2 พงศาวดาร 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2 พงศาวดาร 1
หน้าของหนังสือพงศาวดาร (1 และ 2 พงศาวดาร) ในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือพงศาวดาร
หมวดหมู่เคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์14

2 พงศาวดาร 1 (อังกฤษ: 2 Chronicles 1) เป็นบทแรกของหนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หรือส่วนที่ 2 ของหนังสือพงศาวดารในคัมภีร์ฮีบรู[1][2] หนังสือพงศาวดารรวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่เก่ากว่าโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ทราบตัวตน ซึ่งนักวิชาการสมัยใหม่เรียกว่าเป็น "ผู้เขียนหนังสือพงศาวดาร" (the Chronicler) และมีรูปร่างสุดท้ายที่ทำขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 5 หรือ 4 ก่อนคริสตกาล[3] บทที่ 1 ของ 2 พงศาวดารเป็นส่วนหนึ่งของตอนที่เน้นไปที่รัชสมัยของซาโลมอน (2 พงศาวดาร 1 ถึง 9)[1] จุดเน้นของบทนี้คือความรุ่งเรืองและความมั่งคั่งของซาโลมอน[4]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 17 วรรคในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ แต่แบ่งเป็น 18 วรรคในคัมภีร์ฮีบรู ดังการเปรียบเทียบเลขวรรคต่อไปนี้:[5]

การกำหนดเลขวรรคของ 2 พงศาวดาร 1 และ 2
ไทย/อังกฤษ ฮีบรู
1:1-17 1:1-17
2:1 1:18
2:2-18 2:1-17

บทความนี้อิงตามกำหนดเลขวรรคในคัมภีร์ไบเบิลภาษาไทยและภาษาอังกฤษของศาสนาคริสต์โดยทั่วไป

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[6]

สำเนาต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[7][a]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม[แก้]

การถวายเครื่องบูชาและการอธิษฐานของซาโลมอนที่กิเบโอน (1:1–13)[แก้]

เนื้อหาในส่วนนี้บันทึกถึงการที่ซาโลมอนเริ่มรัชสมัยของพระองค์สืบทอดจากดาวิดในสหราชาธิปไตย โดยที่ดาวิดได้ทรงเตรียมการสนับสนุนราชกิจของซาโลมอนไว้ล่วงหน้าแล้ว (1 พงศาวดาร 2529)[12] ในวรรค 3–5 ผู้เขียนหนังสือพงศาวดารพยายามกล่าวรวมสถานที่และสิ่งของสักการะที่ถูกต้องทั้งหมด ได้แก่พลับพลาที่สร้างโดยโมเสสในถิ่นทุรกันดารซึ่งตั้งอยู่ในกิเอโบน (1 พงศาวดาร 16:39; 21:29) และหีบแห่งพันธสัญญาที่ตั้งอยู่ในเต็นท์โดยดาวิดในเยรูซาเล็ม[4] ผู้เขียนหนังสือพงศาวดารตั้งใจนำเสนอ 'ชนชาติใหญ่ ซึ่งไม่สามารถจะนับหรือคำนวณได้' (1 พงศ์กษัตริย์ 3:8) ให้เป็น 'ชนชาติที่มากมายเหมือนผงคลีของแผ่นดินโลก' (วรรค 9) หมายถึงพระสัญญาที่พระเจ้าทรงทำไว้กับยาโคบ (หรือ "อิสราเอล") ในปฐมกาล 28:14 [4] การอ้างถึงพระสัญญาที่จะสร้างราชวงศ์นิรันดร์แก่ดาวิด ('ขอให้พระสัญญาของพระองค์ ที่มีต่อดาวิดเสด็จพ่อของข้าพระองค์เป็นจริง ณ บัดนี้'; เปรียบเทียบกับ 1 พงศาวดาร 17:11-12) หมายถึงวรรค 1 ซึ่งซาโลมอนได้รับการแนะนำในฐานะพระราชโอรสและผู้สืบทอดโดยชอบธรรมของดาวิดโดยการทรงเลือกของพระเจ้า[4][12]

วรรค 3[แก้]

แล้วซาโลมอนกับชุมนุมชนทั้งหมดที่อยู่กับพระองค์ขึ้นไปที่ปูชนียสถานสูง ซึ่งอยู่ที่กิเบโอนเพราะเต็นท์นัดพบของพระเจ้า ซึ่งโมเสสผู้รับใช้ของพระยาห์เวห์สร้างขึ้นในถิ่นทุรกันดารอยู่ที่นั่น[13]
  • "ปูชนียสถานสูง": หรือ "สถานนมัสการ"[14]

ความมั่งคั่งของซาโลมอน (1:14–17)[แก้]

บันทึกเกี่ยวกับความมั่งคั่งของซาโลมอนในส่วนนี้แทบจะเหมือนความในหนังสืออื่น (1 พงศ์กษัตริย์ 10:26-29)[4] ความนี้เป็นการแสดงตัวอย่างของผลสัมฤทธิ์แห่งพระสัญญาของพระเจ้าต่อซาโลมอนในกิเอโอน[15]

วรรค 17[แก้]

พวกเขานำรถรบเข้ามาจากอียิปต์ราคาคันละเท่ากับเงิน 600 เชเขล และม้าตัวละ 150 เชเขล แล้วพวกเขาก็ส่งออกไปยังบรรดากษัตริย์ของคนฮิตไทต์ และบรรดากษัตริย์ของคนซีเรีย[16]
  • "เงิน 600 เชเขล": ประมาณ 15 ปอนด์หรือ 6.9 กิโลกรัม[17]
  • "เชเขล": ประมาณ 2/5 ออนซ์หรือ 11 กรัม[18]
  • "150 เชเขล": ประมาณ 3¾ ปอนด์หรือ 1.7 กิโลกรัม[19]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: ปฐมกาล 28, อพยพ 40, 1 พงศ์กษัตริย์ 3, 1 พงศ์กษัตริย์ 10, สดุดี 45, สดุดี 72, 1 พงศาวดาร 16, 1 พงศาวดาร 29
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. หนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 ทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[8][9][10]

    อ้างอิง[แก้]

    1. 1.0 1.1 Ackroyd 1993, p. 113.
    2. Mathys 2007, p. 268.
    3. Ackroyd 1993, pp. 113–114.
    4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Mathys 2007, p. 284.
    5. หมายเหตุ [1] ของ 2 พงศาวดาร 2:1 ใน NET Bible
    6. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    7. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    8. Würthwein, Ernst (1988). Der Text des Alten Testaments (2nd ed.). Stuttgart: Deutsche Bibelgesellschaft. p. 85. ISBN 3-438-06006-X.
    9. Swete, Henry Barclay (1902). An Introduction to the Old Testament in Greek. Cambridge: Macmillan and Co. pp. 129–130.
    10. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    11. 11.0 11.1 2 Chronicles 1 Berean Study Bible. Biblehub
    12. 12.0 12.1 Coogan 2007, p. 619 Hebrew Bible.
    13. 2 พงศาวดาร 1:3 THSV11
    14. หมายเหตุของ 2 พงศาวดาร 1:3 ใน NKJV
    15. Coogan 2007, p. 620 Hebrew Bible.
    16. 2 พงศาวดาร 1:17 THSV11
    17. หมายเหตุ [a] ของ 2 พงศาวดาร 1:17 ใน MEV
    18. หมายเหตุของ 2 พงศาวดาร 1:17 ใน ESV
    19. หมายเหตุ [b] ของ 2 พงศาวดาร 1:17 ใน MEV

    บรรณานุกรม[แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]