ชุดตัวอักษรละติน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชุดตัวอักษรละติน
ชนิดอักษรสระ-พยัญชนะ
ภาษาพูดภาษาละติน
ช่วงยุคป.ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์กาลปัจจุบัน
ระบบแม่
ระบบลูก
ระบบพี่น้อง
ช่วงยูนิโคดดูที่ อักษรละตินในรหัสยูนิโคด
ISO 15924Latn
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

 ชุดตัวอักษรละติน (อังกฤษ: Latin alphabet) หรือที่รู้จักในชื่อ ชุดตัวอักษรโรมัน (อังกฤษ: Roman alphabet) เป็นชุดตัวอักษรที่ถูกใช้ในการเขียนภาษาละติน ซึ่งเป็นภาษาหลักในกลุ่มอารยธรรมโรมโบราณ โดยรูปอักษรในปัจจุบันมิได้มีการเปลี่ยนแปลงทางลักษณะไปจากเดิมแต่อย่างใด เว้นแต่เพิ่มเติมตัวอักษรบางตัว (เช่น ตัวอักษร ⟨J⟩ และ ⟨U⟩) รวมถึงเครื่องหมายเสริมสัทอักษร) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่อักษรละตินนั้นเป็นระบบการเขียนที่แพร่หลายเป็นอย่างมากสำหรับภาษาในยุโรปสมัยใหม่หลาย ๆ ภาษา ดังเช่น ภาษาอังกฤษ รวมถึงอักษรที่ได้รับการดัดแปลงให้เหมาะสมกับภาษาอื่น ๆ เช่น ชุดตัวอักษรเวียดนาม ขณะที่การแปลงเข้ารหัสคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ก็ถูกทำให้กลายเป็นมาตรฐานชุดเดียวกันคือISO อักษรละตินพื้นฐาน

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

คำว่า ชุดตัวอักษรละติน (Latin alphabet) นั้นมีความหมายที่เจาะจงไปถึงชุดตัวอักษรสำหรับไว้ใช้เขียนภาษาละติน (ดังที่อธิบายไว้ในหัวข้อนี้) หรืออาจหมายถึงชุดตัวอักษรอื่น ๆ ที่มีพื้นฐานมาจากอักษรละติน เช่น ชุดตัวอักษรอังกฤษ ชุดตัวอักษรโรโตคัส เป็นต้น โดยชุดตัวอักษรในแต่ละภาษาอาจมีตัวอักษรเสริมเพิ่มเติมเข้ามาตามลักษณะการใช้งานหรือรูปแบบอักขรวิธีของแต่ละภาษา ตัวอย่างเช่น ชุดตัวอักษรเดนมาร์กและนอร์เวย์ รวมถึงการแยกรูปอักขระเป็นตัวพิมพ์ใหญ่-พิมพ์เล็กในยุคกลาง ซึ่งไม่พบอยู่ในสารบบของชุดตัวอักษรละตินในยุคคลาสสิก

พัฒนาการ[แก้]

อักษรละตินวิวัฒนาการมาจากชุดตัวอักษรอิทรัสคันซึ่งมีรูปร่างใกล้เคียงกัน ซึ่งก็พัฒนามาจากชุดตัวอักษรกรีกสำหรับไว้ใช้เขียนภาษาคูเมียนที่สืบเชื้อสายมาจากชุดตัวอักษรฟินิเชียซึ่งมาจากไฮเออโรกลีฟอียิปต์อีกทอดหนึ่ง[1] ทั้งหมดนี้เป็นการหยิบยืมมาจากอารยธรรมอิทรัสคันซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของโรมในช่วงแรก ในช่วงสมัยกลางอักษรละตินถูกนำมาใช้ (บางครั้งก็มีการปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา) ในการเขียนกลุ่มภาษาโรมานซ์ (Romance languages) ซึ่งเป็นรูปแบบอนุพันธุ์โดยตรงของภาษาละติน เช่นเดียวกับกลุ่มภาษาเคลต์ กลุ่มภาษาเจอร์แมนิก กลุ่มภาษาบอลต์ และกลุ่มภาษาสลาฟ ลัทธิอาณานิคมและการประกาศข่าวประเสริฐของคริสจักรส่งผลให้อักษรละตินเป็นที่แพร่หลายไปทั่วทวีปยุโรป โดยเริ่มนำมาใช้ในการเขียนภาษาท้องถิ่นในภูมิภาคอเมริกา ออสเตรเลีย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก และแอฟริกัน เมื่อไม่นานมานี้นักภาษาศาสตร์มีแนวโน้มที่จะนิยมหันใช้อักษรละตินหรือสัทอักษรสากล (ที่มีหน้าตาคล้ายเหมือนอักษรละติน) เป็นหลัก เมื่อมีความต้องการที่จะถอดเสียงหรือสร้างมาตรฐานให้กับอักษรสำหรับภาษาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มภาษาในยุโรป เช่น กลุ่มภาษาในแอฟริกา

ป้ายและการย่อคำ[แก้]

แม้ว่าชุดตัวอักษรละตินจะมิได้ใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร แต่รูปแบบของการแบ่งคำ (มักวางไว้ด้านบนหรือตัดคำท้ายออกไป) ถือเป็นรูปแบบการเขียนที่แพร่หลายเป็นอย่างมาก นอกจากนี้มักจะมีการใช้คำย่อหรืออักษรตัวเล็กทับซ้อนกัน เพราะหากจารึกข้อความไว้บนหินจำนวนตัวเขียนก็จะลดลงตามไปด้วย ขณะที่หากเขียนบนกระดาษหรือบนหนังสัตว์ก็จะช่วยประหยัดพื้นที่ในการเขียนลงไปอีก รูปแบบการเขียนนี้ยังพบเห็นได้อยู่ในสมัยกลาง โดยอาจจะมีสัญลักษณ์หรือตัวย่อแตกต่างกันหลายร้อยตัวแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมในแต่ละศตวรรษ[2]

ความเป็นมา[แก้]

Duenos inscription
คำจารึกดูเอนอส (Duenos inscription) มีอายุราว 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดของอักษรละตินเก่า

ต้นกำเนิด[แก้]

เป็นที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่าอักษรละตินที่ชาวโรมันใช้นั้นมีต้นแบบมาจากอักษรอิตาลีเก่า (Old Italic alphabet) ที่ชาวอิทรัสคันใช้กัน[3] โดยชุดตัวอักษรดังกล่าววิวัฒนาการมาจากอักษรยูโบอัน (Euboean alphabet) ที่ใช้โดยชาวคิวมี ซึ่งก็หยิบยืมมาจากชุดตัวอักษรฟินิเชียอีกทอดหนึ่ง

ชุดตัวอักษรอิตาลิกเก่า[แก้]

อักษรอิตาลีเก่า
อักษร 𐌀 𐌁 𐌂 𐌃 𐌄 𐌅 𐌆 𐌇 𐌈 𐌉 𐌊 𐌋 𐌌 𐌍 𐌎 𐌏 𐌐 𐌑 𐌒 𐌓 𐌔 𐌕 𐌖 𐌗 𐌘 𐌙 𐌚
การปริวรรต A B C D E V Z H Θ I K L M N Ξ O P Ś Q R S T Y X Φ Ψ F

อักษรละตินโบราณ[แก้]

อักษรละตินโบราณ
อักษรอิตาลิกเก่า 𐌀 𐌁 𐌂 𐌃 𐌄 𐌅 𐌆 𐌇 𐌉 𐌊 𐌋 𐌌 𐌍 𐌏 𐌐 𐌒 𐌓 𐌔 𐌕 𐌖 𐌗
อักษรละติน A B C D E F Z H I K L M N O P Q R S T V X

อักษรละตินเก่า[แก้]

ชุดตัวอักษรละตินมีตัวอักษรที่แตกต่างกันถึง 21 ตัว ตัวอักษร ⟨C⟩ มีต้นแบบมาจากแกมมา (Γ, γ) ในชุดตัวอักษรกรีก ซึ่งในตอนแรกใช้สำหรับแทนหน่วยเสียง /ɡ/ และ /k/ โดยรูปแบบการเขียนได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอิทรัสคัน และในยุคดังกล่าวนี้ไม่พบตัวอักษรที่แทนหน่วยเสียงพยัญชนะระเบิด (plosives) แต่อย่างใด จนกระทั่งในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงจะได้มีการบรรจุตัวอักษร ⟨Z⟩ เข้ามา และมีการปฏิรูปอักขรวิธีด้วยการแยกหน่วยเสียงระหว่าง ⟨G⟩ และ ⟨C⟩ ออกจากกันอย่างชัดเจน โดยให้ตัวอักษร ⟨G⟩ แทนหน่วยเสียงเป็น /ɡ/ ซึ่งเป็นเสียงอโฆษะ และใช้อักษร ⟨C⟩ แทนที่หน่วยเสียง /k/ ทั้งหมด ขณะที่ตัวอักษร ⟨K⟩ ถูกสงวนไว้ใช้แค่สำหรับคำบางคำเท่านั้น เช่นคำว่า Kalendae (แปลว่า "ปฏิทิน") โดยมีการใช้สลับกับตัวอักษร ⟨C⟩ กันไปกันมาอยู่เสมอ

อักษรละตินเก่า
อักษร A B C D E F Z G H I K L M N O P Q R S T V X

อักษรละตินคลาสสิก[แก้]

หลังจากการพิชิตดินแดนของชาวกรีกโดยชาวโรมันเมื่อศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช ภาษาละตินได้หยิบยืมอักษรกรีกมาถึง 2 ตัวได้แก่ ⟨Y⟩ และ ⟨Z⟩ ไว้สำหรับเขียนคำยืมจากภาษากรีก โดยวางไว้ที่ลำดับท้ายสุดของตารางอักษร จักรพรรดิเกลาดิอุสทรงมีพระราชประสงค์ที่จะใช้ตัวอักษรดังกล่าว โดยทรงบันทึกตัวอักษรดังกล่าวลงในพระราชหัตถเลขาไว้ถึงสามฉบับ ทำให้ภาษาละตินคลาสสิกประกอบด้วยตัวอักษรทั้งสิ้น 21 ตัวและตัวอักษรสำหรับเขียนคำยืมที่มาจากต่างประเทศอีก 2 ตัว:

อักษรละตินคลาสสิก
อักษร A B C D E F G H I K L M N O P Q R S T V X Y Z
ชื่อ á é ef el em en ó q er es ix ꟾ graeca zéta
ปริวรรต ā ē ef ī el em en ō er es ū ix ī Graeca zēta
การออกเสียง (IPA) beː keː deː ɛf ɡeː haː kaː ɛl ɛm ɛn peː kuː ɛr ɛs teː iks iː ˈɡraɪka ˈdzeːta
เครื่องหมายเอเป็กซ์ (Apex) บนศิลาจารึกในช่วงแรกมีรูปร่างที่เล็กมาก (มีตัวหนึ่งอยู่เหนือ ó ในบรรทัดแรกสุด) สระ I เขียนไว้สูงกว่าเครื่องหมายเอเป็กซ์ และมีเครื่องหมายอินเตอร์พังก์ไว้แบ่งพยางค์ เป็นรูปที่ถ่ายจากแท่นบูชาของเอากุสตาเลส ที่เมืองเฮอร์คิวเลเนียม

มีการถกเถียงกันว่าชื่อของตัวอักษรละตินเหล่านี้ออกเสียงอย่างไร เช่น ⟨H⟩ ที่สรุปแล้วต้องออกเสียงว่า [ˈaha] หรือ [ˈaka] กันแน่[4] โดยปกติแล้วชาวโรมันมิได้ตั้งชื่อตัวอักษรโดยอ้างอิง (ที่มาจาก ภาษาเซมิติก) มาจากชื่อในภาษากรีกอยู่แล้ว: ชื่อของ เสียงพยัญชนะหยุดโดยส่วนใหญ่จะเป็นการเติม /eː/ เข้าไปในหน่วยเสียง (ยกเว้น ⟨K⟩ และ ⟨Q⟩ ที่ต้องออกเสียงให้ต่างจาก ⟨C⟩) และชื่อเสียงควบมักออกเสียงควบกล้าหรือเสียงที่นำหน้าด้วยหน่วยเสียง /e/

ตัวอักษร ⟨Y⟩ โดยปกติแล้วจะออกเสียงว่า "hy" /hyː/ เหมือนกับชื่อในภาษากรีก โดยที่สมัยนั้นยังมิได้เรียกว่า อิปไซลอน (upsilon) เหมือนในปัจจุบัน แล้วก็เปลี่ยนเป็น i Graeca (แปลว่า "i กรีก") เนื่องจากผู้พูดภาษาละตินมักประสบกับปัญหาในการแยกแยะความต่างระหว่างหน่วยเสียงระหว่าง /i/ กับ /y/ ซึ่งเป็นหน่วยเสียงที่ไม่พบในภาษาละตินดั้งเดิม ขณะที่ตัว ⟨Z⟩ มีชื่อในภาษากรีกว่า ซีตา (Zeta) ซึ่งชื่อนี้ยังมีใช้อยู่ในภาษายุโรปสมัยใหม่ที่ใช้อักษรละตินเป็นระบบการเขียนหลัก

อักษรละตินในยุคนี้ไม่ค่อยมีการใช้เครื่องหมายเสริมสัทอักษร แต่ก็พอมีใช้อยู่บ้างโดยที่พบได้บ่อยที่สุดคือเครื่องหมายเอเป็กซ์ (Apex) ที่เอาไว้กำกับสระเสียงยาว บ้างก็เขียนสระเบิ้ล 2 ตัว ขณะที่ตัว i จะเป็นการเขียนหัวและหางให้ยาวขึ้น: á é ꟾ ó v́ ตัวอย่างเช่นคำว่า Lūciī a fīliī ที่ในสมัยก่อนจะเขียนว่า lv́ciꟾ·a·fꟾliꟾ ในจารึกของบางถิ่นอาจมีตัวอักษรบางตัวที่มีหน้าตามากกว่าหนึ่งแบบ เช่นชาวโรมันบางคนก็เขียน ⟨H⟩ เป็น โดยรูปแบบการเขียนดังกล่าวสามารถพบได้ในระบบการเขียนของชาวกอลโรมันเท่านั้น

เครื่องหมายวรรคตอนจะใช้เครื่องหมายอินเตอร์พังก์ (interpunct) ไว้สำหรับแบ่งพยางค์ในแต่ละคำ จนกระทั่งเลิกใช้ไปในราว ๆ ปี คริสตศักราชที่ 200

อักษรโรมันตัวเอียงแบบเก่ามีชื่อว่าตัวพิมพ์ใหญ่ (majuscule cursive) เป็นตัวเขียนพิมพ์ใหญ่ที่เอาไว้ใช้สำหรับเขียนหรือบันทึกในชีวิตประจำวัน เช่นการเขียนจดหมาย การทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย สำหรับการศึกษาภาษาละตินหรือใช้ในการบันทึกลงเอกสารราชการ รูปแบบการเขียนดังกล่าวมีพื้นฐานมาจาก Roman square capitals ซึ่งทำให้สามารถจดบันทึกได้ในกรณีที่ไม่เป็นทางการ โดยมีการใช้กันมากที่สุดในศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงศตวรรษที่ 3 โดยอาจมีการใช้งานอยู่ก่อนหน้าอยู่แล้ว จนนำไปสู่รูปแบบตัวอักษรอันเชียล ซึ่งเป็นชุดตัวอักษรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 3 จนถึงคริสตศตวรรษที่ 8 โดยชาวละตินและชาวกรีก โดยมีการใช้งานทั้งในบันทึกไทโรเนียนหรือระบบชวเลข ซึ่งมีความแตกต่างกันถึงหลายพันรูปแบบ

ขณะที่อักษรโรมันตัวเอียงแบบใหม่มีชื่อว่าตัวพิมพ์เล็ก (minuscule cursive) มีการใช้ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 3 จนถึงคริสตศตวรรษที่ 7 เป็นรูปแบบตัวอักษรที่เป็นที่คุ้นตามากที่สุดในยุคสมัยใหม่ เช่น ⟨a⟩, ⟨b⟩, ⟨d⟩ และ ⟨e⟩ โดยในแต่ละตัวอักษรต่างก็มีสัดส่วนที่เท่ากัน ตัวอักษรชุดนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นไว้หลากหลายแบบตามการใช้งานของแต่ละท้องถิ่น (เช่น อักษรเมรอแว็งเฌียง อักษรวิซิกอธ และอักษรเบเนวันตัน) ซึ่งต่อมาถูกแทนที่ด้วยตัวพิมพ์เล็กแบบการอแล็งเฌียงทั้งหมด

พัฒนาการในยุคกลางและในปัจจุบัน[แก้]

De chalcographiae Invente (1541, เมืองไมนทซ์ ) ประกอบด้วยตัวอักษรทั้งสิ้น 23 ตัว โดยไม่ปรากฎตัวอักษร J U และ W
เหรียญเจตันจากเมืองเนือร์นแบร์ค ป. 1553

เมื่อมาถึงสมัยกลางได้มีการเพิ่มตัวอักษร W (เดิมเป็นการนำตัวV 2 ตัวมาควบไว้ด้วยกัน) เข้ามาในอักษรละติน เพื่อทดแทนหน่วยเสียงในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิก ซึ่งไม่พบในภาษาละตินสมัยกลาง โดยในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาได้กำหนดให้ I และ U ทำหน้าที่เป็นสระ และกำหนดให้ J และ V ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะ ซึ่งทั้ง 2 พยัญชนะต่างก็ถูกดัดแปลงมาจาก 2 สระก่อนหน้า

ด้วยอิทธิพลจากส่วนกลางในแต่ละรัฐชาติ ส่งผลให้รูปแบบการเขียนของภาษาต่าง ๆ ที่ใช้ตัวเขียนเป็นอักษรละตินมีการเปลี่ยนแปลงและมีความหลากหลายมากขึ้นตลอดสมัยกลาง แม้กระทั่งหลังจากยุคที่มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ขึ้นมาแล้วก็ตาม ตัวอย่างของอักษรเขียนที่ต่างไปจากตัวเขียนแบบเดิมในยุคแรกๆ ตัวอย่างก็เช่น ตัวอักษรอันเชียล อักษรโรมันตัวเอียง หรือพวกตัวพิมพ์เล็กต่าง ๆ อย่างเช่นอักษรเกาะ (insular script) ที่พัฒนาขึ้นโดยชาวไอริช และได้รับการต่อยอดไปเป็นอักษรการอแล็งเฌียงซึ่งเป็นชุดตัวพิมพ์เล็กที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และได้พัฒนาไปเป็นตัวพิมพ์เล็กที่เป็นมาตรฐานในชุดตัวอักษรละตินในเวลาต่อมา

โดยปกติแล้วเมื่อเขียนหรือพิมพ์อักษรละตินมักจะใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เพื่อขึ้นต้นย่อหน้าประโยคหรือคำนาม จนกระทั่งกฎการใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาแตกต่างกันไป ดังเช่น ภาษาอังกฤษเก่า ที่มักจะไม่ค่อยเขียนตัวพิมพ์ใหญ่เมื่อขึ้นต้นด้วยคำนามชี้เฉพาะ ขณะที่นักเขียนหรือช่างพิมพ์ในภาษาอังกฤษสมัยใหม่ช่วงคริสตศตวรรษที่ 17 และ 18 มักใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เป็นส่วนใหญ่เมื่อขึ้นต้นด้วยคำนาม หรือไม่งั้นก็ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งคำไปเลย[5] ตัวอย่างเช่นในรัฐธรรมนูญสหรัฐที่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ในการเขียนขึ้นต้นคำนามชี้เฉพาะทั้งหมด: "We the People of the United States, in Order to form a more perfect Union, establish Justice, insure domestic Tranquility, provide for the common defence, promote the general Welfare, and secure the Blessings of Liberty to ourselves and our Posterity, do ordain and establish this Constitution for the United States of America." (เพื่อที่จะก่อตั้งสหภาพให้สมบูรณ์มากขึ้น เราประชาชนแห่งสหรัฐอเมริกาสถาปนาความยุติธรรม รักษาความสงบภายใน จัดหาการป้องกันประเทศ ส่งเสริมสวัสดิการโดยทั่วไป และสร้างความมั่นคงในเสรีภาพอันศักดิ์สิทธิ์แก่พวกเราและอนุชนรุ่นหลังต่อไป จึงบัญญัติและสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นสําหรับสหรัฐอเมริกา) โดยรูปแบบการเขียนดังกล่าวยังสามารถพบเห็นได้ในภาษาเยอรมันสมัยใหม่

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Michael C. Howard (2012), Transnationalism in Ancient and Medieval Societies. p. 23.
  2. Cappelli, Adriano (1990). Dizionario di Abbreviature Latine ed Italiane. Milano: Editore Ulrico Hoepli. ISBN 88-203-1100-3.
  3. "Etruscan alphabet | Etruscan Writing, Ancient Scripts & Language". Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-10-17.
  4. Liberman, Anatoly (7 August 2013). "Alphabet soup, part 2: H and Y". Oxford Etymologist. Oxford University Press. สืบค้นเมื่อ 3 October 2013.
  5. Crystal, David (4 August 2003). The Cambridge Encyclopedia of the English Language. Cambridge University Press. ISBN 9780521530330 – โดยทาง Google Books.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Jensen, Hans (1970). Sign Symbol and Script. London: George Allen and Unwin Ltd. ISBN 0-04-400021-9. Transl. of Jensen, Hans (1958). Die Schrift in Vergangenheit und Gegenwart. Deutscher Verlag der Wissenschaften., as revised by the author
  • Rix, Helmut (1993). "La scrittura e la lingua". ใน Cristofani, Mauro (hrsg.) (บ.ก.). Gli etruschi – Una nuova immagine. Firenze: Giunti. pp. S.199–227.
  • Sampson, Geoffrey (1985). Writing systems. London (etc.): Hutchinson.
  • Wachter, Rudolf (1987). Altlateinische Inschriften: sprachliche und epigraphische Untersuchungen zu den Dokumenten bis etwa 150 v.Chr. Bern (etc.).: Peter Lang.
  • Allen, W. Sidney (1978). "The names of the letters of the Latin alphabet (Appendix C)". Vox Latina – a guide to the pronunciation of classical Latin. Cambridge University Press. ISBN 0-521-22049-1.
  • Biktaş, Şamil (2003). Tuğan Tel.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]