1 พงศาวดาร 3

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
1 พงศาวดาร 3
หน้าของหนังสือพงศาวดาร (1 และ 2 พงศาวดาร) ในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือพงศาวดาร
หมวดหมู่เคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์13

1 พงศาวดาร 3 (อังกฤษ: 1 Chronicles 3) เป็นบทที่ 3 ของหนังสือพงศาวดารในคัมภีร์ฮีบรู หรือหนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 1 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] หนังสือพงศาวดารรวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่เก่ากว่าโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ทราบตัวตน ซึ่งนักวิชาการสมัยใหม่เรียกว่าเป็น "ผู้เขียนหนังสือพงศาวดาร" (the Chronicler) และมีรูปร่างสุดท้ายที่ทำขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 5 หรือ 4 ก่อนคริสตกาล[3] บทที่ 3 ของ 1 พงศาวดารประกอบด้วยลำดับพงศ์พันธุ์สายตรงของเชื้อสายของดาวิดจากยุคดาวิดถึงยุคหลังการไปเป็นเชลย แสดงถึงความเป็นไปได้ที่ราชา่ธิปไตยของราชวงศ์ดาวิดจะกลับมาสถาปนาใหม่ในเยรูซาเล็มพร้อมด้วยทายาทอันชอบธรรมหากสถานการณ์เอื้ออำนวย[4] บทนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน: (1) โอรสของดาวิด (ที่ประสูติในเฮโบรน, วรรค 1–4; ที่ประสูติในเยรูซาเล็ม, วรรค 5–9) (2) กษัตริย์ในเยรูซาเล็ม (นอกเหนือจากราชินีอาธาลิยาห์ผู้ชิงอำนาจ, วรรค 10–16) (3) ผู้สืบเชื้อสายระหว่างและหลังยุคการไปเป็นเชลย (วรรค 17–24)[4] เนื้อหาของบทนี้พร้อมด้วยบทที่ 2 และ 4 เน้นที่ไปผู้สืบเชื้อสายของยูดาห์ โดยบทที่ 2 เกี่ยวกับเผ่ายูดาห์โดยทั่วไป บทที่ 3 ระบุรายนามของบุตรของดาวิดโดยเฉพาะ และบทที่ 4 เกี่ยวกับครอบครัวอื่น ๆ ในเผ่ายูดาห์และเผ่าสิเมโอน[4] บทนี้เป็นส่วนหนึ่งของตอนที่เน้นไปที่รายการลำดับพงศ์พันธุ์ตั้งแต่อาดัมจนถึงรายนามของผู้คนที่กลับจากการไปเป็นเชลยในบาบิโลน (1 พงศาวดาร 1:1 ถึง 1 พงศาวดาร 9:34)[1]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 24 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[5]

สำเนาต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[6][a]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม[แก้]

โครงสร้าง[แก้]

ทั้งบทนี้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดลำดับที่ประกอบด้วย 1 พงศาวดาร 2:3-8:40 ได้แก่ เผ่าผู้ให้กำเนิดกษัตริย์คือเผ่ายูดาห์ (ดาวิด; 2:3–4:43) และเผ่าเบนยามิน (ซาอูล; 8:1–40) ขนาบชุดรายนามของเผ่าเลวีเผ่าของปุโรหิต (6:1–81) ยึดเป็นใจกลาง ตามลำดับต่อไปนี้:[11]

A เผ่ายูดาห์แห่งราชวงศ์ของดาวิด (2:3–4:43)
B เผ่าฟากตะวันออกของแม่น้ำจอร์แดนทางเหนือ (5:1–26)
X เผ่าเลวีแห่งปุโรหิต (6:1–81)
B' เผ่าฟากตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนทางเหนือ (7:1–40)
A' เผ่าเบนยามินแห่งราชวงศ์ซาอูล (8:1–40)[11]

การจัดลำดับที่มีศูนย์กลางอีกอย่างหนึ่งเน้นที่เผ่ายูดาห์แห่งราชวงศ์ดาวิด (2:3–4:23) โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ครอบครัวของเฮสโรนหลานของยูดาห์ ผ่านบุตรชาย 3 คนคือเยราเมเอล ราม และเคลุบัย (คาเลบ)[12] ดังต่อไปนี้:[11]

A ผู้สืบเชื้อสายของยูดาห์: เอร์ โอนัน และเช-ลาห์ (2:3–8)
B ผู้สืบเชื้อสายของรามถึงดาวิด (2:9–17)
C ผู้สืบเชื้อสายของคาเลบ (2:18–24)
D ผู้สืบเชื้อสายของเยราเมเอล (2:25–33)
D' ผู้สืบเชื้อสายของเยราเมเอล (2:34–41)
C' ผู้สืบเชื้อสายของคาเลบ (2:42–55)
B' ผู้สืบเชื้อสายของรามภายหลังจากดาวิด [ผู้สืบเชื้อสายของดาวิด] (3:1–24)
A' ผู้สืบเชื้อสายของเช-ลาห์ (4:21–23)[11]

โอรสของดาวิดที่ประสูติในเฮโบรน (3:1–4)[แก้]

ราชวงศ์ของดาวิดเป็นจุดเน้นหลักภายในลำดับพงศ์พันธุ์ขนาดใหญ่ของยูดาห์[13] เนื้อหาในส่วนนี้แทบจะเป็นเนื้อหาแบบคำต่อคำกับ 2 ซามูเอล 3:2–5[4]

วรรค 1[แก้]

ต่อไปนี้เป็นบรรดาโอรสของดาวิดประสูติให้แก่พระองค์ ในกรุงเฮโบรน อัมโนนโอรสหัวปีของพระนางอาหิโนอัม ชาวยิสเรเอล องค์ที่สองคือดาเนียล โอรสของพระนางอาบีกายิลชาวคารเมล[14]
  • "องค์ที่สองคือดาเนียล": เรียกว่า "คิเลอาบ" (כלאב ke-le-ab, มีความหมายว่า "เหมือนบิดา") ใน 2 ซามูเอล 3:3.[15] ความในเซปทัวจินต์ของ 2 ซามูเอล 3:3 อ่านว่า "Dalouia"[16] ตาร์คุมระบุว่า "องค์ที่สองคือดาเนียล ผู้มีอีกพระนามว่าคิเลอาบ เพราะพระองค์เหมือนกับพระบิดาทุกประการ" Jarchi กล่าวว่าทั้งสองพระนามตั้งให้กับบุคคลนี้เพราะดาวิดรับอาบีกายิลมาเป็นภรรยาทันทีหลังการเสียชีวิตของนาบาล จึงไม่อาจทราบได้ว่าบุตรคนนี้เป็นบุตรของดาวิดหรือของนาบาล ดาวิดจึงตั้งชื่อบุตรว่า "ดาเนียล" (דניאל, มีความหมายว่า "พระเจ้า ('El') คือการวินิจฉัยของเรา" ซึ่งบ่งบอกว่าเขาเป็นบุตรของดาวิด) และ "คิเลอาบ" ("เขาผู้เหมือนกับบิดา") เนื่องจากความคล้ายคลึงกับดาวิดอย่างเห็นได้ชัด[15]

วรรค 4[แก้]

โอรสทั้งหกประสูติให้แก่พระองค์ในกรุงเฮโบรน ที่นั่นพระองค์ทรงครองราชย์ 7 ปีกับ 6 เดือน และพระองค์ทรงครองราชย์ในกรุงเยรูซาเล็ม 33 ปี[17]

เห็นได้ชัดว่าวรรค 4 เป็นการยกมาจาก 2 ซามูเอล 5:5[4] การย้ายจากเฮโบรนมายังเยรูซาเล็มไม่ได้มีการอธิบาย โดยถือว่าผู้อ่านมีีความรู้จากเรื่องเล่าในแหล่งอื่นก่อนหน้านี้แล้ว[16]

โอรสของดาวิดที่ประสูติในเยรูซาเล็ม (3:5–9)[แก้]

เชื้อสายราชวงศ์ของดาวิด (3:10–16)[แก้]

ผู้สืบเชื้อสายของดาวิดยุคหลังการไปเป็นเชลย (3:17–24)[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: 2 ซามูเอล 5, 1 พงศ์กษัตริย์ 1, 2 พงศ์กษัตริย์ 25, 2 พงศาวดาร 36, เอสรา 1, มัทธิว 1, ลูกา 3
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่มีเพียงเนื้อหาใน 1 พงศาวดาร 9:27-19:17[7][8][9]

    อ้างอิง[แก้]

    1. 1.0 1.1 Ackroyd 1993, p. 113.
    2. Mathys 2007, p. 268.
    3. Ackroyd 1993, pp. 113–114.
    4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Mathys 2007, p. 269.
    5. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    6. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    7. Würthwein, Ernst (1988). Der Text des Alten Testaments (2nd ed.). Stuttgart: Deutsche Bibelgesellschaft. p. 85. ISBN 3-438-06006-X.
    8. Swete, Henry Barclay (1902). An Introduction to the Old Testament in Greek. Cambridge: Macmillan and Co. pp. 129–130.
    9. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    10. 10.0 10.1 10.2 Gilbert 1897, p. 280.
    11. 11.0 11.1 11.2 11.3 Throntveit 2003, p. 376.
    12. Williamson, H. G. M. "1 and 2 Chronicles" (Grand Rapids: Eerdmans, 1982) pp. 25–28. apud Throntveit 2003, p. 376.
    13. Endres 2012, p. 10.
    14. 1 พงศาวดาร 3:1 THSV11
    15. 15.0 15.1 Clarke, Adam (1832) "Commentary on 1 Chronicles 3". "The Adam Clarke Commentary". Study Light.
    16. 16.0 16.1 Tuell 2012, p. 25.
    17. 1 พงศาวดาร 3:4 THSV11

    บรรณานุกรม[แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]