2 พงศาวดาร 6

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
2 พงศาวดาร 6
หน้าของหนังสือพงศาวดาร (1 และ 2 พงศาวดาร) ในฉบับเลนินกราด (ค.ศ. 1008)
หนังสือหนังสือพงศาวดาร
หมวดหมู่เคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์14

2 พงศาวดาร 6 (อังกฤษ: 2 Chronicles 6) เป็นบทที่ 6 ของหนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หรือส่วนที่ 2 ของหนังสือพงศาวดารในคัมภีร์ฮีบรู[1][2] หนังสือพงศาวดารรวบรวมจากแหล่งข้อมูลที่เก่ากว่าโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ทราบตัวตน ซึ่งนักวิชาการสมัยใหม่เรียกว่าเป็น "ผู้เขียนหนังสือพงศาวดาร" (the Chronicler) และมีรูปร่างสุดท้ายที่ทำขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 5 หรือ 4 ก่อนคริสตกาล[3] บทที่ 6 ของ 2 พงศาวดารเป็นส่วนหนึ่งของตอนที่เน้นไปที่รัชสมัยของซาโลมอน (2 พงศาวดาร 1 ถึง 9)[1] จุดเน้นของบทนี้คือคำอธิษฐานและพระดำรัสของซาโลมอนที่พิธีการถวายพระวิหาร[4]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 42 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[5]

สำเนาต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[6][a]

การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม[แก้]

  • 2 พงศาวดาร 6:1–11: 1 พงศ์กษัตริย์ 8:12–21<[10]
  • 2 พงศาวดาร 6:12–42: 1 พงศ์กษัตริย์ 8:22–53[10]

ซาโลมอนสรรเสริญพระยาห์เวห์ (6:1–11)[แก้]

ส่วนแรกของบทนี้เริ่มต้นด้วยการสรรเสริญพระเจ้า ตามด้วยพระดำรัสของซาโลมอนเกี่ยวกับการที่พระเจ้าทรงเลือกเยรูซาเล็มและดาวิดสำหรับการสร้างพระวิหาร ซึ่งพระสัญญาที่พระเจ้าทรงมีกับดาวิดเกี่ยวกับพระวิหาร (1 พงศาวดาร 17:1–15) ได้กลายเป็นจริงแล้ว[11][12]

วรรค 1[แก้]

แล้วซาโลมอนตรัสว่า
"พระยาห์เวห์ตรัสว่า 'พระองค์จะประทับในความมืดทึบ'"[13]

สำนวนฮีบรูที่ว่าพระเจ้า 'จะประทับในความมืดทึบ' เชื่อมโยงกับการสำแดงพระองค์ของพระเจ้าบนภูเขาซีนาย (อพยพ 20:21; เฉลยธรรมบัญญัติ 4:11; 5:22)[11]

วรรค 11[แก้]

"ข้าพเจ้าได้วางหีบไว้ที่นั่น พันธสัญญาของพระยาห์เวห์ ซึ่งทรงทำไว้กับคนอิสราเอลอยู่ในหีบนั้น"[14]

ผู้เขียนหนังสือพงศาวดารให้ภาพของดาวิดที่เกี่ยวข้องกับโมเสสชัดเจนขึ้น ที่สำคัญที่สุดในวรรคนี้คือสามจุดที่ผู้เขียนพงศาวดารนำออกหรือปรับเปลี่ยนการอ้างถึงการอพยพที่บรรยายในหนังสือซามูเอลและพงศ์กษัตริย์ (1 พงศ์กษัตริย์ 8:21):[15]

เปรีบเทียบในต้นฉบับเมโซเรติกและพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน (THSV11)
1 พงศ์กษัตริย์ 8:21 2 พงศาวดาร 6:11
ארוןמקום ל ואשם שם

אשר־שם ברית יהוה
אבתינו־אשר כרת עם
בהוציאו אתם מארץ מצרים

ארוןאת־ה ואשים שם

אשר־שם ברית יהוה
בני ישראל־אשר כרת עם
 

ที่นั่นข้าพเจ้าได้กำหนดที่วางหีบ

และภายในหีบบรรจุพันธสัญญา
ที่พระยาห์เวห์ทรงทำกับบรรพบุรุษของเรา
เมื่อทรงนำพวกเขาออกจากแผ่นดินอียิปต์

ข้าพเจ้าได้วางหีบไว้ที่นั่น

พันธสัญญาของพระยาห์เวห์
ซึ่งทรงทำไว้กับคนอิสราเอลอยู่ในหีบนั้น
 

คำอธิษฐานของซาโลมอนเพื่อถวายพระวิหาร (6:12–42)[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: อพยพ 25, อพยพ 26, เลวีนิติ 24, กันดารวิถี 8, 1 พงศ์กษัตริย์ 6, 1 พงศ์กษัตริย์ 7, 1 พงศ์กษัตริย์ 8, 2 พงศ์กษัตริย์ 16, 1 พงศาวดาร 28, สดุดี 132
  • หมายเหตุ[แก้]

    1. หนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 ทั้งเล่มขาดหายไปจากฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus) ที่หลงเหลืออยู่[7][8][9]

    อ้างอิง[แก้]

    1. 1.0 1.1 Ackroyd 1993, p. 113.
    2. Mathys 2007, p. 268.
    3. Ackroyd 1993, pp. 113–114.
    4. Mathys 2007, p. 285.
    5. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    6. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    7. Würthwein, Ernst (1988). Der Text des Alten Testaments (2nd ed.). Stuttgart: Deutsche Bibelgesellschaft. p. 85. ISBN 3-438-06006-X.
    8. Swete, Henry Barclay (1902). An Introduction to the Old Testament in Greek. Cambridge: Macmillan and Co. pp. 129–130.
    9. This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
    10. 10.0 10.1 2 Chronicles 6 Berean Study Bible. Biblehub
    11. 11.0 11.1 Mathys 2007, p. 286.
    12. Coogan 2007, p. 625 Hebrew Bible.
    13. 2 พงศาวดาร 6:1 THSV11
    14. 2 พงศาวดาร 6:11 THSV11
    15. Throntveit 2003, p. 376.

    บรรณานุกรม[แก้]

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]