2 ซามูเอล 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2 ซามูเอล 1
หน้าของหนังสือซามูเอล (1 และ 2 ซามูเอล) ใน Leningrad Codex (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู3
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์10

2 ซามูเอล 1 (อังกฤษ: 2 Samuel 1) เป็นบทแรกของหนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หรือส่วนที่สองของหนังสือซามูเอลในคัมภีร์ฮีบรู[1] ตามธรรมเนียมของศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือซามูเอลเขึยนขึ้นโดยผู้เผยพระวจนะซามูเอลและเพิ่มเติมโดยผู้เผยพระวจนะกาดและนาธัน[2] แต่นักวิชาการยุคปัจจุบันมองว่าหนังสือซามูเอลประกอบขึ้นจากต้นฉบับที่แยกจากกันเป็นอิสระจำนวนหนึ่งของหลายช่วงเวลาตั้งแต่ราว 630–540 ปีก่อนคริสตกาล[3][4] บทที่ 1 ของ 2 ซามูเอลประกอบด้วยเรื่องที่ดาวิดคร่ำครวญต่อการสิ้นพระชนม์ของซาอูลและราชโอรสโดยเฉพาะโยนาธาน[5][6] เป็นส่วนหนึ่งของตอนที่ประกอบด้วย 1 ซามูเอล 16 ถึง 2 ซามูเอล 5 ซึ่งเล่าถึงการขึ้นสู่อำนาจของดาวิดในฐานะกษัตริย์แห่งอิสราเอล[7]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 27 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูเป็น Masoretic Text ได้แก่ Codex Cairensis (ค.ศ. 895), Aleppo Codex (ศตวรรษที่ 10) and Codex Leningradensis (ค.ศ. 1008)[8] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 4Q51 (4QSama; 100–50 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรคที่หลงเหลือคือ 4–5, 10–13[9][10][11][12]

ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ Codex Vaticanus (B; B; ศตวรรษที่ 4) และ Codex Alexandrinus (A; A; ศตวรรษที่ 5)[13][a]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม[แก้]

  • 2 ซามูเอล 1:1–10: 1 ซามูเอล 31:1–6, 1 พงศาวดาร 10:1-6[15]

สถานที่[แก้]

สถานที่ที่กล่าวถึงในบทนี้

วิเคราะห์[แก้]

เรื่องเล่าการขึ้นครองราชย์ของดาวิดในเมืองเฮโบรนใน 2 ซามูเอล 1:1-5.5 มีโครงสร้างดังต่อไปนี้:[16]

A. มองย้อนกลับไปถึงฉากสุดท้ายของ 1 ซามูเอล (1:1)
B. ดาวิดได้รับมงกุฎของซาอูล (1:2-12)
C. ดาวิดประหารผู้ปลงพระชนม์ซาอูล (1:13-16)
D. ดาวิดคร่ำครวญถึงซาอูลกับโยนาธาน (1:17-27)
E. สองกษัตริย์ในแผ่นดิน (2:1-3:6)
E'. หนึ่งกษัตริย์ในแผ่นดิน: อับเนอร์แปรพักตร์ (3:7-27)
D'. ดาวิดคร่ำครวญถึงอับเนอร์ (3:28-39)
C'. ดาวิดประหารผู้ปลงพระชนม์อิชโบเชท (4:1-12)
B'. ดาวิดสวมมงกุฎของซาอูล (5:1-3)
A'. มองไปข้างหน้าถึงรัชสมัยของดาวิดในเยรูซาเล็ม (5:4-5)

กรอบของเรื่องเล่าเกี่ยวกับการขึ้นครองราชย์ของดาวิดในเมืองเฮโบรนเริ่มด้วยวรรคเปิดที่มองย้อนกลับไปถึงบทสุดท้ายของ 1 ซามูเอล (การสิ้นพระชนม์ของซาอูลและการลี้ภัยของดาวิดในศิกลาก) และจบด้วยวรรคปิดที่มองไปข้างหน้าถึงรัชสมัยของดาวิดในเยรูซาเล็ม (2 ซามูเอล 5) การดำเนินเรื่องเริ่มด้วยการที่ดาวิดได้รับมงกุฎของซาอูลและจบลงเมื่อดาวิดได้สวมมงกุฎในที่สุด ดาวิดสั่งประหารชีวิตชาวอามาเลขผู้อ้างว่าช่วยซาอูลในการกระทำอัตวินิบาตกรรมและสั่งประหารชีิวิตคนที่ปลงพระชนม์อิชโบเชท มีบทคร่ำครวญ 2 บทที่บันทึกไว้ บทแรกสำหรับซาอูลและโยนาธาน อีกบทหนึ่งสั้นกว่าสำหรับอับเนอร์ ใจกลางของเรื่องราวเป็นสองตอนสำคัญคือการมีอยู่ของกษัตริย์ 2 พระองค์ในแผ่นดิน (ดาวิดและอิชโบเชท) เพราะทัพของโยอับไม่สามารถยึดครองอาณาเขตของซาอูลจากการทำศึกได้ แต่ปัญหาคลี่คลายเพราะอิชโบเชทท้าทายอย่างโง่เขลาต่อความภักดีของอับเนอร์ ทำให้อับเนอร์แปรพักตร์ในท้ายที่สุด เป็นผลให้อาณาจักรของซาอูลไปอยู่ภายใต้การปกครองของดาวิด[16]

ดาวิดได้ข่าวการสิ้นพระชนม์ของซาอูล (1:1–16)[แก้]

บทนี้เป็นบทสรุปเรื่องเล่าระหว่างซาอูลและดาวิด[5] เปิดเรื่องด้วยการที่ชาวอามาเลขมาแจ้งดาวิดเกี่ยวกับการสิ้นพระชนม์ของซาอูล โดยเป็นเรื่องราวที่แตกต่างไปจากใน 1 ซามูเอล 31 ไปอย่างสิ้นเชิง เพราะผู้แจ้งข่าวอ้างว่าตนเป็นผู้ปลงพระชนม์ซาอูลตามที่พระองค์ตรัสขอ แล้วเขาจึงมอบมงกุฎและกำไลพระกรของซาอูลแก่ดาวิดเป็นหลักฐาน[17] คำอธิบายที่เป็นไปได้มากที่สุดของความไม่ลงรอยกันของเรื่องราวก็คือชาวอามาเลขกำลังโกหกเพื่อจะได้เป็นที่โปรดปรานจากดาวิด เขามาพร้อม 'สวมเสื้อผ้าขาดและมีผงคลีดินอยู่บนศีรษะ' เพื่อแสดงอาการโศกเศร้า สิ่งนี้อาจะเป็นการจงใจทำเพื่อให้เรื่องราวของเขาน่าเชื่อถือ เพราะอาจเป็นไปได้ว่าเขาอาจจะบังเอิญพบพระศพของซาอูลเมื่อเขากำลังเดินเพื่อฉกฉวยของจากศพทหารที่ภูเขากิลโบอา เขาจึงถอดมงกุฎและกำไลพระกรของซาอูลออกและเห็นว่านี่เป็นโอกาสที่จะได้รับรางวัลจากว่าที่กษัตริย์พระองค์ถัดไป[17] อย่างไรก็ตาม ผู้แจ้งข่าวระบุว่าตนเป็น 'คนต่างด้าว' (gēr) ผู้ต้องถูกผูกมัดตามกฎหมายของชุมชมที่เขาอยู่ด้วย (เลวีนิติ 24:22) ดังนั้น การไม่คำนึงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของ 'ผู้ที่พระยาห์เวห์ทรงเจิมไว้' ควรถูกลงโทษด้วยความตาย[17] เรื่องเล่านี้เป็นการยืนยันอีกครั้งถึงความเคารพของดาวิดต่อผู้ที่พระยาห์เวห์ทรงเจิมไว้ และยังทำให้ดาวิดพ้นจากข้อครหาจากเหตุการณ์ที่นำไปสู่การขึ้นครองราชย์ในเวลาต่อมา นั่นคือดาวิดครอบครองมงกุฎและกำไลพระกรของซาอูลอย่างบริสุทธิ์ใจ[17][18]

วรรค 1-2[แก้]

1 ต่อมาหลังจากซาอูลสิ้นพระชนม์แล้ว เมื่อดาวิดกลับจากการโจมตีคนอามาเลข ดาวิดพักที่ศิกลากได้สองวัน 2 พอวันที่สาม นี่แน่ะ มีชายคนหนึ่งมาจากค่ายของซาอูล สวมเสื้อผ้าขาดและมีผงคลีดินอยู่บนศีรษะ เมื่อเขามาถึงดาวิด ก็ย่อตัวลงซบหน้าถึงดิน[19]
  • "ศิกลาก": เมืองในเนเกบ (มีความหมายว่า "ทิศใต้" ซึ่งก็คือพื้นที่ทางใต้ของยูดาห์) ซึ่งพระราชทานแก่ดาวิดโดยอาคีชบุตรมาโอค กษัตริย์ของเมืองกัท ดาวิดใช้เมืองศิกลากเป็นฐานที่มั่นในการรบเป็นเวลามากกว่าหนึ่งปี (1 ซามูเอล 27:5–12) 1 ซามูเอล 30:1–19 ระบุว่าศิกลากถูกชาวอามาเลขทำลายขณะเมื่อซาอูลกำลังรบกับชาวฟีลิสเตีย ดาวิดและคนของเขาจึงไล่ตามตีและสังหารชาวอามาเลขผู้โจมตีตามที่ระบุไว้ในวรรคนี้[20]
  • "สวมเสื้อผ้าขาดและมีผงคลีดินอยู่บนศีรษะ": เป็นการแสดงออกถึงความโศกเศร้า ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อข่าวร้ายในตะวันออกใกล้ยุคโบราณ[21][22]

ดาวิดคร่ำครวญถึงซาอูลกับโยนาธาน (1:17–27)[แก้]

วรรค 26[แก้]

โยนาธานพี่ชายของข้าเอ๋ย ข้าเป็นทุกข์เพื่อท่าน
ท่านเป็นที่ชื่นใจของข้ามาก
ความรักของท่านที่มีต่อข้านั้นอัศจรรย์
เหนือกว่าความรักของสตรี[23]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: 1 ซามูเอล 27, 1 ซามูเอล 31, 1 ซามูเอล 16, 2 ซามูเอล 2, 1 พงศาวดาร 10
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. หนังสือซามูเอล ฉบับที่ 1 ทั้งเล่มขาดหายไปจาก Codex Sinaiticus ที่หลงเหลืออยู่[14]

    อ้างอิง[แก้]

    1. Halley 1965, p. 184.
    2. Hirsch, Emil G. "SAMUEL, BOOKS OF". www.jewishencyclopedia.com.
    3. Knight 1995, p. 62.
    4. Jones 2007, p. 197.
    5. 5.0 5.1 Jones 2007, p. 214.
    6. Coogan 2007, p. 447Hebrew Bible.
    7. Jones 2007, p. 207.
    8. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    9. Ulrich 2010, p. 289.
    10. Dead sea scrolls - 2 Samuel
    11. Fitzmyer 2008, p. 35.
    12. 4Q51 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
    13. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    14. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    15. 2 Samuel 1 เก็บถาวร 2023-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Berean Study Bible
    16. 16.0 16.1 Morrison 2013, p. 24.
    17. 17.0 17.1 17.2 17.3 Jones 2007, p. 215.
    18. Evans 2018, p. 312.
    19. 2 ซามูเอล 1:1-2 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน (THSV11)
    20. Note [c] on 2 Samuel 1:1 in NET Bible
    21. Note [a] on 2 Samuel 1:2 in NET Bible
    22. Note on 2 Samuel 1:2 in NKJV
    23. 2 ซามูเอล 1:26 THSV11
    24. Gill, John. Exposition of the Entire Bible. "2 Samuel 1". Published in 1746-1763.

    บรรณานุกรม[แก้]

    คำอธิบายของหนังสือซามูเอล[แก้]

    ทั่วไป[แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]