นบี
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ศาสนาอิสลาม ประวัติศาสนาอิสลาม | |
พระเป็นเจ้า | |
อัลลอฮ์ | |
ศาสดา | |
มุฮัมมัด | |
การปฏิบัติ | |
ปฎิญานตน · ละหมาด· ศีลอด · ซะกาต · ฮัจญ์ | |
บุคคลสำคัญ | |
มุฮัมมัด · อีซา · มูซา · อิบรอฮีม · นูฮ์ | |
คัมภีร์ | |
อัลกุรอาน · เตารอต · อินญีล · ซะบูร | |
ธรรมนูญและกฎหมาย | |
อัลกุรอาน · ซุนนะฮ์ · ชะรีอะฮ์ · ฟิกฮ์ | |
จุดแยกอะกีดะฮ์ | |
ซุนนี · ชีอะฮ์ | |
สังคมศาสนาอิสลาม | |
เมือง · ปฏิทิน ·มัสยิด· สถาปัตยกรรม · ศิลปะ · บุคคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ญิฮาด · ศัพท์ · หมวดหมู่ศาสนาอิสลาม |
นบี[1] (อาหรับ: نبي) หมายถึง ศาสดาในศาสนาอิสลาม คำว่า นบี มาจากคำว่า นับบะอะ หรือ อัมบะอะ แปลว่า แจ้งข่าว ใช้หมายถึงการนำวจนะของพระเจ้ามาประกาศแก่มวลมนุษย์ คำว่านบีในศาสนาอิสลามจึงหมายถึงผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์
นบีและเราะซูล[แก้]
คัมภีร์อัลกุรอานไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่านบีและเราะซูลเหมือนหรือต่างกันอย่างไร บางครั้งมีการเรียกเราะซูลว่านบี บางคนจึงสันนิษฐานว่านบีและเราะซูลคือตำแหน่งเดียวกัน แต่นักวิชาการอิสลามบางท่านอธิบายว่านบีกับเราะซูลต่างกันที่นบีเป็นผู้ที่รับเทวโองการให้มาปฏิบัติหน้าที่เฉพาะ แต่เราะซูลคือผู้ที่อัลลอฮ์แต่งตั้งให้มาสั่งสอนมนุษย์โดยทั่วไป โดยนัยนี้นบีจัดเป็นเราะซูลประเภทหนึ่ง[2]
แต่บางตำราก็อธิบายว่านบีคือผู้ที่ได้รับคำสั่งสอนจากอัลลอฮ์ แต่ไม่ได้ทรงอนุญาตให้นำไปเผยแพร่ แต่เราะซูลเป็นผู้ที่รับคำสั่งสอนแล้วทรงให้นำไปเผยแพร่ต่อ ผู้ที่เป็นเราะซูลจึงต้องเป็นนบีมาก่อน[3]
รายนาม[แก้]
ชาวมุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์ได้ประทานนบีแก่ประชาชนทุกชนชาติ จึงมีนบีอยู่มากมาย นบีมุฮัมมัดกล่าวว่านบีมีอยู่ถึง 124,000 คน[4] โดยนบีมุฮัมมัดเป็นนบีคนสุดท้าย คัมภีร์อัลกุรอานระบุชื่อของนบีไว้ 25 คน[4] ดังนี้
- นบีอาดัม
- นบีอีดริส (เอโนค)
- นบีนูฮ์ (โนอาห์)
- นบีฮูด
- นบีซอลิฮ์
- นบีอิบรอฮีม (อับราฮัม)
- นบีลูฏ (โลท)
- นบีอิสมาอีล(อิชมาเอล)
- นบีอิสฮาก (อิสอัค)
- นบียะอ์กูบ (ยาโคบ)
- นบียูซุฟ (โยเซฟ (บุตรยาโคบ))
- นบีซุลกิฟล์
- นบีอัยยูบ
- นบีมูซา (โมเสส)
- นบีฮารูน (อาโรน)
- นบีอิลยาส (เอลียาห์)
- นบียูนุส (โยนาห์)
- นบีชุอัยบ์
- นบีดาวูด (ดาวิด)
- นบีสุลัยมาน (โซโลมอน)
- นบีอัลยะซะอ์ (เอลีชา)
- นบีซะกะรียา (นักบุญเศคาริยาห์)
- นบียะฮ์ยา (ยอห์นผู้ให้บัพติศมา)
- นบีอีซา (พระเยซู)
- นบีมุฮัมมัด
เมื่อจะออกชื่อนบีเหล่านี้ ชาวมุสลิมจะขอพรอัลลอฮ์แก่ท่านด้วยการลงท้ายชื่อแต่ละท่านท่านว่า “อะลัยฮิสสลาม” แปลว่า ขอสันติจงมีแด่ท่าน ยกเว้นนบีมุฮัมมัดจะลงท้ายว่า “ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม” แปลว่า ขออัลลอฮ์โปรดประทานเมตตาและสันติแก่ท่าน