พันธสัญญาใหม่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พันธสัญญาใหม่ (กรีก: Καινή Διαθήκη; อังกฤษ: New Testament) หรือ พระคริสตธรรมใหม่ เป็นภาคที่สองของคัมภีร์ไบเบิล จากทั้งหมด 2 ภาค ประกอบด้วยหนังสือภาษากรีกทั้งสิ้น 27 เล่ม ส่วนใหญ่ผู้เขียนเป็นอัครทูตและนักบุญในช่วงเวลาเดียวกัน และทุกเล่มเขียนขึ้นหลังการตรึงพระเยซูที่กางเขน

แม้ว่าพระเยซูจะไม่ได้ทรงเขียนด้วยพระองค์เอง แต่คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าผู้เขียนได้เขียนขึ้นจากการดลใจและการทรงนำของพระเป็นเจ้าและพระเยซูผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์[1] ส่วนชาวมุสลิมแม้จะนับถือพระเยซูเป็นนบีอีซา แต่ก็ไม่ยอมรับคัมภีร์ไบเบิลในปัจจุบันว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า เพราะนักวิชาการอิสลามเห็นว่าคัมภีร์นี้ถูกตัดเสริมแต่งและสังคายนากันหลายครั้ง[2]

รายชื่อหนังสือในภาคพันธสัญญาใหม่[แก้]

ในพระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ แบ่งหนังสือออกเป็น 5 หมวดใหญ่ ได้แก่

  1. หมวดพระวรสาร (Gospels) ประกอบด้วย 4 เล่ม ว่าด้วย ประวัติพระเยซูคริสต์ และพระธรรมเทศนา
  2. หมวดประวัติศาสตร์ (Historical book) ประกอบด้วย 1 เล่ม ว่าด้วย เหตุการณ์การเผยแพร่ของอัครสาวก
  3. หมวดจดหมายของเปาโล (Pauline epistles) ประกอบด้วย 14 เล่ม ว่าด้วย พระธรรมเทศนาผ่านนักบุญเปาโล ในจดหมายถึงคริสตจักรต่างๆ
  4. หมวดจดหมายทั่วไป (General epistles) ประกอบด้วย 7 เล่ม ว่าด้วย พระธรรมเทศนาผ่านนักบุญท่านอื่น ในจดหมายถึงคริสตจักรต่างๆ
  5. หมวดวิวรณ์ (Revelation) ประกอบด้วย 1 เล่ม ว่าด้วย พยากรณ์การเสด็จมาในวันพิพากษา จากนิมิตของนักบุญยอห์น
หมวด ชื่อเรื่อง / ชื่ออ้างอิง ภาษาอังกฤษ ภาษากรีก
หมวดพระวรสาร
(Gospels)
พระวรสารนักบุญมัทธิว (ย่อ: มัทธิว หรือ มธ.) Gospel of Matthew (Matthew) Κατά Ματθαίον
พระวรสารนักบุญมาระโก (ย่อ: มาระโก หรือ มก.) Gospel of Mark (Mark) Κατά Μάρκον
พระวรสารนักบุญลูกา (ย่อ: ลูกา หรือ ลก.) Gospel of Luke (Luke) Κατά Λουκάν
พระวรสารนักบุญยอห์น (ย่อ: ยอห์น หรือ ยน.) Gospel of John (John) Κατά Ιωάννην
 
หมวดประวัติศาสตร์
(Historical book)
กิจการของอัครทูต (ย่อ: กิจการ หรือ กจ.) Acts of the Apostles (Acts) Πράξεις
 
หมวดจดหมายของเปาโล
(Pauline epistles)
จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม
(ย่อ: โรม หรือ รม.)
Epistle to the Romans
(Romans)
Προς Ρωμαίους
จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1
(ย่อ: 1 โครินธ์ หรือ 1 คร.)
First Epistle to the Corinthians
(1 Corinthians)
Προς Κορινθίους Αʹ
จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 2
(ย่อ: 2 โครินธ์ หรือ 2 คร.)
Second Epistle to the Corinthians
(2 Corinthians)
Προς Κορινθίους Βʹ
จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย
(ย่อ: กาลาเทีย หรือ กท.)
Epistle to the Galatians
(Galatians)
Προς Γαλάτας
จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัส
(ย่อ: เอเฟซัส หรือ อฟ.)
Epistle to the Ephesians
(Ephesians)
Προς Εφεσίους
จดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวฟิลิปปี
(ย่อ: ฟีลิปปี หรือ ฟป.)
Epistle to the Philippians
(Philippians)
Προς Φιλιππησίους
จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโคโลสี
(ย่อ: โคโลสี หรือ คส.)
Epistle to the Colossians
(Colossians)
Προς Κολοσσαείς
จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเธสะโลนิกา ฉบับที่ 1
(ย่อ: 1 เธสะโลนิกา หรือ 1 ธส.)
First Epistle to the Thessalonians
(1 Thessalonians)
Προς Θεσσαλονικείς Αʹ
จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเธสะโลนิกา ฉบับที่ 2
(ย่อ: 2 เธสะโลนิกา หรือ 2 ธส.)
Second Epistle to the Thessalonians
(2 Thessalonians)
Προς Θεσσαλονικείς Βʹ
จดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่ 1
(ย่อ: 1 ทิโมธี หรือ 1 ทธ.)
First Epistle to Timothy
(1 Timothy)
Προς Τιμόθεον Αʹ
จดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิโมธี ฉบับที่ 2
(ย่อ: 2 ทิโมธี หรือ 2 ทธ.)
Second Epistle to Timothy
(2 Timothy)
Προς Τιμόθεον Βʹ
จดหมายของนักบุญเปาโลถึงทิตัส
(ย่อ: ทิตัส หรือ ทต.)
Epistle to Titus
(Titus)
Προς Τίτον
จดหมายนักบุญเปาโลถึงฟีเลโมน
(ย่อ: ฟีเลโมน หรือ ฟม.)
Epistle to Philemon
(Philemon)
Προς Φιλήμονα
จดหมายถึงชาวฮีบรู
(ย่อ: ฮีบรู หรือ ฮบ.)
Epistle to the Hebrews
(Hebrews)
Προς Εβραίους
 
หมวดจดหมายทั่วไป
(Other epistles หรือ
General epistles)
จดหมายของนักบุญยากอบ
(ย่อ: ยากอบ หรือ ยบ.)
Epistle of James
(James)
Ιακώβου
จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 1
(ย่อ: 1 เปโตร หรือ 1 ปต.)
First Epistle of Peter
(1 Peter)
Πέτρου Αʹ
จดหมายของนักบุญเปโตร ฉบับที่ 2
(ย่อ: 2 เปโตร หรือ 2 ปต.)
Second Epistle of Peter
(2 Peter)
Πέτρου Βʹ
จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 1
(ย่อ: 1 ยอห์น หรือ 1 ยน.)
First Epistle of John
(1 John)
Ιωάννου Αʹ
จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 2
(ย่อ: 2 ยอห์น หรือ 2 ยน.)
Second Epistle of John
(2 John)
Ιωάννου Βʹ
จดหมายของนักบุญยอห์น ฉบับที่ 3
(ย่อ: 3 ยอห์น หรือ 3 ยน.)
Third Epistle of John
(3 John)
Ιωάννου Γʹ
จดหมายของนักบุญยูดา
(ย่อ: ยูดา หรือ ยด.)
Epistle of Jude
(Jude)
Ιούδα
 
หมวดวิวรณ์
(Revelation)
หนังสือวิวรณ์
(ย่อ: วิวรณ์ หรือ วว.)
Apocalypse หรือ
Book of Revelation
Αποκάλυψις Ιωάννου

หมายเหตุ : ฉบับพิมพ์ก่อน ค.ศ. 1971 นิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยแปลชื่อเรียกและกำหนดอักษรย่อต่างออกไป ต่อมาทุกนิกายตกลงใช้ชื่อเรียกและอักษรย่อเดียวกัน [3] หนังสือในคัมภีร์ไบเบิลที่เปลี่ยนแปลงชื่อ ได้แก่

  • พระวรสารมัทธิว อักษรย่อ มธ. (เปลี่ยนมาจาก มัดธาย อักษรย่อเดียวกัน)
  • พระวรสารยอห์น อักษรย่อ ยน. (เปลี่ยนมาจาก โยฮัน อักษรย่อ ยฮ.)
  • พระธรรมโครินธ์ฉบับที่หนึ่ง อักษรย่อ 1 คร. (เปลี่ยนมาจาก โครินโธฉบับที่หนึ่ง อักษรย่อ 1 คธ.)
  • พระธรรมโครินธ์ฉบับที่สอง อักษรย่อ 2 คร. (เปลี่ยนมาจาก โครินโธฉบับที่สอง อักษรย่อ 2 คธ.)
  • พระธรรมกาลาเทีย อักษรย่อ กท. (เปลี่ยนมาจาก กะลาเทีย อักษรย่อเดียวกัน)
  • พระธรรมเอเฟซัส อักษรย่อ อฟ. (เปลี่ยนมาจาก เอเฟโซ อักษรย่อเดียวกัน)
  • พระธรรมฟิลิปปี อักษรย่อ ฟป. (เปลี่ยนมาจาก ฟีลิพพอย อักษรย่อ ฟพ.)
  • พระธรรมโคโลสี อักษรย่อ คส. (เปลี่ยนมาจาก โคโลซาย อักษรย่อ คซ.)
  • พระธรรมเธสะโลนิกาฉบับที่หนึ่ง อักษรย่อ 1 ธส. (เปลี่ยนมาจาก เธซะโลนิเกฉบับที่หนึ่ง อักษรย่อ 1 ธซ.)
  • พระธรรมเธสะโลนิกาฉบับที่สอง อักษรย่อ 2 ธส. (เปลี่ยนมาจาก เธซะโลนิเกฉบับที่สอง อักษรย่อ 2 ธซ.)
  • พระธรรมทิโมธีฉบับที่หนึ่ง อักษรย่อ 1 ทธ. (เปลี่ยนมาจาก ทิโมเทียวฉบับที่หนึ่ง อักษรย่อเดียวกัน)
  • พระธรรมทิโมธีฉบับที่สอง อักษรย่อ 2 ทธ. (เปลี่ยนมาจาก ทิโมเทียวฉบับที่สอง อักษรย่อเดียวกัน)
  • พระธรรมทิตัส อักษรย่อ ทต. (เปลี่ยนมาจาก ติโต อักษรย่อ ตต.)
  • พระธรรมฟิเลโมน อักษรย่อ ฟม. (เปลี่ยนมาจาก ฟีเลโมน อักษรย่อเดียวกัน)
  • พระธรรมฮีบรู อักษรย่อ ฮบ. (เปลี่ยนมาจาก เฮ็บราย อักษรย่อ ฮร.)
  • พระธรรมยากอบ อักษรย่อ ยบ. (เปลี่ยนมาจาก ยาโคโบ อักษรย่อ ยค.)
  • พระธรรมยอห์นฉบับที่หนึ่ง อักษรย่อ 1 ยน. (เปลี่ยนมาจาก โยฮันฉบับที่หนึ่ง อักษรย่อ 1 ยฮ.)
  • พระธรรมยอห์นฉบับที่สอง อักษรย่อ 2 ยน. (เปลี่ยนมาจาก โยฮันฉบับที่สอง อักษรย่อ 2 ยฮ.)
  • พระธรรมยอห์นฉบับที่สาม อักษรย่อ 3 ยน. (เปลี่ยนมาจาก โยฮันฉบับที่สาม อักษรย่อ 3 ยฮ.)

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. ข้อสังเกตที่คริสตชนใช้เพื่อยืนยันว่าคัมภีร์ไบเบิลเขียนโดยผู้เขียนที่ได้รับการดลใจจากพระเจ้า เช่น เนื้อหาที่ว่าด้วยคำเทศนาและพระประวัติในหมวดพระวรสารให้ข้อมูลตรงกัน สอดคล้องกัน แต่ในสำนวนที่ต่างกัน และคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า " คำพูดและคำเทศนาของข้าพเจ้า ไม่ใช่คำที่เกลี้ยกล่อมด้วยสติปัญญาของมนุษย์ แต่เป็นคำซึ่งได้แสดงพระวิญญาณและพระเดชานุภาพ เพื่อความเชื่อของท่านจะไม่ได้อาศัยสติปัญญาของมนุษย์ แต่อาศัยฤทธิ์เดชของพระเจ้า เรากล่าวถึงเรื่องปัญญาในหมู่คนที่เป็นผู้ใหญ่แล้วก็จริง แต่มิใช่เรื่องปัญญาของโลกนี้ หรือเรื่องปัญญาของอำนาจครอบครองในโลกนี้ซึ่งจะเสื่อมสูญไป แต่เรากล่าวถึงเรื่องพระปัญญาของพระเจ้าซึ่งเป็นข้อลึกลับ คือพระปัญญาซึ่งทรงซ่อนไว้นั้น ซึ่งพระเจ้าได้ทรงกำหนดไว้ก่อนสร้างโลกให้เป็นสง่าราศีแก่เรา ไม่มีอำนาจครอบครองใดๆ ในโลกนี้ได้รู้จักพระปัญญานั้น เพราะว่าถ้ารู้แล้วจะมิได้เอาองค์พระผู้เป็นเจ้าแห่งสง่าราศีตรึงไว้ที่กางเขน " (1 โครินธ์ 2: 4-8)
  2. บรรจง บินกาซัน, สารานุกรมอิสลาม ฉบับเยาวชนและผู้เริ่มสนใจ, 2547, หน้า 184
  3. somprasong4 org/viewpost asp?Thread=11901 คริสตจักรสมประสงค์4

ดูเพิ่ม[แก้]