มัคคาบี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้สืบเชื้อสายของมัทธาธีอัส

มัคคาบี (อังกฤษ: Maccabees หรือ Machabees /ˈmækəbz/; (ฮีบรู: מַכַּבִּים, Makkabbīm หรือ מַקַבִּים, Maqabbīm; ละติน: Machabaei หรือ Maccabaei; กรีกโบราณ: Μακκαβαῖοι, Makkabaioi) เป็นกลุ่มนักรบกบฏชาวยิวที่ยึดครองแคว้นยูเดียซึ่งเวลานั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิซิลูซิด [1][2] กลุ่มมัคคาบีก่อตั้งราชวงศ์ฮัสโมเนียนซึ่งปกครองระหว่าง 167 ถึง 37 ปีก่อนคริสตกาล[3] โดยเป็นราชอาณาจักรที่มีเอกราชสมบูรณ์ตั้งแต่ 104 ถึง 63 ปีก่อนคริสตกาล กลุ่มมัคคาบีฟื้นฟูศาสนาของชาวยิว ขยายเขตแดนของยูเดียด้วยการพิชิต และลดอิทธิพลของวัฒนธรรมกรีก

ศัพทมูล[แก้]

ชื่อมัคคาบี[4] มักถูกใช้เป็นคำพ้องความหมายของราชวงศ์ฮัสโมเนียนทั้งหมด แต่ที่ถูกต้องจริง ๆ คำว่ามัคคาบีนั้นหมายถึงยูดาสมัคคาบีและพี่ชายน้องชาย 4 คน ชื่อมัคคาบีเป็นฉายาของยูดาส[5] รวมไปถึงคนรุ่นหลังที่ไม่ใช่ผู้สืบเชื้อสายโดยตรงของยูดาส คำอธิบายหนึ่งเกี่ยวกับที่มาของชื่อนี้คือมาจากภาษาแอราเมอิก maqqəḇa ที่มีความหมายว่า "ค้อน" สะท้อนถึงความดุดันในการรบของยูดาส[6] คำอธิบายของชาวยิวดั้งเดิมระบุว่าชื่อมัคคาบี (ฮีบรู: מכבים Machabi) เป็นอักษรย่อของวรรคในโทราห์ซึ่งเป็นเสียงร้องในการต่อสู้ของมัคคาบี "Mi chamocha ba'elim YHWH" , "ข้าแต่พระยาห์เวห์ ในบรรดาพระต่างๆ องค์ไหนจะเป็นเหมือนพระองค์เล่า?"[7][8] เช่นเดียวกับอักษรย่อของ "Matityahu haKohen ben Yochanan" (มัทธาธีอัสปุโรหิต บุตรของยอห์น) วรรคในโทราห์ที่สัมพันธ์กันคือ อพยพ 15:11 บทเพลงของโมเสสและวงศ์วานอิสราเอลริมทะเล[7] อ้างอิงถึง elim โดยมีแนวคิดทางโลกเกี่ยวกับพลังธรรมชาติ พลังแห่งสวรรค์ สงคราม และอำนาจปกครอง นักวิชาและกวี Aaron Kaminka แย้งว่าชื่อมัคคาบีเป็นการวิบัติจากชื่อมัคบันนัย นักรบชั้นนำในทัพขอกษัตริย์ดาวิด[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Cohn, Marc (2007). The Mathematics of the Calendar. Lulu.com. p. 60. ISBN 978-1430324966.
  2. Fischer-Lichte, Erika (2005). Theatre, Sacrifice, Ritual: Exploring Forms of Political Theatre. Routledge. pp. 195. ISBN 978-0415276757.
  3. Wessels, Anton; Jansen, Henry; Hofland, Lucy (2020). The Grand Finale: The Apocalypse in the Tanakh, the Gospel, and the Qur'an. Wipf and Stock Publishers. p. 150. ISBN 978-1-7252-7601-7. The Hasmonean dynasty ruled Judea from the Maccabean revolt in 167 BC until 37 BC.
  4. ภาษาละติน: Maccabaeus; ภาษากรีก: Μακκαβαῖος Makkabaios; จากภาษาฮีบรู maqqeb et, "ค้อน" (พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด).
  5. ดู 1 มัคคาบี 2:4
  6. Herbermann, Charles, บ.ก. (1913). "The Machabees" . สารานุกรมคาทอลิก. New York: Robert Appleton Company.
  7. 7.0 7.1 Scherman, Nosson, บ.ก. (1998). Tanakh = Tanach : Torah, Neviʼim, Ketuvim : the Torah, Prophets, Writings : the twenty-four books of the Bible, newly translated and annotated (1st student size ed., Stone ed.). Brooklyn, N.Y.: Mesorah Publications. pp. 171–172. ISBN 1578191092.
  8. อพยพ 15:11
  9. "What does "Maccabee" mean? – Ask the Rabbi". Oztorah.com. สืบค้นเมื่อ 2013-07-29.

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

  • Bickerman, Elias J. 1979. The God of the Maccabees: Studies on the Meaning and Origin of the Maccabean Revolt. Leiden, The Netherlands: Brill.
  • Cohen, Shaye J. D. 1987. From the Maccabees to the Mishnah. Philadelphia: Westminster.
  • Grabbe, Lester L. 2010. An Introduction to Second Temple Judaism: History and Religion of the Jews in the Time of Nehemiah, the Maccabees, Hillel, and Jesus. London: T & T Clark.
  • Harrington, Daniel J. 1988. The Maccabean Revolt: Anatomy of a Biblical Revolution. Wilmington, Delaware: Michael Glazier.
  • Johnson, Sara Raup. 2004. Historical Fictions and Hellenistic Jewish Identity: Third Maccabees In Its Cultural Context. Berkeley: University of California Press.
  • Stewart, Tyler A. (18 April 2017). "Jewish Paideia: Greek Education in the Letter of Aristeas and 2 Maccabees". Journal for the Study of Judaism. 48 (2): 182–202. doi:10.1163/15700631-12340146. JSTOR 26551205.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]