ข้ามไปเนื้อหา

ภูเขามะกอกเทศ

พิกัด: 31°46′42″N 35°14′38″E / 31.77833°N 35.24389°E / 31.77833; 35.24389
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภูเขามะกอกเทศ
Mount of Olives / Mount Olivet
ภาพถ่ายทางอากาศของภูเขามะกอกเทศ
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
826 เมตร (2,710 ฟุต)
พิกัด31°46′42″N 35°14′38″E / 31.77833°N 35.24389°E / 31.77833; 35.24389
ชื่อ
ชื่อท้องถิ่น
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเยรูซาเล็ม
เทือกเขาเทือกเขายูเดีย
การพิชิต
เส้นทางง่ายสุดถนน
ชุมชน A-Sawane บนภูเขามะกอกเทศ

ภูเขามะกอกเทศ (อังกฤษ: Mount of Olives หรือ Mount Olivet; ฮีบรู: הַר הַזֵּיתִים, อักษรโรมัน: Har ha-Zeitim; อาหรับ: جبل الزيتون, อักษรโรมัน: Jabal az-Zaytūn; มีความหมายว่า 'ภูเขาแห่งมะกอก' ในทั้งสองภาษา; ในภาษาอาหรับยังมีการเรียกด้วยคำว่า الطور, Aṭ-Ṭūr, 'ภูเขา') เป็นเทือกเขาในเยรูซาเล็มตะวันออก อยู่ทางตะวันออกและติดกับเมืองเก่าของเยรูซาเล็ม[1] ตั้งชื่อตามป่าต้นมะกอกออลิฟที่เคยปกคลุมเนินเขา ด้านใต้ของภูเขาคือสุสานซิลวันซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสุสานของชนชั้นสูงในราชอาณาจักรยูดาห์โบราณ[2] เนินเขาด้านตะวันตกของภูเขาซึ่งหันไปทางเยรูซาเล็มถูกใช้เป็นสุสานชาวยิวเป็นเวลามากกว่า 3,000 ปีและมีหลุมศพประมาณ 150,000 หลุม ทำให้ที่นี่เป็นศูนย์กลางของธรรมเนียมสุสานชาวยิว[3] บนยอดเขามีชุมชนอัฏฏูรของชาวปาเลสไตน์ อดีตหมู่บ้านที่ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเยรูซาเล็มตะวันออก

เหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูตามที่บรรยายในพระวรสารเกิดขึ้นที่ภูเขามะกอกเทศ และในกิจการของอัครทูตบรรยายว่าภูเขานี้เป็นสถานที่ที่พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ เนื่องจากภูเขามะกอกเทศมีความเกี่ยวข้องกับทั้งพระเยซูและพระแม่มารีย์ ภูเขาแห่งนี้จึงเป็นสถานที่สักการะที่สำคัญของคริสต์ศาสนิกชนมาตั้งแต่สมัยโบราณ และปัจจุบันเป็นสถานที่จาริกแสดงบุญที่สำคัญของนิกายโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Har-El, Menashe (1977). This is Jerusalem. Jerusalem: Canaan Publishing House. p. 117.
  2. Ussishkin, David (May 1970). "The Necropolis from the Time of the Kingdom of Judah at Silwan, Jerusalem". The Biblical Archaeologist. 33 (2): 33–46. doi:10.2307/3211026. ISSN 0006-0895. JSTOR 3211026. S2CID 165984075.
  3. "International committee vows to restore Mount of Olives". Ynetnews. 8 November 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]