ข้ามไปเนื้อหา

เยรูซาเลม

พิกัด: 31°47′N 35°13′E / 31.783°N 35.217°E / 31.783; 35.217
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เยรูซาเล็ม)
เยรูซาเลม

จากบนซ้าย: ทัศนียภาพของเยรูซาเลมเมื่อมองจากทิศใต้, ตลาดในเขตเมืองเก่า, มามิลลามอลล์, รัฐสภาอิสราเอล, โดมแห่งศิลา, ปราการแห่งดาวิด, กำแพงประจิม
จากบนซ้าย: ทัศนียภาพของเยรูซาเลมเมื่อมองจากทิศใต้, ตลาดในเขตเมืองเก่า, มามิลลามอลล์, รัฐสภาอิสราเอล, โดมแห่งศิลา, ปราการแห่งดาวิด, กำแพงประจิม
Flag of Jerusalem
ธง
Emblem of Jerusalem
ตราอาร์ม
สมญา: 
อิร์ ฮาโกเดช (นครศักดิ์สิทธิ์)
ที่ตั้งของเยรูซาเลม
ที่ตั้งของเยรูซาเลม
เยรูซาเลม
ที่ตั้งของเยรูซาเลมในประเทศอิสราเอล (สีเหลือง) ส่วนสีเทาอ่อน คือ ดินแดนยึดครองของอิสราเอล รวมปาเลสไตน์
พิกัด: 31°47′N 35°13′E / 31.783°N 35.217°E / 31.783; 35.217
บริหารโดยธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล
อ้างสิทธิโดยอิสราเอลและปาเลสไตน์[note 1]
การตั้งรกราก4500 ปีก่อน ค.ศ.
เมืองดาวิด1010 ปีก่อน ค.ศ.
กำแพงเมืองเก่าในปัจจุบันถูกสร้างค.ศ. 1541
การแบ่งเยรูซาเลมเป็นตะวันออก-ตะวันตกค.ศ. 1948
การผนวกรวมอิสราเอลค.ศ. 1967
กฎหมายเยรูซาเลมค.ศ. 1980
การปกครอง
 • องค์กรเทศบาลเยรูซาเลม
 • นายกเทศมนตรีฝ่ายอิสราเอลNir Barkat
 • นายกเทศมนตรีฝ่ายปาเลสไตน์ (เยรูซาเลมตะวันออก)Zaki al-Ghul
พื้นที่
 • ตัวเมือง125.15 ตร.กม. (48.32 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล652 ตร.กม. (252 ตร.ไมล์)
ความสูง754 เมตร (2,474 ฟุต)
ประชากร
 (2016)
 • ตัวเมือง882,652 คน
 • ความหนาแน่น7,100 คน/ตร.กม. (18,000 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล[4]1,253,900 คน
กลุ่มประชากร (ค.ศ. 2016)[5]
 • ชาวยิว64%
 • ชาวอาหรับ35%
 • อื่น ๆ1%
เขตเวลาUTC+02:00 (IST, PST)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+03:00 (IDT, PDT)
ไปรษณีย์9XXXXXX
รหัสโทรศัพท์+972-2
เว็บไซต์jerusalem.muni.il (Israeli)
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนนครเก่าเยรูซาเลมและกำแพงนคร
ประเภทมรดกโลกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์ii, iii, vi
ขึ้นเมื่อค.ศ. 1981
เลขอ้างอิง148
ตกอยู่ในภาวะอันตรายค.ศ. 1982 – ปัจจุบัน

เยรูซาเลม (อังกฤษ: Jerusalem), เยรูชาลัยม์ (ฮีบรู: יְרוּשָׁלַיִם ‎) หรือ อัลกุดส์ (อาหรับ: القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี โดยชาวคานาอันซึ่งเป็นชาวอาหรับโบราณที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธ์หลักของชาวเซมิติก (วงศ์วานของเชม) ได้อพยพออกจากใจกลางคาบสมุทรอาหรับเข้ามาตั้งถิ่นฐานและสร้างชุมชนในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นเมืองเก่าของกรุงเยรูซาเลมตั้งแต่ราวสี่พันปีก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมได้กลายเป็นปราการแห่งความเชื่อในพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว นั่นคือพระเป็นเจ้าของอาดัมและของอับราฮัม ผู้เป็นปฐมศาสดาและปฐมบรรพบุรุษของชาวอาหรับและของชาวยิว ในปัจจุบัน ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน แต่การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ

เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล ที่มาทีหลังได้มีการก่อสร้างขยายเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์[6] ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง[7] มีส่วนหนึ่งของเยรูซาเลมที่เรียกว่า "เมืองดาวิด" ปรากฏการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สี่พันปีก่อนคริสตกาลจากการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวคานาอันที่เป็นชาวอาหรับโบราณในกลุ่มชาติพันธ์เซมิติก กำแพงเมืองเยรูซาเลมซึ่งยังคงตั้งตะหง่านจนถึงปัจจุบันสร้างขึ้นในปี 1538 ในรัชกาลสุลัยมานผู้เกรียงไกร พื้นที่ภายในกำแพงเรียกว่าย่านเมืองเก่า ซึ่งแบ่งออกเป็นสี่เขตด้วยกันได้แก่ เขตอาร์มีเนีย, เขตยิว, เขตคริสเตียน และเขตมุสลิม[8] ย่านเมืองเก่านี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกในปีค.ศ. 1981 และยังเป็นหนึ่งในมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย[9]

เยรูซาเลมในคริสต์ศตวรรษที่ 13

เยรูซาเลมได้รับขนานนามว่าเป็น "นครศักดิ์สิทธิ์" ของศาสนาทั้งสามในกลุ่มศาสนาอับราฮัมอันได้แก่ ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ซึ่งในคัมภีร์ไบเบิลระบุว่า เมื่อกษัตริย์ดาวิดทรงพิชิตเยรูซาเลมมาจากพวกเยบุส ก็ทรงสถาปนาเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอิสราเอล-ยูดาห์ ต่อมา กษัตริย์ซาโลมอน โอรสของกษัตริย์ดาวิด ทรงสร้างพระวิหารแรกขึ้นที่เมืองนี้ เหตุการณ์อันเกิดขึ้นในช่วงหนึ่งพันปีก่อนคริสตกาลนี้ได้ถือเป็นศูนย์รวมเชิงสัญลักษณ์ทั้งมวลของชาวยิว ความศักดิ์สิทธิ์ของเยรูซาเลมในศาสนาคริสต์มีทั้งที่ปรากฏในพันธสัญญาเดิมฉบับแปลเป็นกรีก (หนังสือ Septuagint)[10] ตลอดส่วนที่ถูกกล่าวถึงในพันธสัญญาใหม่ตอนพระเยซูถูกตรึงกางเขน ในศาสนาอิสลามนิกายซุนนีได้ถือว่าเยรูซาเลมเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ที่สุดเป็นลำดับสามรองจากนครมักกะฮ์และอัลมะดีนะฮ์[11] ในปีค.ศ. 610 เยรูซาเลมกลายเป็นชุมทิศแห่งแรกสำหรับการประกอบพิธีละหมาดของชาวมุสลิม[12] และสิบปีหลังจากนั้นศาสดานบีมุฮัมมัดได้เดินทางในยามค่ำคืนจากนครมักกะฮ์มายังกรุงเยรูซาเลมเพื่อขึ้นสู่สวรรค์ไปรับธรรมบัญญัติจากพระเป็นเจ้าให้ศรัทธาชนต้องนมัสการวันละห้าเวลา และพระเป็นเจ้าทรงกำหนดให้การนมัสการหรือการละหมาดนี้เป็นเสาหลักที่ค้ำจุนศาสนาของบุคคล ดังปรากฏในพระคัมภีร์อัลกุรอาน[13][14] และสถานที่ที่ ศาสดานบีมูฮัมมัดได้ขึ้นสู่สวรรค์เพื่อไปรับธรรมบัญญัติแห่งการนมัสการหรือการละหมาดนี้อยู่ตรงบริเวณที่เป็นโดมทองหรือโดมแห่งศิลา ส่วนบริเวณที่เป็นชุมทิศแรกสำหรับการนมัสการในศาสนาอิสลามนั้นคือบริเวณที่เป็นมัสยิดอัลอักศอ ด้วยบันทึกทางประวัติศาสตร์นี้เองทำให้เมืองเก่าเยรูซาเลมซึ่งมีพื้นที่เพียง 0.9 ตารางกิโลเมตร เต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างอันมีความสำคัญทางศาสนามากมาย โดยเฉพาะบนเนินพระวิหาร อันเป็นที่ตั้งของ กำแพงประจิม, โดมแห่งศิลา, มัสยิดอัลอักศอ

ปัจจุบัน สถานภาพของเยรูซาเลมยังเป็นประเด็นแกนกลางประเด็นหนึ่งในความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ ระหว่างสงครามอาหรับ–อิสราเอลปี 1948 เยรูซาเลมตะวันตกรวมอยู่ใบรรดาดินแดนที่ถูกอิสราเอลยึดและผนวกในภายหลังด้วย ส่วนเยรูซาเลมตะวันออก รวมทั้งนครเก่า ถูกจอร์แดนยึดและผนวกในภายหลัง ประเทศอิสราเอลยึดเยรูซาเลมตะวันออกจากจอร์แดนระหว่างสงครามหกวันปี 1967 แล้วผนวกเข้าเป็นเยรูซาเลมร่วมกับดินแดนแวดล้อมเพิ่มเติม กฎหมายเยรูซาเลมปี 1980 อันเป็นกฎหมายหลักพื้นฐานของอิสราเอลฉบับหนึ่ง อ้างถึงเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงอันแบ่งแยกมิได้ของประเทศ อำนาจทั้งสามฝ่ายของรัฐบาลอิสราเอลตั้งอยู่ในเยรูซาเลม รวมทั้งนัสเซต (รัฐสภาอิสราเอล) ทำเนียบนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดี และศาลสูงสุด ทว่า ประชาคมนานาชาติปฏิเสธการผนวกดังกล่าวว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและถือว่าเยรูซาเลมตะวันออกเป็นดินแดนของปาเลสไตน์ที่ถูกอิสราเอลยึดครอง อิสราเอลมีการอ้างสิทธิ์อธิปไตยที่เข้มแข็งกว่าเหนือเยรูซาเลมตะวันตก ประชาคมนานาชาติ (เว้นแต่เพียงจากสหรัฐและสาธารณรัฐเช็ก) ไม่รับรองเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอล และนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 นครดังกล่าวไม่มีสถานทูตต่างประเทศ แม้ประธานาธิบดีสหรัฐเคยมีคำสั่งให้ย้ายสถานทูตไปเยรูซาเลมก็ตาม เยรูซาเลมยังเป็นที่ตั้งของสถาบันนอกภาครัฐของอิสราเอลที่มีความสำคัญด้วย เช่น มหาวิทยาลัยฮีบรู และพิพิธภัณฑ์อิสราเอล พร้อมทั้งอาคารแห่งหนังสือ

เนินพระวิหาร

ลำดับเหตุการณ์

[แก้]
  • 1900 ปีก่อน ค.ศ. ชาวคานาอัน กลุ่มชนชาวเซมิติกที่เป็นหนึ่งในชาวอาหรับโบราณได้อพยพออกมาจากใจกลางของคาบสมุทรอาหรับและเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เป็นดินแดนปาเลสไตน์ ได้สร้างเมืองต่าง ๆ ขึ้น เช่น เจริโค เยรูซาเลม
  • 965 - 922 ปีก่อน ค.ศ.: ซาโลมอน โอรสของกษัตริย์ดาวิดได้ปรับปรุงเมืองนี้และสร้างพระวิหารแห่งพระเจ้าสูงสุด
  • 587 ปีก่อน ค.ศ.: ชาวบาบิโลเนียได้ยึดกรุงเยรูซาเลม ทำลายพระวิหารและนำชาวยิวไปเป็นทาสในบาบิโลน
  • 538 ปีก่อน ค.ศ.: ชาวยิวได้กลับสู่กรุงเยรูซาเลมและสร้างพระวิหารขึ้นใหม่
  • 332 ปีก่อน ค.ศ.: อเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยึดกรุงเยรูซาเลม
  • 168 ปีก่อน ค.ศ.: กษัตริย์อันติโอกุส เอปีฟาเนส ได้ทำลายกำแพงกรุงเยรูซาเลม
  • 63 ปีก่อน ค.ศ.: ถูกโรมันเข้ายึดเมือง
  • 37 ปีก่อน ค.ศ.: เฮโรดได้แต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์ของชาวยิว พระองค์เป็นนักก่อสร้างและปรับปรุงกรุงเยรูซาเลมให้สวยงาม ได้สร้างกำแพงและพระวิหาร ขึ้นมาใหม่ให้สวยงามกว่าในสมัยของกษัตริย์ของเฮโรดนี้เป็นกรุงเยรูซาเลมที่พระเยซูเจ้าทรงรู้จัก
  • ค.ศ. 70: เยรูซาเลมถูกทำลายโดยจักรพรรดิติตุส
  • ค.ศ. 132 - 135: จักรพรรดิเอเดรียนได้สร้างกรุงเยรูซาเลมขึ้นใหม่ตามแบบของเมืองโรมัน ตั้งชื่อว่า "เอลีอา กาปีโตลียา" และสร้างสักการสถานแด่พระเท็จเทียมบนซากของสักการสถานของชาวยิว และของชาวคริสต์ และพวกยิวถูกห้ามเข้าเมืองเด็ดขาด หากจับได้จะมีโทษมีประหารชีวิต
  • ค.ศ. 330: จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 มหาราชผู้กลับใจได้เปลี่ยนกรุงเยรูซาเลมให้เป็นเมืองคริสต์
  • ค.ศ. 614: เปอร์เซียเข้ายึดกรุงเยรูซาเลมและทำลายวัดวาอารามต่าง ๆ
  • ค.ศ. 636: เยรูซาเลมตกอยู่ภายในอำนาจของชาวอาหรับ ซึ่งได้รักษาอำนาจนี้ตลอดมาเป็นเวลา 500 ปี
  • ค.ศ. 1099: เยรูซาเลมถูกยึดโดยครูเสดและกลับเป็นที่ตั้งของอาณาจักรละติน
  • ค.ศ. 1187: เยรูซาเลมถูกยึดโดยชาวมุสลิมภายใต้การนำของเศาะลาฮุดดีน
  • ค.ศ. 1517: เมืองตกอยู่ในเงื้อมมือของชาวเติร์ก และอยู่ในการปกครองของพวกเขาตลอด 400 ปี
  • ค.ศ. 1917: พันธมิตรได้ยึดกรุงเยรูซาเลมและให้อยู่ใต้การปกครองของทหารอังกฤษ
  • ค.ศ. 1948: สงครามอาหรับ-อิสราเอล; เยรูซาเลมถูกแบ่งดินแดนเป็นเยรูซาเลมตะวันตก ปกครองโดยอิสราเอล และเยรูซาเลมตะวันออก ปกครองโดยจอร์แดน และเป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอลในส่วนที่เป็นเยรูซาเลมตะวันตก ระหว่างสงคราม 6 วัน ใน ค.ศ. 1967 เยรูซาเลมตะวันออกจึงตกอยู่ ภายใต้การปกครองของอิสราเอล และตามกฎหมายซึ่งออกใน ค.ศ. 1980 เยรูซาเลมจึงเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลอย่างเป็นทางการ
  • ค.ศ. 1967: สงคราม 6 วัน; ชาวอิสราเอลได้ยึดกรุงเยรูซาเลมเก่า ซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของจอร์แดน สถานการณ์ปัจจุบันยังยืดเยื้ออยู่ และชาวอาหรับรับไม่ค่อยได้ด้านประวัติศาสตร์ของคริสตชน เริ่มตั้งแต่ปีที่ 33 ของสมัยปกครองของกษัตริย์เฮโรด

ภูมิศาสตร์

[แก้]

เยรูซาเลมตั้งอยู่บนที่ราบสูงทางตอนใต้ของเทือกเขาจูเดียน มีอาณาเขตติดกับทะเลเดดซี (Dead Sea) ทางด้านตะวันออก และข้างฝั่งแม่น้ำจอร์แดนเป็นเทือกเขาโมอาบ (Moab) ที่แห้งแล้ง ทางตะวันตกติดกับที่ราบชายฝั่งและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) ห่างจากชายฝั่ง 58 กิโลเมตร ถนนหลวงเป็นเส้นทางสู่เมืองเยริโค (Jericho) ห่างประมาณ 57.6 กิโลเมตร ไปทางตะวันออกทางเหนือมุ่ง สู่จอร์แดน และทะเลสาบกาลิลี ถนนอาลอน (Allon) หรือ ยิกัล (Yigal) ตัดผ่านทะเลทรายยูเดีย นำสู่เมืองสะมาเรีย

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของเยรูซาเลม
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 23.4
(74.1)
25.3
(77.5)
27.6
(81.7)
35.3
(95.5)
37.2
(99)
36.8
(98.2)
40.6
(105.1)
38.6
(101.5)
37.8
(100)
33.8
(92.8)
29.4
(84.9)
26
(79)
40.6
(105.1)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 11.8
(53.2)
12.6
(54.7)
15.4
(59.7)
21.5
(70.7)
25.3
(77.5)
27.6
(81.7)
29
(84)
29.4
(84.9)
28.2
(82.8)
24.7
(76.5)
18.8
(65.8)
14
(57)
21.53
(70.75)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 9.8
(49.6)
10.5
(50.9)
13.1
(55.6)
16.8
(62.2)
21.0
(69.8)
23.3
(73.9)
25.1
(77.2)
25.0
(77)
23.6
(74.5)
21.1
(70)
16.3
(61.3)
12.1
(53.8)
18.14
(64.66)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 6.4
(43.5)
6.4
(43.5)
8.4
(47.1)
12.6
(54.7)
15.7
(60.3)
17.8
(64)
19.4
(66.9)
19.5
(67.1)
18.6
(65.5)
16.6
(61.9)
12.3
(54.1)
8.4
(47.1)
13.51
(56.32)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -3.4
(25.9)
-2.4
(27.7)
-0.3
(31.5)
0.8
(33.4)
7.6
(45.7)
11
(52)
14.6
(58.3)
15.5
(59.9)
13.2
(55.8)
9.8
(49.6)
1.8
(35.2)
0.2
(32.4)
−3.4
(25.9)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 133.2
(5.244)
118.3
(4.657)
92.7
(3.65)
24.5
(0.965)
3.2
(0.126)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0.3
(0.012)
15.4
(0.606)
60.8
(2.394)
105.7
(4.161)
554.1
(21.815)
ความชื้นร้อยละ 61 59 52 39 35 37 40 40 40 42 48 56 45.8
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 12.9 11.7 9.6 4.4 1.3 0 0 0 0.3 3.6 7.3 10.9 62
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 192.9 243.6 226.3 266.6 331.7 381.0 384.4 365.8 309.0 275.9 228.0 192.2 3,397.4
แหล่งที่มา 1: Israel Meteorological Service[15][16][17][18]
แหล่งที่มา 2: NOAA (sun, 1961–1990)[19]

ประชากร

[แก้]

กรุงเยรูซาเลม มีประชากรและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เมืองโบราณแห่งนี้ชุมชนนับถือศาสนายูดาห์ คริสต์ศาสนา นิกายอาร์เมเนียน และชาวมุสลิม ชนชาวยิวต้องทนทุกข์ทรมานระหว่าง ค.ศ. 1974-48 และได้รับการบูรณะใหม่ แบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารให้บรรยากาศความเป็นชนชาติตะวันออก

ชาวอาหรับแต่งกายแบบดั้งเดิมและทันสมัย คริสตชนได้รับอิทธิพลการแต่งกายทั้งจากตะวันตกและตะวันออก ธรรมศาลา (Synagogue) คริสต์ศาสนสถาน มัสยิดและที่พักอาศัย มีรูปแบบต่าง ๆ กันซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบโมเสก (Mosaic) กลิ่นเครื่องเทศ สัญลักษณ์ของการปรุงอาหารแบบตะวันออก เสียงระฆังโบสถ์ที่กังวานและยาวนาน สัญญาณเรียกให้มาสวดมนต์ในสุเหร่ามุสลิม และท่วงทำนองเสียงสวดมนต์ของชาวยิวที่กำแพงตะวันตก หรือกำแพงร้องไห้ (Western Wall, Wailing Wall) เพิ่มเสน่ห์และชีวิตชีวาแก่เมืองนี้ บรรยากาศเหล่านี้สัมผัสได้เฉพาะในส่วนที่เป็นเมืองเก่า นอกกำแพงเมืองเยรูซาเลมเต็มไปด้วยบรรยากาศความทันสมัยทั้งถนน เส้นทางคมนาคม ตึกสูง ห้างสรรพสินค้า ย่านธุรกิจ โรงเรียน ร้านอาหารและร้านกาแฟ

สถิติปี ค.ศ. 1993 มีประชากร 556,000 คน ในจำนวนนี้ 401,000 คน เป็นชาวยิว อาศัยในเยรูซาเลมใหม่ และอีก 139,000 คน อาศัยทางตะวันออกและเยรูซาเลมเก่า จำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม มีเพียง 16,000 คน นับถือศาสนาคริสต์

ประวัติศาสตร์จำนวนประชากร
ปี ค.ศ. จำนวนประชากร
1844 15,510
1876 25,030
1896 45,420
1922 62,578
1931 90,053
1944 157,000
1948 165,000
1967 263,307
1980 407,100
1985 457,700
1990 524,400
1995 617,000
2000 657,500
2005 706,400
2010 775,000
2012 933,113

อ้างอิง

[แก้]
  1. 2003 Amended Basic Law. Basic Law of Palestine. Retrieved: 9 December 2012.
  2. PLO-NAD, June 2010, Jerusalem Non-Paper เก็บถาวร 6 กุมภาพันธ์ 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน on Statements and Speeches เก็บถาวร 2016-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, nad-plo.org; accessed 25 November 2014. Extracts from page 2:"This paper is for discussion purposes only. Nothing is agreed until everything is agreed.

    Palestinian vision for Jerusalem
    ...
    Pursuant to our vision, East Jerusalem, as defined by its pre-1967 occupation municipal borders, shall be the capital of Palestine, and West Jerusalem shall be the capital of Israel, with each state enjoying full sovereignty over its respective part of the city."
  3. PLO-Negotiations Affairs Department (NAD), August 2013, East Jerusalem today – Palestine's Capital: The 1967 border in Jerusalem and Israel's illegal policies on the ground เก็บถาวร 4 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, nad-plo.org; accessed 25 November 2014, Quotes:" ... Palestine's capital, East Jerusalem ... The Palestinian acceptance of the 1967 border, which includes East Jerusalem, is a painful compromise: ... Jerusalem has always been and remains the political, administrative and spiritual heart of Palestine. Occupied East Jerusalem is the natural socio-economic and political center for the future Palestinian state."
  4. "Localities, Population and Density per Sq. Km., by Metropolitan Area and Selected Localities". Israel Central Bureau of Statistics. 6 September 2017. สืบค้นเมื่อ 19 September 2017.
  5. "Facts and Figures". jerusalem.muni.il. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 ตุลาคม 2016.
  6. Moore, Megan Bishop; Kelle, Brad E. (17 May 2011). "Biblical History and Israel S Past: The Changing Study of the Bible and History". Wm. B. Eerdmans Publishing – โดยทาง Google Books.
  7. "Do We Divide the Holiest Holy City?". Moment Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2008. สืบค้นเมื่อ 5 March 2008. According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.
  8. Ben-Arieh, Yehoshua (1984). Jerusalem in the 19th Century, The Old City. Yad Izhak Ben Zvi & St. Martin's Press. p. 14. ISBN 0-312-44187-8.
  9. "Old City of Jerusalem and its Walls". UNESCO World Heritage Convention. สืบค้นเมื่อ 11 September 2010.
  10. Isaiah 52:1 πόλις ἡ ἁγία.
  11. Third-holiest city in Islam:
    • Esposito, John L. (2 November 2002). What Everyone Needs to Know about Islam. Oxford University Press. p. 157. ISBN 0-19-515713-3. The Night Journey made Jerusalem the third holiest city in Islam
    • Brown, Leon Carl (15 September 2000). "Setting the Stage: Islam and Muslims". Religion and State: The Muslim Approach to Politics. Columbia University Press. p. 11. ISBN 0-231-12038-9. The third holiest city of Islam—Jerusalem—is also very much in the center...
    • Hoppe, Leslie J. (August 2000). The Holy City: Jerusalem in the Theology of the Old Testament. Michael Glazier Books. p. 14. ISBN 0-8146-5081-3. Jerusalem has always enjoyed a prominent place in Islam. Jerusalem is often referred to as the third holiest city in Islam...
  12. Lewis, Bernard; Holt, P. M.; Lambton, Ann, บ.ก. (1986). Cambridge History of Islam. Cambridge University Press.
  13. อัลกุรอาน 17:1–3
  14. Buchanan, Allen (2004). States, Nations, and Borders: The Ethics of Making Boundaries. Cambridge University Press. ISBN 0-521-52575-6. สืบค้นเมื่อ 9 June 2008.
  15. "Long Term Climate Information for Israel". August 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2010.(ในภาษาฮีบรู)
  16. "Record Data in Israel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2010.(ในภาษาฮีบรู)
  17. "Temperature average". Israel Meteorological Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2013. สืบค้นเมื่อ 8 December 2011.(ในภาษาฮีบรู)
  18. "Precipitation average". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2011. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.(ในภาษาฮีบรู)
  19. "Jerusalem Climate Normals 1961–1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 26 April 2017.
  1. The State of Palestine (according to the Basic Law of Palestine, Title One: Article 3) regards Jerusalem as its capital.[1] But the documents of the PLO's Negotiations Affairs Department (NAD) often refer to East Jerusalem (rather than the whole of Jerusalem) as a future capital, and sometimes as the current capital. One of its 2010 documents, described as "for discussion purposes only", says that Palestine has a '"vision"' for a future in which "East Jerusalem ... shall be the capital of Palestine, and West Jerusalem shall be the capital of Israel",[2] and one of its 2013 documents refers to "Palestine's capital, East Jerusalem", and states that "Occupied East Jerusalem is the natural socio-economic and political center for the future Palestinian state", while also stating that "Jerusalem has always been and remains the political, administrative and spiritual heart of Palestine" and that "The Palestinian acceptance of the 1967 border, which includes East Jerusalem, is a painful compromise".[3]