อับซาโลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อับซาโลม
เจ้าชายแห่งอิสราเอล
มรณกรรมของอับซาโลม (Corrado Giaquinto, 1762)
ประสูติเฮโบรน ยูดาห์ อิสราเอล
สวรรคตป่าเอฟราอิม อิสราเอล
ฝังพระศพป่าเอฟราอิม อิสราเอล
พระราชบุตร
4+ คน[1]
  • โอรส 3 พระองค์[1]
  • ทามาร์[1]
ราชสกุลราชวงศ์ดาวิด
พระราชบิดาดาวิด
พระราชมารดามาอาคาห์พระราชธิดาของทัลมัย

อับซาโลม (อังกฤษ: Absalom; ฮีบรู: אַבְשָׁלוֹם ʾAḇšālōm, "บิดาของสันติภาพ") เป็นราชโอรสองค์ที่ 3 ของดาวิดกษัตริย์แห่งอิสราเอลและมาอาคาห์พระราชธิดาของทัลมัยกษัตริย์แห่งเกชูร์[2]

2 ซามูเอล 14:25 ระบุว่าอับซาโลมเป็นชายที่รูปงามที่สุดในอาณาจักร[3] ท้ายที่สุดอับซาโลมก่อกบฏต่อพระบิดาของพระองค์เองและถูกปลงพระชนม์ระหว่างยุทธการที่ป่าเอฟราอิม[4]

เรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิล[แก้]

ภูมิหลัง[แก้]

งานเลี้ยงของอับซาโลม เชื่อว่าเป็นผลงานของ Niccolò de Simone ราว ค.ศ. 1650

อับซาโลมเป็นราชโอรสองค์ที่ 3 ของดาวิดที่เกิดกับมาอาคาห์ ทรงประสูติในเฮโบรน[5] เมื่อยังทรงพระเยาว์ อับซาโลมย้ายตามดาวิดพระบิดาไปยังเยรูซาเล็มซึ่งดาวิดทรงตั้งเป็นเมืองหลวง พระองค์ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่นั่น อับซาโลมเป็นที่โปรดปรานของพระบิดาและเป็นที่ชื่นชอบของประชาชน

ชีวิตครอบครัวของอับซาโลมที่ทราบมีเพียงเล็กน้อย เรื่องเล่าในคัมภีร์ไบเบิลระบุว่าอับซาโลมมีราชโอรส 3 พระองค์และราชธิดา 1 พระองค์คือทามาร์ซึ่งได้รับการระบุว่าเป็นหญิงที่สวยงาม[1] จากความใน 2 ซามูเอล 18:18 อับซาโลมตรัสว่า "เราไม่มีบุตรชายที่จะสืบชื่อของเรา"[6] อาจเป็นไปได้ว่าราชโอรสของอับซาโลมล้วนสิ้นพระชนม์ก่อนพระองค์จะตรัสความดังกล่าว[7] หรือราชโอรสของอับซาโลมอาจเพิ่งประสูติหลังจากพระองค์ตรัสความดังกล่าว ตามการสันนิษฐานของมัททิว เฮนรี[8]

การปลงพระชนม์อัมโนน[แก้]

การก่อกบฏที่เฮโบรน[แก้]

ยุทธการที่ป่าเอฟราอิม[แก้]

อนุสรณ์[แก้]

ภาพสองมุมมองของห้องฝังศพภายในสถานที่ที่เรียกว่าอนุสรณ์อับซาโลมในหุบเขาเยโฮชาฟัทในเยรูซาเล็มซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับอับซาโลมในคัมภีร์ไบเบิล

อับซาโลมได้สร้างอนุสรณ์ใกล้กับเยรูซาเล็มเพื่อสืบพระนามของพระองค์:

เมื่ออับซาโลมยังมีชีวิตอยู่ ได้ตั้งเสาไว้สำหรับท่านที่หุบเขาหลวง เพราะท่านกล่าวว่า "เราไม่มีบุตรชายที่จะสืบชื่อของเรา" ท่านเรียกเสานั้นตามชื่อของท่าน เขาเรียกกันว่า อนุสรณ์อับซาโลม จนทุกวันนี้

— 2 ซามูเอล 18:18[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 2 ซามูเอล 14:27
  2. 1 พงศ์กษัตริย์ 3:2; 2 ซามูเอล 3:3
  3. 2 ซามูเอล 14:25
  4. 2 ซามูเอล 18:1-17
  5. 2 ซามูเอล 3:3
  6. 6.0 6.1 2 ซามูเอล 18:18
  7. Kirkpatrick 1905, p. 173.
  8. Henry, Matthew (1853). An Exposition of the Old and New Testament. Henry George Bohn. It is probable that it was a good while before he had a child. Then, despairing of having one, he set up the pillar (2 Samuel 18:18) to bear up his name, but afterwards he had three sons and one daughter (2 Samuel 14:27). Or perhaps these sons, while he was hatching his rebellion, were all cut off by the righteous hand of God, and he thereupon set up that monument.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]