ปราสาทปักษีจำกรุง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ปราสาทปักษีจำกรุง | |
---|---|
![]() ปราสาทปักษีจำกรุง | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่ตั้ง | เมืองพระนคร |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 13°25′31″N 103°51′29″E / 13.4253122°N 103.8581318°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 13°25′31″N 103°51′29″E / 13.4253122°N 103.8581318°E |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เทพ | พระศิวะ |
จังหวัด | จังหวัดเสียมเรียบ |
ประเทศ | ![]() |
การสร้าง | |
สถาปัตยกรรม | เขมรโบราณ (สมัยบาเค็ง ถึง เกาะแกร์) |
พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1, บูรณะปฏิสังขรณ์โดยพระเจ้าราเชนทรวรรมันที่ 2 | |
ปีที่เสร็จ | 968 |
ข้อมูลจำเพาะ | |
จำนวนวัด | 1 tower |
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล | 13 เมตร (43 ฟุต) |
ปราสาทปักษีจำกรุง (เขมร: ប្រាសាទបក្សីចាំក្រុង บฺราสาทบกฺสีจำกฺรุง) เป็นปราสาทหินขนาดเล็ก สร้างขึ้นเป็นเทวาลัย ถวายแด่พระศิวะ ปราสาทแห่งนี้เคยมีเทวรูปพระศิวะทองคำประดิษฐานอยู่ด้วย ปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่ด้านซ้ายของนครธมเมื่อเข้าทางประตูด้านใต้ สร้างโดยพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 เพื่ออุทิศถวายพระเจ้ายโศวรมัน ผู้เป็นพระบิดา การก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระเจ้าราเชนทรวรรมันที่ 2 (ค.ศ. 944–968) นับว่าสร้างก่อนปราสาทแปรรูป
คำว่า "ปักษีจำกรุง" หมายถึง ปักษีหรือนกอยู่ภายใต้ปีกที่กางออก ด้วยมีตำนานว่า พระราชาทรงพยายามจะหนีข้าศึกที่เข้ามาโจมตีพระนคร แต่พลันมีพญานกตัวมหึมา ร่อนลงมาสยายปีกคุ้มครองพระองค์เอาไว้
ปราสาทแห่งนี้นับเป็นปราสาทสมัยแรกที่สร้างด้วยวัสดุทนทาน เช่นอิฐ และศิลาแลง และมีการประดับตกแต่งด้วยหินทราย ปูนที่ฉาบผิวด้านนอกส่วนใหญ่ชำรุดเสียหายไป และลวดลายที่สลักส่วนใหญ่ก็ชำรุดไปมาก นับเป็นปราสาทแห่งแรก ๆ ที่สร้างเป็นชั้นและสร้างบนเนินเขา แล้วสร้างปรางค์ครอบไว้[1]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ เทปสนทนา เรื่อง คุยเฟื่องเรื่องเขมร: วีระ ธีรภัทร - ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ปราสาทปักษีจำกรุง
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากมัลติแมป หรือโกลบอลไกด์
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°25′31″N 103°51′29″E / 13.4253122°N 103.8581318°E{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ปราสาทปักษีจำกรุง |