1 พงศ์กษัตริย์ 7

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
1 พงศ์กษัตริย์ 7
หน้าของหนังสือพงศ์กษัตริย์ (1 และ 2 พงศ์กษัตริย์) ใน Leningrad Codex (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู4
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์11

1 พงศ์กษัตริย์ 7 (อังกฤษ: 1 Kings 7) เป็นบทที่ 7 ของหนังสือพงศ์กษัตริย์ในคัมภีร์ฮีบรู หรือหนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] หนังสือพงศ์กษัตริย์เป็นการรวบรวมจดหมายเหตุต่าง ๆ ที่บันทึกถึงพระราชกิจของกษัตริย์แห่งอิสราเอลและยูดาห์โดยผู้เรียบเรียงประวัติศาสตร์สายเฉลยธรรมบัญญัติในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล โดยมีส่วนผนวกเพิ่มเข้ามาในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล[3] บทที่ 7 ของ 1 พงศ์กษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งของตอนที่เน้นไปที่การปกครองของซาโลมอนเหนืออาณาจักรยูดาห์และอิสราเอลที่รวมเป็นหนึ่งเดียว (1 พงศ์กษัตริย์ 1 ถึง 11)[4] จุดเน้นของบทนี้คือการปกครองของซาโลมอนกษัตริย์แห่งอิสราเอล[5]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 51 วรรคตั้งแต่ศตวรรษที่ 16

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูเป็น Masoretic Text ได้แก่ Codex Cairensis (ค.ศ. 895), Aleppo Codex (ศตวรรษที่ 10) and Codex Leningradensis (ค.ศ. 1008)[6] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 4Q54 (4QKings; 50–25 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรคที่หลงเหลือคือ 20–21, 25–27, 29–42, 51[7][8][9][10]

ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ Codex Vaticanus (B; B; ศตวรรษที่ 4) และ Codex Alexandrinus (A; A; ศตวรรษที่ 5)[11][a]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม[แก้]

  • 1 พงศ์กษัตริย์ 7:13–22: 2 พงศาวดาร 3:14–17[13]
  • 1 พงศ์กษัตริย์ 7:23–26:: 2 พงศาวดาร 4:1–5[13]
  • 1 พงศ์กษัตริย์ 7:38–39: 2 พงศาวดาร 4:6–8[13]
  • 1 พงศ์กษัตริย์ 7:40–47: 2 พงศาวดาร 4:11–18[13]
  • 1 พงศ์กษัตริย์ 7:48–51: 2 พงศาวดาร 4:19–22[13]

วิเคราะห์[แก้]

1 พงศ์กษัตริย์ 6 ถึง 7 ครอบคุลมเรื่องการสร้างพระวิหาร โดยแทรกข้อมูลเกี่ยวกับพระราชวังของซาโลมอน "พระตำหนักพนาเลบานอน", ท้องพระโรงเสาหาน, ท้องพระโรงวินิจฉัย และพระราชวังของพระราชธิดาของฟาโรห์ (1 พงศ์กษัตริย์ 7:1–12)[14]

การสร้างพระราชวัง (7:1–12)[แก้]

การตกแต่งภายในพระวิหาร (7:13–51)[แก้]

แบบของพระวิหารของซาโลมอนพร้อมขนาดวัด

โครงสร้างขนาดใหญ่และเครื่องตกแต่งภายในพระวิหารของซาโลมอนถูกสร้างขึ้นโดยช่างฝีมือชาวฟีนิเซียชื่อฮีราม (หรือฮูราม) โดยเฉพาะเสาสองต้นซึ่งตั้งอยู่ที่ทางเข้ากับพระวิหาร (วรรค 15–22) และอ่างกลมทำจากทองสัมฤทธิ์ ("อ่างสาคร"; วรรค 23–26) ในบรรยายรายการสิ่งของทั้งหมดในวรรค 40–47[15] มีบันทึกระบุว่าซาโลมอนทรงก่อตั้งโรงกลั่นแร่ของพระองค์เองในหุบเขาจอร์แดนเพื่อผลิตวััสดุทองสัมฤทธิ์ที่จำเป็น[15] เครื่องใช้ศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ และของถวายจากราชวงศ์ล้วนหุ้มด้วยทองคำ (วรรค 48–51)[15]

วรรค 13–14[แก้]

รูปสัมฤทธิ์ของฮีราม (ฮูราม) โดย Nickolaus-Otto Kruch กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี (ค.ศ. 2013)
13 พระราชาซาโลมอนทรงใช้คนไปนำฮูรามมาจากเมืองไทระ
14 ฮูรามเป็นบุตรชายของหญิงม่ายเผ่านัฟทาลี และบิดาของเขาเป็นชาวเมืองไทระ และเป็นช่างทองสัมฤทธิ์ ฮูรามเต็มเปี่ยมด้วยสติปัญญา ความเข้าใจ และฝีมือที่จะทำงานทองสัมฤทธิ์ทุกอย่าง เขามาเฝ้าพระราชาซาโลมอนและทำงานทั้งสิ้นของพระองค์[16] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน) หรือ
13 พระราชาซาโลมอนทรงใช้คนให้นำ ฮีรามมาจากเมืองไทระ
14 ท่านเป็นบุตรชายของหญิงม่ายเผ่านัฟทาลี และบิดาของท่านเป็นชายชาวเมืองไทระ เป็นช่างทองสัมฤทธิ์ และท่านประกอบด้วยสติปัญญา ความเข้าใจ และฝีมือที่จะทำงานทุกอย่างด้วยทองสัมฤทธิ์ ท่านมาเฝ้าพระราชาซาโลมอนและทำงานทั้งสิ้นของพระองค์[17] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971) หรือ
13 กษัตริย์โซโลมอนทรงให้นำชายคนหนึ่งชื่อหุรามมาจากเมืองไทระ
14 มารดาของเขาเป็นหญิงม่ายจากเผ่านัฟทาลี ส่วนบิดาเป็นชาวเมืองไทระและเป็นช่างทองสัมฤทธิ์ หุรามเชี่ยวชาญและมีฝีมือในงานทองสัมฤทธิ์ทุกชนิด เขามาเข้าเฝ้าโซโลมอนและทำงานทุกอย่างที่ได้รับมอบหมาย[18] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทย ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)
  • "ฮูรามมาจากเมืองไทระ": ฮูรามหรือฮีรามหรือหุราม เรียกว่า "ฮูรามอับบี" ใน 2 พงศาวดาร 2:13 ระบุสับสนกับฮีรามกษัตริย์ชาวฟีนีเซียใน 1 พงศ์กษัตริย์ 5[19] ฮูรามถูกเรียกด้วยชื่อ "ฮีรามอะบิฟ" (Hiram Abiff) และกลายเป็นบุคคลหลักของอุปมานิทัศน์ซึ่งเสนอต่อผู้สมัครทุกคนในช่วงระดับสามในองค์กรฟรีเมสัน[20]

วรรค 21[แก้]

หน้าต่างกระจกสี (ค.ศ. 1900) ที่โบสต์นักบุญยอห์น นครเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ แสดงภาพฮีราม (ฮูราม) สถาปนิกแห่งพระวิหารในเยรูซาเล็ม อยู่ระหว่างเสาชื่อ "โบอัส" และ "ยาคีน"
ท่านตั้งเสาไว้ที่เฉลียงพระวิหาร ท่านตั้งเสาข้างขวาไว้ และเรียกชื่อว่ายาคีน และท่านตั้งเสาข้างซ้ายไว้ เรียกชื่อว่าโบอัส[21]

เสาทั้งสองนี้น่าจะไม่ใช่โครงสร้างที่ใช้รองรับอาคารพระวิหาร แต่ตั้งอยู่อย่างอิสระ อิงจากเสาที่คล้ายคลึงกันในวิหารร่วมสมัยอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียง[22]

วรรค 23[แก้]

อ่างสาครของซาโลมอน ภาพโดยการตีความของศิลปินที่ตีพิมพ์ในสารานุกรมชาวยิว ค.ศ. 1906
ภาพวาดอ่างสาครในคัมภีร์ไบเบิลฉบับฮอลแมน ค.ศ. 1890
แล้วฮูรามได้หล่ออ่างสาคร วัดจากขอบหนึ่งไปถึงอีกขอบหนึ่งได้ 4.5 เมตร สูง 2.25 เมตร และวัดโดยรอบได้ 13.5 เมตร[23] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน) หรือ
แล้วท่านได้หล่อขันสาครเป็นขันกลม วัดจากขอบหนึ่งไปถึงอีกขอบหนึ่งได้สิบศอก สูงห้าศอก และวัดโดยรอบได้สามสิบศอก[24] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ 1971) หรือ
หุรามหล่อขันสาครทรงกลมด้วยโลหะสูง 5 ศอก เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ศอกและเส้นรอบวง 30 ศอก[25] (พระคริสตธรรมคัมภีร์ไทย ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย)
  • การอ้างอิงข้าม: 2 พงศาวดาร 4:2
  • "ห้าศอก": ความยาวประมาณ 7.5 ฟุตหรีืิอ 2.3 เมตร[26]
  • "สามสิบศอก": ประมาณ 45 ฟุตหรือ 14 เมตร[27]

ค่าโดยประมาณของค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ "π" ("พาย") ซึ่งเป็นอัตราส่วนของเส้นรอบวงต่อเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมสามารถคำนวณได้จากวรรคนี้โดยนำ 30 ศอกหารด้วย 10 ศอกจึงได้ "3" อย่างไรก็ตาม Matityahu Hacohen Munk สังเกตการสะกดคำว่า "เส้น" ในภาษาฮีบรู โดยทั่วไปเขียนว่า קו qaw ใน 1 พงศ์กษัตริย์ 7:23 เขียน (ketiv) ว่า קוה qaweh เมื่อแปลงคำให้เป็นตัวเลขด้วยวิธีเจมาเทรีย (gematria) qaweh ให้ค่า "111" ส่วน qaw ให้ค่า "106" ดังนั้นเมื่อนำมาคำนวณ ให้ผลลัพธ์เป็น π = "3.1415094" ซึ่งใกล้เคียงกับค่าโดยประมาณในสมัยใหม่ "3.1415926"[28][29] Charles Ryrie ให้อีกคำอธิบายหนึ่งตามวรรค 5 (เปรียบเทียบกับ 1 พงศ์กษัตริย์ 7:26) ว่าอ่างสาครมีความหนา 1 คืบ (ประมาณ 4 นิ้วหรือ 10 เซนติเมตร) ดังนั้นเมื่อคำนวณเส้นผ่านศูนย์กลางด้านในโดยการนำ 10 ศอก (ประมาณ 180 นิ้วหรือ 4.6 เมตร) ลบด้วยสองเท่าของ 4 นิ้ว (2 คืบ) จะได้ค่า 172 นิ้ว (4.4 เมตร) นำมาหารด้วย π ได้ผลลัพธ์เป็น 540 นิ้ว (45 ฟุตหรือ 14 เมตรหรือ 30 ศอก) ซึ่งเป็นความยาวของเส้นรอบวงตามที่ระบุไว้ในวรรคที่ 1[30]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: 2 ซามูเอล 7, 1 พงศ์กษัตริย์ 5, 1 พงศ์กษัตริย์ 6, 2 พงศาวดาร 3, 2 พงศาวดาร 4
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 ทั้งเล่มขาดหายไปจาก Codex Sinaiticus ที่หลงเหลืออยู่[12]

    อ้างอิง[แก้]

    1. Halley 1965, p. 190.
    2. Collins 2014, p. 288.
    3. McKane 1993, p. 324.
    4. Dietrich 2007, p. 234.
    5. Dietrich 2007, p. 236.
    6. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    7. Ulrich 2010, pp. 324–327.
    8. Dead sea scrolls - 1 Kings
    9. Fitzmyer 2008, p. 35.
    10. 4Q54 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
    11. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    12. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 1 Kings 7, Berean Study Bible
    14. Leithart 2006, p. 55.
    15. 15.0 15.1 15.2 Dietrich 2007, p. 238.
    16. 1 พงศ์กษัตริย์ 7:13-14 THSV11
    17. 1 พงศ์กษัตริย์ 7:13-14 TH1971
    18. 1 พงศ์กษัตริย์ 7:13-14 TNCV
    19. Coogan 2007, p. 502 Hebrew Bible.
    20. Pietre Stones Kent Henderson, The Legend of Hiram Abif, retrieved 14 September 2012
    21. 1 Kings 7:21 KJV
    22. R. B. Y. Scott (1939). "The Pillars Jachin and Boaz". Journal of Biblical Literature. 58 (2): 143–149. doi:10.2307/3259857. JSTOR 3259857.
    23. 1 พงศ์กษัตริย์ 7:23 THSV11
    24. 1 พงศ์กษัตริย์ 7:23 TH1971
    25. 2 พงศาวดาร 4:2 TNCV
    26. หมายเหตุ [a] ของ 2 พงศาวดาร 4:2 ใน MEV
    27. หมายเหตุของ 1 พงศ์กษัตริย์ 7:23 ใน MEV
    28. Missler, Chuck. The Value of Pi: Hidden Codes in the Bible. April 1, 1998. This finding was also reported by Shlomo Edward G. Belaga, in the page by Boaz Tsaban "Rabbinical Math" and in the book by Grant Jeffrey, "The Handwriting of God", Frontier Research Publications, Toronto Ontario, 1997.
    29. Munk, Matityahu Hacohen. Three Geometric Problems in the Bible and Talmud. Sinai 51 (1962), 218-227 (in Hebrew); Munk, Matityahu Hacohen. The Halachic Way in Solving Special Geometric Problems. Hadarom 27 (1968), 115-133 (in Hebrew). Cited i: Tsaban, Boaz; Garber, David. On the Rabbinical Approximation of Pi เก็บถาวร 2022-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Historia Mathematica 25 (1998), pp. 75-84.
    30. Ryrie, Charles (1986). Basic Theology. Wheaton, Illinois: SP Publications, p. 99.

    บรรณานุกรม[แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]