โหน่ง ชะชะช่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โหน่ง ชะชะช่า
ชื่ออื่นโหน่ง เชิญยิ้ม
เกิด7 มิถุนายน พ.ศ. 2516 (50 ปี)
ชูศักดิ์ เอี่ยมสุข
จังหวัดนครนายก ประเทศไทย
ส่วนสูง1.71 เมตร (5 ฟุต 7 12 นิ้ว)
คู่สมรสกัญญณัช เอี่ยมสุข
บุตร2 คน
อาชีพ
  • นักแสดงตลก
  • นักแสดง
  • พิธีกร
  • นักร้อง
  • ผู้กำกับภาพยนตร์
  • นักธุรกิจ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2524–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นตุ่น จากภาพยนตร์ สายล่อฟ้า (2547)
โจ จากภาพยนตร์ 32 ธันวา (2552)
สังกัดเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์

โหน่ง ชะชะช่า ชื่อจริง ชูศักดิ์ เอี่ยมสุข (เกิด 7 มิถุนายน พ.ศ. 2516) เป็นนักแสดงตลกชื่อดังจากแก๊งสามช่า สังกัดเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ มีลักษณะเด่นคือตัวอ้วนและศีรษะโล้น ตั้งฉายาให้ตนเองว่า "ตลกซุปเปอร์สตาร์" มีน้องชายที่เป็นตลกและนักแสดง คือ นุ้ย เชิญยิ้ม

ประวัติ[แก้]

โหน่ง ชะชะช่า เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2516 เป็นชาวตำบลพระอาจารย์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เป็นบุตรคุณพ่อหนุ่ม เอี่ยมสุข ต่อมาได้ย้ายมาอยู่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดมัชฌันติการาม เมื่ออายุได้ 12 ปี ได้เข้ามาในวงการตลกโดยเริ่มจากมีนักจัดรายการชักชวนเข้ามา แนะนำให้เต้นหางเครื่องอยู่วงดนตรีลูกทุ่ง ศรชัย เมฆวิเชียร จบจากศรชัย อยู่กับ สายัณห์ สัญญา เริ่มเป็นตลก โดยแสดงรีวิวหน้าเวที พอเป็นตลกวงสายัณห์ ทีนี้ สายัณห์ยุบวง ออกมาเล่นคาบาเล่กับ ครูยนต์ สตาร์วอล์คาบาเลตโชว์ ออกจากครูยนต์มาเล่นตลกคณะซุปเปอร์บอยคณะแรก ก่อนหน้านั้นอยู่คณะสี่ภาคก่อน ไปคณะชูศรี เชิญยิ้ม เรื่อยมาจนอยู่คณะตลก เป็ด เชิญยิ้ม โดยการชักชวนของ หนู เชิญยิ้ม ในชื่อ โหน่ง เชิญยิ้ม อยู่ได้ 2 ปีกว่า

ต่อมา หม่ำ จ๊กมก ได้ชักชวนให้มาร่วมเป็นนักแสดงรับเชิญในรายการ ระเบิดเถิดเทิง ของบริษัทเวิร์คพอยท์ฯ และด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่น คือ มีศีรษะโล้นและรูปร่างอ้วนกลม กับฉายาที่เป็นที่รู้จักกันดีที่ว่า “ฮะโหน่ง.. มาแว้ว” ทำให้โหน่งสามารถแจ้งเกิดเป็นนักแสดงตลกในวงการโทรทัศน์ได้ จนได้เป็นนักแสดงสมทบในช่วงแรกและเข้าร่วมเป็นหนึ่งในแก๊งสามช่า รายการ ชิงร้อยชิงล้าน Cha Cha Cha อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2542 ร่วมกับ หม่ำ จ๊กมก และ เท่ง เถิดเทิง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โหน่ง ชะชะช่า" กลายเป็นดารานักแสดงตลกชื่อดังจนถึงปัจจุบัน

หลังจากที่หม่ำเลิกทำทีมตลก ส่วนเท่งไปทำลิเกอยู่ช่วงหนึ่ง โหน่งจึงทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะซึ่งเป็นการรวมตลกดาวรุ่งมาแรงในขณะนั้น โดยมีสมาชิกดังนี้

ภายหลังโหน่งเลิกทำทีม จึงมอบคณะให้บอลดูแลต่อ

ชีวิตครอบครัว[แก้]

โหน่ง ชะชะช่า ปัจจุบันสมรสกับ กัญญณัช เอี่ยมสุข (ชื่อเดิม:ชุติมา) หลังใช้ชีวิตคู่มาถึง 30 ปี และมีบุตรชายด้วยกันสองคน คือ "เดียร์" นายภาคิน เอี่ยมสุข (ชื่อเดิม:กิติภูมิ) และ "บุหรี่" นายศิวนาถ เอี่ยมสุข (ชื่อเดิม:สถาพร) [1] ,[2] มีน้องชายชื่อ นุ้ย เชิญยิ้ม มีน้องชายชื่อ เกียรติศักดิ์ รามวงษ์ หรือ กบ ชิงร้อย โดยน้องชายต่างบิดาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

ผลงาน[แก้]

ผลงานรายการโทรทัศน์ในปัจจุบัน
พ.ศ. รายการ บทบาท เป็นพิธีกร / แสดงร่วมกับ ออกอากาศ หมายเหตุ
2566 - ปัจจุบัน หกฉากครับจารย์ ครูหา ช่องเวิร์คพอยท์
ผลงานรายการโทรทัศน์ในอดีต
พ.ศ. รายการ บทบาท เป็นพิธีกร / แสดงร่วมกับ ออกอากาศ หมายเหตุ
2540 ก่อนบ่ายคลายเครียด นักแสดงในรายการ เชิญยิ้ม ช่อง 3
2540 - 2542 แสบคูณสอง นักแสดงสมทบ เกียรติ กิจเจริญ
ติ๊ก กลิ่นสี
เท่ง เถิดเทิง
ช่อง 7
2540 - 2564 ระเบิดเถิดเทิง โหน่ง / จ.ส.อ.โหน่ง / อาโหน่ง / แหนม / ด่าง / จารย์โหน่ง เท่ง เถิดเทิง ช่อง 5
ช่องเวิร์คพอยท์
เดิมเคยมาร่วมแสดงในปี 2540 โดยดารารับเชิญในเทปนั้น คือ วัลวิภา โยคะกุล
2541 - 2548 เกมจารชน พิธีกร มยุรา เศวตศิลา
ศัลย์ อิทธิสุขนันท์
ช่อง 5 เดิมเคยเป็นหน่วยพิฆาต และต่อมารับหน้าที่เป็นพิธีกรต่อจาก เสนาหอย ในปี 2543
2542 - 2566 ชิงร้อยชิงล้าน ปัญญา นิรันดร์กุล
มยุรา เศวตศิลา
หม่ำ จ๊กมก
เท่ง เถิดเทิง
ส้มเช้ง สามช่า
พัน พลุแตก
ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน
ศิวดล จันทเสวี
วรัทยา นิลคูหา
ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์
แจ๊ส ชวนชื่น
บอล เชิญยิ้ม
นาย เดอะคอมเมเดียน
ช่อง 5
ช่อง 7
ช่อง 3
ช่องเวิร์คพอยท์
เข้าเป็นสมาชิกแก๊งสามช่า ต่อจาก หนู คลองเตย
2543 สกูป แฟนพันธุ์แท้ พิธีกร ศัลย์ อิทธิสุขนันท์ ช่อง 5 เป็นเทปชิมลางที่ออกอากาศก่อนรูปแบบจริงจะตามมาทีหลัง
2546 เถ้าแก่ใหญ่ ธงชัย ประสงค์สันติ
2546 - 2551 ชัยบดินทร์โชว์ มยุรา เศวตศิลา
หม่ำ จ๊กมก
เท่ง เถิดเทิง
ส้มเช้ง สามช่า
ช่องโมเดิร์นไนน์ทีวี
2546 - 2550 โคกคูนตระกูลไข่ หอยโข่ง หม่ำ จ๊กมก
จินตรา สุขพัฒน์
พิพัฒน์ วิทยาปัญญานนท์
ช่อง 3
2548 - 2558 ชิงร้อยชิงล้าน มหัศจรรย์วันหยุด พิธีกร หม่ำ จ๊กมก
เท่ง เถิดเทิง
ส้มเช้ง สามช่า
พัน พลุแตก
ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน
ช่อง 7
ช่อง 3
2550 สงครามเท้าไฟ สุจิรา อรุณพิพัฒน์ ช่อง 5
2550 - 2551
2552 - 2565
ตลก 6 ฉาก พัน พลุแตก
ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน
พิษณุ นิ่มสกุล
ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ
โก๊ะตี๋ อารามบอย
ศิวดล จันทเสวี
นลินทิพย์ เพิ่มภัทรสกุล
ศิลป์ รุจิรวนิช
ดนู ชุตินาวี
ภาคภูมิ จงมั่นวัฒนา
ช่อง 5
ช่องเวิร์คพอยท์
2551 อัจฉริยะยกบ้าน แทนคุณ จิตต์อิสระ ช่อง 5
2552 เก่งยกห้อง วราวุธ เจนธนากุล ช่องโมเดิร์นไนน์ทีวี
2553 เท่ง โหน่ง ผจญภัย เท่ง เถิดเทิง ช่อง 5
2554 คนอวดผี แขกรับเชิญ เท่ง เถิดเทิง
2557 ขบวนการ 3 ช่า พิธีกร หม่ำ จ๊กมก
เท่ง เถิดเทิง
ช่อง 3
2557 - 2562 เท่งโหน่งวิทยาคม เท่ง เถิดเทิง ช่องเวิร์คพอยท์
2565 ลูกทุ่งสิบทิศ ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์

ละครโทรทัศน์[แก้]

พ.ศ. เรื่อง รับบท ช่อง
2540 เพลงรักจากบ้านนา ช่อง 9
2541 สะใภ้ปฏิวัติ ช่อง 7HD
2541 แม่ดอกกระถิน ช่อง 3 เอชดี
2542 ดาวคนละดวง ช่อง 7HD
2542 แก้วกินรี
2542 ขุนช้างขุนแผน ช่อง 3 เอชดี
2543 ผมมากับพระ ช่อง 7HD
2544 ชายครับผมเป็นชาย มนู ช่อง 5
2544 คน 2 คม เหน่ง
2546 โทน สังข์ทอง (สังข์) ไอทีวี
2550 เพลงรักริมฝั่งโขง (รับเชิญ) ช่อง 7HD

ซิตคอม[แก้]

พ.ศ. เรื่อง รับบท ช่อง
2552 แฟกทอรีที่รัก รับเชิญ ช่อง 3 เอชดี
2565 โรงงานบรรจุรัก รับเชิญ ช่องเวิร์คพอยท์
2565-2566 โอมเพี้ยงอาจารย์คง โป่ง

ภาพยนตร์[แก้]

ปี เรื่อง บทบาท หมายเหตุ
2538 ผีแม่ม่ายป้ายแดง
2545 ผีหัวขาด อาแปะโรงรับจำนำ รับเชิญ
2546 คนปีมะ นักเลง
คนหลบผี
2547 บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม ลูกน้องทรงพล รับเชิญ
ฟอร์มาลินแมน รักเธอเท่าฟ้า เสนาะ
สายล่อฟ้า ตุ่น
2548 เอ๋อเหรอ สำรวย
เสือภูเขา ด่างลี
คนหอนขี้เรื้อน ในคืนเดือนเสี้ยว แฟร้งค์
2549 โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง น้อยโหน่ง
2550 เท่ง โหน่ง คนมาหาเฮีย โหน่ง
บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2 คนขับเรือ รับเชิญ
2551 หม่ำ เดียว หัวเหลี่ยม หัวแหลม ยาม
ว้อ หมาบ้ามหาสนุก พรานจ้อน รับเชิญ
2553 32 ธันวา โจ
2553 โป๊ะแตก โหน่ง ชะชะช่า แสดงเป็นตัวเอง
ตุ๊กกี้ เจ้าหญิงขายกบ องค์รักษ์โหน่ง
มือปืนดาวพระเสาร์ ตี๋ ไรเฟิ้ล คู่กับ
คริส หอวัง
ยายสั่งมาใหญ่
2554 เท่ง โหน่ง จีวรบิน เสี่ยโหน่ง
หมาแก่ อันตราย ตี๋ ไรเฟิ้ล รับเชิญ
จั๊กกะแหล๋น โหน่ง ชะชะช่า
ใหม่กะหม่ำ โดนกะโดน
2558 แคท อ่ะ แว้บ! #แบบว่ารักอ่ะ
2560 ไทยแลนด์โอนลี่ #เมืองไทยอะไรก็ได้ เวนย์
2562 แฮปปี้นิวยู แสบสนั่น ยันหว่าง สนั่น
บอดี้การ์ดหน้าหัก
2566 ทิดน้อย แม่ทัพเชียงตุง รับเชิญ

กำกับภาพยนตร์[แก้]

มิวสิกวิดีโอ[แก้]

ซิงเกิล[แก้]

  • โทน (2546) เพลงประกอบละครเรื่องโทน
  • เอาอย่างนี้อีกที่หนึ่ง (2550) เพลงประกอบละครเรื่องเพลงรักริมฝั่งโขง
  • ไก๊ไก่ (2558)
  • หลานสามช่า น้าคาราบาว (2558)
  • ไก๊ไก่ไกมุ (2559) เพลงประกอบเรื่องมาสค์ไรเดอร์ไกมุ
  • ไม่ได้กินทุกวัน (2560)
  • เยาวราช (เกลียดห้องเบอร์แปด) ​(2562) (ต้นฉบับ​ สายัณห์​ สัญญา)​ เดิมคือชื่อเพลง​ เกลียดห้องเบอร์ ​5 ​
  • พรสนั่น ปีใหม่ (2562) เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องแฮปปี้นิวยู แสบสนั่น ยันหว่าง
  • สย สายยืน (2565)

อื่น ๆ[แก้]

  • โฆษณา : ขนมทอดกรอบ ตะวัน
  • โฆษณา : เจเล่มิกซ์
  • หนังสือ : ฮะ..โหน่งมาแว้ว
  • โฆษณา : โออิชิ “รหัสโออิชิ ลุ้นรวยทุกชั่วโมง”
  • เพลง : ขอความสุขคืนกลับมา (2553) - เพื่อเป็นกำลังใจแก่ชาวไทยที่มีความรู้สึกทุกข์ จากการสูญเสียสถานที่สำคัญต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร
  • เพลง : ครองแผ่นดินโดยธรรม (2554) - เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  • เพลง : สดุดีมหาราชา (2556) - เพื่อเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา

คอนเสิร์ต[แก้]

  • คอนเสิร์ต : บาวเบญจเพส (1 - 2 ธันวาคม 2550)
  • คอนเสิร์ต : โชว์ป๋า พูดจา ภาษาเทพ (18 ตุลาคม 2552)
  • คอนเสิร์ต : หม่ำ On Stage ตอน หม่ำมองเครื่องบิน (15 - 17 พฤศจิกายน 2552)
  • คอนเสิร์ต : รำลึก 30 ปี ล้อต๊อก ตลก 4 แผ่นดิน (30 กันยายน 2555)
  • คอนเสิร์ต : แก๊งสามช่า CARNIWOW (10 มกราคม 2557)
  • คอนเสิร์ต : คาราบาว 3 ช่า เฟสติวัล ลูกสิงหราช (31 ตุลาคม 2557)
  • คอนเสิร์ต : เทศกาลเบิกบานใจ ตอน KBank แก๊ง 3 ช่าคาราบาว (30 มกราคม - 26 มิถุนายน 2558)
  • คอนเสิร์ต : Kbank แก๊ง 3 ช่า VS คาราบาว เฟสติวัล สงกรานต์มาแล้ว FESTIVAL SONGKRAN (6 เมษายน 2559)
  • คอนเสิร์ต : Kbank แก๊ง 3 ช่า VS คาราบาว เฟสติวัล ลูกสิงหราช LAEMSING FESTIVAL SONGKRAN (9 เมษายน 2559)
  • คอนเสิร์ต : จับมือกันไว้ตลกไทยไม่ทอดทิ้งกัน (2560)
  • คอนเสิร์ต : ทองหล่อเล่นสด (2 กรกฎาคม 2560)
  • คอนเสิร์ต : รำลึก พ่อดม ชวนชื่น (27 ธันวาคม 2561)
  • คอนเสิร์ต : หนึ่งใจ...ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (16 กันยายน 2562)
  • คอนเสิร์ต : ครบรอบ 1 ปี ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (12 มกราคม 2566)

รางวัล[แก้]

  • Asian Television Awards 2008 นักแสดงรายการตลกฝ่ายชายยอดเยี่ยม (Best Comedy Permance by an Actor)

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]