สุนัขตำรวจ


สุนัขตำรวจ (อังกฤษ: police dog) เป็นสุนัขที่ได้รับการฝึกมาโดยเฉพาะเพื่อช่วยเหลือตำรวจและเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายอื่น ๆ หน้าที่ของพวกมัน ได้แก่ ค้นหายาเสพติดและวัตถุระเบิด, ค้นหาผู้สูญหาย, ค้นหาหลักฐานที่เกิดเหตุ และโจมตีผู้คนที่ตกเป็นเป้าหมายของตำรวจ โดยสุนัขตำรวจต้องจำคำพูดและท่าทางมือหลาย ๆ อย่าง[1] สายพันธุ์ที่ใช้กันมากที่สุด ได้แก่ เยอรมันเชเพิร์ด, เบลเยียมมาลีนอยส์, บลัดฮาวด์, ดัตช์เชเพิร์ด และสายพันธุ์ริทรีฟเวอร์[2] เมื่อไม่นานมานี้ เบลเยียมมาลีนอยส์ได้กลายเป็นสุนัขทางเลือกสำหรับงานตำรวจและทหารเนื่องจากแรงขับและการมุ่งเน้นที่แรงกล้า มาลีนอยส์มีขนาดเล็กและคล่องตัวกว่าสุนัขเยอรมันเชเพิร์ด รวมถึงมีปัญหาด้านสุขภาพน้อยกว่า[3] อย่างไรก็ตาม สุนัขเยอรมันเชเพิร์ดสายการทำงานที่ได้รับการฝึกมาอย่างดีก็ประสบความสำเร็จและแข็งแกร่งเช่นเดียวกับมาลีนอยส์[4]
ในหลายประเทศ การทำร้ายหรือฆ่าสุนัขตำรวจโดยเจตนาถือเป็นความผิดทางอาญา[5][6]
ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ หน่วยสุนัขตำรวจมักเรียกว่าเค-ไนน์ (K-9) หรือเคไนน์ (K9) ซึ่งเป็นการเล่นคำ[7][8] ที่ใช้แทนคำว่าเคไน (canine)
ประวัติ[แก้]
ประวัติตอนต้น[แก้]
สุนัขถูกนำมาใช้ในการบังคับใช้กฎหมายตั้งแต่ยุคกลาง จากนั้นทรัพย์สมบัติและเงินทองก็ได้รับการตัดทอนในหมู่บ้านเพื่อเป็นค่าบำรุงรักษาบลัดฮาวด์ของตำรวจตำบลที่ใช้ในการล่าคนนอกกฎหมาย ซึ่งในประเทศฝรั่งเศส ได้มีการใช้สุนัขในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ในแซ็ง-มาโล[โปรดขยายความ] ส่วนบลัดฮาวด์ที่ใช้ในประเทศสกอตแลนด์เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "Slough dogs" – ซึ่งคำว่า "Sleuth" (ที่หมายถึงนักสืบ) ได้มาจากสิ่งนี้[9] โดยระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 20 สุนัขตำรวจบนบริติชไอลส์และทวีปยุโรปถูกใช้เพื่อความสามารถในการติดตามเป็นหลัก[10]
การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วของประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้สาธารณชนกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับความไม่เคารพกฎหมายที่เพิ่มขึ้น[10] ซึ่งในลอนดอน หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างโบว์สตรีตรันเนอส์ ได้พยายามที่จะควบคุมอาชญากรรมด้วยตัวพวกเขาเอง และด้วยเหตุนี้ สมาคมเอกชนจึงได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยต่อต้านอาชญากรรม[11] ยามกลางคืนได้รับการว่าจ้างให้เฝ้าสถานที่ รวมถึงได้รับอาวุธปืนและสุนัขเพื่อป้องกันตนเองจากอาชญากร[ต้องการอ้างอิง]
ยุคสมัยใหม่[แก้]


ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "K9 Unit: Duties and Responsibilities". New York State Department of Environmental Conservation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-03. สืบค้นเมื่อ 2014-04-14. Note:this webpage no longer exists
- ↑ Sen, Adrija (5 March 2019). "This Rescued Street Pup Is Now A Part Of The City's Elite Canine Squad" (ภาษาอังกฤษ). Times Internet. สืบค้นเมื่อ 11 March 2019.
- ↑ Orlean, Susan. "Opinion | One Dog That Has Had Its Day" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-13.
- ↑ "FCI IGP World Championship 2019 Results".
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อslate
- ↑ "Government unleashes police dog protection laws". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). 2013-08-26. สืบค้นเมื่อ 2018-02-25.
- ↑ "Why does the police use "K-9 Unit" instead of "dog"?". English Language & Usage StackExchange.
- ↑ "K-9 History: War Dogs In The U. S. Military".
- ↑ "Online Etymology Dictionary". etymonline.com.
- ↑ 10.0 10.1 Peña, Melvin (July 1, 2014). "Police Dogs: Just the Facts". Dogster. สืบค้นเมื่อ May 26, 2022.
- ↑ Beattie, J. M. (2012). The First English Detectives. The Bow Street Runners and the Policing of London, 1750–1840. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-969516-4.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

- National Police Canine Association (US)
- United States Police Canine Association
- The North American Police Work Dog Association
- Los Angeles County Police Canine Association เก็บถาวร 2013-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน US
- Virginia Police Canine Association เก็บถาวร 2013-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน US
- American Working Dog Association