใน ชิงรอยชิงล้าน |
สังกัด | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา (เกิด 24 มิถุนายน พ.ศ. 2508) หรือชื่อในการแสดงว่า หม่ำ จ๊กมก นักแสดงตลกชาวไทย มีชื่อเสียงจากเป็นสมาชิกแก๊งสามช่าในรายการ ชิงร้อยชิงล้าน นอกจากนี้ยังเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ และประธานสโมสรฟุตบอลยโสธร[1]
ประวัติ[แก้]
เพ็ชรทายเกิดวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2508 ที่อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน เป็นคนกลาง มีน้องสาวซึ่งเป็นอดีตนักแสดงตลก แวว จ๊กมก ออกจากบ้านตั้งแต่อายุ 16-17 ปี มาทำงานอยู่กับวงดนตรีลูกทุ่งของ สดใส รุ่งโพธิ์ทอง เป็นวงแรก โดยเริ่มทำงานในตำแหน่งคอนวอย (เด็กยกของ) ก่อนจะได้เลื่อนขึ้นมาเป็นหางเครื่อง และตลกตามลำดับ หลังจากนั้นเพ็ชรทายได้ย้ายไปทำงานกับวงดนตรีลูกทุ่งหลายวง เช่น เกรียงไกร กรุงสยาม, โชคชัย โชคอนันต์, ศิรินทรา นิยากร และ สุพรรณ สันติชัย หลังจากนั้นเขาได้ตัดสินใจรวมตัวกับเพื่อนศิลปินตลกตั้งตลกคณะเก้ายอดขึ้น ก่อนที่ในที่สุดจะได้รับการชักชวนให้มาเล่นตลกในคณะ เทพ โพธิ์งาม ทำให้เขาแสดงตลกร่วมกับคณะเทพ โพธิ์งามมาตลอด โดยใช้ชื่อขณะนั้นว่า "หม่ำ สปาเก็ตตี้" ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "หม่ำ จ๊กม๊ก" โดยรับหน้าที่เป็นตัวประกอบรับมุกในคณะของ เทพ โพธิ์งาม จนเขาเริ่มดังเป็นที่รู้จัก เทพ โพธิ์งาม เห็นถึงโอกาสของเขาที่จะโด่งดังขึ้นในอนาคต จึงแนะนำให้เขาออกจากคณะ เพื่อไปตั้งคณะตลกเป็นของตนเอง โดยเขาได้ออกไปตั้งคณะให้ชื่อว่า คณะหม่ำ จ๊กมก โดยมีสมาชิกคนสำคัญ เช่น จาตุรงค์ มกจ๊ก , หยอง ลูกหยี , แวววาว จ๊กมก , อาแปะ จ๊กมก , เท่ง เถิดเทิง , โหน่ง ชะชะช่า เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2535 เพ็ชรทายได้รับการชักชวนจาก ปัญญา นิรันดร์กุล ให้มาร่วมทำงานกับบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ โดยได้มาทำหน้าที่เป็นตัวปริศนาในรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ในช่วงชิงบ๊วยครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 และนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เขาก็ทำงานร่วมกับเวิร์คพอยท์มาตลอดจนถึงปัจจุบัน ผลงานสำคัญของเพ็ชรทายในฐานะพิธีกรรายการเกมโชว์ต่าง ๆ ของเวิร์คพอยท์ เช่น เวทีทอง, ระเบิดเถิดเทิง เป็นต้น นอกจากนี้ เคยมีผลงานเพลงแนวลูกทุ่งหมอลำมาแล้วด้วยโดยเพลงดังคือเพลง เฮดจังได๋ เพ็ชรทายเพ็ชรทายเพ็ชรทาย และในปี พ.ศ. 2561 เขาได้เป็นประธานสโมสรฟุตบอลยโสธร เอฟซี ในไทยลีก 3 อีกด้วย
ปัจจุบันเพ็ชรทายเป็นเจ้าของ บริษัท บั้งไฟ ฟิล์ม จำกัด ผลิตภาพยนตร์ ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่องบอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม และ แหยม ยโสธร ที่ทำรายได้เกิน 100 ล้านบาท และเป็นเจ้าของ บริษัท บั้งไฟ สตูดิโอ จำกัด ผลิตรายการโทรทัศน์ ได้แก่ รายการบิ๊กหม่ำ และละคร แฟกทอรีที่รัก พร้อมกับยังรับงานแสดงอยู่และทำธุรกิจร้านอาหารอีสาน
ชีวิตส่วนตัว[แก้]
เพ็ชรทายจดทะเบียนสมรส กับเอ็นดู วงษ์คำเหลา หลังใช้ชีวิตคู่มา 22 ปี มีบุตรสองคน เป็นหญิง 1 คนชื่อ บุษราคัม และชาย 1 คน ชื่อ เพทาย
สมาชิกในคณะ หม่ำ จ๊กมก[แก้]
- เท่ง เถิดเทิง (พ.ศ. 2538 - ปัจจุบัน)
- โหน่ง ชะชะช่า (พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน)
- อาแปะ จ๊กมก (พ.ศ. 2537 - 2547)
- จาตุรงค์ มกจ๊ก (จากนั้น เขาก็ได้ออกจากคณะแล้วไปตั้งคณะเป็นของตัวเอง) (พ.ศ. 2537)
- แวว จ๊กมก (พ.ศ. 2538 - 2542)
- โย่ง พิจิตร
- นุ มกจ๊ก (สุทธิชัย หย่อน) (พ.ศ. 2537 - 2541)
- หยอง ลูกหยี (พ.ศ. 2537)
- ยาว ลูกหยี ร่วมแสดงบางคราว (พ.ศ. 2537)
ผลงาน[แก้]
ผลงานรายการที่ออกแสดง[แก้]
ในปัจจุบัน[แก้]
- ชิงร้อยชิงล้าน (5 กุมภาพันธ์ 2535 - ปัจจุบัน) เวิร์คพอยท์
- ซูเปอร์หม่ำ (3 สิงหาคม 2557 - ปัจจุบัน) เวิร์คพอยท์ทีวี
ในอดีต[แก้]
- เวทีทอง (2535 - 2547) ช่อง 7, ช่อง 3, ช่อง 5
- ตะลุยตลาดตลก ช่อง 5 / เดนเวอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ทีวี
- โคกคูนตระกูลไข่ (2546 - 2550) ไทยทีวีสีช่อง 3
- ชัยบดินทร์โชว์ (2546 - 2550) โมเดิร์นไนน์ทีวี
- 100 แวง ตะแคง 15 (2541 - 2542)
- แฟนตาซีมีหาง (2542 - 2543)
- ชิงร้อยชิงล้าน ชะ ชะ ช่า ฮามหัศจรรย์วันหยุด (2548 - 2550) ช่อง 5 , ช่อง 7 สี
- มหานคร (2550) ช่อง 7 สี
- ระเบิดเถิดเทิง (2539 - 2546,รับเชิญในปั 2552) ช่อง 5
- วิก 07 (2534-2535) ช่อง 7 สี
- หนุ่มสาวชาวหอ (2534)
- หม่ำโชว์ (1 ตุลาคม 2548 - 25 ธันวาคม 2552) ช่อง 5
- แฟกทอรีที่รัก (5 กันยายน 2552 - 26 มิถุนายน 2553) ไทยทีวีสีช่อง 3
- บิ๊กหม่ำ (16 มกราคม 2553 - 30 เมษายน 2554) ไทยทีวีสีช่อง 3
- ขบวนการ 3 ช่า (8 กุมภาพันธ์ - 24 พฤษภาคม 2557) ไทยทีวีสีช่อง 3
- วงษ์คำเหลา เดอะซีรีส์(17 เมษายน 2553 – 28 กันยายน พ.ศ. 2556) โมเดิร์นไนน์ทีวี
- My Man Can แฟนฉันเก่ง (4 มีนาคม พ.ศ. 2556 – 3 มกราคม พ.ศ. 2559) เวิร์คพอยท์ ทีวี
- เชฟหม่ำ พ่อครัวหัวเหลี่ยม เวิร์คพอยท์ทีวี
- Honey Hero คู่รักนักสู้ (13 กุมภาพันธ์ 2559 - 30 ธันวาคม 2560) เวิร์คพอยท์ทีวี
ละครยาว[แก้]
- นิยายรักนักศึกษา ช่อง 3 (2533)
- ผีขี้เหงา ช่อง 3 (2534 - 2535)
- คนเยอะเรื่องแยะ ช่อง 5 (2535)
- เขยบ้านนอก ภาค 2 ช่อง 3 (2535)
- สังขยาหน้ากุ้ง ช่อง 3 (2535)
- นวลนางข้างเขียง ช่อง 7 (2536)
- นางเสือดาว ช่อง 3 (2539)
- บ้านนี้ผี(ไม่)ปอบ ช่อง 3 (2546)
- แม่ศรีไพร ช่อง 7 (2553) : รับเชิญ รับบทเป็น ช่างต่อแพ
- หมอเทวดา ช่อง 3 เอสดี (2560) : รับเชิญ รับบทเป็น ผู้ว่าสุทัศน์
ผลงานภาพยนตร์[แก้]
แสดง[แก้]
- พ.ศ. 2533 จุ๊ย
- พ.ศ. 2534 สองโทน
- พ.ศ. 2534 ขบวนการอาจารย์โกย
- พ.ศ. 2534 ปอบผีทะเล้น ตอน กลิ้ง..งาบ..งาบ
- พ.ศ. 2534 ทะนง (ระห่ำสะท้านโลก)
- พ.ศ. 2534 บ้านผีสิง
- พ.ศ. 2534 กะหัง
- พ.ศ. 2534 ซี้แบบผีผี
- พ.ศ. 2534 สุสานผีปอบ
- พ.ศ. 2534 ปอบทะลุแดด
- พ.ศ. 2535 โรงเรียนกำจัดปอบ
- พ.ศ. 2535 ปลุกผีมาจี้ปอบ
- พ.ศ. 2535 สัญญาใจ แม่นาคพระโขนง
- พ.ศ. 2535 แม่นาคเจอผีปอบ
- พ.ศ. 2535 เฉิ่มเฉิ่มแล้วก็ฉ่ำ
- พ.ศ. 2535 สยองก๋อยส์
- พ.ศ. 2535 ไอ้เข้
- พ.ศ. 2535 แรงรักพยาบาท
- พ.ศ. 2535 จะกู่รักกอดน้องให้ก้องโลก
- พ.ศ. 2536 กวนโอ๊ย
- พ.ศ. 2536 กองร้อย 501 ริมแดง
- พ.ศ. 2536 คู่หูคู่ฮา
- พ.ศ. 2536 ผีแม่ม่าย 3
- พ.ศ. 2536 ศพ 5 ปี
- พ.ศ. 2536 สตึไม่เต็มสตังค์
- พ.ศ. 2536 ทหารเกณฑ์บานฉ่ำ
- พ.ศ. 2536 หม่ำ ผจญกระหัง ปะทะปอบ
- พ.ศ. 2536 ความรักของคุณฉุย ภาค 2 ปัญญาชนคนกะลิง
- พ.ศ. 2536 เธอของเรา ของเขา หรือของใคร
- พ.ศ. 2536 มนต์เพลงลำน้ำพอง
- พ.ศ. 2536 แดร็กคูล่ากับปอบ
- พ.ศ. 2536 พญาแม่เบี้ย
- พ.ศ. 2536 จรเข้ผีสิง
- พ.ศ. 2536 สยองกึ๋นส์
- พ.ศ. 2536 ทายาทปอบ
- พ.ศ. 2536 ชะแว้บแอบปิ๊ง
- พ.ศ. 2536 ผ่าโลกเพลงลูกทุ่ง
- พ.ศ. 2537 บ้านผีปอบ ภาค 11
- พ.ศ. 2537 ผีไม่กลัวสัปเหร่อ
- พ.ศ. 2537 ข้าชื่อมหิงสา
- พ.ศ. 2537 อีสาวอก 3 ศอก
- พ.ศ. 2537 มาเติมฝันวันท้าทาย
- พ.ศ. 2537 บ้านผีปอบ ภาค 13
- พ.ศ. 2538 คนแดดเดียว
- พ.ศ. 2538 กองร้อย 501 ถึงใจจะแตก แต่ไม่แตกแถว
- พ.ศ. 2538 มือผี
- พ.ศ. 2540 ปีศาจแห่งความรัก
- พ.ศ. 2544 มือปืน โลก/พระ/จัน
- พ.ศ. 2546 องค์บาก
- พ.ศ. 2547 บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม
- พ.ศ. 2547 สายล่อฟ้า
- พ.ศ. 2548 หลวงพี่เท่ง
- พ.ศ. 2548 เฉิ่ม
- พ.ศ. 2548 ต้มยำกุ้ง
- พ.ศ. 2548 พยัคฆ์ร้ายส่ายหน้า
- พ.ศ. 2548 แหยม ยโสธร
- พ.ศ. 2548 วาไรตี้ ผีฉลุย
- พ.ศ. 2549 ไฉไล
- พ.ศ. 2549 โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง
- พ.ศ. 2549 ตลกบันลือโลก ตอน อาหารป่าจ่าโหน่ง
- พ.ศ. 2550 บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2
- พ.ศ. 2550 คู่แรด
- พ.ศ. 2550 ตั๊ดสู้ฟุด
- พ.ศ. 2550 เท่ง โหน่ง คนมาหาเฮีย
- พ.ศ. 2550 ก่อนบ่ายเดอะมูฟวี ตอนรักนะ...พ่อต๊ะติ๊งโหน่ง
- พ.ศ. 2551 หม่ำ เดียว หัวเหลี่ยม หัวแหลม
- พ.ศ. 2551 ฮะเก๋า
- พ.ศ. 2551 ว้อ หมาบ้ามหาสนุก
- พ.ศ. 2551 องค์บาก 2
- พ.ศ. 2553 หลวงพี่กับผีขนุน
- พ.ศ. 2553 สาระแน ห้าวเป้ง!!
- พ.ศ. 2553 วงษ์คำเหลา
- พ.ศ. 2553 อีส้ม สมหวัง ชะชะช่า
- พ.ศ. 2553 แหยม ยโสธร 2
- พ.ศ. 2553 ครูบ้านนอก บ้านหนองฮีใหญ่
- พ.ศ. 2553 องค์บาก 3
- พ.ศ. 2553 โป๊ะแตก
- พ.ศ. 2553 ยายสั่งมาใหญ่
- พ.ศ. 2553 กะปิ ลิงจ๋อไม่หลอกจ้าว
- พ.ศ. 2553 ผู้ชายลั้ลลา
- พ.ศ. 2553 สาระแน เห็นผี
- พ.ศ. 2554 เท่ง โหน่ง จีวรบิน
- พ.ศ. 2554 ปัญญา เรณู
- พ.ศ. 2554 จั๊กกะแหล๋น
- พ.ศ. 2554 ใหม่กะหม่ำ โดนกะโดน
- พ.ศ. 2554 วอนโดนเตะ!!
- พ.ศ. 2554 อุโมงค์ผาเมือง
- พ.ศ. 2555 ปัญญา เรณู 2
- พ.ศ. 2555 สูบคู่กู้โลก
- พ.ศ. 2556 แหยม ยโสธร 3
- พ.ศ. 2556 ต้มยำกุ้ง 2
- พ.ศ. 2557 ทาสรักอสูร
- พ.ศ. 2559 อาม่า
- พ.ศ. 2560 ส่ม ภัค เสี่ยน
- พ.ศ. 2560 โรงเรียนผี
- พ.ศ. 2561 ตุ๊ดตุ่กู้ชาติ
- พ.ศ. 2561 ขุนบันลือ
- พ.ศ. 2562 สิ้น 3 ต่อน
- พ.ศ. 2562 บอดี้การ์ดหน้าหัก
- พ.ศ. 2562 ฮักมะย๋อมมะแย๋ม
- พ.ศ. 2563 มนต์รักดอกผักบุ้ง เลิกคุยทั้งอำเภอ
- พ.ศ. 2563 รักเลยร้อยเอ็ด
- พ.ศ. 2563 คุณชายใหญ่
ผลงานกำกับภาพยนตร์และเขียนบทภาพยนตร์[แก้]
- พ.ศ. 2547 บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม
- พ.ศ. 2548 แหยม ยโสธร
- พ.ศ. 2550 บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2
- พ.ศ. 2551 หม่ำ เดียว หัวเหลี่ยม หัวแหลม
- พ.ศ. 2552 วงษ์คำเหลา
- พ.ศ. 2552 แหยม ยโสธร 2
- พ.ศ. 2553 โป๊ะแตก
- พ.ศ. 2554 จั๊กกะแหล๋น
- พ.ศ. 2554 ใหม่กะหม่ำ โดนกะโดน
- พ.ศ. 2556 แหยม ยโสธร 3
- พ.ศ. 2557 ทาสรักอสูร
- พ.ศ. 2561 ขุนบันลือ
- พ.ศ. 2563 คุณชายใหญ่
อำนวยการสร้าง[แก้]
- พ.ศ. 2551 ว้อ หมาบ้ามหาสนุก
- พ.ศ. 2553 โป๊ะแตก
- พ.ศ. 2554 จั๊กกะแหล๋น
หนังสือ[แก้]
หนังสือการ์ตูน[แก้]
ผลงานเพลง[แก้]
ชุด หม่ำ...ซะ (สามเวลาก่อนอาหาร) / วี.ไอ.พี. (2537)
- รอรักที่ต้นกระโดน
- แช่งนิ่มนิ่ม
- ลาน้องไปสิงคโปร์
- เด็กห้องน้ำ
- อสุรกายครวญ
- น.ส.ทองดี
- ตำนานเสี่ยว
- จดหมายคนบ้า
- สาวคำเขื่อนแก้ว
- งู ปู หนู
ชุด เสี่ยวเต็มเมือง (เพลง เฮดจังได๋) / เอสดีเอส (2542)
- เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง แหยม ยโสธร / ลำน้ำชี
- เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2 / ลำน้ำชี
- เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง แหยม ยโสธร 2
- เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง ใหม่กะหม่ำ โดนกะโดน
- เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง แหยม ยโสธร 3
- Single เพลง หลาบแล้วเมียน้อย
- Single เพลง เชียงรายที่คิดถึง (เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง ขุนบันลือ ด้วย)
- Single เพลง ฮักเมีย
ผลงานอื่น ๆ[แก้]
- หม่ำ On Stage ตอน หม่ำมองเครื่องบิน
- บันทึกการแสดงสดคณะพิณแคนแดนอีสาน ชุดบักหมํ่านำจีบศิริพร (รับเชิญ)
- บันทึกการแสดงสดคณะเพชรพิณทอง ชุด บักหมํ่ายามเพชรพิณทอง,แฝดเงินล้าน (รับเชิญ)
- ร่วมแสดงในมิวสิกวิดีโอ เพลง ฮักอ้ายโจงโปง ของ สร้อยจันทร์ จตุพร
- ร่วมแสดงในมิวสิกวิดีโอ เพลง ร้องไห้ไม่เป็น ของ สามโทน ในอัลบั้ม ขบวนการ โป๊ง โป๊ง ชึ่ง
- ร่วมแสดงในมิวสิกวิดีโอ เพลง ราชันย์ฝันสลาย ของ ยืนยง โอภากุล ในอัลบั้ม ยืนยงตั้งวงเล่า
- ร่วมแสดงในมิวสิกวิดีโอ เพลง แอ๊ะแอ๋ ของ เจเน็ต เขียว ในอัลบั้ม มานาฮิต ชุด,Vol. 1
รางวัลที่ได้รับ[แก้]
- พ.ศ. 2553 - รางวัลเทพทอง ครั้งที่ 11
- พ.ศ. 2553 - บุคคลที่น่ายกย่องที่สุดแห่งปี 2553 ด้านการสู้ชีวิตจนประสบความสำเร็จ อันดับที่ 1
- พ.ศ. 2554 - รางวัลคนดีศรีอีสาน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ยโสธรเตรียมประกาศตั้ง 'หม่ำ จ๊กมก' นั่งแท่นประธานสโมสรคนใหม่". ThaiLive.com. 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. Check date values in:
|access-date=, |date=
(help)