เนหะมีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนหะมีย์
รูปวาดกรีกของเนหะมีย์
นักบุญ, ผู้นำชาวอิสราเอล, ผู้เผยพระวจนะ
นับถือ ในโรมันคาทอลิก
อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
วันฉลอง13 กรกฎาคม (โรมันคาทอลิก)
17 ธันวาคม (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์)[1]
เนหะมีย์สร้างเยรูซาเล็มขึ้นใหม่ ภาพวาดโดย Adolf Hult (ค.ศ. 1919)

เนหะมีย์ (อังกฤษ: Nehemiah; /ˌnəˈmə/; ฮีบรู: נְחֶמְיָה Nəḥemyā, "เวห์ทรงปลอบโยน")[2] เป็นบุคคลหลักในหนังสือเนหะมีย์ซึ่งบรรยายถึงพันธกิจของเนหะมีย์ในการสร้างเยรูซาเล็มขึ้นใหม่ในยุคพระวิหารที่สอง เนหะมีย์เป็นผู้ว่าราชการของแคว้นยูเดียแห่งเปอร์เซียภายใต้การปกครองของอารทาเซอร์ซีสที่ 1 แห่งเปอร์เซีย (465–424 ปีก่อนคริสตกาล)[2][3]

นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าเนหะมีย์เป็นบุคคลที่มีตัวตนในประวัติศาสตร์จริง และบันทึกความทรงจำของเนหะมีย์ (Nehemiah Memoir) ซึ่งเป็นชื่อที่นักวิชาการตั้งให้กับบางส่วนของหนังสือที่เขียนด้วยมุมมองของบุคคลที่หนึ่ง มีความน่าเชื่อถือทางประวัติศาสตร์[4][5][6] เนหะมีย์ได้รับการยกย่องเป็นนักบุญในคริสตจักรโรมันคาทอลิกซึ่งกำหนดให้วันฉลองของเนหะมีย์คือวันที่ 13 กรกฎาคม วันเดียวกับของเอสราที่เป็นคนร่วมสมัยกับเนหะมีย์ เนหะมีย์ยังได้รับการยกย่องเป็นนักบุญในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ซึ่งกำหนดให้วันฉลองของเนหะมีย์คือวันที่ 17 ธันวาคม

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Prophet Nehemiah".
  2. 2.0 2.1 Gesenius, Friedrich Wilhelm (1846). Gesenius' Hebrew-Chaldee Lexicon. Baker Book House; 7th edition, 1979. p. 544. ISBN 0801037360. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 December 2018. สืบค้นเมื่อ 16 April 2015.
  3. James D. G. Dunn; John William Rogerson (19 November 2003). Eerdmans Commentary on the Bible. Wm. B. Eerdmans Publishing. p. 321. ISBN 978-0-8028-3711-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 October 2020. สืบค้นเมื่อ 10 August 2019.
  4. For confirmation that many scholars share this view, see Anne Fitzpatrick (2009). Zuleika Rodgers; Margaret Daly-Denton; Anne Fitzpatrick Mckinley (บ.ก.). "What did Nehemiah do for Judaism," in A Wandering Galilean: Essays in Honour of Seán Freyne. BRILL. pp. 93–. ISBN 978-90-04-17355-2.
  5. For confirmation that most scholars share this view, see Jack Pastor (2010). Menahem Mor; Friedrick V. Reiterer (บ.ก.). "The Contribution of the Samaria Papyri from Wadi Daliyeh to the Study of Economics in the Persian Period," in Samaritans: Past and Present: Current Studies. Walter de Gruyter. pp. 52–. ISBN 978-3-11-019497-5.
  6. For an author who disagrees with the scholarly majority position on the historicity of Nehemiah and Ezra, but acknowledges the existence of that majority, see Philip R. Davies (3 September 2014). Rethinking Biblical Scholarship: Changing Perspectives 4. Taylor & Francis. p. 108. ISBN 978-1-317-54443-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2017. สืบค้นเมื่อ 8 September 2017. The essential historicity of the events described [in Ezra and Nehemiah] has rarely been questioned.

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]