1 พงศ์กษัตริย์ 11
1 พงศ์กษัตริย์ 11 | |
---|---|
หน้าของหนังสือพงศ์กษัตริย์ (1 และ 2 พงศ์กษัตริย์) ใน Leningrad Codex (ค.ศ. 1008) | |
หนังสือ | หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 |
ภาคในคัมภีร์ฮีบรู | เนวีอีม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู | 4 |
หมวดหมู่ | ผู้เผยพระวจนะยุคต้น |
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | พันธสัญญาเดิม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | 11 |
1 พงศ์กษัตริย์ 11 (อังกฤษ: 1 Kings 11) เป็นบทที่ 11 ของหนังสือพงศ์กษัตริย์ในคัมภีร์ฮีบรู หรือหนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] หนังสือพงศ์กษัตริย์เป็นการรวบรวมจดหมายเหตุต่าง ๆ ที่บันทึกถึงพระราชกิจของกษัตริย์แห่งอิสราเอลและยูดาห์โดยผู้เรียบเรียงประวัติศาสตร์สายเฉลยธรรมบัญญัติในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล โดยมีส่วนผนวกเพิ่มเข้ามาในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล[3] บทที่ 11 ของ 1 พงศ์กษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งของตอนที่เน้นไปที่การปกครองของซาโลมอนเหนืออาณาจักรยูดาห์และอิสราเอลที่รวมเป็นหนึ่งเดียว (1 พงศ์กษัตริย์ 1 ถึง 11)[4] จุดเน้นของบทนี้คือความเสื่อมและการสิ้นพระชนม์ของซาโลมอน[5]
ต้นฉบับ
[แก้]บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 43 วรรคตั้งแต่ศตวรรษที่ 16
พยานต้นฉบับ
[แก้]บางต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูเป็น Masoretic Text ได้แก่ Codex Cairensis (ค.ศ. 895), Aleppo Codex (ศตวรรษที่ 10) and Codex Leningradensis (ค.ศ. 1008)[6]
ต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ Codex Vaticanus (B; B; ศตวรรษที่ 4) และ Codex Alexandrinus (A; A; ศตวรรษที่ 5)[7][a]
การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม
[แก้]- 1 พงศ์กษัตริย์ 11:41–43: 2 พงศาวดาร 9:29–31[9]
เหล่ามเหสีของซาโลมอนและการนับถือรูปเคารพ (11:1–8)
[แก้]การที่ซาโลมอนสมรสกับมเหสีหลายคนอาจไม่ถือว่าผิดจริยธรรมในยุคนั้น โดยเฉพาะเมื่อเป็นการแต่งงานด้วยเหตุผลทางการทูต แต่ก็ไม่อาจเป็นที่ยอมรับในแง่คำสอนในโทราห์ (เทียบกับเฉลยธรรมบัญญัติ 17:17)[5] เรื่องราวนี้เน้นไปที่ประเด็นถกเถียงทางศาสนามากกว่าทางจริยธรรมเกี่ยวกับการมีภรรยาชาวต่างชาติ ด้วยลักษณะที่คล้ายกับความในคัมภีร์ช่วงหลังการไปเป็นเชลย (เอสรา 10; เนหะมีย์ 10) มองว่าภรรยาชาวต่างชาติเหล่านี้เป็นสิ่งยั่วใจที่คุกคามความภักดีต่อพระเจ้าของอิสราเอล[5] ซาโลมอนประทานสิ่งที่คล้ายกับสิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนาของชนกลุ่มน้อยในสมัยใหม่แก่เหล่ามเหสี แต่พระองค์ทรงทำเกินเลยไปจนกลายเป็นทำบาปร้ายแรงต่อพระยาห์เวห์ นำไปสู่ผลที่ตามมาอย่างร้ายแรง[5]
การทรงสำแดงของพระเจ้า (11:9–13)
[แก้]เหตุเพราะพระทัยของซาโลมอน "ได้หันไปจากพระยาห์เวห์" ซาโลมอนจึงฝ่าฝืนพระบัญญัติข้อแรกจึงต้องเผชิญกับการสูญเสียอำนาจ แต่พระยาห์เวห์ยังทรงเห็นแก่ความดีของดาวิดจึงเลื่อนการลงโทษออกไป โดยผู้สืบเชื้อสายของซาโลมอนจะเหลืออาณาจักรที่มีขนาดเล็กลง[5][10]
วรรค 13
[แก้]- อย่างไรก็ดี เราจะไม่ฉีกอาณาจักรเสียทั้งหมด แต่เราจะให้เผ่าหนึ่งแก่บุตรชายของเจ้า เพื่อเห็นแก่ดาวิดผู้รับใช้ของเรา และเพื่อเห็นแก่เยรูซาเล็มซึ่งเราได้เลือกไว้[11]
- "ให้เผ่าหนึ่ง": หมายถึง "เผ่ายูดาห์" ซึ่งภายหลังกลายเป็นชื่อของราชอาณาจักรด้านใต้[12] อย่างไรก็ตาม เผ่าเบนยามินก็สามารถนับรวมไว้ ณ ที่นี่ได้เช่นกัน เนื่องจากความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเผ่ายูดาห์และมีทรัพย์สินร่วมกันในเยรูซาเล็ม (รวมไปถึงพระวิหาร) เพราะเมืองนี้เดิมเป็นของชาวเยบุสซึ่งต่อมาถูกพิชิตโดยดาวิด แต่ดินแดนทางเหนือของหุยเขาฮินโนมทั้งหมดแท้จริงแล้วอยู่ในอาณาเขตของเผ่าเบนยามิน[12] ผู้เผยพระวจนะอาหิยาห์ใช้รูปแบบคำเดียวกันนี้ (1 พงศ์กษัตริย์ 11:32) เมื่อพูดกับเยโรโบอัม หลังฉีกเสื้อคลุมใหม่ของตนออกเป็น 12 ชิ้นและมอบให้เยโรโบอัม 10 ชิ้น[12][13]
บรรดาศัตรูของซาโลมอน (11:14–40)
[แก้]ความไม่ซื่อสัตย์ของซาโลมอนต่อพระเจ้าส่งผลทำให้เกิด 'ศัตรู' (ภาษาฮีบรู: ซาตาน) ต่อต้านพระองค์ในรูปของ 3 บุคคลที่แตกต่างกัน ได้แก่ ฮาดัดเชื้อกษัตริย์แห่งเอโดม (วรรค 14–22), เรโซนบุตรของเอลียาดา (วรรค 23–25) และเยโรโบอัมบุตรเนบัท (วรรค 26–40)[5] เรื่องราวนี้ระบุอย่างชัดเจนว่าพระเจ้าเป็นผู้ริเริ่มให้เกิดศัตรูเหล่านี้ (วรรค 14, 23 รวมถึง 29–33)[5] ประวัติโดยย่อของศัตรูแต่ละคนที่นำเสนอในเรื่องราวนั้นมีความคล้ายคลึงกับในประวัติศาสตร์ยุคก่อนหน้าของอิสราเอล[14]
ประวัติของฮาดัดเชื้อกษัตริย์แห่งเอโดมสะท้อนถึงประวัติศาสตร์การย้ายถิ่นของครอบครัวยาโคบไปยังอียิปต์และเรื่องราวการอพยพ:[14]
เหตุการณ์ | ฮาดัด | ครอบครัวของยาโคบ |
---|---|---|
ย้ายไปอียิปต์ | เนื่องจากการยึดครองเอโดมโดยอิสราเอลที่นำโดยดาวิดและโยอาบ (11:14–15) | เนื่องจากการกันดารอาหาร |
การปฏิบัติอย่างกรุณาจากฟาโรห์ | ประทานบ้าน อาหาร และที่ดิน (11:18) | ประทานดินแดนอันอุดมสมบูรณ์แห่งโกเชน |
สมรสเข้าราชวงศ์ | ประทานน้องสาวของพระราชินีให้เป็นภรรยา (11:19) | โยเซฟได้บุตรสาวของมหาปุโรหิตเป็นภรรยา |
บุตรชายท่ามกลางบุตรของฟาโรห์ | เกนูบัท (11:20) | โมเสส |
ออกจากอียิปต์ | หาทางกลับไป (11:21–22) | การอพยพโดยการนำของโมเสส |
ฮาดัดกล่าวถึงความต้องการจะกลับไปเอโดมของตนโดยใช้ 'ภาษาหนังสืออพยพ' ว่า "ขอให้ข้าพระบาทไปเถิด" (อิงจากกริยาเดียวกันในภาษาฮีบรูว่า shalakh)[14]
ประวัติของเรโซนบุตรของเอลียาดาแห่งดามัสกัส (11:23–25) ก็ขนานกันกับประวัติศาสตร์ของดาวิดกษัตริย์แห่งอิสราเอล[15]
เหตุการณ์ | เรโซน | ดาวิด |
---|---|---|
หนีจากเจ้านาย | จากฮาดัดเอเซอร์ (11:23) | จากซาอูล |
รวบรวมผู้คน | กลายเป็นหัวหน้ากองปล้น (11:24) | กลายเป็นผู้นำของผู้คนในถิ่นทุรกันดาร |
กลายเป็นกษัตริย์ | ขึ้นครองราชย์ที่ดามัสกัสในซีเรีย (11:25) | ได้รับการเจิมตั้งให้ขึ้นครองราชย์ที่เฮโบรนและภายหลังที่เยรูซาเล็ม |
เยโรโบอัมบุตรเนบัท ศัตรูคนที่ 3 ของซาโลมอน มาจากทางเหนือของอิสราเอล บ่งบอกว่ามาจากกลุ่มแรงงานเกณฑ์ในเอฟราอิม[5] ความคู่ขนานของประวัติของเยโรโบอัมกับประวัติของดาวิดเป็นดังนี้:[16]
เหตุการณ์ | เยโรโบอัม | ดาวิด |
---|---|---|
นักรบผู้กล้าหาญ | สามารถเป็นบุคคลสำคัญของราชสำนัก (11:28) | ชนะยุทธการที่รบกับชาวฟีลิสเตีย |
ช่วงต้นชีวิตรับใช้เจ้านายอย่างซื่อสัตย์ | รับใช้ซาโลมอน (11:28) | รับใช้ซาอูล |
ได้รับพระวจนะโดยผู้เผยพระวจนะ | พบกับผู้เผยพระวจนะอาหิยาห์แห่งชิโลห์ (11:29–39) | ได้รับการเจิมตั้งโดยผู้เผยพระวจนะซามูเอลผู้ได้รับการเลี้ยงดูจากปุโรหิตเอลีแห่งชิโลห์ |
ฉีกเสื้อคลุม | อาหิยาห์ฉีกเสื้อคลุมของตนและมอบให้เยโรโบอัม (11:30) | ซาอูลฉีกเสื้อคลุมของซามูเอล (1 ซามูเอล 15:27) |
ถูกคุกคามในฐานะผู้มีสิทธิ์ชิงบัลลังก์ | ซาโลมอนหาทางสังหารเยโรโบอัม (11:40) | ซาอูลหาทางสังหารดาวิด |
พระสัญญาของพระเจ้า | แก่เยโรโบอัม (11:38–39) | แก่ดาวิด |
อาหิยาห์ชาวชิโลห์ปรากฏในฐานะผู้สนับสนุนเยโรโบอัมในเรื่องราวนี้ แต่เขาจะกลายเป็นศัตรูของเยโรโบอัมใน 1 พงศ์กษัตริย์ 14:1-18[17]
ซาโลมอนสิ้นพระชนม์ (11:41–43)
[แก้]นี่เป็นครั้งแรกที่ใช้รูปแบบสรุปรัชสมัยโดยทั่วไปในหนังสือพงศ์กษัตริย์[18] ผู้เขียนพงศาวดารกล่าวถึง 'หนังสือพระราชกิจของซาโลมอน' ว่าเป็นแหล่งข้อมูล ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของจดหมายเหตุหลวง[19]
วรรค 42
[แก้]- และเวลาที่ซาโลมอนทรงครองราชย์ในกรุงเยรูซาเล็มเหนืออิสราเอลทั้งสิ้นนั้นคือ 40 ปี[20]
- "40 ปี": ตามลำดับเหตุการณ์ของ Edwin R. Thiele รัชสมัยของซาโลมอนเริ่มต้นหลังการสิ้นพระชนม์ของดาวิดระหว่างเดือนกันยายน 972 ปีก่อนคริสตกาลและกันยายน 971 ปีก่อนคริสตกาล จนกระทั่งการสิ้นพระชนม์ของซาโลมอนระหว่างเดือนกันยายน 931 ปีก่อนคริสตกาลและเมษายน 930 ปีก่อนคริสตกาล[21]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ หนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 1 ทั้งเล่มขาดหายไปจาก Codex Sinaiticus ที่หลงเหลืออยู่[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Halley 1965, p. 190.
- ↑ Collins 2014, p. 288.
- ↑ McKane 1993, p. 324.
- ↑ Dietrich 2007, p. 234.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 Dietrich 2007, p. 240.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 35–37.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 73–74.
- ↑ This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
- ↑ 1 Kings 11, Berean Study Bible
- ↑ Coogan 2007, p. 510 Hebrew Bible.
- ↑ 1 พงศ์กษัตริย์ 11:13 THSV11
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Cambridge Bible for Schools and Colleges. 1 Kings 11. Accessed 28 April 2019.
- ↑ Barnes, Albert. Notes on the Bible - 1 Kings 11. James Murphy (ed). London: Blackie & Son, 1884. Reprint, Grand Rapids: Baker Books, 1998.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Leithart 2006, p. 87.
- ↑ Leithart 2006, pp. 87–88.
- ↑ Leithart 2006, p. 88.
- ↑ Dietrich 2007, pp. 240–241.
- ↑ Dietrich 2007, p. 241.
- ↑ Coogan 2007, p. 512 Hebrew Bible.
- ↑ 1 พงศ์กษัตริย์ 11:42 THSV11
- ↑ McFall 1991, no. 1.
บรรณานุกรม
[แก้]- Collins, John J. (2014). "Chapter 14: 1 Kings 12 – 2 Kings 25". Introduction to the Hebrew Scriptures. Fortress Press. pp. 277–296. ISBN 978-1451469233.
- Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 978-0195288810.
- Dietrich, Walter (2007). "13. 1 and 2 Kings". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 232–266. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4.
- Hayes, Christine (2015). Introduction to the Bible. Yale University Press. ISBN 978-0300188271.
- Leithart, Peter J. (2006). 1 & 2 Kings. Brazos Theological Commentary on the Bible. Brazos Press. ISBN 978-1587431258.
- McFall, Leslie (1991), "Translation Guide to the Chronological Data in Kings and Chronicles" (PDF), Bibliotheca Sacra, 148: 3-45, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2003-08-07
- McKane, William (1993). "Kings, Book of". ใน Metzger, Bruce M; Coogan, Michael D (บ.ก.). The Oxford Companion to the Bible. Oxford University Press. pp. 409–413. ISBN 978-0195046458.
- Metzger, Bruce M; Coogan, Michael D, บ.ก. (1993). The Oxford Companion to the Bible. Oxford University Press. ISBN 978-0195046458.
- Thiele, Edwin R., The Mysterious Numbers of the Hebrew Kings, (1st ed.; New York: Macmillan, 1951; 2d ed.; Grand Rapids: Eerdmans, 1965; 3rd ed.; Grand Rapids: Zondervan/Kregel, 1983). ISBN 9780825438257
- Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คำแปลในศาสนายูดาห์:
- Melachim I - I Kings - Chapter 11 (Judaica Press). Hebrew text and English translation [with Rashi's commentary] at Chabad.org
- คำแปลในศาสนาคริสต์:
- Online Bible at GospelHall.org (ESV, KJV, Darby, American Standard Version, Bible in Basic English)
- 1 Kings chapter 11. Bible Gateway
- 1 พงศ์กษัตริย์ 11. YouVersion