2 ซามูเอล 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2 ซามูเอล 2
หน้าของหนังสือซามูเอล (1 และ 2 ซามูเอล) ใน Leningrad Codex (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู3
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์10

2 ซามูเอล 2 (อังกฤษ: 2 Samuel 2) เป็นบทที่ 2 ของหนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หรือส่วนที่สองของหนังสือซามูเอลในคัมภีร์ฮีบรู[1] ตามธรรมเนียมของศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือซามูเอลเขึยนขึ้นโดยผู้เผยพระวจนะซามูเอลและเพิ่มเติมโดยผู้เผยพระวจนะกาดและนาธัน[2] แต่นักวิชาการยุคปัจจุบันมองว่าหนังสือซามูเอลประกอบขึ้นจากต้นฉบับที่แยกจากกันเป็นอิสระจำนวนหนึ่งของหลายช่วงเวลาตั้งแต่ราว 630–540 ปีก่อนคริสตกาล[3][4] บทที่ 2 ของ 2 ซามูเอลประกอบด้วยเรื่องที่ดาวิดขึ้นมาเป็นกษัตริย์ปกครองยูดาห์ในเฮโบรน[5][6] เป็นส่วนหนึ่งของตอนที่ประกอบด้วย 1 ซามูเอล 16 ถึง 2 ซามูเอล 5 ซึ่งเล่าถึงการขึ้นสู่อำนาจของดาวิดในฐานะกษัตริย์แห่งอิสราเอล[7] และเป็นส่วนหนึ่งของตอนที่ประกอบด้วย 2 ซามูเอล 2–8 ซึ่งเล่าถึงยุคทีดาวิดก่อตั้งอาณาจักร[5]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 32 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูเป็น Masoretic Text ได้แก่ Codex Cairensis (ค.ศ. 895), Aleppo Codex (ศตวรรษที่ 10) and Codex Leningradensis (ค.ศ. 1008)[8] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 4Q51 (4QSama; 100–50 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรคที่หลงเหลือคือ 5–16, 25–27, 29–32[9][10][11][12]

ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ Codex Vaticanus (B; B; ศตวรรษที่ 4) และ Codex Alexandrinus (A; A; ศตวรรษที่ 5)[13][a]

สถานที่[แก้]

วิเคราะห์[แก้]

เรื่องเล่าการขึ้นครองราชย์ของดาวิดในเมืองเฮโบรนใน 2 ซามูเอล 1:1-5.5 มีโครงสร้างดังต่อไปนี้:[15]

A. มองย้อนกลับไปถึงฉากสุดท้ายของ 1 ซามูเอล (1:1)
B. ดาวิดได้รับมงกุฎของซาอูล (1:2-12)
C. ดาวิดประหารผู้ปลงพระชนม์ซาอูล (1:13-16)
D. ดาวิดคร่ำครวญถึงซาอูลกับโยนาธาน (1:17-27)
E. สองกษัตริย์ในแผ่นดิน (2:1-3:6)
E'. หนึ่งกษัตริย์ในแผ่นดิน: อับเนอร์แปรพักตร์ (3:7-27)
D'. ดาวิดคร่ำครวญถึงอับเนอร์ (3:28-39)
C'. ดาวิดประหารผู้ปลงพระชนม์อิชโบเชท (4:1-12)
B'. ดาวิดสวมมงกุฎของซาอูล (5:1-3)
A'. มองไปข้างหน้าถึงรัชสมัยของดาวิดในเยรูซาเล็ม (5:4-5)

กรอบของเรื่องเล่าเกี่ยวกับการขึ้นครองราชย์ของดาวิดในเมืองเฮโบรนเริ่มด้วยวรรคเปิดที่มองย้อนกลับไปถึงบทสุดท้ายของ 1 ซามูเอล (การสิ้นพระชนม์ของซาอูลและการลี้ภัยของดาวิดในศิกลาก) และจบด้วยวรรคปิดที่มองไปข้างหน้าถึงรัชสมัยของดาวิดในเยรูซาเล็ม (2 ซามูเอล 5) การดำเนินเรื่องเริ่มด้วยการที่ดาวิดได้รับมงกุฎของซาอูลและจบลงเมื่อดาวิดได้สวมมงกุฎในที่สุด ดาวิดสั่งประหารชีวิตชาวอามาเลขผู้อ้างว่าช่วยซาอูลในการกระทำอัตวินิบาตกรรมและสั่งประหารชีิวตคนที่ปลงพระองค์อิชโบเชท มีบทคร่ำครวญ 2 บทที่บันทึกไว้ บทแรกสำหรับซาอูลและโยนาธาน อีกบทหนึ่งสั้นกว่าสำหรับอับเนอร์ ใจกลางของเรื่องราวเป็นสองตอนสำคัญคือการมีอยู่ของกษัตริย์ 2 พระองค์ในแผ่นดิน (ดาวิดและอิชโบเชท) เพราะทัพของโยอับไม่สามารถยึดครองอาณาเขตของซาอูลจากการทำศึกได้ แต่ปัญหาคลี่คลายเพราะอิชโบเชทท้าทายอย่างโง่เขลาต่อความภักดีของอับเนอร์ ทำให้อับเนอร์แปรพักตร์ในท้ายที่สุด เป็นผลให้อาณาจักรของซาอูลไปอยู่ภายใต้การปกครองของดาวิด[15]

ดาวิดรับการเจิมตั้งเป็นกษัตริย์แห่งยูดาห์ในเฮโบรน (2:1–7)[แก้]

อิชโบเชทขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอิสราเอลในมาหะนาอิม (2:8–11)[แก้]

ยุทธการที่กิเบโอน (2:12–32)[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: 1 ซามูเอล 25, 1 ซามูเอล 31, 2 ซามูเอล 1, 1 พงศาวดาร 2, 1 พงศาวดาร 3
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. หนังสือซามูเอล ฉบับที่ 1 ทั้งเล่มขาดหายไปจาก Codex Sinaiticus ที่หลงเหลืออยู่[14]

    อ้างอิง[แก้]

    1. Halley 1965, p. 184.
    2. Hirsch, Emil G. "SAMUEL, BOOKS OF". www.jewishencyclopedia.com.
    3. Knight 1995, p. 62.
    4. Jones 2007, p. 197.
    5. 5.0 5.1 Jones 2007, p. 215.
    6. Coogan 2007, p. 448 Hebrew Bible.
    7. Jones 2007, p. 207.
    8. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    9. Ulrich 2010, pp. 290–292.
    10. Dead sea scrolls - 2 Samuel
    11. Fitzmyer 2008, p. 35.
    12. 4Q51 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
    13. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    14. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    15. 15.0 15.1 Morrison 2013, p. 24.

    บรรณานุกรม[แก้]

    คำอธิบายของหนังสือซามูเอล[แก้]

    ทั่วไป[แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]