2 ซามูเอล 6

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2 ซามูเอล 6
หน้าของหนังสือซามูเอล (1 และ 2 ซามูเอล) ใน Leningrad Codex (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู3
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคต้น
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์10

2 ซามูเอล 6 (อังกฤษ: 2 Samuel 6) เป็นบทที่ 6 ของหนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หรือส่วนที่สองของหนังสือซามูเอลในคัมภีร์ฮีบรู[1] ตามธรรมเนียมของศาสนายูดาห์เชื่อว่าหนังสือซามูเอลเขึยนขึ้นโดยผู้เผยพระวจนะซามูเอลและเพิ่มเติมโดยผู้เผยพระวจนะกาดและนาธัน[2] แต่นักวิชาการยุคปัจจุบันมองว่าหนังสือซามูเอลประกอบขึ้นจากต้นฉบับที่แยกจากกันเป็นอิสระจำนวนหนึ่งของหลายช่วงเวลาตั้งแต่ราว 630–540 ปีก่อนคริสตกาล[3][4] บทที่ 6 ของ 2 ซามูเอลประกอบด้วยเรื่องราวรัชสมัยดาวิดในเยรูซาเล็ม[5][6] เป็นส่วนหนึ่งของตอนที่ประกอบด้วย 2 ซามูเอล 28 ซึ่งเล่าถึงยุคทีดาวิดก่อตั้งอาณาจักร[7]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 23 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูเป็น Masoretic Text ได้แก่ Codex Cairensis (ค.ศ. 895), Aleppo Codex (ศตวรรษที่ 10) and Codex Leningradensis (ค.ศ. 1008)[8] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 4Q51 (4QSama; 100–50 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีวรรคที่หลงเหลือคือ 2–18[9][10][11][12]

ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ Codex Vaticanus (B; B; ศตวรรษที่ 4) และ Codex Alexandrinus (A; A; ศตวรรษที่ 5)[13][a]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม[แก้]

  • 2 ซามูเอล 6:1–11: 1 พงศาวดาร 13:1–14[15]
  • 2 ซามูเอล 6:12-23: 1 พงศาวดาร 15:1-29; 1 พงศาวดาร 16:1-3[15]

สถานที่[แก้]

สถานที่ที่กล่าวถึงในบทนี้

วิเคราะห์[แก้]

บทนี้มีโครงสร้างดังต่อไปนี้:[16]

A. ดาวิดรวบรวมประชาชนเพื่อนำหีบแห่งพันธสัญญา: การเฉลิมฉลองเริ่มต้น (6:1–5)
B. บทคั่น: การเสียชีวิตของอุสซาห์ การเฉลิมฉลองถูกระงับ (6:6–11)
C. หีบแห่งพันธสัญญาเข้านครดาวิด: ความยินดีและเครื่องบูชา (6:12–15)
B'. บทคั่น: มีคาลดูหมิ่นดาวิด (6:16)
A'. การรับหีบแห่งพันธสัญญา: ดาวิดอวยพรประชาชนและประชาชนกลับไปบ้าน (6:17–19)
บทส่งท้าย การเผชิญหน้าระหว่างมีคาลและดาวิด (6:20–23)

ศูนย์กลางของเรื่องเล่าคือการเข้ามาในนครดาวิดของหีบแห่งพันธสัญญาพร้อมด้วยพิธีการทางศาสนาอย่างเหมาะสม บทสรุป (A') คือการที่ดาวิดอวยพรประชาชนใน "ในพระนามของพระยาห์เวห์จอมทัพ" (วรรค 18) ซึ่งเคยกล่าวถึงเมื่อจุดเริ่มต้นของการเฉลิมฉลอง (A; วรรค 2) โครงสร้าง A C A' เปี่ยมด้วย 'ภาษาเฉลิมฉลอง' ซึ่งไม่ปรากฏใน 'บทคั่น' และ 'บทส่งท้าย'[16]

การนำหีบแห่งพันธสัญญา (6:1–11)[แก้]

หีบแห่งพันธสัญญาเข้าเยรูซาเล็ม (6:12–23)[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: 1 ซามูเอล 4, 1 ซามูเอล 5, 1 ซามูเอล 6, 1 ซามูเอล 7, 1 พงศาวดาร 12, 1 พงศาวดาร 13, 1 พงศาวดาร 15, 1 พงศาวดาร 16, สดุดี 132
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. หนังสือซามูเอล ฉบับที่ 1 ทั้งเล่มขาดหายไปจาก Codex Sinaiticus ที่หลงเหลืออยู่[14]

    อ้างอิง[แก้]

    1. Halley 1965, p. 184.
    2. Hirsch, Emil G. "SAMUEL, BOOKS OF". www.jewishencyclopedia.com.
    3. Knight 1995, p. 62.
    4. Jones 2007, p. 197.
    5. Jones 2007, p. 216.
    6. Coogan 2007, p. 450 Hebrew Bible.
    7. Jones 2007, p. 215.
    8. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    9. Ulrich 2010, pp. 297–298.
    10. Dead sea scrolls - 2 Samuel
    11. Fitzmyer 2008, p. 35.
    12. 4Q51 at the Leon Levy Dead Sea Scrolls Digital Library
    13. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    14. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    15. 15.0 15.1 2 Samuel 6 เก็บถาวร 2023-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Berean Study Bible
    16. 16.0 16.1 Morrison 2013, p. 81.

    บรรณานุกรม[แก้]

    คำอธิบายของหนังสือซามูเอล[แก้]

    ทั่วไป[แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]