อาสา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาสา
กษัตริย์แห่งยูดาห์
ครองราชย์ป. 911 – 870 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้าอาบียัม
ถัดไปเยโฮชาฟัท
คู่อภิเษกอาซูบาห์
ราชสกุลราชวงศ์ดาวิด
พระราชบิดาอาบียัม

ในคัมภีร์ฮีบรู อาสา (อังกฤษ: Asa; /ˈsə/; ฮีบรู: אָסָא, ใหม่: ʾAsaʾ, ไทบีเรียน: ʾĀsāʾ; กรีก: Ασά; ละติน: Asa) เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 3 ของราชอาณาจักรยูดาห์และเป็นลำดับที่ 5 ของราชวงศ์ดาวิด ตามลำดับเวลาในคัมภีร์ไบเบิล นักวิชาการคัมภีร์ไบเบิลมีความเห็นว่าพระองค์ครองราชย์ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 10 ถึงต้นศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล ผู้สืบราชสมบัติถัดจาพระองค์คือเยโฮชาฟัทพระราชโอรสของพระองค์ (ที่เกิดกับ อาซูบาห์) ตามลำดับเวลาของ Edwin R. Thiele[1] เมื่ออาสาประชวรหนัก ทรงตั้งให้เยโฮชาฟัทให้ขึ้นครองราชย์ร่วมกับพระองค์ อาสาสิ้นพระชนม์หลังการครองราชย์ร่วมได้ 2 ปี

อาสาทรงมีความกระตือรือร้นในการรักษาธรรมเนียมการมนัสการพระเจ้า และขจัดการบูชารูปเคารพของพระอื่นไปพร้อมกับการผิดทำนองคลองธรรมจากการติดตามพระเหล่านั้น หลังสู้รบกับเศลาห์แห่งเอธิโอเปียในปีที่ 10 ของรัชสมัยของพระองค์ ก็เกิดความสงบสุขในยูดาห์ (2 พงศาดวาร 14:1,9) จนกระทั่งปีที่ 36 ของรัชสมัยอาสา (2 พงศาวดาร 16:1) เมื่อพระองค์เผชิญหน้ากับบาอาชากษัตริย์แห่งอิสราเอลเหนือ พระองค์ทรงขอเป็นพันธมิตรกับเบนฮาดัดที่ 1 กษัตริย์แห่งอารัม-ดามัสคัส โดยทรงส่งเงินและทองคำไปให้เบนฮาดัดเพื่อโน้มน้าวให้เบนฮาดัดยกเลิกสนธิสัญญาสันติภาพที่พระองค์ทำกับบาอาชา และให้รุกรานราชอาณาจักรอิสราเอลเหนือ (2 พงศาวดาร 16:2-6) อาสาสิ้นพระชนม์โดยได้รับการเชิดชูเกียรติอย่างสูงจากประชาชนของพระองค์ ราชกิจส่วนใหญ่พระองค์ทำให้พระองค์ถือว่าเป็นกษัตริย์ที่ชอบธรรม พระองค์ส่งผู้เผยพระวจนะฮานานีขังคุกและ "ยังข่มเหงประชาชนบางคนในเวลานั้นด้วย" (2 พงศาวดาร 16:10) มีบันทึกด้วยว่าเมื่ออาสาอยู่ในวัยชรา เมื่อทรงเป็นโรคที่พระบาท พระองค์ "ไม่ได้ทรงแสวงหาพระยาห์เวห์ แต่แสวงหาการช่วยเหลือจากแพทย์"[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Thiele 1965.
  2. 2 พงศาวดาร 16:12; เปรียบเทียบกับเยเรมีย์ 17:5

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Arbeli, Shoshana (1985). "Maacah, the Queen-Mother (Gebirah) in the Reign time of Abiah and Asa, and her removal". Shnaton — an Annual for Biblical and Near Eastern Studies (ภาษาฮิบรู). 9: 165–178.
  • Falk, A. (1996). A Psychoanalytic History of the Jews. Fairleigh Dickinson University Press. ISBN 978-0-8386-3660-2.
  • Gomes, J.F. (2006). The Sanctuary of Bethel and the Configuration of Israelite Identity. Beihefte zur Zeitschrift für die alttestamentliche Wissenschaft. De Gruyter. ISBN 978-3-11-092518-0.
  • Japhet, S. (1993). I and II Chronicles: A Commentary. The Old Testament Library. Presbyterian Publishing Corporation. ISBN 978-1-61164-589-7.
  • Jeon, Y.H. (2013). Impeccable Solomon?: A Study of Solomon's Faults in Chronicles. Pickwick Publications. ISBN 978-1-4982-7661-0.
  • Josephus (1737) [94]. The Antiquities of the Jews . แปลโดย Whiston, William.
  • Kaiser, W.C. (1998). History of Israel: From the bronze age through the Jewish wars. Nashville, TN: Broadman & Holman. ISBN 978-0-8054-3122-3.
  • Myers, J.M. (1965). II Chronicles. The Anchor Bible. Doubleday. ISBN 978-0-385-05778-3.
  • Smith, D.L. (2003). With Willful Intent: A Theology of Sin. Wipf & Stock Publishers. ISBN 978-1-59244-416-8.
  • Sweeney, M.A. (2007). I & II Kings: A Commentary. Old Testament library. Westminster John Knox Press. ISBN 978-0-664-22084-6.
  • Tenney, M.C.; Silva, M. (2010). "Maacah (person)". The Zondervan Encyclopedia of the Bible. Vol. 4 (Revised Full-Color ed.). Zondervan. ISBN 978-0-310-87699-1.
  • Thiele, Edwin (1965). The Mysterious Numbers of the Hebrew Kings (3rd ed.). Eerdmans. ISBN 0-8254-3825-X, 9780825438257
  • Wiersbe, W.W. (2007) [2005]. The Wiersbe Bible Commentary: Old Testament (2nd ed.). Colorado Springs, CO: David C Cook. ISBN 978-1-4347-6587-1.
ก่อนหน้า อาสา ถัดไป
อาบียัม กษัตริย์แห่งยูดาห์
(ราชวงศ์ดาวิด)
กษัตริย์แห่งอิสราเอลร่วมสมัย: เยโรโบอัมที่ 1, นาดับ, บาอาชา, เอลาห์, ศิมรี, อม-รี, อาหับ

(912–871 ปีก่อนคริสตกาล)
เยโฮชาฟัท