กองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้
กองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ | |
---|---|
![]() ตรา | |
ประเทศ | ![]() |
รูปแบบ | กำลังกึ่งทหาร[1] |
บทบาท | ปะทะข้าศึกตามแนวชายแดน[1] ปฏิบัติการสนธิกำลัง[2][3][4] การลาดตระเวน[1] รักษาความปลอดภัย[5][6] การต่อต้านการก่อการร้าย[7][8] ติดตามจับกุม[7][9] ปิดล้อมตรวจค้น[10][6] ยึดของกลาง[11][12] ปราบปรามยาเสพติด[6][8][13] การรวบรวมข่าวกรอง[14] การสงครามภูเขา[10][15] ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่[8][14] |
กำลังรบ | 10,921 นาย (พ.ศ. 2554)[1][16] |
สมญา | นักรบชุดดำ[1] ดอกไม้เหล็กชายแดนใต้ (หญิง)[14][17] |
คำขวัญ | คุณธรรม อุดมการณ์ คือหัวใจทหารพราน เพื่อประชาชน[18][19] |
สีหน่วย | ดำ[1] |
วันสถาปนา | พ.ศ. 2549[7][20] |
ปฏิบัติการสำคัญ | การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศมาเลเซีย[21] ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[21][22] |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บังคับกองกำลัง | พันเอก สฐิรพงษ์ อาจหาญ |
ผบ. สำคัญ | พันเอก วิวรรธน์ ปฐมภาคย์[9] พลตรี มณี จันทร์ทิพย์[23][24][25] พลตรี พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์[26] พลตรี โภชน์ นวลบุญ[27] พันเอก คมกฤช รัตนฉายา[28][29] พันเอก วรเดช เดชรักษา |
กองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (อักษรย่อ: กกล.ทพ.จชต.;[30] อังกฤษ: Rangers forces of southern border provinces[31]) เป็นกองกำลังทหารพรานจำนวน 12 กรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้[32][33] ที่มีบทบาทสำคัญในการปราบปรามการก่อกำเริบคอมมิวนิสต์ รวมทั้งความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[34] นับเป็นหนึ่งในกองกำลังที่เผชิญกับสงครามภายในที่ยาวนานที่สุด[35]
นอกจากนี้ กองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีสถานะเป็นกองบังคับการหน่วยปฏิบัติการพิเศษร่วม[20] ซึ่งมีผู้บังคับกองกำลังและหน่วยปฏิบัติการพิเศษร่วมคนปัจจุบันคือ พ.อ.อิศรา จันทะกระยอม
ประวัติ[แก้]
ก่อนจัดตั้งกองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้[แก้]
หน่วยทหารพรานได้รับการจัดตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 เพื่อต่อสู้กับกลุ่มคอมมิวนิสต์ในสมัยนั้น โดยเป็นกำลังพลอาสาสมัครในแต่ละพื้นที่ เนื่องด้วยมีความเข้าใจในพื้นที่ ทำให้ง่ายในการต่อกรเชิงยุทธวิธีกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ และเนื่องด้วยภารกิจของทหารพรานมักมีความเสี่ยงสูง การพัฒนาด้านขีดความสามารถแก่ทหารพรานจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง[1]
จัดตั้งกองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้[แก้]
นับตั้งแต่เหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยทวีความรุนแรงเมื่อปี พ.ศ. 2547 กองทัพบกไทยได้เพิ่มจำนวนทหารพรานขึ้นถึงสามเท่า[34] ซึ่งกองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กกล.ทพ.จชต.) ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยมีภารกิจในการบังคับบัญชาหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพราน (ฉก.ทพ.) รวมถึงเป็นกองบังคับการหน่วยปฏิบัติการพิเศษร่วม[20]
การจัดตั้งกองกำลังเพิ่มเติม[แก้]
ต่อมากระทรวงกลาโหมเสนอให้มีการจัดตั้งกองบังคับการกรมทหารพรานเพิ่มเติม 5 กรม โดยใช้วงเงิน 2,692 ล้านบาทเศษ ซึ่งทางคณะรัฐมนตรีไทยได้อนุมัติเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 อันเป็นไปตามแผนถอนกำลังทหารหลัก โดยให้ทหารพรานที่เป็นกองกำลังถิ่นเข้าประจำการ โดยกองกำลังที่จัดตั้งเพิ่มเติมเพื่อทดแทนทหารหลักของกองทัพภาคที่ 1, 2 และ 3 ได้แก่ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 11, 22 และ 33 และกองกำลังหลักได้แก่ กรมทหารพรานที่ 48 และ 49[32][36][37]
นอกจากนั้น ยังได้มีการจัดตั้งกรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ เข้าเสริมการปฏิบัติงาน[38]
การปฏิบัติการ[แก้]
กองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีบทบาทในการสนธิกำลังร่วมกับทหาร,[39] ตำรวจ,[40] นาวิกโยธิน[10] และอาสารักษาดินแดน[39]
ในปี พ.ศ. 2561 เจ้าหน้าที่ทหารพรานได้ทำการป้องกันการบินสอดแนมจากอากาศยานไร้คนขับ หลังจากมีผู้ใช้เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 ยิงใส่ฐานปฏิบัติการชุดคุ้มครอง ที่อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ส่งผลให้อาสาสมัครทหารพรานและอาสาสมัครรักษาดินแดนได้รับบาดเจ็บ 2 นาย โดยได้ทำการยึด และสั่งยิงทำลาย กรณีที่มีการบินโดยไม่ขออนุญาต[41][42]
โครงสร้าง[แก้]
แบ่งหน่วยเป็นระดับกรม โดยมีผู้บังคับการกรมเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ซึ่งเหมือนกับกรมทหารหลักทั่วไป แต่ไม่มีโครงสร้างระดับกองพัน กรมทหารพรานแต่ละกรมแบ่งออกเป็น 15 กองร้อย โดยมีการจัดการกองร้อยในแต่ละกรมไม่เหมือนกัน แต่ละกรมประกอบด้วยทหารหลัก และทหารพราน ซึ่งทหารหลักจะรับผิดชอบในตำแหน่งหลัก อันเสมือนเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ทหารพราน[1]
จากข้อมูลปี พ.ศ. 2555 เผยว่ามีทหารพรานเป็นบุคคลในพื้นที่ประมาณ 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ และทหารพรานหญิงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวนร้อยเปอร์เซ็นต์[6]
กิจกรรมเพื่อสังคม[แก้]
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 กรมทหารพรานที่ 41 ได้ร่วมกับโรงพยาบาลบ้านแพ้วจากจังหวัดสมุทรสาคร, ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ผู้มีปัญหาด้านสายตา โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 1,000 คน[43]
นอกจากนี้ กำลังพลจากกรมทหารพรานต่าง ๆ ยังมีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยหลายครั้ง อาทิ การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบในจังหวัดปัตตานีเมื่อปี พ.ศ. 2560[44][45][46]
เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ[แก้]
มอบให้แก่บุคคลที่ทำคุณประโยชน์ หรือผู้มีอุปการคุณต่อกิจการทหารพราน เพื่อเป็นการตอบแทนคุณความดีและเป็นเกียรติประวัติ[47]
กองกำลัง[แก้]
กองกำลังหลัก[แก้]
กองกำลังทดแทน[แก้]
ชื่อหน่วย | กองบัญชาการ | ผู้บังคับการ | กำลังพล | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
กรมทหารพรานที่ 10 | พันเอก จิณณมนัส รอดโพธิ์ทอง | ● สังกัดกองทัพภาคที่ 1[32] ● ดูแลอำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส[33] | ||
กรมทหารพรานที่ 20 | พันเอก สุภัทร ชูตินันท์ | ● สังกัดกองทัพภาคที่ 2[32] ● ดูแลอำเภอยะรัง และอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี[33] | ||
กรมทหารพรานที่ 30 | พันเอก ชาตินักรบ พรศิริรัตน์ | ● สังกัดกองทัพภาคที่ 3[32]
● ดูแลอำเภอบันนังสตา และอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา[33] |
ยุทโธปกรณ์[แก้]
ยานพาหนะภาคพื้นดิน[แก้]
รุ่น | ภาพ | ประเภท | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
เฟิร์สวิน | ![]() |
รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ | ![]() |
|
รีวา เอพีซี[52][53] | ![]() |
รถลำเลียงพลหุ้มเกราะ | ![]() |
อาวุธเล็ก[แก้]
ชื่อ | ภาพ | ประเภท | ขนาดลำกล้อง | ที่มา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
ไทป์ 86 | ![]() |
ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ | .45 เอซีพี | ![]() ![]() |
ปืนพกเอ็ม 1911 เอ 1 ที่ผลิตภายใต้ใบอนุญาต |
เอ็ม 16 เอ 2 | ![]() |
ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | ![]() |
|
ไอเอ็มไอ ทาวอร์ ทาร์ 21 | ![]() |
ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | ![]() |
มีใช้ในกองทัพบกไทยเช่นกัน |
เอชเค 33[54] | ![]() |
ปืนเล็กยาวจู่โจม | 5.56×45 มม. นาโต | ![]() ![]() |
|
อาก้า[55] | ![]() |
ปืนเล็กยาวจู่โจม | 7.62×39 มม. เอ็ม 43 | ![]() |
ได้มาจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) |
เอเค 104 | ![]() |
คาร์บิน | 7.62×39 มม. | ![]() |
กรมส่งกำลังบำรุงทหารบกจัดหาจากสหพันธรัฐรัสเซีย |
เบเรตตา จีเอลเลอิกซ์ 160 | ![]() |
เครื่องยิงลูกระเบิด | ลูกระเบิดขนาด 40×46 มม. | ![]() |
กองทัพบกไทยจัดหาให้ทหารพรานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ |
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 ผ่าโครงสร้างใหม่ทหารพราน (1) แผนถอนทหารหลักพ้นชายแดนใต้
- ↑ ทหารพรานสนธิกำลังบุกยึดค่ายโจรใต้ที่บุกยึด รพ.เจาะไอร้อง บนเทือกเขาตะเว
- ↑ ล่าคาร์บอมบ์ ถล่มปัตตานี ดักบึ้มอส. สนั่นนรา แค่รถพัง - ข่าวสด
- ↑ กวาดล้างเท่าไรก็ไม่สะอาด ! ยาบ้ากว่าสองแสนเม็ด ยาเสพติดและอาวุธสงครามเพียบ
- ↑ "ข่าวรายงานพิเศษ : ปรับแผนดูแลภาคใต้ช่วงปีใหม่ ยุทธการพรานพิฆาตไพรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-17. สืบค้นเมื่อ 2019-04-24.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 แม่ทัพภาค 4 คาด 2 ปี 3 จังหวัดภาคใต้เย็นลง ยันไม่มีซ้อมทรมาน 'ผู้ต้องสงสัย-แนวร่วม' สู้ทุกทางกับ ‘องค์กรลับ’ ชิงประชาชนคืน วอนเข้าใจทหาร-ดูแลทุกคนแต่กลับถูกฆ่า
- ↑ 7.0 7.1 7.2 ปัตตานี-วันสถาปนาทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ - สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ 8.0 8.1 8.2 1 ปีมีหนเดียว!!! ทหารพรานชายแดนใต้รวมพล แม่ทัพภาค 4 รวมวันสถาปนา มอบเกียรติบัตรเชิดชู คนทำความดีเพื่อแผ่นดิน
- ↑ 9.0 9.1 ผบ.กองกำลังทหารพรานเยี่ยมลูกน้องเหยื่อระเบิด - Manager Online
- ↑ 10.0 10.1 10.2 หน่วยเฉพาะกิจยึดพื้นที่เทือกเขาบูโด - โพสต์ทูเดย์ ข่าวภูมิภาค
- ↑ ทหารพราน ปะทะโจรใต้ ที่รือเสาะ ยึดของกลางเพียบ - Thairath
- ↑ ทหารพรานนราธิวาส เร่งติดตามแนวร่วมผู้ก่อเหตุไม่สงบ - Thai PBS News
- ↑ ผบช.ภาค 9 แถลงจับยาเสพติดล็อตใหญ่ที่ขนจากภาคเหนือลงชายแดนใต้
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 บทบาทสตรีกับการส่งเสริมความมั่นคง อาสาสมัครทหารพรานหญิงชายแดนใต้
- ↑ ทหารพรานยุคใหม่ ใช้หัวใจดูแลประชา - Matichon
- ↑ "คำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-23. สืบค้นเมื่อ 2019-04-24.
- ↑ 17.0 17.1 Iron flowers of the Deep South: The story of female paramilitaries and identity conflict (อังกฤษ)
- ↑ ทหารพรานยุคใหม่ ใช้หัวใจดูแลประชา - มติชน
- ↑ วันคล้ายวันสถาปนาวันทหารพรานกองทัพบก ประจำปี ๒๕๕๖
- ↑ 20.0 20.1 20.2 วันสถาปนาทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ - ข่าวภาคใต้ชายแดน
- ↑ 21.0 21.1 21.2 32 ปี สถาปนากรมทหารพรานที่ 41 กรมสำคัญช่วยขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้
- ↑ "คุมเข้มป้องกันเหตุร้ายชายแดนใต้ - ครอบครัวข่าว - Ch3Thailand". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-17. สืบค้นเมื่อ 2019-04-24.
- ↑ กองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดกำลังฝึกอบรมการใช้อาวุธปืนพกเพื่อความปลอดภัย
- ↑ "พลตรี มณี จันทร์ทิพย์ - มูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-05-13. สืบค้นเมื่อ 2019-04-24.
- ↑ หนังสือเพื่อน้อง โครงการสานสายใยสู่ใจประชาชนรอบค่ายอิงคยุทธบริหาร
- ↑ ทหารคุมเสี่ยโจ้ปัตตานีสอบค่ายอิงคยุทธ - โพสต์ทูเดย์ ข่าวภูมิภาค
- ↑ กรมทหารพราน 41 ยะลา โชว์ฝึกทบทวนการปฏิบัติตามยุทธวิธีรับการมาเยือน ผบ.กกล.ทพ.จชต.
- ↑ เปิดหมดเปลือก ใครสั่งให้วางบึ้มทหารพราน!! ผบ.ฉก. 1 ใน 6 โจรใต้ ทีมบึ้มทหารพรานแถลง สารภาพใครบงการ? ใครสั่งการ?
- ↑ กอ.รมน.ภ.4สน. เตือนทุกหน่วยเฝ้าระวังการตอบโต้ทุกรูปแบบ หวั่นสมุนล้างแค้นเหตุปะทะ 2 ศพ ที่ยะลา
- ↑ กำลังประจำถิ่น กองกำลังทหารพรานจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กกล.ทพ.จชต.)[ลิงก์เสีย]
- ↑ Sia Jo suspected of involvement in illegal activities - Bangkok Post (อังกฤษ)
- ↑ 32.00 32.01 32.02 32.03 32.04 32.05 32.06 32.07 32.08 32.09 32.10 32.11 32.12 32.13 ผ่าโครงสร้างใหม่ทหารพราน (2) จับตาแผนตั้ง "กองทัพน้อยที่ 4" สวนทางลดกำลังพล?
- ↑ 33.00 33.01 33.02 33.03 33.04 33.05 33.06 33.07 33.08 33.09 33.10 33.11 33.12 เคยสงสัยไม๊! หน่วยทหารพรานเยอะไปหมดในภาคใต้ หน่วยไหนดูแลตรงไหน มาดูกัน - m today
- ↑ 34.0 34.1 เหตุการณ์ภาคใต้ของไทย:ปัญหาของกองกำลังทหารพรานและอาสา
- ↑ จังหวัดชายแดนภาคใต้ : สงครามภายในที่ยาวที่สุด - มติชน
- ↑ ทบ.ใช้ทหารพรานดับไฟใต้ เตรียมส่งเพิ่ม 2 กองร้อย - ไทยรัฐ
- ↑ 'ผบ.ทบ.'ยันใช้ทหารพรานดับไฟใต้ - คมชัดลึก
- ↑ กองทัพบก เตรียมถอนทหารออกจากพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ : PPTVHD36
- ↑ 39.0 39.1 ลงพื้นที่ปะนาเระดูจุดเกิดเหตุบึ้มรถรีว่า กับน้ำตาภรรยา 2 ทหารพราน
- ↑ ทหารพรานวิสามัญผู้ต้องสงสัยก่อความไม่สงบ 2 ราย ที่จะแนะ นราธิวาส
- ↑ ในประเทศ - จนท.บุกค้นบ้านเป้าหมายยึด 'โดรน' หลังคนร้ายบินสอดแนมยิง M79 ใส่ฐานชุดคุ้มครองยะลา
- ↑ "ห้ามบินโดรน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หากพบสั่งยิงทำลายทันที!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-16. สืบค้นเมื่อ 2019-04-24.
- ↑ "ผ่ายุทธการแก้ไฟใต้ "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" - Mthai". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-17. สืบค้นเมื่อ 2019-04-24.
- ↑ ทหารพรานช่วยเหลือชาวบ้านน้ำท่วมจ.ยะลา - คมชัดลึก
- ↑ ภาพประทับใจ! ทหารไม่ย่อท้อ ลุยน้ำท่วมเกือบมิดคอ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- ↑ ทหารพรานออกช่วยเหลือชาวใต้ประสบภัยน้ำท่วม - ข่าวสด
- ↑ แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธานในพิธีทำบุญเนื่องในวันสถาปนาหน่วยทหารพราน กองทัพบก ครบรอบ 40 ปี[ลิงก์เสีย]
- ↑ 48.0 48.1 ในประเทศ - 'บิ๊กใหม่' บินลงใต้ร่วมงานวันสถาปนาครบรอบ 40 ปีทหารพราน
- ↑ เรื่องเด่น-ภาคใต้ - รัฐตั้งเป้าซื้อ "โดรน" กว่าร้อยลำ? คนชายแดนใต้ทั้งหนุนทั้งค้าน
- ↑ สุดภูมิใจ! 'ชาโน' นักแสดงลูกครึ่ง ไปนราฯ สมัครอาสาทหารพราน - ไทยรัฐ
- ↑ "กรมทหารพรานที่ ๔๙ จัดพิธีวันสถาปนาหน่วย ครบรอบปีที่ ๖ - หนังสือพิมพ์ ดี ดี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-23. สืบค้นเมื่อ 2019-04-24.
- ↑ โจรใต้วางบึ้มทหารพรานเจาะไอร้องเจ็บ 6 - โพสต์ทูเดย์ ข่าวภูมิภาค
- ↑ ดักบึมรถเกราะทหารพราน ขณะวิ่งลาดตระเวน สายยะลา–เบตง - ไทยรัฐ
- ↑ โจรใต้ดักยิงทหารพรานเสียชีวิต 1 นาย ก่อนฉกปืนหนี - ไทยรัฐ
- ↑ ใต้ป่วนประปรายหลังยุบสภา แย่งปืนทหารยิงสนั่นสาหัสทั้งคู่ บึ้มรถ จนท.ไร้เจ็บ
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]