เอสเธอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอสเธอร์
אֶסְתֵּר
เกิดฮาดาชาห์ (הדסה‎)
จักรวรรดิอะคีเมนิด
ตำแหน่งราชินีแห่งเปอร์เซียและมีเดีย
คู่สมรสอาหสุเอรัสแห่งเปอร์เซีย
บุพการี
    • อาบีฮาอิล (บิดาผู้ให้กำเนิด)
    • โมรเดคัย (บิดาบุญธรรม)

เอสเธอร์ (อังกฤษ: Esther, /ˈɛstər/; ฮีบรู: אֶסְתֵּר, อักษรโรมัน: 'Estēr; พระนามเดิม ฮาดาชาห์) เป็นวีรสตรีในหนังสือเอสเธอร์ซึ่งมีชื่อตามพระนามของพระองค์ เรื่องราวในหนังสือเอสเธอร์เล่าเรื่องราวที่ อาหสุเอรัสกษัตริย์ชาวเปอร์เซียแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิดตกหลุมรักเอสเธอร์หญิงรูปงามชาวยิวแล้วตั้งให้เป็นราชินี[1] ฮามานขุนนางผู้ใหญ่ของกษัตริย์เปอร์เซียไม่พอใจโมรเดคัยที่เป็นลูกพี่ลูกน้องและผู้อุปถัมป์ของเอสเธอร์เพราะโมรเดคัยไม่ยอมกราบแสดงความเคารพฮามาน ฮามานวางแผนจะให้ชาวยิวทั้งหมดในเปอร์เซียถูกฆ่า จึงทูลโน้มน้าวอาหสุเอรัสให้ทรงออกพระราชกฤษฎีกาให้กวาดล้างชาวยิว แต่เอสเธอร์ขัดขวางแผนการของฮามานโดยเปิดเผยแผนของฮามานต่ออาหสุเอรัส อาหสุเอรัสจึงทรงสั่งประหารชีวิตฮามานและออกพระราชกฤษฎีกาใหม่อนุญาตให้ชาวยิวสามารถสังหารศัตรูเพื่อปกป้องตัวเองได้[2]

หนังสือเอสเธอร์ให้คำอธิบายเกี่ยวกับที่มาของธรรมเนียมการฉลองเทศกาลปูริม ซึ่งเฉลิมฉลองในวันเดียวกันกับที่พระราชกฤษฎีกาจากการทูลเสนอของฮามานมีผลบังคับใช้ ซึ่งในวันนั้นชาวยิวได้สังหารศัตรูของพวกเตนหลังแผนการของฮามานถูกเปิดเผย ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1890 นักวิชาการส่วนใหญ่ "เห็นพ้องกันที่จะเห็นว่า[หนังสือ]เอสเธอร์มีฐานะเป็นเรื่องปรัมปราหรือพิธีกรรมที่อิงประวัติศาสตร์" และโดยทั่วไปสรุปว่าเทศกาลปูริมมีต้นกำเนิดมาจากเรื่องปรัมปราหรือเทศกาลของบาบิโลเนียหรือเปอร์เซีย (แม้ยังเป็นที่ถกเถียงว่ามาจากของบาบิโลเนียหรือของเปอร์เซีย)[3][4]

หนังสือเอสเธอร์ปรากฏใน 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบขนาดสั้นจากคัมภีร์ภาษาฮีบรูไบเบิลในศาสนายูดาห์และคัมภีร์ไบเบิลของนิกายโปรเตสแตนต์ กับรูปแบบขนาดยาวจากคัมภีร์ภาษากรีกคอยนีในคัมภีร์ไบเบิลของนิกายโรมันคอทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Solle 2006, p. 107.
  2. "Esther 7:2". www.sefaria.org.
  3. Moore, Carey A. (1971). Esther. Doubleday. See section “The Non-Jewish Origins of Purim.” Pages 46-49. “Esther's canonical status may have been opposed by those Jews who saw the book as a defense for a Jewish festival which, as its very name suggests (*the pûr [that is, the lot]", iii 7; see also ix 26), was non-Jewish in origin. Certainly modern scholars have felt the explanation for Purim's name in ix 26 to be strained and unconvincing. Moreover, the ‘secular" character of the feast suggests a pagan origin, that is, no prayers or sacrifices are specified, but drinking to the point of excess is permitted in the Talmud, Megilla 7b… pûrim is a hebraized form of a Babylonian word...Efforts to identify Purim with an earlier Jewish or Greek festival have been neither common nor convincing, and ever since the 1890s, when Heinrich Zimmern and Peter Jensen equated Mordecai and Esther with the Babylonian gods Marduk and Ishtar, and Haman and Vashti with the Elamite gods Humman and Mashti, a Babylonian origin for Purim has been popular. Though scholars like Jensen, Zimmem, Hugo Winckler, Bruno Meissner and others have each picked a different Babylonian myth or festival as the prototype for Purim, namely, the Gilgamesh Epic, the Babylonian Creation Story, the Tammuz-Ishtar Myth, and the Zagmuk Feast, respectively, they all agreed in seeing Esther as a historicized myth or ritual. More recently, however, a Persian origin for Purim has been gaining support among scholars.”
  4. Moore, Carey A. “Esther, Book of,” ed. David Noel Freedman, The Anchor Yale Bible Dictionary (New York: Doubleday, 1992), 637-638 “Certainly a pagan origin for Purim would also help to explain the "secular" way in which it was to be celebrated, i.e., with uninhibited and even inebriated behavior (cf. above Meg. 7b). Then too, a pagan origin for the festival would also help to explain the absence of various religious elements in the story…. But even more recently scholars are again looking to Palestine for the origin of the festival… Its Lack of Historicity: [R]are is the 20th-century scholar who accepts the story at face value.”
  5. Hahn & Mitch 2019, p. 71.

บรรณานุกรม[แก้]