อาณาจักรพระนคร
อาณาจักรพระนคร | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 802–ค.ศ. 1431 | |||||||||||
ธงชาติ | |||||||||||
![]() การขยายตัวของอาณาจักรพระนครในช่วง ค.ศ. 802–1203 | |||||||||||
สถานะ | จักรวรรดิ | ||||||||||
เมืองหลวง |
| ||||||||||
ภาษาราชการ | ภาษาเขมร | ||||||||||
ภาษาทั่วไป |
| ||||||||||
ศาสนา |
| ||||||||||
เดมะนิม | เขมร | ||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบเทวราชา | ||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||
• ค.ศ. 802–850 | พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 | ||||||||||
• ค.ศ. 1113–1150 | พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 | ||||||||||
• ค.ศ. 1181–1218 | พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 | ||||||||||
• ค.ศ. 1417–1431 | เจ้าพระยาญาติ | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยกลาง | ||||||||||
• พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ขึ้นครองราชย์ | ค.ศ. 802 | ||||||||||
• สถาปนานครวัด | ค.ศ. 1113–1150 | ||||||||||
ค.ศ. 1431 | |||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||
ค.ศ. 1290[1][2] | 1,000,000 ตารางกิโลเมตร (390,000 ตารางไมล์) | ||||||||||
|
อาณาจักรพระนคร[3] (เขมร: ចក្រភពអង្គរ จกฺรภพองฺคร) หรือ อาณาจักรเขมร[4] (เขมร: ចក្រភពខ្មែរ จกฺรภพขฺแมร) บ้างเรียก อาณาจักรขอม[5][6] เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกประเทศกัมพูชาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9–15 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศนี้เป็นจักรวรรดิพุทธ-ฮินดูอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จักรวรรดิแห่งนี้วิวัฒนาการขึ้นจากอารยธรรมโบราณที่เรียกฟูนันและเจนละซึ่งปกครองหรือเป็นเจ้าประเทศราชอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นดินส่วนใหญ่[7] ตลอดจนบางส่วนของจีนใต้ โดยมีอาณาเขตตั้งแต่ปลายคาบสมุทรอินโดจีนไปทางเหนือจนถึงมณฑลยูนนานในประเทศจีนปัจจุบัน และทางตะวันตกจากประเทศเวียดนามไปจนถึงประเทศเมียนมา[8][9]
มรดกที่โดดเด่นที่สุดของอาณาจักรพระนคร คือ เมืองพระนคร ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรนี้ในช่วงรุ่งเรืองที่สุด โบราณสถานอลังการหลายแห่งในเมืองพระนคร เช่น นครวัด และปราสาทบายน เป็นเครื่องยืนยันถึงความมหาศาลของอำนาจ ราชทรัพย์ ศิลปะ วัฒนธรรม วิทยาการทางสถาปัตยกรรม และระบบความเชื่ออันหลากหลายในอาณาจักรนี้ ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11–12 ซึ่งอาณาจักรพระนครเจริญถึงขีดสุดนั้น อาณาจักรพระนครเป็นชุมชนเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกก่อนยุคอุตสาหกรรม[10][11] นักวิจัยยังเห็นว่า อาณาจักรพระนครเป็นแห่งแรกในโลกที่ก่อตั้งระบบสาธารณสุข โดยมีสถานพยาบาลสาธารณะถึง 102 แห่ง[12]
ตามประเพณีแล้ว อาณาจักรพระนครเริ่มต้นใน ค.ศ. 802 เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงประกาศพระองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิที่พนมกุเลน และอาณาจักรพระนครสิ้นสุดลงเมื่ออาณาจักรอยุธยาเข้ายึดเมืองพระนครใน ค.ศ. 1431 แต่สาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้อาณาจักรพระนครล่มลายนั้นยังคงเป็นที่สงสัยของนักวิชาการ[13] นักวิจัยเห็นว่า ปัญหาหนึ่งในอาณาจักรนี้ คือ การที่เกิดฝนมรสุมสลับไปมากับภาวะร้อนแล้งซึ่งสร้างความเสียหายแก่โครงสร้างพื้นฐาน[14]
การเปลี่ยนแปลงดินแดน[แก้]
พื้นที่อาณาจักรพระนครระบายด้วยสีแดง
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Turchin, Peter; Adams, Jonathan M.; Hall, Thomas D (December 2006). "East-West Orientation of Historical Empires". Journal of World-Systems Research. 12 (2): 223. ISSN 1076-156X. สืบค้นเมื่อ 16 September 2016.
- ↑ Rein Taagepera (September 1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 493. doi:10.1111/0020-8833.00053. JSTOR 2600793. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
- ↑ บวรศักดิ์ อุวรรณโน (2015). "คดีปราสาทพระวิหาร: ความเป็นมาและเป็นไป". 80 ปีราชบัณฑิตยสถาน (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. p. 128. ISBN 978-616-389-003-0.
- ↑ ราชบัณฑิตยสภา (2015). "ประเทศกัมพูชา". สารานุกรมประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. p. 24. ISBN 978-616-389-010-8.
- ↑ ปิยะแสง จันทรวงศไพศาล (2023). "ลำดับประวัติศาสตร์ศิลปะเขมร". ศิลปะอาเซียน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
- ↑ ซีเลีย ฮัตตัน (2023-02-21). "กัมพูชา: สมบัติอาณาจักรขอมที่ถูกโจรกรรมถูกพบอีกครั้งในกรุงลอนดอน". บีบีซี ไทย. บีบีซี.
- ↑ "Khmer Empire | Infoplease". www.infoplease.com. สืบค้นเมื่อ 15 January 2023.
- ↑ Reynolds, Frank. "Angkor". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ 17 August 2018.
- ↑ Plubins, Rodrigo. "Khmer Empire". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 17 August 2018.
- ↑ Damian Evans; และคณะ (9 April 2009). "A comprehensive archaeological map of the world's largest preindustrial settlement complex at Angkor, Cambodia". Proceedings of the National Academy of Sciences. 104 (36): 14277–82. doi:10.1073/pnas.0702525104. PMC 1964867. PMID 17717084.
- ↑ Galloway, M. (2021, May 31). How Did Hydro-Engineering Help Build The Khmer Empire? The Collector. Retrieved November 12, 2021
- ↑ Bunthoeurn, O. (2022, July 21). Khmer Empire had 'world's first' system for healthcare. The Phnom Penh Post. Retrieved August 9, 2022
- ↑ S. (2017, April 4). Angkor Wat's Collapse From Climate Change Has Lessons for Today. National Geographic. Retrieved March 30, 2022
- ↑ Prasad, J. (2020, April 14). Climate change and the collapse of Angkor Wat. The University of Sydney. Retrieved March 30, 2022
บรรณานุกรม[แก้]
- Cœdès, George (1966). The making of South East Asia. University of California Press. ISBN 0-520-05061-4.
- Freeman, Michael; Jacques, Claude (2006). Ancient Angkor. River Books. ISBN 974-8225-27-5.
- Higham, Charles (2001). The Civilization of Angkor. Phoenix. ISBN 978-1-84212-584-7.
- Vittorio Roveda: Khmer Mythology, River Books, ISBN 974-8225-37-2
- Dagens, Bruno (1995) [1989]. Angkor: Heart of an Asian Empire. ‘New Horizons’ series. แปลโดย Sharman, Ruth. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-30054-2.
- Keyes, Charles F. (1995). The Golden Peninsula. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-1696-4.
- Rooney, Dawn F. (2005). Angkor: Cambodia's wondrous khmer temples (5th ed.). Odissey. ISBN 978-962-217-727-7.
- David P. Chandler: A History of Cambodia, Westview Press, ISBN 0-8133-3511-6
- Liang, Jieming (2006), Chinese Siege Warfare: Mechanical Artillery & Siege Weapons of Antiquity, Singapore, Republic of Singapore: Leong Kit Meng, ISBN 981-05-5380-3
- Zhou, Daguan (2007), The Customs of Cambodia, The Siam Society, ISBN 978-974-8359-68-7
- Henri Mouhot: Travels in Siam, Cambodia, Laos, and Annam, White Lotus Co, Ltd., ISBN 974-8434-03-6
- Vickery, Michael (1998). Society, economics, and politics in pre-Angkor Cambodia: the 7th–8th centuries. Toyo Bunko. ISBN 978-4-89656-110-4.
- Benjamin Walker, Angkor Empire: A History of the Khmer of Cambodia, Signet Press, Calcutta, 1995.
- I.G. Edmonds, The Khmers of Cambodia: The story of a mysterious people
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°26′N 103°50′E / 13.433°N 103.833°E
![]() |
บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ |