ซาโลมอน
ซาโลมอน שְׁלֹמֹה | |
---|---|
พระเจ้าซาโลมอน (1872) ภาพวาดโดย Simeon Solomon | |
กษัตริย์แห่งอิสราเอล | |
ครองราชย์ | ป. 970–931 ปีก่อน ค.ศ. (สันนิษฐาน) |
ก่อนหน้า | ดาวิด |
ถัดไป | เรโหโบอัม |
ฝังพระศพ | เยรูซาเลม |
คู่อภิเษก | นาอามาห์ ธิดาของฟาโรห์ มเหสี 700 องค์และนางสนม 300 องค์[1][2] |
พระราชบุตร | พระราชโอรสที่มีการบันทึก 3 พระองค์:
|
ราชสกุล | ราชวงศ์ดาวิด |
พระราชบิดา | ดาวิด |
พระราชมารดา | บัทเชบา |
ซาโลมอน[3][4][5] (ศัพท์คริสต์ศาสนา) หรือ โซโลมอน (ศัพท์ประวัติศาสตร์)[a] หรืออีกพระนามหนึ่งคือ เยดีดิยาห์[b] เป็นกษัตริย์ชาวยิวแห่งอิสราเอลโบราณและพระราชโอรสกับผู้สืบทอดในพระเจ้าดาวิด ตามที่ปรากฏในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเก่า[7][8] พระองค์ได้รับการอธิบายเป็นผู้ปกครององค์สุดท้ายของอิสราเอลและยูดาห์ที่รวมกันเป็นหนึ่ง รัชสมัยของซาโลมอนได้รับการสันนิษฐานว่าอยู่ในช่วง 970 ถึง 931 ปีก่อน ค.ศ. ตามพระคัมภีร์ หลังพระองค์สวรรคต เรโหโบอัม พระราชโอรสและผู้สืบทอด ใช้นโยบายที่โหดร้ายต่อชนเผ่าทางเหนือ ซึ่งนำไปสู่การแบ่งแยกวงศ์วานอิสราเอลระหว่างราชอาณาจักรอิสราเอลทางเหนือกับราชอาณาจักรยูดาห์ทางใต้ หลังจากการแตกประเทศ รายงานพระคัมภีร์ระบุถึงผู้ที่สืบเชื้อสายซาโลมอนปกครองเหนือยูดาห์เท่านั้น[9]
พระคัมภีร์กล่าวว่าพระเจ้าซาโลมอนเป็นผู้สร้างวิหารแห่งแรกในเยรูซาเลม[8] ที่อุทิศแด่พระยาห์เวห์หรือพระผู้เป็นเจ้า[10] ซาโลมอนได้รับการพรรณาว่าเป็นผู้มีความฉลาด มั่งคั่ง และมีอำนาจมาก และเป็นหนึ่งใน 48 ศาสดาชาวยิว[11]
ความเป็นประวัติศาสตร์ของซาโลมอนเป็นประเด็นถกเถียงกันอย่างร้อนแรง โดยความเห็นพ้องในปัจจุบันยอมรับความเป็นประวัติศาสตร์ของซาโลมอน แต่ในเรื่องการเป็นกษัตริย์เหนืออิสราเอลและยูดาห์ในศตวรรษที่ 10 ก่อน ค.ศ. ถือว่าไม่ชัดเจน และรายละเอียดเกี่ยวกับความฟุ่มเฟือยของราชอาณาจักรที่ชัดเจนของพระองค์ในพระคัมภีร์มีความเป็นไปได้มากที่สุดว่าเป็นการพูดเกินจริงแบบไม่เข้ากับยุคสมัย[12][13][14]
ในพันธสัญญาใหม่ พระองค์ได้รับการพรรณาเป็นสติปัญญาของโซโลมอนโดยเยซูแห่งนาซาเรธผู้ยิ่งใหญ่กว่า[15] และมีความโอ่อ่า แต่กลับไม่งามสง่าเท่า "ดอกไม้ในท้องทุ่ง"[16] ในอัลกุรอาน พระองค์ถือเป็นศาสดาหลัก ในวงการนอกพระคัมภีร์ส่วนใหญ่ ซาโลมอนเป็นที่รู้จักในฐานะจอมเวทและหมอผีที่มีเครื่องรางและเหรียญตราที่ระบุพระนามของพระองค์จากสมัยเฮลเลนิสต์[17]
ในพระคัมภีร์
[แก้]ช่วงชีวิตของซาโลมอนโดยหลักอธิบายใน 2 ซามูเอล, 1 พงศ์กษัตริย์ และ 2 พงศาวดาร พระนามทั้งสองของพระองค์ตามธรรมเนียมหมายถึง "ความสงบ" และ "พระสหายของพระเจ้า" ทั้งสองพระนามถือเป็นการ "ทำนายลักษณะการครองราชย์ของพระองค์"[18]
เส้นเวลา
[แก้]ช่วงรัชสมัยของซาโลมอนตามแบบแผนนำมาจากวิทยาการลำดับเวลาพระคัมภีร์และระบุอยู่ในช่วงประมาณ 970 ถึง 931 ปีก่อน ค.ศ.[19] รายงานจากเส้นเวลาที่มีการใช้งานแพร่หลายสุด ซึ่งอิงจากเส้นเวลาของ Edwin R. Thiele ศาสตราจารย์พันธสัญญาเก่า การสวรรคตของซาโลมอนและการแบ่งแยกราชอาณาจักรอาจเกิดขึ้นในฤดูใบไม้ร่วงดมื่อ 931 ปีก่อน ค.ศ.[20]
ทรงพระเยาว์
[แก้]ซาโลมอนเสด็จพระราชสมภพในเยรูซาเลม[21] เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ของกษัตริย์ดาวิดที่ประสูติแด่พระนางบัทเชบา (ภรรยาหม้ายของอุรียาห์ชาวฮิตไทต์) พระราชโอรสองค์แรก (ตามบันทึกไม่ได้ระบุพระนาม) มาจากการตั้งครรภ์อย่างผิดประเวณีในช่วงที่อุรียาห์ยังมีชีวิต สิ้นพระชนม์ไปหลังพระราชสมภพเพียง 7 วัน ในพระคัมภีร์เสนอแนะว่าเป็นการพิพากษาจากพระเจ้า ซาโลมอนมีพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระราชบิดามารดาอยู่สามองค์ คือ: นาธัน ชัมมุวา และโชบับ[22] และมีพระเชษฐาต่างมารดาอยู่ 6 องค์[23]
รายงานพระคัมภีร์แสดงให้เห็นว่าซาโลมอนทำหน้าที่เป็นเครื่องบูชาสันติระหว่างพระเจ้ากับดาวิด เนื่องจากดาวิดมีความสัมพันธ์ล่วงประเวณีกับบัทเชบา ด้วยความพยายามที่จะซ่อนบาปของตน ดาวิดจึงส่งอุรียาห์ชาวฮิตไทต์ สามีของบัทเชบา เข้าสนามรบ และให้อยู่ในแนวหน้า โดยดาวิดสั่งให้โยอาบ ผู้บังคับบัญชา ถอนกำลังสนับสนุนแก่อุรียาห์ เพื่อให้เขาถูกศัตรูฆ่าตายในสนามรบ หลังจากที่เขาตาย ดาวิดก็สามารถอภิเษกสมรสกับบัทเชบาได้ เพื่อเป็นการลงโทษ พระราชโอรสองค์แรกที่มาจากความสัมพันธ์ชู้สาวจึงสิ้นพระชนม์[24] ซาโลมอนเสด็จพระราชสมภพหลังดาวิดได้รับการให้อภัย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมจึงมีการเลือกพระนามของพระองค์ ซึ่งหมายถึง สันติ นักประวัติศาสตร์บางส่วนอ้างอิงว่าศาสดานาธันเลี้ยงดูซาโลมอน เนื่องจากพระราชบิดาทรงยุ่งอยู่กับการปกครองราชอาณาจักร[25] สิ่งนี้อาจเป็นผลมาจากแนวคิดที่ว่าผู้เผยพระวจนะมีอิทธิพลเหนือดาวิดอย่างมาก เนื่องจากท่านรู้เรื่องการทำชู้ของพระองค์ ซึ่งถือเป็นความผิดร้ายแรงตามกฎหมายของโมเสส[26]
ขึ้นครองราชย์และการบริหาร
[แก้]หนังสือพงศ์กษัตริย์เล่ม 1 ได้ระบุว่า "กษัตริย์ดาวิดมีพระชนมายุและทรงพระชรามากแล้ว แม้จะห่มผ้าให้หลายผืน พระองค์ก็ยังไม่อบอุ่น"[27] "พวกเขาจึงเสาะหาสาวงามทั่วทั้งดินแดนอิสราเอล แล้วได้พบอาบีชากหญิงชาวชูเนม จึงได้นำเธอมาเฝ้าพระราชา หญิงสาวคนนั้นงามยิ่งนัก เธอได้เป็นผู้ดูแลพระราชาและอยู่ปรนนิบัติพระองค์ แต่พระราชาไม่ได้ทรงมีเพศสัมพันธ์กับเธอ"[28]
เมื่อกษัตริย์ดาวิดทรงอยู่ในสภาพเช่นนี้จึงทำให้เกิดการชิงอำนาจขึ้นในราชสำนัก อาโดนียาห์ ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงของดาวิด ประกาศตนขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ แต่ก็แพ้แก่กลอุบายของพระนางบัทเชบาและนาธันผู้เผยพระวจนะ ซึ่งได้โน้มน้าวให้กษัตริย์ดาวิดทรงประกาศให้เจ้าชายซาโลมอนเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ตามที่เคยปฏิญาณไว้เมื่อก่อนหน้านั้น (ไม่ปรากฏบันทึกในพระคัมภีร์)[29] ถึงแม้ว่าซาโลมอนจะไม่ใช่โอรสองค์ใหญ่ก็ตาม
ซาโลมอนได้ขึ้นครองราชย์ตามพระบัญชาของกษัตริย์ดาวิด หลังครองราชย์แล้วซาโลมอนก็เริ่มกำจัดฝ่ายตรงข้าม เช่น แม่ทัพโยอาบ และคนื่น ๆ และรวมตำแหน่งของพระองค์เพิ่มเติมด้วยการ แต่งตั้งให้เพื่อนฝูงญาติมิตรมีอำนาจในราชสำนัก ซึ่งรวมถึงตำแหน่งทางศาสนา เช่นเดียวกันกับทั้งฝ่ายพลเรือนและทหาร[30] กล่าวกันว่าซาโลมอนขึ้นครองราชย์ตอนมีพระชนมพรรษาประมาณ 15 พรรษาเท่านั้น[31]
หลังครองราชย์ได้สี่ปีพระองค์ก็ได้สร้างวิหารหลังแรกขึ้นคือวิหารแห่งซาโลมอน การค้าขายระหว่างประเทศดำเนินไปอย่างรุ่งเรืองในรัชสมัยพระองค์ พระองค์ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นกษัตริย์อิสราเอลที่มั่งคั่งที่สุดที่ถูกกล่าวถึงในพระคัมภีร์
สติปัญญา
[แก้]ซาโลมอนเป็นบุคคลที่ทรงพระสติปัญญาที่สุดในพระคัมภีร์ ในหนังสือพงศ์กษัตริย์ฉบับ 1 ซาโลมอนได้ทรงอุทิศพระองค์เองต่อพระยาห์เวห์ และพระองค์ปรากฏในความฝันของซาโลมอน[32] ซาโลมอนทูลขอพระสติปัญญา พระยาห์เวห์ทรงตอบรับคำอธิษฐานของพระองค์ ทรงให้สัญญาแก่ซาโลมอนว่าจะประทานสติปัญญาชั้นเลิศที่สุดแก่ซาโลมอน เนื่องจากพระองค์ไม่ได้ทูลขอสิ่งที่เห็นแก่ตัวอย่างความเป็นอมตะหรือความพินาศของอริศัตรู
เรื่องราวที่มีชื่อเสียงที่สุดในด้านพระสติปัญญาของซาโลมอนคือคำพิพากษาของซาโลมอน เป็นคดีที่มีสตรีสองคนอ้างสิทธิว่าเป็นแม่ที่แท้จริงของเด็กทารกคนหนึ่งและขอให้ซาโลมอนทรงตัดสิน ซาโลมอนพิพากษาคดีอย่างง่าย ๆ โดยให้ตัดเด็กทารกออกเป็นสองส่วนแบ่งให้สตรีผู้กล่าวอ้างทั้งสองคนเสีย ทันใดนั้นมีสตรีคนหนึ่งยอมถอนตัวทันที เธอกล่าวว่าเธอขอยอมแพ้เสียดีกว่าให้เด็กถูกฆ่าตาย เมื่อได้ยินเช่นนั้นซาโลมอนจึงประกาศให้สตรีผู้ที่ถอนตัวเป็นแม่ของเด็กทารก[33]
ตามธรรมเนียม ซาโลมอนถือเป็นผู้เขียนหนังสือในพระคัมภีร์หลายเล่ม เช่น หนังสือสุภาษิต หนังสือปัญญาจารย์ และพระธรรมเพลงสดุดี โดยได้รับการกำหนดให้เป็นผู้เขียนตามธรรมเนียมของสติปัญญาของซาโลมอน ซึ่งถูกรวมเข้าในคัมภีร์ของออร์ทอดอกซ์ตะวันออกและคาทอลิก แต่ฝั่งโปรเตสแตนต์ถือเป็นคัมภีร์นอกสารบบ[34]
พระราชทรัพย์
[แก้]ตามรายงานจากคัมภีร์ฮีบรู ราชอาณาจักรอิสราเอลโบราณได้รับความรุ่งโรจน์และความมั่งคั่งสูงสุดในช่วงรัชสมัยซาโลมอนที่กินเวลา 40 ปี 1 Kings 10:14 ระบุว่าในปีเดียว ซาโลมอนรับเครื่องบรรณาการทองคำถึง 666 ตะลันต์ (18,125 กิโลกรัม) ซาโลมอนได้รับการบรรยายว่ารายล้อมไปด้วยสิ่งฟุ่มเฟือยและความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ตะวันออก และรัฐบาลของพระองค์เจริญรุ่งเรือง พระองค์จัดตั้งพันธมิตรกับฮิรัมที่ 1 กษัตริย์แห่งไทร์ที่ช่วยเหลือพระองค์ในกิจการอันมากมายหลายประการ
โครงการก่อสร้าง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชายาและบาทบริจาริกา
[แก้]พระคัมภีร์ระบุว่า ซาโลมอนมีมเหสี 700 องค์ และนางสนม 300 คน[35] มเหสีเหล่านี้ได้รับการอธิบายเป็นเจ้าหญิงต่างอาณาจักร เช่น ธิดาของฟาโรห์[36] และสตรีจากโมอับ, อัมโมน, เอโดม, ไซดอน และฮิตไทต์ การอภิเษกสมรสกับธิดาของฟาโรห์ดูเหมือนจะเชื่อมความเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับอียิปต์ ในขณะที่การยึดติดกับมเหสีและนางสนมคนอื่น ๆ ของพระองค์นั้นเนื่ิองด้วยความ "รักใคร่"[37][38] มเหสีองค์เดียวที่ระบุด้วยพระนามคือนาอามาห์ชาวอัมโมน พระราชมาดาของเรโหโบอัม ผู้สืบทอดของซาโลมอน
คำบรรยายในพระคัมภีร์ตั้งข้อสังเกตถึงความไม่เห็นชอบที่ซาโลมอนอนุญาตให้มเหสีชาวต่างชาตินำเทพเจ้าประจำชาติของตนเข้ามา สร้างวิหารให้แก่อัชโทเรทและมิลโคม[39]
ความสัมพันธ์กับพระราชินีแห่งเชบา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บาปและการลงโทษ
[แก้]อาลักษณ์ชาวยิวกล่าวว่าครูของซาโลมอนคือ Shimei ben Gera และเขาห้ามซาโลมอนแต่งงานกับมเหสีต่างชาติตราบเท่าที่เขายังมีชีวิตอยู่ ซึ่งปรากฏในทัลมุดที่ Ber. 8a ว่า: "ตราบเท่าที่ Shimei บุตร Gera ยังมีชีวิตอยู่ ซาโลมอนจะไม่มีวันอภิเษกสมรสกับธิดาของฟาโรห์" (ดูเพิ่มใน Midrash Tehillim ที่ Ps. 3:1) การประหารชีวิต Shimei ของซาโลมอนเป็นการดำดิ่งสู่บาปครั้งแรก[18]
รายงานจาก 1 Kings 11:4 "เหล่าภรรยาของท่านทำให้ใจของท่านหันไปเชื่อในบรรดาเทพเจ้า" ซึ่งคือเทพเจ้าของบรรดาพระนางที่ซาโลมอนสร้างวิหารให้ ทำให้พระผู้เป็นเจ้าทรงโกรธกริ้วและลงโทษในรูปแบบแบ่งอาณาจักรหลังซาโลมอนสวรรคต (1 Kings 11:9–13) 1 Kings 11 กล่าวถึงการที่ซาโลมอนหันเหไปสู่การบูชารูปปั้น โดยเฉพาะการหันไปบูชาอัชโทเรท เทพีของชาวไซดอน และมิลโคม เทพเจ้าของชาวอัมโมน ใน Deuteronomy 17:16–17 ระบุว่า "ขอเพียงอย่าให้กษัตริย์มีม้าศึกจำนวนมากเป็นของตนเอง...อย่ามีภรรยามาก...อย่าสะสมเงินทองส่วนของตนให้งอกเงยมากเกินไปนัก" ซาโลมอนละเมิดทั้งสามข้อ นอกจากนี้ พระองค์ยังเก็บทองคำในแต่ละปีถึง 666 ตะลันต์ (1 Kings 10:14) ถือว่ามีจำนวนมากสำหรับชาติขนาดเล็กอย่างอิสราเอล พระองค์ทรงรวบรวมม้าและรถม้าไปไกลถึงอียิปต์ และ "ถูกชักจูงออกห่างไป" ตามที่เตือนไว้ใน Deuteronomy 17
รายงานจาก 1 Kings 11:30–34 และ 1 Kings 11:9–13 ด้วยบาปกรรมเหล่านี้ทำให้พระผู้เป็นเจ้าลงโทษซาโลมอนด้วยการถอนชนเผ่าอิสราเอลส่วนใหญ่ไปจากการปกครองของราชวงศ์ซาโลมอน[40]
พระผู้เป็นเจ้าโกรธกริ้วซาโลมอน เพราะจิตใจของท่านหันเหไปจากพระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของอิสราเอล ผู้ได้ปรากฏแก่ท่านถึง 2 ครั้งแล้ว และได้บัญชาท่านในเรื่องนี้ คือท่านไม่ควรติดตามบรรดาเทพเจ้า แต่ท่านก็ไม่ได้ปฏิบัติตามที่พระผู้เป็นเจ้าได้บัญชาไว้ ฉะนั้น พระผู้เป็นเจ้ากล่าวกับซาโลมอนว่า “ในเมื่อเจ้าประพฤติเช่นนี้ และไม่ได้รักษาพันธสัญญาและกฎเกณฑ์ของเราที่เราบัญชาเจ้า เราจะฉีกอาณาจักรที่เจ้าครอบครองอย่างแน่นอน และยกให้กับผู้รับใช้ของเจ้า แต่เพราะเห็นแก่ดาวิดบิดาของเจ้า เราจะไม่ทำเช่นนั้นในชั่วอายุของเจ้า แต่เราจะทำกับบุตรของเจ้า อย่างไรก็ตาม เราจะไม่ฉีกอาณาจักรทั้งหมด แต่เราจะให้บุตรของเจ้าปกครอง 1 เผ่า เพราะเห็นแก่ดาวิดผู้รับใช้ของเรา และเห็นแก่เยรูซาเล็มที่เราได้เลือกไว้
สวรรคต เรโหโบอัมครองราชย์ และการแตกอาณาจักร
[แก้]ในคัมภีร์ฮีบรูระบุว่า พระเจ้าซาโลมอนเป็นบุคคลสำคัญในพระคัมภีร์ที่สร้างพระวิหารแห่งแรกในเยรูซาเลม และผู้ปกครององค์สุดท้ายของสหราชาธิปไตยอิสราเอล หลังครองราชย์ 40 ปี (1 พงศ์กษัตริย์ 11:42) พระองค์สวรรคตจากสาเหตุตามธรรมชาติ[41] ด้วยพระชนมพรรษาประมาณ 55 พรรษา
ก่อนที่ซาโลมอนสวรรคต เรโหโบอัม พระราชโอรส ขึ้นครองราชย์ แต่ชนเผ่าอิสราเอล 10 กลุ่มไม่ยอมรับพระองค์เป็นกษัตริย์ แล้วแยกดินแดนออกเป็นราชอาณาจักรอิสราเอลทางเหนือ ภายใต้การปกครองของเยโรโบอัม ส่วนเรโหโบอัมยังคงปกครองราชอาณาจักรยูดาห์ขนาดเล็กกว่าทางใต้ ทำให้สองอาณาจักรนี้ไม่มีวันรวมกันเป็นหนึ่งอีกต่อไป
ซาโลมอนมีความเกี่ยวโยงกับ"ยุคทอง"สูงสุดของราชอาณาจักรอิสราเอลอันเป้นเอกราช และเป็นแหล่งตำนานภูมิปัญญาด้านตุลาการและศาสนา
คำว่า לשלמה ในภาษาฮีบรู ปรากฏในชื่อบทของหนังสือเพลงสดุดีเพียง 2 บท (72 และ 127) คำนี้มีความหมายว่า "ถึงซาโลมอน" แต่ก็สามารถแปลได้เป็น "โดยซาโลมอน" ทำให้บางคนเสนอแนะว่าซาดลมอนเป็นผู้เขียนหนังสือเพลงสดุดีสองบทนั้น[42][43][44]
คัมภีร์อธิกธรรมหรือนอกสารบบ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ความเป็นประวัติศาสตร์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
มุมมองศาสนา
[แก้]ยูดาห์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คริสต์
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อิสลาม
[แก้]ตามธรรมเนียมอิสลาม ซาโลมอนเป็นรู้จักกันในชื่อ ซุลัยมาน อิบน์ ดาวูด และถือเป็นศาสดาและศาสนทูตของอัลลออ์ เช่นเดียวกันกับการเป็นกษัตริย์ที่พระเจ้าแต่งตั้ง[45] ซาโลมอนดำรงตำแหน่งถัดจากพระราชบิดาในฐานะกษัตริย์ศาสดาแห่งวงศ์วานอิสราเอล สิ่งที่ต่างจากพระคัมภีร์คือ พระองค์ไม่สักการะรูปเคารพใด ๆ ทั้งสิ้น[46]
อัลกุรอานกำหนดให้ซาโลมอนมีสติปัญญา ความรู้ และอำนาจในระดับที่ดีเยี่ยม[47] พระองค์รู้ภาษาของนก (อาหรับ: منطق الطير, อักษรโรมัน: manṭiq al-ṭayr)[47]
ซาโลมอนในศาสนาอิสลามยังเป็นที่รู้จักจาดการมีความสามารถเหนือธรรมชาติที่พระผู้เป็นเจ้าประทานมา เช่น ควบคุมลม ปกครองเหนือญิน และได้ยินการสื่อสารของมด:
และเราได้ให้มีลมพัดแก่สุลัยมาน ซึ่งมันจะพัดไปในยามเช้าเป็นเวลาหนึ่งเดือน และมันจะพัดกลับในยามเย็นเป็นเวลาหนึ่งเดือน และเราได้ให้ไหลมาแก่เขาซึ่งตาน้ำทองเหลือง (คือให้ทองเหลืองที่หลอมตัวเป็นตาน้ำไหลมาสำหรับสุลัยมาน) ในหมู่ญินนั้น มีผู้ทำงานอยู่เบื้องหน้าเขาด้วยอนุมัติแห่งพระเจ้าของเขา และผู้ใดในหมู่พวกเขาหันเหจากพระบัญชาของเรา เราจะให้เขาลิ้มรสการลงโทษที่มีไฟลุกโชติช่วง
จนกระทั่งเมื่อพวกเขาได้มาถึงทุ่งที่มีมดมาก มดตัวหนึ่งได้พูดว่า “โอ้พวกมดเอ๋ย! พวกเจ้าจงเข้าไปในรังของพวกเจ้าเถิด เพื่อว่าสุลัยมานและไพร่พลของเขาจะได้ไม่บดขยี้พวกเจ้า โดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว” เขา (สุลัยมาน) ยิ้มแกมหัวเราะต่อคำพูดของมันและกล่าวว่า “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานแกข้าพระองค์ เพื่อให้ข้าพระองค์ขอบคุณต่อความโปรดปรานของพระองค์ท่าน ซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงโปรดปรานแก่ข้าพระองค์ และบิดามารดาของข้าพระองค์ และให้ข้าพระองค์กระทำความดีเพื่อให้พระองค์ทรงพอพระทัยมัน และทรงให้ข้าพระองค์เข้าอยู่ในความเมตตาของพระองค์ ในหมู่ปวงบ่าวของพระองค์ที่ดีทั้งหลาย”
อัลกุรอานได้ระบุว่า:
และพวกเขาได้ปฏิบัติตามสิ่งที่บรรดาชัยฏอน ในสมัยสุลัยมานอ่านให้ฟัง และสุลัยมานหาได้ปฏิเสธการศรัทธาไม่ แต่ทว่าชัยฏอนเหล่านั้นต่างหากที่ปฏิเสธการศรัทธา โดยสอนประชาชนซึ่งวิชาไสยศาสตร์และสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่มะลาอิกะฮ.ทั้งสอง คือ ฮารูต และมารูต ณ เมืองบาบิล และเขาทั้งสองจะไม่สอนให้แก่ผู้ใดจนกว่าจะกล่าวว่า แท้จริงเราเพียงเป็นผู้ทดสอบเท่านั้นท่านจงอย่าปฏิเสธการศรัทธาเลย แล้วเขาเหล่านั้นก็ศึกษาจากเขาทั้งสอง สิ่งที่พวกเขาจะใช้มันยังความแตกแยกระหว่างบุคคลกับภรรยาของเขาและพวกเขาไม่อาจทำให้สิ่งนั้นเป็นอันตรายแก่ผู้ใดได้นอกจากด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺเท่านั้น และพวกเขาก็เรียนสิ่งที่เป็นโทษแก่พวกเขา และมิใช่เป็นคุณแก่พวกเขา และแท้จริงนั้นพวกเขารู้แล้วว่า แน่นอนผู้ที่ซื้อมันไว้นั้น ในปรโลกก็ย่อมไม่มีส่วนได้ใด ๆ และแน่นอนเป็นสิ่งที่ชั่วช้าจริง ๆ ที่พวกเขาขายตัวของพวกเขาด้วยสิ่งนั้น หากพวกเขารู้
ตำนาน
[แก้]ดวงตราแห่งซาโลมอน
[แก้]ซาโลมอนมีแหวนมนตราวงหนึ่งที่เรียกว่า ดวงตราแห่งซาโลมอน (Seal of Solomon) เชื่อกันว่าซาโลมอนได้รับมอบแหวนวงนี้และมีอำนาจเหนือญินและปิศาจ กล่าวกันว่าสัญลักษณ์มนตราบนแหวนเป็นสัญลักษณ์เดียวกับ ดาราแห่งดาวิด (บ้างเรียก โล่แห่งดาวิด) แม้ว่าดาราแห่งดาวิดจะเป็นสัญลักษณ์ของศาสนายูดาห์ซึ่งเริ่มปรากฏในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึง 4 ก็ตาม บันทึกของรับบีระบุว่า ครั้งหนึ่งราชาแห่งเหล่ามารแอสโมเดียส (Asmodeus) ถูกจับกุมโดยเบไนอา (Benaiah) ที่สวมแหวนอยู่ และถูกบังคับให้อยู่ใต้อาณัติของซาโลมอน
ในอีกตำนานระบุว่าแอสโมเดียสนำชายผู้หนึ่งซึ่งมีสองหัวขึ้นมาจากโลกบาดาลเพื่อให้ซาโลมอนทอดพระเนตร ชายผู้นั้นไม่สามารถกลับไปโลกบาดาลได้ จึงได้อยู่กินกับสตรีนางหนึ่งในกรุงเยรูซาเลม และมีลูกชายด้วยกันเจ็ดคน หกในจำนวนเจ็ดคนนั้นมีลักษณะเช่นมารดา ส่วนอีกหนึ่งคนมีสองหัวเช่นบิดา เมื่อบิดาเสียชีวิต นายสองหัวได้เรียกร้องมรดกในส่วนสำหรับสองคน ซาโลมอนตัดสินว่านายสองหัวเป็นเพียงบุคคลเดียว
ดวงตราแห่งซาโลมอนเปรียบได้ดั่งแหวนแห่งอำนาจ ในหลายตำนานระบุว่า มีหลายกลุ่มคณะบุคคลเคยพยายามชิงหรือขโมยแหวนด้วยทางใดทางหนึ่งเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจมนตรา
วัตถุแห่งซาโลมอน
[แก้]อีกหนึ่งวัตถุมาตราหนึ่งของซาโลมอนคือโต๊ะและกุญแจแห่งซาโลมอน เป็นที่กล่าวว่าโต๊ะแห่งซาโลมอนตั้งอยู่ในเมืองโตเลโดในช่วงที่ชาววิซิกอทปกครอง ก่อนที่จะถูกชิงไปโดยนายทหารฝ่ายมุสลิมในช่วงอาณาจักรอุมัยยะฮ์พิชิตดินแดนไอบีเรีย[48] ส่วนกุญแจแห่งซาโลมอนปรากฏอยู่ในหนังสือที่ชื่อว่า กุญแจย่อยของซาโลมอน ซึ่งเป็นตำราไสยเวทมีโครงเรื่องที่ซาโลมอนจับกุมปิศาจต่างๆด้วยแหวน และบังคับให้ปิศาจพวกนั้นแนะนำชื่อเสียงเรียงนามแก่ตน
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "In Our Time With Melvyn Bragg: King Solomon". UK: BBC Radio 4. 7 June 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-06-10.
- ↑ 1 Kings 11:1–3
- ↑ หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1-2, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 1-2, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ หนังสือเพลงซาโลมอน, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
- ↑ Khan, Geoffrey (2020). The Tiberian Pronunciation Tradition of Biblical Hebrew. Vol. 1. Open Book Publishers. p. 305. ISBN 978-1-78374-676-7.
- ↑ หนังสือพงศ์กษัตริย์: 1 พงศ์กษัตริย์ 1–11; หนังสือพงศาวดาร: 1 พงศาวดาร 28–29, 2 พงศาวดาร 1–9
- ↑ 8.0 8.1 Barton, George A. (1906). "Temple of Solomon". Jewish Encyclopedia. pp. 98–101. สืบค้นเมื่อ 2018-10-24.
- ↑ Stefon, Matt (27 June 2023). "Solomon king of Israel". Britannica.
- ↑ 1 พงศ์กษัตริย์ 5:5; 8:20
- ↑ Rashi, to Megillah, 14a
- ↑ Finkelstein & Silberman 2006, p. 20.
- ↑ Grabbe, Lester. The Dawn of Israel: A History of Canaan in the Second Millennium BCE. 2023. T&T Clark. p. 255-259. “It is essentially a folktale about an Eastern potentate – it is royal legend or Königsnovelle.” “Thus, it looks difficult to discover much in the Solomon story that strikes the critical reader as likely to be historical.” “[T]he temple story has been inflated into a legendary extravaganza.” “[T]he Solomon story is the most problematic of those relating to the early Israelite kings, providing the thickest cloud of obscurity over the history that lies behind it.”
- ↑ Dever, William G. (2021). "Solomon, Scripture, and Science: The Rise of the Judahite State in the 10th Century BCE". Jerusalem Journal of Archaeology. 1: 102–125. doi:10.52486/01.00001.4. ISSN 2788-8819.
- ↑ มัทธิว 12:42; ลูกา 11:31
- ↑ มัทธิว 6:28–29; ลูกา 12:27
- ↑ "Archaeology, Culture, and other Religions". FMC terra santa. สืบค้นเมื่อ 2013-06-21.
- ↑ 18.0 18.1 Hirsch, Emil G.; Price, Ira Maurice; Bacher, Wilhelm; Seligsohn, M.; Montgomery, Mary W.; toy, Crawford Howell (1905). "Solomon". ใน Singer, Isidore; และคณะ (บ.ก.). The Jewish Encyclopedia. Vol. 11. New York: Funk & Wagnalls. pp. 436–448.
- ↑ E. Clarity, 2012, p. 305.
- ↑ Thiele 1983, p. 78.
- ↑ 1 Chronicles 14:4
- ↑ 1 Chronicles 3:5
- ↑ 1 Chronicles 3:1–4
- ↑ Vance, Jennifer (2015). Solomon. New York: Simon and Schuster. ISBN 978-1-68146-118-2.
- ↑ Golden childhood. The Little People's Own Pleasure—Book of Delight and Instruction. London: Ward, Lock, and Co. 1878. p. 116.
- ↑ Farrel, Pam; Jones, Jean (2017). Discovering Hope in the Psalms: A Creative Bible Study Experience. Eugene: Harvest House Publishers. p. 70. ISBN 978-0-7369-6997-0.
- ↑ 1 พงศ์กษัตริย์ 1:1
- ↑ "1 Kings 1 (ESV)". BibleGateway.com. สืบค้นเมื่อ 2010-03-03.
- ↑ Lumby, J. R., Cambridge Bible for Schools and Colleges on 1 Kings 1, accessed 24 September 2017
- ↑ 1 Kings 4:1–19
- ↑ Wiersbe, Warren (2003). The Bible Exposition Commentary, Volume 1. Eastbourne: Cook Communications. pp. 496. ISBN 978-0-7814-3531-4.
- ↑ 1 พงศ์กษัตริย์ 3:3–15
- ↑ 1 พงศ์กษัตริย์ 3:16–28
- ↑ Coogan 2009, p. 375.
- ↑ 1 Kings 11:3; ไม่ใช่ในบันทึก 2 พงศาวดาร
- ↑ ดูเพิ่มที่ 1 Kings 3:1
- ↑ 1 Kings 11:2–3: NKJV
- ↑ "1 Kings 12—2 Kings 25", Introduction to the Hebrew Bible, Fortress Press, pp. 281–304, 2018, doi:10.2307/j.ctt1w6tbx5.24, ISBN 978-1-5064-4605-9
- ↑ 1 Kings 11:5–9: NKJV
- ↑ "NIV 1 Kings 11 (Solomon's Wives)". Bible Gateway. สืบค้นเมื่อ 2013-06-21.
- ↑ "Ancient Jewish History: The Kings of Ancient Israel". Jewish Virtual Library. สืบค้นเมื่อ 2010-03-03.
- ↑ Gottlieb, Isaac (2010). "Mashal Le-Melekh: The Search for Solomon". Hebrew Studies. 51: 107–127. doi:10.1353/hbr.2010.a400580. S2CID 170687286 – โดยทาง Gale Literature Resource Center.
- ↑ Dahood, Mitchell (1968). Psalms II, 51-100: Introduction, Translation, and Notes. New York: Doubleday. pp. 179–180. ISBN 0-385-03759-7.
- ↑ The Anchor Bible. New York: Doubleday. 1964. p. 47.
- ↑ อัลกุรอาน 2:102
- ↑ Shalev-Eyni, Sarit. "Solomon, his demons and jongleurs: The meeting of Islamic, Judaic and Christian culture." Al-Masaq 18.2 (2006): 155.
- ↑ 47.0 47.1 อัลกุรอาน 27:15-19
- ↑ Ibn Abd-el-Hakem. History of the Conquest of Spain.
บรรณานุกรม
[แก้]- Coogan, Michael D (2009). A Brief Introduction to the Old Testament. Oxford University Press.
- Dever, William G. (2001). What Did the Biblical Writers Know and When Did They Know It?: What Archaeology Can Tell Us about the Reality of Ancient Israel. Grand Rapids, MI: Eerdmans Pub. ISBN 978-0-8028-4794-2. OCLC 45487499.
- ——— (2003). Who Were the Early Israelites and Where Did They Come From?. William B Eermans. ISBN 978-0-8028-0975-9.
- Finkelstein, Israel; Silberman, Neil Asher (2001). The Bible Unearthed: Archaeology's New Vision of Ancient Israel and the Origin of Its Sacred Texts. Simon & Schuster. ISBN 978-0-7432-2338-6.
- ———; Silberman, Neil Asher (2006). David and Solomon: In Search of the Bible's Sacred Kings and the Roots of the Western Tradition. Free Press. ISBN 978-0-7432-4362-9.
- Kalimi, Isaac (2018). Writing and Rewriting the Story of Solomon in Ancient Israel. Cambridge University Press. ISBN 978-1-108-47126-8.
- Levy, Thomas E; Higham, Thomas, บ.ก. (2005). The Bible and Radiocarbon Dating: Archaeology, Text and Science. London; Oakville, CT: Equinox. ISBN 978-1-84553-056-3. OCLC 60453952.
- Kitchen, Kenneth A. (2003). On the reliability of the Old Testament. Grand Rapids, MI: Eerdmans. ISBN 978-0-8028-4960-1.
- Thiele, ER (1983). The Mysterious Numbers of the Hebrew Kings (3rd ed.). Grand Rapids: Zondervan/Kregel.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- A collection of King Solomon links on the Web, LT: VDU, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-15.
- Oussani, Gabriel (1913), "Solomon", Catholic Encyclopedia (entry).
- Solomon ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส Animated depiction of the life of Solomon
- Solomon ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส Artistic movie about the rise and the reign of King Solomon
- "The Wars of King Solomon: Summaries and Studies", Wars of Israel, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-25, สืบค้นเมื่อ 2006-05-05.
- Salomon engravings, The De Verda collection.
- Wikipedia articles incorporating a citation from the 1906 Jewish Encyclopedia
- Wikipedia articles incorporating a citation from the 1906 Jewish Encyclopedia without a Wikisource reference
- ผู้เผยพระวจนะในคัมภีร์ฮีบรู
- ซาโลมอน
- บุคคลในศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาล
- บุคคลในพันธสัญญาเดิม
- พระมหากษัตริย์ยูดาห์
- พระมหากษัตริย์อิสราเอล (สหราชาธิปไตย)
- พระมหากษัตริย์ในตำนาน
- บุคคลจากหนังสือซามูเอล
- บุคคลจากหนังสือพงศ์กษัตริย์
- บุคคลจากหนังสือพงศาวดาร
- บุตรของดาวิด
- นักบุญจากพันธสัญญาเดิม
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์