รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์
الدولة الإسلامية في العراق والشام
ad-Dawlah al-Islāmiyah fī 'l-ʿIrāq wa-sh-Shām
ธงสีดำมาตรฐานที่ใช้โดยไอซิล[1]
ตราของไอซิล[2][3][4]
ปฏิบัติการ
1999–ปัจจุบัน
แนวคิดอุดมการณ์รัฐอิสลาม
ลัทธิกุฏบ์
ตักฟีรี
ลัทธิวะฮาบีย์
ลัทธิซาลาฟี
แพน-อิสลาม
ต่อต้านชาวยาซิดี
ต่อต้านชีอะห์
ต่อต้านคริสเตียน
ต่อต้านฮินดู
ต่อต้านความหลากหลายทางเพศ
ต่อต้านชาวยิว
ต่อต้านเพศหญิง
กลุ่มจังหวัดอัลจีเรีย
จังหวัดคอเคซัส
จังหวัดแอฟริกากลาง
จังหวัดเอเชียตะวันออก
จังหวัดกาซา
จังหวัดสะฮารา
จังหวัดคุรอซาน
จังหวัดลิเบีย
จังหวัดไซนาย
จังหวัดโซมาเลีย
จังหวัดแอฟริกาตะวันตกจังหวัดเยเมน
ผู้นำผู้นำ: อะบู ฮัฟส์ อัลฮาชิมี อัลกุเราะชี[11]

อดีตผู้นำ: อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี [12], อะบู อิบรอฮีม อัลฮาชิมี อัลกุเราะชี [13], อะบู อัลฮะซัน อัลฮาชิมี อัลกุเราะชี [14], อะบู อัลฮุสเซน อัลฮุสเซนี อัลกุเราะชี [15] รองหัวหน้าในอิรัก: อะบู ฟะฏิมะห์ อัลญะฮัยชี[16] รองหัวหน้าในซีเรีย: อะบู อะลี อัลอันบารี [17][18] รองหัวหน้าในลิเบีย: อับเดลบาเกร์ อันนัจดี[19] หัวหน้าทหาร: อะบูซาเลฮ์ อัลโอบัยดี[16] หัวหน้าสภาชูรอ: อะบูอัรกาน อัลอะเมรี[20] หัวหน้าโฆษก: อะบูโมฮัมมัด อัลอัดนานี [21][22][23][24][25] หัวหน้าปฏิบัติการทหารซีเรีย: อาบู โอมาร์ อัลชิชานี [22][26][27][28][29] กระทรวงสงคราม: กุลมูรอด คาลีโมฟ[30] กระทรวงข้อมูล: วะอิล อะดิล ฮะซํน ซัลมาน อัลฟะยัด [31]

โฆษก: อะบู ฮูไทฟา อัลอันซารี
กองบัญชาการ
พื้นที่ปฏิบัติการ
ดินแดนของรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์เป็นสีเทา ในช่วงเวลาที่ขยายได้สูงสุด (พฤษภาคม ค.ศ. 2015).
รายละเอียดในแผนที่
กำลังพล
จำนวนทหาร
ประชากร
  • ในปีค.ศ. 2015 (ใกล้จุดขยายสูงสุด): 8–12 ล้าน[50][51]
ส่วนหนึ่งของ อัลกออิดะฮ์ (2004-2014)
ถือกำเนิดที่ ญะมาอัต อัตเตาฮีด วัลญิฮาด (1999)[52]
พันธมิตรดูข้างล่าง
ปรปักษ์รัฐศัตรู

 อัฟกานิสถาน
 แคนาดา
 สหภาพยุโรป
 ฝรั่งเศส
 อินเดีย
 อิหร่าน
 อิรัก
 อิสราเอล
 จอร์แดน
 เลบานอน
 ลิเบีย
 โมซัมบิก
 ไนจีเรีย
 ปากีสถาน
 ฟิลิปปินส์
 รัสเซีย
 ซาอุดีอาระเบีย
 ซีเรีย
 ตุรกี
 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
 สหราชอาณาจักร
 สหรัฐ
 เยเมน
รัฐศัตรูอื่นๆ
 อับฮาเซีย
 แอลเบเนีย
 แอลจีเรีย
 อาร์มีเนีย
 นากอร์โน-คาราบัค
 ออสเตรเลีย
 ออสเตรีย
 อาเซอร์ไบจาน
 บาห์เรน
 บังกลาเทศ
 เบลเยียม
 เบนิน
 โบลิเวีย
 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
 บราซิล
 บัลแกเรีย
 กัมพูชา
 แคเมอรูน
 ชาด
 จีน
 สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
 โครเอเชีย
 เช็กเกีย
 เดนมาร์ก
 จิบูตี
 อียิปต์
 เอสโตเนีย
 ฟีจี
 ฟินแลนด์
 จอร์เจีย
 เยอรมนี
 กรีซ
 ฮังการี
 อินโดนีเซีย
 ไอร์แลนด์
 อิตาลี
 ญี่ปุ่น
 คาซัคสถาน
 เกาหลีเหนือ
 เกาหลีใต้
 คอซอวอ
 คีร์กีซสถาน
 ลัตเวีย
 ลิทัวเนีย
 ลักเซมเบิร์ก
 มาเลเซีย
 มัลดีฟส์
 มอลตา
 มอริเชียส
 เม็กซิโก
 มอลโดวา
 โมร็อกโก
 พม่า
 เนเธอร์แลนด์
 นิวซีแลนด์
 นิการากัว
 ไนเจอร์
 มาซิโดเนียเหนือ
 นอร์เวย์
 โอมาน
 ปาเลสไตน์
 โปแลนด์
 โปรตุเกส
 กาตาร์
 โรมาเนีย
สาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี
 เซอร์เบีย
 สิงคโปร์
 สโลวาเกีย
 สโลวีเนีย
 โซมาเลีย
 เซาท์ออสซีเชีย
 สเปน
 ศรีลังกา
 สวีเดน
 สวิตเซอร์แลนด์
 ไต้หวัน
 ทาจิกิสถาน
 ไทย
 ตรินิแดดและโตเบโก
 ตูนิเซีย
 เติร์กเมนิสถาน
 ยูกันดา
 ยูเครน
 อุซเบกิสถาน
 เวียดนาม

ศัตรูที่ไม่ใช่รัฐ
รัฐบาลชั่วคราวของซีเรีย
เพชเมอร์กา
อัลกออิดะห์
ศัตรูที่ไม่ใช่รัฐอื่นๆ
ฮิซบุลลอฮ์
ขบวนการฮูตี
กองทัพซีเรียเสรี
ฮามาส
หน่วยป้องกันที่ราบนิเนเวห์
สหภาพชุมชนชาวเคิร์ด
เคอร์ดิสถานอิรัก
อันนุสราฟรอนต์
อะฮ์ราร อัชชาม
กองกำลังโล่ลิเบีย
สภาชูรออ์แห่งมุญาฮิดีนในเดอร์มา

รายชื่อทั้งหมด
การสู้รบและสงครามสงครามอิรัก (2003-2011)
การก่อความไม่สงบในอิรัก
สงครามกลางเมืองซีเรีย
สงครามในอิรัก (2013-2017)
สงครามกลางเมืองลิเบียครั้งที่สอง
การก่อความไม่สงบของกลุ่มโบโกฮาราม
การก่อความไม่สงบในแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา
สงครามในอัฟกานิสถาน
สงครามกลางเมืองเยเมน
และสงครามอื่นๆ

รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (อังกฤษ: Islamic State of Iraq and the Levant, ย่อ: ISIL) หรือเรียก รัฐอิสลามอิรักและซีเรีย (อังกฤษ: Islamic State of Iraq and Syria; ย่อ: ISIS), รัฐอิสลามอิรักและอัชชาม (อังกฤษ: Islamic State of Iraq and ash-Sham) หรือรัฐอิสลาม (อังกฤษ: Islamic State; ย่อ: IS) เป็นกลุ่มก่อการร้ายและกองกำลังติดอาวุธข้ามชาติที่ดำเนินการตามแนวคิดญิฮัดซาลาฟี ซึ่งตั้งตนเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์และรัฐอิสลาม กลุ่มนี้มีชาวอาหรับนิกายซุนนีย์จากประเทศอิรักและซีเรียเป็นผู้นำและเป็นส่วนใหญ่ ในเดือนมีนาคม 2015 กลุ่มควบคุมดินแดนที่มีประชากร 10 ล้านคนในประเทศอิรักและซีเรีย และควบคุมเหนือดินแดนขนาดเล็กในประเทศลิเบีย ไนจีเรียและอัฟกานิสถานผ่านกลุ่มท้องถิ่นที่ภักดี กลุ่มนี้ยังปฏิบัติการหรือมีสาขาในส่วนอื่นของโลก รวมถึงแอฟริกาเหนือและเอเชียใต้

วันที่ 29 มิถุนายน กลุ่มตั้งต้นเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ทั่วโลก โดยมีอะบู บักร์ อัลบัฆดาดีเป็นเคาะลีฟะฮ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นอัดเดาละฮ์ อัลอิสลามิยะฮ์ (อาหรับ: الدولة الإسلامية, ad-Dawlah al-Islāmiyah "รัฐอิสลาม") ด้วยเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ กลุ่มนี้อ้างอำนาจทางศาสนา การเมืองและทหารเหนือมุสลิมทุกคนทั่วโลก และว่า "ความชอบด้วยกฎหมายของทุก ๆ เอมิเรต กลุ่ม รัฐและองค์การเป็นโมฆะโดยการแผ่ขยายอำนาจของเคาะลีฟะฮ์และทหารของรัฐเคาะลีฟะฮ์มาถึงพื้นที่ของสิ่งเหล่านี้"[53][54][55][56] สหประชาชาติถือว่า ISIL รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงคราม และองค์การนิรโทษกรรมสากลรายงานการล้างชาติพันธุ์ของกลุ่มใน "ขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อน" สหประชาชาติ สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อียิปต์ อินเดียและรัสเซียประกาศให้กลุ่มนี้เป็นองค์การก่อการร้าย กว่า 60 ประเทศกำลังทำสงครามโดยตรงหรือโดยอ้อมต่อ ISIL

กลุ่มนี้กำเนิดเป็น "จามาต ตอฮิด วัล ญิฮัด" (Jama'at al-Tawhid wal-Jihad) ในปี 1999 ซึ่งสวามิภักดิ์ต่ออัลกออิดะฮ์ในปี 2004 กลุ่มนี้เข้าร่วมการก่อการกำเริบอิรักให้หลังการบุกครองอิรักในปี 2003 โดยกำลังตะวันตก ในเดือนมกราคม 2006 กลุ่มนี้เข้ากับกลุ่มก่อการกำเริบซุนนีย์อื่นตั้งเป็นสภาชูรามุญาฮิดีน (Mujahideen Shura Council) ซึ่งประกาศตั้งรัฐอิสลามอิรัก (Islamic State of Iraq หรือ ISI) ในเดือนตุลาคม 2006 หลังสงครามกลางเมืองซีเรียอุบัติในเดือนมีนาคม 2011 ISI โดยมีอัลบัฆดาดีเป็นผู้นำ ส่งผู้แทนไปซีเรียในเดือนสิงหาคม 2011 นักรบเหล่านี้ตั้งชื่อตัวเองเป็นญับฮะตุลนุศเราะฮฺลิอะห์ลิอัชชาม (Jabhat an-Nuṣrah li-Ahli ash-Shām) หรือแนวอัลนุสรา (al-Nusra Front) และเข้าไปในอยู่ในพื้นที่ของซีเรียซึ่งมีมุสลิมซุนนีย์เป็นส่วนใหญ่จำนวนมาก ในผู้ว่าราชการอัรร็อกเกาะฮ์ อิดลิบ เดอีร์เอซซอร์ และอะเลปโป ในเดือนเมษายน 2013 อัลบัฆดาดีประกาศรวม ISI กับแนวร่วมอัลนุสราแล้วเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (Islamic State of Iraq and the Levant หรือ ISIL) อย่างไรก็ดี อะบู มุฮัมมัด อัลจูลานี (Abu Mohammad al-Julani) และอัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำของอัลนุสราและอัลกออิดะฮ์ตามลำดับ ปฏิเสธการรวมดังกล่าว วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2014 หลังการแย่งอำนาจนานแปดเดือน อัลกออิดะฮ์เรียกกลุ่มนี้ว่า "สุดโต่งเกิน" และตัดความสัมพันธ์ทั้งหมดกับ ISIL โดยอ้างว่าไม่สามารถปรึกษาได้และไม่ยอมอ่อนข้ออย่างเปิดเผย" ในประเทศซีเรีย กลุ่มนี้ดำเนินการโจมตีภาคพื้นดินต่อทั้งกำลังรัฐบาลและกลุ่มแยกกบฏในสงครามกลางเมืองซีเรีย กลุ่มนี้มีความสำคัญหลังขับกำลังรัฐบาลอิรักออกจากนครสำคัญในภาคตะวันตกของอิรักในการรุกที่เริ่มเมื่อต้นปี 2014 การเสียดินแดนของอิรักแทบทำให้รัฐบาลอิรักล่มและทำให้สหรัฐรื้อฟื้นการปฏิบัติทางทหารใหม่ในอิรัก[57][58][59][60]

เดือนตุลาคม 2014 กองกำลังเฉพาะกิจร่วมนำโดยสหรัฐเริ่มปฏิบัติการโจมตีรัฐอิสลามทางอากาศอย่างหนัก พร้อมด้วยสนับสนุนด้านที่ปรึกษา ยุทโธปกรณ์และการฝึกให้แก่กองทัพอิรักและกองทัพประชาธิปไตยซีเรีย ปฏิบัติการนี้สร้างความเสียหายให้รัฐอิสลามอย่างมาก[61] เดือนกันยายน 2015 รัสเซียเริ่มปฏิบัติการทางอากาศในซีเรีย ซึ่งยิ่งสร้างความเสียหายแก่รัฐอิสลาม[62] เดือนกรกฎาคม 2017 รัฐอิสลามเสียเมืองโมซูลซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด ตามด้วยอัรร็อกเกาะฮ์ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเมืองหลวงให้แก่กองทัพอิรัก[63] หลังจากนั้น รัฐอิสลามเสียดินแดนมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเดือนธันวาคม 2017 ไฮเดอร์ อัล-อะบาดี นายกรัฐมนตรีอิรักประกาศว่ากองทัพอิรักสามารถขับไล่ที่มั่นสุดท้ายของรัฐอิสลามในอิรักได้สำเร็จ[64] เดือนมีนาคม 2019 รัฐอิสลามเสียที่มั่นสำคัญสุดท้ายในตะวันออกกลาง[44] ในวันที่ 27 ตุลาคม 2019 อะบู บักร์ อัลบัฆดาดี เคาะลีฟะฮ์แห่งรัฐอิสลามปลิดชีพตัวเองด้วยระเบิดที่ติดไว้กับตัวหลังถูกหน่วยปฏิบัติการพิเศษสหรัฐไล่ล่า[65][66][67][68][69] วันที่ 31 ตุลาคม 2019 รัฐอิสลามยืนยันการเสียชีวิตของอัลบัฆดาดี และประกาศว่าอะบู อิบรอฮีม อัลฮาชิมี อัลกุเราะชีจะขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮ์คนใหม่[70] วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2022 ทางการสหรัฐรายงานว่าอัลกุเราะชีปลิดชีพตนเองพร้อมสมาชิกในครอบครัวด้วยระเบิดหลังถูกหน่วยปฏิบัติการพิเศษสหรัฐบุกจู่โจมที่เมืองอัตมะฮ์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย[71] วันที่ 10 มีนาคม 2022 อะบู โอมาร์ อัลมูฮาจีร์ โฆษกรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ประกาศว่าอะบู อัลฮะซัน อัลฮาชิมี อัลกุเราะชีจะดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป[72] วันที่ 30 พฤศจิกายน 2022 รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ประกาศว่าอะบู อัลฮะซันเสียชีวิตในการต่อสู้ และอะบู อัลฮุสเซน อัลฮุสเซนี อัลกุเราะชีจะดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป[73] วันที่ 30 เมษายน 2023 เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ประธานาธิบดีตุรกีประกาศว่าองค์การข่าวกรองแห่งชาติตุรกีได้สืบหาและสังหารอะบู อัลฮุสเซนในวันที่ 29 เมษายน ต่อมาในวันที่ 3 สิงหาคม ปีเดียวกัน อะบู ฮูไทฟา อัลอันซารี โฆษกรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ยืนยันการเสียชีวิตของอะบู อัลฮุสเซน และประกาศว่าอะบู ฮัฟส์ อัลฮาชิมี อัลกุเราะชีจะดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป[74]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Gander, Kashmira (7 July 2015). "Isis flag: What do the words mean and what are its origins?". The Independent.
  2. Zelin, Aaron Y. (29 January 2019). "New video message from The Islamic State: "Fulfilling the Promise – Wilāyat al-'Irāq, Kirkūk"".
  3. "Statement of ISIS – The Battle of Brussels". Investigativeproject.org (ภาษาอาหรับ).
  4. "ISIS ID CARD". gdb.rferl.org.
  5. Pool, Jeffrey (16 December 2004). "Zarqawi's Pledge of Allegiance to Al-Qaeda: From Mu'Asker Al-Battar, Issue 21". Terrorism Monitor. Vol. 2 no. 24. Jamestown Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2007.
  6. "Al-Qaeda disavows ISIS militants in Syria". BBC News. 3 February 2014.
  7. Holmes, Oliver (3 February 2014). "Al Qaeda breaks link with Syrian militant group ISIL". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-21. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  8. Laskar, Rezaul H. (29 January 2015). "IS announces expansion into AfPak, parts of India". Hindustan Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-14. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  9. Elbagir, Nima; Cruickshank, Paul; Tawfeeq, Mohammed (7 March 2015). "Boko Haram purportedly pledges allegiance to ISIS". CNN.
  10. Gambhir, Harleen (23 June 2015). "ISIS Declares Governorate in Russia's North Caucasus Region". Institute for the Study of War.
  11. "ISIL confirms death of leader Abu Hussein al-Qurashi, names successor". Al Jazeera. 3 August 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2023. สืบค้นเมื่อ 3 August 2023.
  12. Rubin, Alissa J. (5 July 2014). "Militant Leader in Rare Appearance in Iraq". The New York Times.
  13. "Islamic State confirms Baghdadi is dead, appoints successor". Reuters. 31 October 2019.
  14. Mroue, Bassem (1 December 2022). "Syrian rebels didn't know jihadist they killed was Islamic State leader". The Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 5 December 2022.
  15. "Islamic State Confirms Death of Its Leader, Names Replacement" (3 August 2023). Reuters. Retrieved 7 August 2023.
  16. 16.0 16.1 Al-Tamimi, Aymenn Jawad (24 January 2016). "An Account of Abu Bakr al-Baghdadi & Islamic State Succession Lines". Aymenn Jawad Al-Tamimi's Blog.
  17. "Abd al-Rahman Mustafa al-Qaduli". Rewards for Justice. United States Department of State, Bureau of Diplomatic Security. 5 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2015.
  18. Schmidt, Michael (25 March 2016). "A Top ISIS Leader Is Killed in an Airstrike, the Pentagon Says". The New York Times.
  19. Laghmari, Jihen; Alexander, Caroline; Follain, John (16 March 2016). "Islamic State Spreads in North Africa in Attacks Ignored by West". Bloomberg News.
  20. "ISIS Leadership". Frontline. PBS. 2015. สืบค้นเมื่อ 14 August 2015.
  21. Chulov, Martin (31 August 2016). "Abu Muhammad al-Adnani's death does not signal the demise of Isis". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 31 August 2016.
  22. 22.0 22.1 Lister, Charles (2014). "Islamic State Senior Leadership: Who's Who" (PDF). Brookings Institution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 March 2016.
  23. "Here's What We Know About the 'Caliph' of the New Islamic State". Business Insider. AFP. 29 June 2014.
  24. "ISIS Spokesman Declares Caliphate, Rebrands Group as Islamic State". Jihadist News. SITE Intelligence Group. 29 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-29. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  25. "Pentagon Confirms U.S. Strike in Syria Killed ISIL Leader". DoD News. United States Department of Defense. 12 September 2016.
  26. Garland, Chad (14 July 2016). "Islamic State says top commander is dead; Pentagon unsure". Stars and Stripes.
  27. Worley, Will (13 July 2016). "Isis confirms death of hugely popular 'minister of war' Omar al-Shishani". The Independent.
  28. Starr, Barbara (15 March 2016). "U.S. assesses ISIS operative Omar al-Shishani is dead". CNN.
  29. "Tarkhan Tayumurazovich Batirashvili". Rewards for Justice. U.S. Department of State, Bureau of Diplomatic Security. 5 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2015.
  30. "Isis: US-trained Tajik special forces chief Gulmurod Khalimov becomes Isis 'war minister'". International Business Times. 6 September 2016.
  31. "Isis's propaganda chief, Dr. Wa'il, killed in airstrike, Pentagon confirms". The Guardian. Reuters. 16 September 2016.
  32. "ISIS 'essentially moved' its Syria HQ from Raqqa to Deir ez-Zor province". RT. 23 April 2017.
  33. "Syrian army captures Mayadin from ISIS near Deir ez-Zor". Rudaw. 14 October 2017.
  34. Benhaida, Sarah; al-Rubaye, Ahmad (26 October 2017). "Iraq forces launch 'last big fight' against IS". Rudaw.
  35. "Anti-IS forces converge on Syria border town". Agence France-Presse. 4 November 2017 – โดยทาง Yahoo News.
  36. "Syrian army & allies capture last major ISIS held town in Syria". RT. Russia: TV-Novosti. 4 November 2017.
  37. Bussoletti, Francesco (29 June 2018). "Syria, the Isis pockets of resistance at Deir Ezzor are reduced to two". Difesa & Sicurezza.
  38. Aboufadel, Leith (13 December 2018). "Breaking: SDF captures Daesh's de facto capital in Syria". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-06. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  39. "US-backed fighters seize east Syria village from ISIS". The National.
  40. Aboufadel, Leith (24 January 2019). "ISIL's reign over eastern Euphrates nearing its end – map". Al-Masdar News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-11. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  41. Callimachi, Rukmini (24 January 2019). "Down to Its Last 2 Villages in Syria, ISIS Still Fights Back". The New York Times.
  42. Aboufadel, Leith (7 February 2019). "ISIS squeezed into last areas as SDF troops capture 2 villages east of the Euphrates (MAP)". Al-Masdar News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-19. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  43. Hussein, Rikar (9 February 2019). "US-backed Fighters Launch Final Push to Defeat IS in Syria". Voice of America.
  44. 44.0 44.1 "US-allied Syrian force declares victory over Islamic State". The Washington Post. 23 March 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-01. สืบค้นเมื่อ 2019-11-03.
  45. Cockburn, Patrick (16 November 2014). "War with Isis: Islamic militants have army of 200,000, claims senior Kurdish leader". The Independent.
  46. 46.0 46.1 Gartenstein-Ross-ROSS, Daveed (9 February 2015). "How many Fighters Does the Islamic State Really Have?". War on the Rocks.
  47. "Saddam's former army is secret of Baghdadi's success". Reuters. 16 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-03. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015.
  48. "Operation Inherent Resolve and other overseas contingency operations" (PDF). US Department of Defense. 31 December 2018.
  49. "Briefing With Special Representative for Syria Engagement and Special Envoy for the Global Coalition To Defeat ISIS Ambassador James Jeffrey". state.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2019. สืบค้นเมื่อ 11 May 2019.
  50. Shinkman, Paul D. (27 December 2017). "ISIS By the Numbers in 2017". U.S. News & World Report.
  51. Jones, Seth G.; Dobbins, James; Byman, Daniel; และคณะ (2017). "Rolling Back the Islamic State". RAND Corporation. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
  52. Zelin, Aaron Y. (June 2014). The War between ISIS and al-Qaeda for Supremacy of the Global Jihadist Movement (PDF). Research Notes (Report). Vol. 20. The Washington Institute for Near East Policy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-02-20. สืบค้นเมื่อ 2020-04-15.
  53. Tharoor, Ishaan (18 June 2014). "ISIS or ISIL? The debate over what to call Iraq's terror group". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 21 June 2014.
  54. Withnall, Adam (29 June 2014). "Iraq crisis: Isis changes name and declares its territories a new Islamic state with 'restoration of caliphate' in Middle East". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 29 June 2014.
  55. "ISIS announces formation of Caliphate, rebrands as 'Islamic State'".
  56. "Abu Bakr al-Baghdadi: The man who would be caliph". The Week. 13 September 2014. สืบค้นเมื่อ 7 December 2014.
  57. Sly, Liz (23 July 2013). "Islamic law comes to rebel-held Syria". The Washington Post.
  58. Sly, Liz (3 February 2014). "Al-Qaeda disavows any ties with radical Islamist ISIS group in Syria, Iraq". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 7 February 2014.
  59. "Islamic State in Iraq and the Levant (ISIL)". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 1 February 2015.
  60. "Once promised paradise, ISIS fighters end up in mass graves". The Straits Times. 15 October 2017. สืบค้นเมื่อ 11 December 2017.
  61. "42 months of Russian operations on the Syrian territory kill more than 8000 civilians including more than 18150 people in their raids and shelling". Syrian Observatory for Human Rights. March 30, 2019.
  62. "US created Daesh, allowed regional states to fund terror group: Nasrallah". Press TV. 11 July 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2017.
  63. "Islamic State completely 'evicted' from Iraq, Iraqi PM says". The Age. 10 December 2017.
  64. "Al-Baghdadi Killed in Idlib, a Hotbed of Terror Groups, Foreign Fighters". VOA News. 27 October 2019.
  65. "US targeted ISIL leader Abu Bakr al-Baghdadi: US officials". Al Jazeera. Al Jazeera Media Network. 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  66. Browne, Ryan; Mattingly, Phil (27 October 2019). Zeleny, Jeff; Liptak, Kevin; Diamond, Jeremy (บ.ก.). "ISIS leader al-Baghdadi believed to have been killed in a US military raid, sources say". CNN. Turner Broadcasting System, Inc. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  67. Lubold, Gordon; Abdulrahim, Raja (27 October 2019). "Islamic State Leader Abu Bakr al-Baghdadi Is Dead, Trump Says". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  68. "Isis leader Abu Bakr al-Baghdadi killed in US raid, says Donald Trump - latest updates". The Guardian. 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 27 October 2019.
  69. Chulov, Martin (2019-10-31). "Islamic State names new leader after death of Abu Bakr al-Baghdadi". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2019-10-31.
  70. "Statement by President Joe Biden". The White House (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 3 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2022. สืบค้นเมื่อ 3 February 2022.
  71. Hubbard, Ben (10 March 2022). "ISIS Names a New Leader, but Says Little About Him". New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 March 2022.
  72. "Islamic State leader Abu Hasan al-Qurashi killed, names successor". Hindustan Times (ภาษาอังกฤษ). 2022-11-30. สืบค้นเมื่อ 2022-11-30.
  73. "Islamic State confirms death of its leader, names replacement". Reuters. August 3, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2023. สืบค้นเมื่อ 3 August 2023.
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "AsambleaVE" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า