โมเสส
โมเสส | |
---|---|
![]() โมเสสกับบัญญัติสิบประการ ภาพโดยฟิลลีป เดอ ช็องปาญ. | |
เกิด | โกเชน, อียิปต์ตอนล่าง, จักรวรรดิอียิปต์ |
เสียชีวิต | เทือกเขาเนโบ, โมอับ |
สัญชาติ | ยิว |
มีชื่อเสียงจาก | ศาสดา |
คู่สมรส | |
บุตร | |
บิดามารดา | |
ญาติ |


โมเสส (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ มูซา (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (อังกฤษ: Moses; ฮีบรู: מֹשֶׁה; อาหรับ: موسى มูซา) เป็นผู้บัญญัติกฎและผู้เผยพระวจนะแก่วงศ์วานอิสราเอล ซึ่งเป็นที่มาของคัมภีร์โทราห์ในศาสนายูดาห์ หรือคัมภีร์เบญจบรรณในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ อีกทั้งยังเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ตามคติของศาสนาอิสลาม และเป็นศาสดาตามคติของศาสนาบาไฮ
ในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์[แก้]
บทความนี้เกี่ยวข้องกับ ศาสนายูดาห์ | |
พระเป็นเจ้า | |
พระยาห์เวห์ | |
ศาสดา | |
โมเสส | |
คัมภีร์ | |
ทานัค (โทราห์ • ผู้เผยพระวจนะ • ปรีชาญาณ) • คัมภีร์ทาลมุด | |
บุคคลสำคัญ | |
อับราฮัม • อิสอัค • ยาโคบ • โมเสส • อาโรน • ดาวิด • ซาโลมอน • ซาร่าห์ • รีเบคก้า • ราเชล • ลีอาห์ | |
ประวัติ | |
ประวัติศาสนายูดาห์ : วงศ์วานอิสราเอล • แผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ • ปัญหาชาวยิว • เกตโตในทวีปยุโรปภายใต้การยึดครองของนาซี • การต่อต้านยิว | |
นิกาย | |
ยูดาห์ออร์ทอดอกซ์ (ฮาเรดี • Hasidic • ยูดาห์ออร์ทอดอกซ์ดั้งเดิม) • ยูดาห์อนุรักษนิยม • ยูดาห์ปฏิรูป | |
พิธีกรรม | |
สุหนัต • สะบาโต • ปัสคา • เซเดอร์ | |
สังคมศาสนายูดาห์ | |
ธรรมศาลา • ปฏิทินฮีบรู • วันสำคัญ • ปุโรหิต (รับบี • ฟาริสี • สะดูสี) • ชาวยิว • ศิลปะ • สัญลักษณ์ | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศาสนายูดาห์ในประเทศไทย อภิธานศัพท์ศาสนายูดาห์ | |
![]() |
อัตชีวประวัติของโมเสสที่ได้บันทึกไว้ในคัมภีร์โทราห์และคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม (หมวดเบญจบรรณห้าเล่มแรกที่เชื่อกันว่าโมเสสเป็นผู้เรียบเรียงขึ้น)
ต้นตระกูลของโมเสส[แก้]
เลวี | Melcha | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เกอร์โชน | โคอาท | เมรารี | โยเคเบด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อัมราม | อิสฮาร์ | เฮโบรน | อุสซีเอล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มีเรียม | อาโรน | โมเสส | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คัมภีร์ไบเบิลกล่าวไว้ว่า โมเสสเกิดในเผ่าเลวี บิดาชื่อ อับราม มารดาชื่อ โยเคเบด มีพี่ชาย คือ อาโรน[2] ก่อนหน้าโมเสสเกิด ฟาโรห์แห่งอียิปต์ เห็นว่าชาวยิวมีจำนวนมากและแข็งแกร่ง จึงต้องการลดปริมาณชาวยิวลง โดยมีคำสั่งให้อิสราเอลนำเด็กเกิดใหม่ที่เป็นเพศชาย ทิ้งลงแม่น้ำไนล์ แต่มารดาของโมเสสได้ซ่อนโมเสสไว้ จนกระทั่งถึงวัยที่ไม่สามารถจะหลบซ่อนได้อีก มารดาจึงนำโมเสสใส่ตะกร้าวางไว้ในกอไม้ริมฝั่งแม่น้ำไนล์ เมื่อธิดาฟาโรห์ลงมาสรงน้ำ จึงเจอทารกน้อยโมเสส จึงนำไปเลี้ยงดู โมเสสได้โตขึ้นมาโดยมีมารดาเป็นแม่นมของตนเอง
โมเสส แปลว่า ฉุดขึ้นมา'แปลว้า
โมเสสหนีไปมีเดียน[แก้]
เมื่อโมเสสโตขึ้น ท่านไปหาพวกพี่น้อง เห็นพวกเขาต้องทำงานหนัก โมเสสเห็นคนอียิปต์คนหนึ่งกำลังตีคนฮีบรู ซึ่งเป็นชนชาติเดียวกับตน ท่านมองซ้ายมองขวาเห็นว่าไม่มีใครอยู่ จึงฆ่าคนอียิปต์นั้น แล้วซ่อนศพไว้ในทราย เมื่อโมเสสออกไปอีกในวันรุ่งขึ้น ก็เห็นคนฮีบรูสองคนต่อสู้กันอยู่ จึงตักเตือนคนที่ทำผิดนั้นว่า “ท่านตีพี่น้องของท่านเองทำไม?” เขาตอบว่า “ใครตั้งเจ้าให้เป็นเจ้านายและเป็นตุลาการปกครองเรา? เจ้าตั้งใจจะฆ่าตัวข้าเหมือนที่ได้ฆ่าคนอียิปต์คนนั้นหรือ?” โมเสสก็กลัว คิดว่า “เรื่องนั้นคงรู้กันทั่วแล้วแน่ ๆ”
เมื่อฟาโรห์ทรงทราบเรื่องก็หาช่องทางประหารโมเสส แต่โมเสสหนีฟาโรห์ไปอยู่ในแผ่นดินมีเดียน เขานั่งลงที่ริมบ่อน้ำแห่งหนึ่ง ปุโรหิตของคนมีเดียนมีบุตรหญิงเจ็ดคน หญิงเหล่านั้นพากันมาตักน้ำใส่รางให้ฝูงแพะแกะของบิดากิน เวลานั้นมีพวกคนเลี้ยงแกะมาไล่หญิงเหล่านั้น โมเสสจึงลุกขึ้นช่วยพวกนาง และให้สัตว์ของพวกนางกินน้ำ เมื่อหญิงเหล่านั้นกลับไปหาเรอูเอลผู้เป็นบิดา ท่านถามว่า “วันนี้ทำไมพวกเจ้าจึงกลับเร็วนัก?” พวกนางตอบว่า “มีชายอียิปต์คนหนึ่งช่วยเราพ้นจากมือของพวกคนเลี้ยงแกะ ทั้งยังตักน้ำให้เรา และให้ฝูงแพะแกะกินด้วย” บิดาจึงถามบุตรหญิงของท่านว่า “ชายคนนั้นอยู่ที่ไหน? ทำไมจึงทิ้งเขาไว้ล่ะ? ไปเชิญเขามารับประทานอาหารสิ” โมเสสก็ตกลงใจอาศัยอยู่กับเรอูเอล แล้วเรอูเอลก็ยกศิปโปราห์บุตรสาวให้เป็นภรรยาของโมเสส นางก็คลอดบุตรชายคนหนึ่ง โมเสสตั้งชื่อว่า เกอร์โชม เพราะท่านกล่าวว่า “ข้าพเจ้าเป็นคนต่างด้าวในต่างแดน”
หลายปีผ่านไป กษัตริย์อียิปต์ก็สิ้นพระชนม์ ชนชาติอิสราเอลทุกข์ระทมเพราะการเป็นทาส จึงร้องคร่ำครวญ เสียงร่ำร้องขอความช่วยเหลือเพราะการเป็นทาสนี้ ดังขึ้นไปถึงพระเจ้า พระเจ้าทรงได้ยินเสียงคร่ำครวญของพวกเขา จึงทรงระลึกถึงพันธสัญญาที่พระองค์ได้ทรงทำไว้กับอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ พระเจ้าทอดพระเนตรชนชาติอิสราเอล แล้วพระเจ้าทรงทราบถึงสภาพความเป็นไปของพวกเขา[3]
ทรงเรียกโมเสส[แก้]
ภายหลังจากฟาโรห์สิ้นพระชนม์ วงศ์วานอิสราเอลก็คร่ำครวญกับพระเจ้า พระองค์จึงทรงระลึกถึงชนชาวอิสราเอล พระองค์จึงทรงไปปรากฏต่อหน้าโมเสส เพื่อเป็นผู้นำอิสราเอลให้ออกจากอียิปต์ ไปยังดินแดนคานาอัน อันเป็นดินแดนที่พระเจ้าทรงสัญญาไว้กับอับราฮัมว่าจะยกให้แก่พงศ์พันธุ์ของท่าน[4]
เมื่อพระเจ้าทรงเรียกโมเสสนั้น ทรงกระทำหมายสำคัญ 3 ประการเพื่อให้โมเสสตอบรับหน้าที่นี้ หมายสำคัญทั้งสามประการได้แก่
- พระเจ้าทรงให้โมเสส โยนไม้เท้าลงบนพื้น และไม้เท้านั้นก็กลายเป็นงู และเมื่อโมเสสจับหางงู งูนั้นก็กลายเป็นไม้เท้าดังเดิม
- พระเจ้าทรงให้โมเสส สอดมือไว้ที่อก เมื่อชักมือออกมา มือนั้นก็กลายเป็นเรื้อน และเมื่อสอดมือไว้ที่อกอีกครั้ง มือนั้นก็เป็นปกติ
- พระเจ้าทรงให้โมเสสตักน้ำมา และเทลงบนพื้น น้ำนั้นก็กลายเป็นเลือดบนดินนั้น
แต่ถึงกระนั้น โมเสส ก็ยังคงมีข้อต่อรองกับพระเจ้า ด้วยโมเสสบอกว่าตนเองพูดไม่เก่ง เกรงว่าชาวอิสราเอลจะไม่ยอมฟัง พระเจ้า จึงให้อาโรน พี่ชายของโมเสส ซึ่งเป็นคนพูดเก่ง เป็นผู้ช่วยของเขา
ดังนั้นโมเสสจึงได้ลาพ่อตา และเดินทางกลับไปยังอียิปต์ และพบกับอาโรนเพื่อทำตามพระประสงค์ของพระเจ้าให้สำเร็จต่อไป เมื่อโมเสสได้ไปเข้าเฝ้าฟาโรห์ที่อียิปต์ครั้งนี้ โมเสสมีอายุ 80 ปี และอาโรนมีอายุ 83 ปี[5]
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
- เมื่อโมเสสเข้าเฝ้าฟาโรห์ในครั้งนั้น โมเสสทูลขอให้ฟาโรห์ปล่อยอิสราเอลให้ไปนมัสการพระเจ้าในถิ่นทุรกันดาร (ทะเลทราย) ฟาโรห์มีพระทัยแข็งกระด้าง และไม่ยินยอมให้อิสราเอลไป ในครั้งนั้น โมเสส และ อาโรน จึงได้รับบัญชาจากพระเจ้าในการทำให้เกิดภัยพิบัติแห่งอียิปต์ 10 ประการ จนในที่สุด ฟาโรห์ และเหล่าข้าราชบริพารจึงพากันขับไล่อิสราเอลออกไปจากอียิปต์[6]
- ก่อนภัยพิบัติครั้งสุดท้าย พระเจ้าทรงให้โมเสสนำอิสราเอลประกอบพิธีปัสคาขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ความเป็นอิสราเอลไว้ เพื่อในคืนนั้นพระเจ้าจะผ่านเลยบ้านที่มีเลือดแกะปัสคาป้ายอยู่ แต่บ้านชาวอียิปต์พระเจ้าจะทรงนำเอาบุตรหัวปีของพวกเขาไป พิธีปัสคา จึงเป็นพิธีที่อิสราเอลเฉลิมฉลองถึงเหตุการณ์ความเป็นไท ในครั้งนี้[7]
- เมื่อเดินทางมาริมทะเลแดง กองทัพอียิปต์ก็ติดตามอิสราเอลมา เพื่อตามอิสราเอลกลับไปเป็นทาสดังเดิม ครั้งนี้ พระเจ้าทรงให้โมเสสชูไม้เท้าขึ้นเหนือน้ำ ทำให้ทะเลแดงแหวกออก เป็นทางเดินให้อิสราเอลเดินข้ามไป แต่เมื่อกองทัพอียิปต์จะข้ามตาม ทะเลก็กลับคืนดังเดิม และท่วมกองทัพอียิปต์ตายไปเสียสิ้น
- เมื่อเดินทางถึงภูเขาซีนาย พระเจ้าทรงเรียกโมเสส ขึ้นไปเข้าเฝ้าพระพักตร์พระองค์ แบบหน้าต่อหน้า และที่ภูเขาซีนายนี่เอง ที่พระเจ้าทรงประทานบัญญัติ 10 ประการมาให้อิสราเอล และประทานกฎหมายข้อบังคับต่าง ๆ ให้แก่พวกเขา
- เมื่อออกเดินทางจากภูเขาซีนาย ก็เข้าสู่เขตแดนคานาอัน ในครั้งนั้น โมเสสส่งผู้สอดแนม จากบรรดาหัวหน้าในคนอิสราเอล จำนวน 12 คน (ตามเผ่าของอิสราเอล) ไปดูลาดเลาในคานาอัน ในจำนวนนั้น ยกเว้น โยชูวา และ คาเล็บ ต่างพากันให้ร้ายแก่แผ่นดินคานาอันนั้น เป็นเหตุให้คนอิสราเอลทั้งหลายไม่ยอมเดินทางเข้าแผ่นดินคานาอันตามที่พระเจ้าทรงบัญชา เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้อิสราเอลต้องใช้ชีวิตอยู่ในทะเลทราย เป็นเวลา 40 ปี นับตามจำนวนวันที่ผู้สอดแนมเดินทางไปดูลาดเลาแผ่นดินนั้น และบรรดาอิสราเอลที่มีอายุเกิน 20 ปีในวันนั้น ยกเว้น โยชูวา และ คาเล็บ ล้วนไม่มีใครได้เข้าไปในแผ่นดินคานาอันเลย[8]
- ขณะเมื่ออยู่ในทะเลทราย ช่วง 40 ปีอันโหดร้ายนั้น ครั้งหนึ่งเกิดการกันดารน้ำ ชาวอิสราเอลจึงมาต้ดพ้อโมเสส ในครั้งนี้พระเจ้าตรัสสั่งให้โมเสส ออกไป "บอก" ก้อนหินให้หลั่งน้ำ เพื่อได้มีน้ำใช้ แต่ครั้งนั้นอิสราเอลทำให้โมเสส และอาโรนโกรธอย่างมาก จึงใช้ไม้เท้า ตี หินสองครั้ง น้ำจึงไหลออกมา เหตุการณ์ครั้งนั้น พระเจ้านับว่าทั้งสองไม่เชื่อฟังพระองค์ อาโรนและโมเสสจึงไม่ได้สิทธิในการเข้าไปในแผ่นดินคานาอัน[9]
ชีวิตครอบครัว[แก้]
เมื่อโมเสสไปอาศัยอยู่กับ เรอูเอล ปุโรหิตแห่งเมืองมีเดียนนั้น เยโธร ได้ยก ศิปโปราห์ บุตรสาวของตนให้โมเสส และมีบุตร ชื่อ เกอร์โชม
บั้นปลายชีวิต[แก้]
โมเสสใช้เวลาปกครองอิสราเอล และนำอิสราเอลเดินทางผ่านทะเลทราย เป็นเวลา 40 ปี เมื่อท่านอายุได้ 120 ปี ก็สิ้นชีวิต โดยมิได้เข้าไปในแผ่นดินคานาอัน แผ่นดินแห่งพันธสัญญาของพระเจ้า เพราะการไม่เชื่อฟังพระเจ้าเพียงครั้งเดียว[10] ตามบันทึกพระคัมภีร์กล่าวว่า ศพของโมเสส ถูกฝังไว้ในเขตแดนก่อนเข้าแผ่นดินคานาอันนั่นเอง
มูซาในศาสนาอิสลาม[แก้]
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ศาสนาอิสลาม ประวัติศาสนาอิสลาม | |
พระเป็นเจ้า | |
อัลลอฮ์ | |
ศาสดา | |
มุฮัมมัด | |
การปฏิบัติ | |
ปฎิญานตน · ละหมาด· ศีลอด · ซะกาต · ฮัจญ์ | |
บุคคลสำคัญ | |
มุฮัมมัด · อีซา · มูซา · อิบรอฮีม · นูฮ์ | |
คัมภีร์ | |
อัลกุรอาน · เตารอต · อินญีล · ซะบูร | |
ธรรมนูญและกฎหมาย | |
อัลกุรอาน · ซุนนะฮ์ · ชะรีอะฮ์ · ฟิกฮ์ | |
จุดแยกอะกีดะฮ์ | |
ซุนนี · ชีอะฮ์ | |
สังคมศาสนาอิสลาม | |
เมือง · ปฏิทิน ·มัสยิด· สถาปัตยกรรม · ศิลปะ · บุคคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ญิฮาด · ศัพท์ · หมวดหมู่ศาสนาอิสลาม |
อัลกุรอานเรียกโมเสสว่า นบีมูซา อาลัยฮิสซาลาม เป็นบุตรของอิมรอน เป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ เป็นหนึ่งในห้าศาสดาที่สำคัญที่สุด (อุลุลอัซมิ) ซึ่งอัลกุรอานกล่าวถึงประวัติของศาสดามูซามากกว่าศาสดาอื่น ๆ อัลกุรอาน กล่าวถึงการสืบเชื้อสาย นบีมูซา ตามลำดับนี้
- นบีอิบรอฮีม
- นบีอิสฮาก
- นบียะอฺกูบ
- ลาวีย์
- กอฮาต
- อิมรอน
- นบีมูซา
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Numbers 12:1
- ↑ อพยพ 6:20, พระคริสตธรรมคัมภีร์
- ↑ อพยพ 2:11-25 ,พระคริสตธรรมคัมภีร์
- ↑ อพยพ บทที่ 3 ,พระคริสตธรรมคัมภีร์
- ↑ อพยพ 3-4 และ 7:6-7 ,พระคริสตธรรมคัมภีร์
- ↑ ดูเพิ่มใน ภัยพิบัติแห่งอียิปต์
- ↑ ดูเพิ่มใน พิธีปัสคา
- ↑ กันดารวิถี บทที่ 13 ,พระคริสตธรรมคัมภีร์
- ↑ กันดารวิถี บทที่ 20 ,พระคริสตธรรมคัมภีร์
- ↑ เฉลยธรรมบัญญัติ 31:1-7 ,พระคริสตธรรมคัมภีร์