ข้ามไปเนื้อหา

เบียร์ชีบา

พิกัด: 31°15′32″N 34°47′59″E / 31.25889°N 34.79972°E / 31.25889; 34.79972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เบเออร์เชบา)
เบียร์ชีบา

  • בְּאֵר שֶׁבַע
  • بئر السبع
การถอดเสียงฮีบรู
 • Also spelledBe'er-Sheva, Beer Sheva (unofficial)
จากบนซ้าย: ศาลาว่าการเบียร์ชีบา, มหาวิทยาลัยเบนกูเรียนแห่งเนเกฟ, หอศิลป์เนเกฟ, ย่านใจกลางนคร, จัตุรัสอาสาสมัคร, เบียร์ชีบาในยามค่ำคืน

Logo
เบียร์ชีบาตั้งอยู่ในประเทศอิสราเอล
เบียร์ชีบา
เบียร์ชีบา
พิกัด: 31°15′32″N 34°47′59″E / 31.25889°N 34.79972°E / 31.25889; 34.79972
Countryธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล
เขตใต้
ก่อตั้ง4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช (เทลเบียร์ชีบา)
1900 (นครใหม่)
การปกครอง
 • ประเภทนคร
 • นายกเทศมนตรีรูวิก ดานิลอวิช
พื้นที่
 • ทั้งหมด117,500 ดูนัม (117.5 ตร.กม. หรือ 45.4 ตร.ไมล์)
ความสูง260 เมตร (850 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2018)[1]
 • ทั้งหมด209,002 คน
 • ความหนาแน่น1,800 คน/ตร.กม. (4,600 คน/ตร.ไมล์)
ความหมายของชื่อเมืองบ่อน้ำแห่งความสัตย์
เว็บไซต์www.beer-sheva.muni.il

เบียร์ชีบา (ฮีบรู: בְּאֵר שֶׁבַעBe'er Sheva, อาหรับ: بئر السبع แปล บ่อน้ำแห่งความสัตย์) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเขตทะเลทรายเนเกฟทางตอนใต้ของประเทศอิสราเอล ได้รับสมญาว่าเป็น "เมืองหลวงของเนเกฟ" เบียร์ชีบาตั้งอยู่ใจกลางของเขตปริมณฑลที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศ หากนับเฉพาะเขตเมืองแล้ว เบียร์ชีบาเป็นนครที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศ ด้วยจำนวน 209,002 คน[1] และเป็นนครที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่สอง (รองจากเยรูซาเลม) ด้วยพื้นที่ 117,500 ดูนัม

หลักฐานทางประวัติศาสตร์จากคัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงพื้นที่เมืองโบราณ เทลเบียร์ชีบา ซึ่งอยู่ห่างจากเบียร์ชีบาในปัจจุบันไปประมาณ 2.5 ไมล์ นครปัจจุบันก่อตั้งในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยชาวเติร์กออตโตมัน[2] ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กองทัพบริติชได้เข้ายึดครองเมืองโดยใช้ม้าเร็วออสเตรเลียในช่วงสงครามเบียร์บีชา (1917) ต่อมาใน ค.ศ. 1947 เบียร์ชีบา หรือ บีร์เซบอา (อาหรับ: بئر السبع) ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอาหรับในแผนการแบ่งปาเลสไตน์โดยสหประชาชาติ หลังจากการประกาศเอกราชของอิสราเอล กองทัพอียิปต์ได้รวบรวมกำลังคนไว้ที่เบียร์บีชาในฐานะจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ต่อมาในสงครามเบียร์ชีบาเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1948 นครได้ถูกยึดครองโดยกองกำลังป้องกันตนเองอิสราเอล[3]

หลังจากที่อิสราเอลได้รับเอกราช นครได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชากรส่วนใหญ่ในเขตเมืองถือว่าเป็นทายาทของชาวยิวเซฟาร์ดีและชาวยิวมิซราฮีที่อพยพจากอาหรับใน ค.ศ. 1948 ต่อมาใน ค.ศ. 1990 กลุ่มอพยพลำดับที่สองและสามก็ได้ตามเข้ามา กลุ่มนี้ประกอบไปด้วยชาวยิวอัชเคนาซิที่อพยพจากสหภาพโซเวียต และชาวเบตาอิสราเอลที่อพยพจากประเทศเอธิโอเปีย ผู้อพยพจากโซเวียตได้คิดค้นหมากรุกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเกมกีฬาหลักของนคร จนทำให้นครกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาทางเทคโนโลยี ปัจจุบัน เบียร์ชีบาถือเป็นศูนย์กลางเกมหมากรุกของประเทศอิสราเอล และเนื่องด้วยในเบียร์ชีบามีเจ้าของรางวัลหมากรุกมากกว่านครแห่งอื่น ๆ ของโลก ทำให้เบียร์ชีบาได้รับขนานนามว่าเป็นเมืองหลวงหมากรุกของโลก[4]

เบียร์ชีบาเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเบนกูเรียนแห่งเนเกฟ และยังเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมล้ำสมัยของประเทศ[5]

เมืองฝาแฝด

[แก้]

เบียร์ชีบาเป็นเมืองฝาแฝดกับเมืองดังต่อไปนี้[6]

แอฟริกา

เอเชีย

ยุโรป อเมริกาเหนือ

โอเชียเนีย

อเมริกาใต้

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Population in the Localities 2018" (XLS). Israel Central Bureau of Statistics. 25 August 2019. สืบค้นเมื่อ 26 August 2019.
  2. Mildred Berman (1965). "The Evolution of Beersheba as an Urban Center". Annals of the Association of American Geographers. 55 (2): 308–326. doi:10.1111/j.1467-8306.1965.tb00520.x.
  3. Guide to Israel, Zev Vilnay, Hamakor Press, Jerusalem, 1972, pp.309–14
  4. "Beersheba Masters Kings, Knights, Pawns", Los Angeles Times, January 30, 2005
  5. "Beersheva: Israel's emerging high-tech hub - Globes English".
  6. "International Relations of the City of Beersheba" (ภาษาฮิบรู). Beersheba Municipality. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 13, 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-02-08.
  7. "Villes amies de Bouaké" [Twin towns with Bouaké] (ภาษาฝรั่งเศส). mairiebke.e-monsite.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 20, 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-08-20.
  8. "Partner Cities of Lyon and Greater Lyon". copyright 2008 Mairie de Lyon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 19, 2009. สืบค้นเมื่อ 2008-10-21.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Thareani-Sussely, Yifat (2007). "The 'Archaeology of the Days of Manasseh' Reconsidered in the Light of Evidence From The Beersheba Valley". Palestine Exploration Quarterly. 139 (2): 69–77. doi:10.1179/003103207x194091.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

คู่มือการท่องเที่ยว Beer Sheva จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)