โยชูวา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยชูวา
โมเสสและผู้ส่งสารจากคานาอัน, Giovanni Lanfranco, ภาพสีน้ำมันบนผ้าใบ, 218 × 246 ซm (85 34 โดย 97 นิ้ว), ที่พิพิธภัณฑ์เจ. พอล เก็ตตี นครลอสแอนเจลิส
ผู้เผยพระวจนะ, คนชอบธรรม, บรรพบุรุษ
เกิดโกเชน (อียิปต์ล่าง) อียิปต์โบราณ
เสียชีวิตคานาอัน
นับถือ ในศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม
สักการสถานหลัก
วันฉลอง
สัญลักษณ์มักอยู่ในภาพร่วมกับคาเลบ แบกองุ่นที่นำมาจากคานาอัน

โยชูวา (อังกฤษ: Joshua หรือ Yehoshua หรือ Josue[2], /ˈɒʃuə/; ฮีบรู: יְהוֹשֻׁעַ Yəhōšuaʿ, Tiberian: Yŏhōšuaʿ, แปลว่า 'พระยาห์เวห์ทรงเป็นความรอด')[a][3][4] ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของโมเสสในหนังสืออพยพและหนังสือกันดารวิถี ภายหลังได้สืบตำแหน่งผู้นำของชาวอิสราเอลถัดจากโมเสสในหนังสือโยชูวาของคัมภีร์ฮีบรู[5] ชื่อของโยชูว่าคือ โฮเชยา (อังกฤษ: Hoshea; ฮีบรู: הוֹשֵׁעַ Hōšēaʿ, แปลว่า 'ช่วยเหลือ')[6] บุตรนันแห่งเผ่าเอฟราอิม แต่โมเสสเรียกเขาว่า "โยชูวา"[7] ซึ่งเป็นชื่อที่รู้จักโดยทั่วไป คัมภีร์ไบเบิลระบุว่าโยชูวาเกิดในอียิปต์ก่อนการอพยพ

คัมภีร์ฮีบรูระบุว่าโยชูวาเป็นหนึ่งในผู้สอดแนมสิบสองคนของอิสราเอลที่โมเสสส่งไปสำรวจดินแดนคานาอันในกันดารวิถี 13 และภายหลังการเสียชีวิตของโมเสส โยชูวาได้ในชาวอิสราเอลในการเข้ายึดครองคานาอัน และจัดสรรที่ดินให้แต่ละเผ่าของชาวอิสราเอล ตามลำดับเวลาของคัมภีร์ไบเบิล โยชูว่ามีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งของยุคสัมฤทธิ์ โยชูวา 24:29 ระบุว่าโยชูวาเสียชีวิตขณะอายุ 110 ปี

โยชูวามีฐานะเป็นที่เคารพในหมู่มุสลิมที่นับถือว่าโยชูวาเป็นผู้นำของศรัทธาภายหลังการเสียชีวิตของโมเสส ในศาสนาอิสลามยังเชื่อว่ายูชะ อิบน์ นูน (โยชูวาบุตรนัน) เป็น "ผู้รับใช้" ของโมเสสตามที่กล่าวถึงในคัมภีร์อัลกุรอานก่อนที่โมเสสจะได้พบกับอัลคิฎิร โยชูวามีบทบาทในวรรณกรรมอิสลามโดยได้รับการกล่าวถึงในหะดีษ[8][9]

หมายเหตุ[แก้]

  1. แอราเมอิก: יֵשׁוּעַ Yēšūaʿ; ซีรีแอก: ܝܫܘܥ ܒܪ ܢܘܢ Yəšūʿ bar Nōn; กรีก: Ἰησοῦς, อาหรับ: يُوشَعُ ٱبْنُ نُونٍ Yūšaʿ ibn Nūn; ละติน: Iosue

อ้างอิง[แก้]

  1. "Righteous Joshua the son of Nun (Navi)". Oca. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 November 2012. สืบค้นเมื่อ 8 January 2018.
  2. "CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Josue (Joshua)". www.newadvent.org. สืบค้นเมื่อ 2023-01-01.
  3. Khan, Geoffrey (2020). The Tiberian Pronunciation Tradition of Biblical Hebrew, Volume 1. Open Book Publishers. ISBN 978-1783746767.
  4. "Strong's Hebrew Concordance - 3091. Yehoshua". Bible Hub.
  5. Coogan 2009, pp. 166–167.
  6. "Conjugation of לְהוֹשִׁיעַ". Pealim.
  7. กันดารวิถี 13:16
  8. "Jami' at-Tirmidhi 3149 - Chapters on Tafsir - كتاب تفسير القرآن عن رسول الله صلى الله عليه وسلم - Sunnah.com - Sayings and Teachings of Prophet Muhammad (صلى الله عليه و سلم)". sunnah.com. สืบค้นเมื่อ 2022-02-14.
  9. "Sahih Muslim 2380a - The Book of Virtues - كتاب الفضائل - Sunnah.com - Sayings and Teachings of Prophet Muhammad (صلى الله عليه و سلم)". sunnah.com. สืบค้นเมื่อ 2022-02-14.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]