ลำดับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ต่อไปนี้เป็น ลำดับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

พ.ศ. 2545[แก้]

  • 30 มีนาคม – สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) คณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 43 (พตท. 43) ซึ่งรัฐบาลมีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 123/2545 ยุบ ศอ.บต. คณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ พตท. 43 เมื่อวันที่ 30 เมษายน ปีเดียวกัน[1] สำนักข่าวอิศราวิจารณ์ว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นสาเหตุที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าทำให้เกิดความไม่สงบรอบใหม่[2] นักวิจารณ์ระบุว่าที่หน่วยงานดังกล่าวถูกยุบเพราะมีความสัมพันธ์กับพรรคประชาธิปัตย์ บ้างว่าเป็นการพยายามเปลี่ยนการควบคุมการลักลอบขนสินค้าข้ามแดนจากทหารมาให้ตำรวจ[ต้องการอ้างอิง]

พ.ศ. 2547[แก้]

"ถ้าคุณมีกองทหารทั้งกองพันอยู่ที่นั้น แต่คุณก็ยังไม่ระวังตัว ถ้าอย่างนั้นก็สมควรตาย"

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร

พ.ศ. 2548[แก้]

  • 3 เมษายน - เหตุระเบิดในจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2548 มีผู้วางระเบิดและจุดระเบิดขึ้น มีผู้เสียชีวิต 2 ราย[10]
  • 18 กรกฎาคม - รัฐบาลประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจัดตั้งตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ[11]
  • 21 กรกฎาคม - ยกเลิกกฎอัยการศึกในพื้นที่สามจังหวัด[12][13]
  • 20 กันยายน - นาวาเอก วินัย นาคะบุตร และ นาวาตรี คำธร ทองเอียด นาวิกโยธิน 2 นายจากค่ายจุฬาภรณ์ ถูกชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในพื้นที่หมู่ 7 ตำบลตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส รุมทำร้ายเสียชีวิต หลังถูกจับเป็นตัวประกันนานกว่า 19 ชั่วโมง เนื่องจากเข้าใจว่าเป็นผู้ร่วมก่อเหตุใช้อาวุธสงครามกราดยิงเข้าใส่ร้านน้ำชาในอำเภอระแงะ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 5 ราย[14]
  • 5 ตุลาคม - คนร้ายบุกเข้าโจมตีจุดตรวจของหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 45 ตั้งอยู่ริมถนนสายยานิง-เจาะไอร้อง หมู่ 1 บ้านเจาะไอร้อง ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารพรานเสียชีวิต 5 นาย บาดเจ็บสาหัส 1 นาย
  • 16 ตุลาคม - ที่วัดพรหมประสิทธิ์ ม.2 ต.บ้านนอก อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี คนร้ายฆ่าพระสงฆ์และคนภายในวัดรวมเสียชีวิต 3 ราย
  • 26 ตุลาคม - ผู้ใหญ่บ้านและ รักษาความปลอดภัยหมู่บ้านจังหวัดนราธิวาส ถูกยิงเสียชีวิต 1 ราย ได้แก่ นายมามะวาระดี สาอุ ผู้ใหญ่บ้าน ม.5 บ้านบาโงอาแซ ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 4 ราย [15]
  • 2 พฤศจิกายน - คนร้ายโจมตีระบบไฟฟ้าเมืองนราธิวาส ด้วยระเบิดพร้อมกัน 16 จุด ระเบิด 8 จุด มีผู้เสียชีวิต 1 ราย [16]
  • 3 พฤศจิกายน - พล.ท.ขวัญชาติ กล้าหาญ แม่ทัพภาคที่ 4 ได้ลงนามในประกาศกองทัพภาคที่ 4 เรื่องการใช้กฎอัยการศึกเพิ่มเติมในเขตอำเภอจะนะ และอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา[17]
  • 7 พฤศจิกายน - บนถนนสายทอง 1 ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกคนร้ายยิงนายอับดุลเลาะห์ เบ็ญโมฮาหมัด อายุ 37 ปี ผู้อำนวยการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นไทย เสียชีวิต[18]ที่อำเภอยะหา คนร้ายดักยิงนาย มะรอมลี สาและ เสียชีวิต
  • 16 พฤศจิกายน - คนร้ายอาวุธครบมือบุกเข้าไปในบ้านเลขที่ 148/1 หมู่ที่ 5 บ้านกะทอง ตำบลบองอ อำเภอระแงะ [19]สังหารคนในบ้านเสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 8ราย

พ.ศ. 2549[แก้]

  • 21 กรกฎาคม - ที่ โรงเรียนบ้านบือแรง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาสม.1 ต.ลาโล๊ะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส คนร้ายดักยิงนายประสาน มากชู ข้าราชการครูเสียชีวิต[20]
  • 26 กรกฎาคม - ที่ หมู่ที่ 7 ตำบลมะนังตายอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส นายมามะอัสลัน สาเมาะ ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต[21]
  • 31 สิงหาคม เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดธนาคาร 22 จุดทั่วจังหวัดยะลา มีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 30 คน[22]
  • 4 กันยายน - มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,400 คนในเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2547[23]
  • 16 กันยายน - เหตุระเบิดในอำเภอหาดใหญ่ พ.ศ. 2549 เกิดเหตุระเบิดในเวลาไล่เลี่ยกัน 4 จุด กลางเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บมากกว่า 82 คน นักท่องเที่ยวกว่า 1,000 คน ที่พักผ่อนอยู่ในโรงแรมกว่า 10 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในแนวที่เกิดเหตุระเบิด ต่างพากันหลบหนีออกจากโรงแรม จนเกิดโกลาหล[24]
  • 2 พฤศจิกายน - พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะรัฐบาล กล่าวขอโทษต่อชาวมุสลิมกรณี "กรือเซะ-ตากใบ" ที่มีความเห็นว่ารัฐบาลที่ผ่านมาทำเกินกว่าเหตุ[25]
  • 5 พฤศจิกายน - ชาวบ้านใน ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา กว่า 200 คน รวมตัวเรียกร้องให้ถอนกำลัง ตำรวจ ตชด.ที่ดูแลความปลอดภัยให้กับโรงเรียนบ้านบาเจาะ ออกจากพื้นที่ และปิดถนนเส้นทางเข้าหมู่บ้าน สาเหตุมาจากมีราษฎรถูกยิงเสียชีวิต ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่[26] เจ้าหน้าที่ยอมรับข้อเสนอย้ายฐานปฏิบัติการ ตชด.ออกจากพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านพอใจและสลายการชุมนุม[27]
  • 15 พฤศจิกายน - ว่าที่ ร.ต.กุลธิดา อินจำปา ครูโรงเรียนบ้านลาเมาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต
  • 21 พฤศจิกายน - ชาวบ้าน ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา จำนวน 3 หมู่บ้าน กว่า 200 คน ชุมนุมเรียกร้องให้ถอนกำลังทหารพราน และ ตชด.ออกจากพื้นที่[28]
  • 22 พฤศจิกายน - กลุ่มคนร้าย 7 คน จุดไฟเผาห้องเรียนในพื้นที่ ต.บาเจาะ และ ต.บันนังสตา ต่อหน้าครูและเด็ก[29]
  • 21 ธันวาคม - ที่ หมู่ 2 บ้านบือเจาะ ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี คนร้ายดักยิง นางชุติมา รัตนสำเนียง ข้าราชการครูโรงเรียนชุมชนบ้านตาแกะเสียชีวิต[30]

พ.ศ. 2550[แก้]

  • 18 กุมภาพันธ์ - ในช่วงค่ำรวมเกิดเหตุระเบิดจังหวัดยะลา 15 ครั้ง จังหวัดปัตตานี 2 ครั้ง จังหวัดนราธิวาส 8 ครั้ง จังหวัดสงขลา 2 ครั้ง วางเพลิงจังหวัดปัตตานี 12 ครั้ง จังหวัดนราธิวาส 6 ครั้ง จังหวัดสงขลา 2 ครั้ง จังหวัดยะลา 1 ครั้ง ลอบยิงจังหวัดปัตตานี 1 ครั้ง จังหวัดนราธิวาส 1 ครั้ง จังหวัดสงขลา 1 ครั้ง เสียชีวิต 6 ราย ที่จังหวัดยะลา 2 ราย จังหวัดปัตตานี 3 ราย จังหวัดนราธิวาส 1 ราย บาดเจ็บ 62 ราย[31]
  • 14 มีนาคม - ที่ถนนสายบันนังสตา-ปะแต ม.4 บ้านอุเบง ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลาคนร้ายก่อเหตุฆาตกรรมผู้โดยสารในรถตู้เสียชีวิต 8 ราย[32]
  • 28 พฤษภาคม - คนร้ายระเบิดที่ตลาดสดในเขตเทศบาลตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อยพบผู้เสียชีวิตคาที่ 3 ราย และเสียชีวิตขณะนำส่งโรงพยาบาลสะบ้าย้อยอีกราย รวม 4 ราย
  • 15 มิถุนายน - ที่ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา คนร้ายก่อเหตุระเบิดรถทหารและสังหาร 7 ราย ได้แก่ จ.ส.อ.จรรยา อินทวิสัย ส.อ.รังสรรค์ รักชาติ ส.ท.กิตติศักดิ์ เชาว์ศิวา พลทหารดุลยพล มิ่งสงฆ์ พลทหารไพโรจน์ บุญคง พลทหารบรรจง ชุมทอง และ พลทหารยอดมนูญ อ่ำมณี
  • 19 มิถุนายน - ที่ตำบลทรายทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี คนร้ายดักระเบิดรถจนเป็นเหตุให้ นายชยพัทธ์ รักษายศ นายอำเภอไม้แก่น พ.ท.สุรศักดิ์ โคตุทาและ นายอาหามะ ละหาร จนเสียชีวิต
  • 17 กรกฎาคม - ที่เขตเทศบาลนครยะลา คนร้ายดักวางระเบิด ส่งผลให้ ด.ต.สุบิน พฤทธิ์มงคล เสียชีวิต
  • 4 ธันวาคม - คนร้ายซุกระเบิดในรถจักรยานยนต์หน้าร้านข้าวต้มใน ตำบลบานา อ.เมืองปัตตานี ก่อนจุดชนวนระเบิดมีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บสาหัส 25 ราย[33]

พ.ศ. 2551[แก้]

  • 4 พฤศจิกายน คนร้ายวางระเบิดคาร์บอมบ์ และจักรยานยนต์บอมบ์ 2 จุดหน้าที่ว่าการ อ.สุคิริน ขณะมีการประชุมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านทำให้มีผู้ ได้รับบาดเจ็บ 71 ราย เสียชีวิต 1 ราย[34]
  • 5 ธันวาคม ตลาดดุซงญอ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส คนร้ายก่อเหตุวางระเบิดร้านของชำ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย มีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 10 ราย ชาวบ้านบาดเจ็บ 2 ราย[35]

พ.ศ. 2552[แก้]

พ.ศ. 2553[แก้]

  • 21 เมษายน คนร้ายก่อเหตุปาระเบิดชนิดเอ็ม 67 เข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจขณะเคารพธงชาติ ส่งผลให้มีตำรวจเสียชีวิต 1 นาย ได้รับบาดเจ็บสาหัส 1 นาย และบาดเจ็บอีก 47 ราย วันเดียวกัน คนร้ายก่อเหตุระเบิดรถยนต์ขึ้นบริเวณหน้าร้านขายยา ข้างสภ.เมืองปัตตานี มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 21 ราย สาหัส 2 ราย[40]

พ.ศ. 2554[แก้]

  • 18 มกราคม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกประกาศเรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน นับเป็นครั้งแรกที่ยกเลิกเฉพาะอำเภอแม่ลานจนถึงปัจจุบัน[41]
  • 19 มกราคม คนร้ายราว 40 คนบุกถล่มฐานทหารที่จังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้ทหารเสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 13 ราย ปืนถูกปล้น 50 กระบอก กระสุนอีก 5,000 นัด[42]
  • 26 มกราคม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกคำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรที่ 32/2554 เรื่อง โครงสร้างการจัดและอัตรากำลังของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ประจำปี 2554[43] โดยจัดกำลังทหารถึง 3,4652 ราย เป็นการจัดกำลังทหารมากที่สุดแต่งตั้งมีการจัดอัตรากำลัง มากกว่าการจัดกำลังทหารโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
  • 21 เมษายน พล.ต.อัคร ทิพโรจน์ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ได้แก่จังหวัด นราธิวาส ยะลา และปัตตานี[44]
  • 20 พฤษภาคม หลังมีชาวบ้านมาแจ้งว่ามีคนร้ายเข้ามาในพื้นที่จังหวัดยะลา, อำเภอธารโต เจ้าหน้าที่ได้นำหน่วยรบทหารพรานไปล้อมแล้วเกิดการยิงกัน คนร้ายเสียชีวิตหมด 4 คน หนึ่งในนั้น คือ มะแอ อภิบาลแบ แกนนำหลักในพื้นที่ ค่าหัว 2 ล้านบาท มีคดีรวมแล้วทั้งหมด 28 คดี รวมถึงการลอบสังหารพันตำรวจเอกสมเพียร เอกสมญา เมื่อปีที่แล้ว[45]
  • 1 มิถุนายน นายรังสี สุภัทสรชาวบ้านถูกระเบิดได้รับบาดเจ็บระหว่างเดินทางไปกรีดยางพารา ในอำเภอกาบัง ต่อมา นายอัสมัน เฮาะมะสะเอ๊ะ ปลัดอำเภอกาบัง จังหวัดยะลา ได้เดินทางไปตรวจเหตุการณ์ชาวบ้านเหยียบกับระเบิดจนได้รับบาดเจ็บ ทันทีที่เดินทางไปถึงปรากฏว่าได้มีเหตุระเบิดขึ้นอีกครั้งเป็นเหตุให้ เสียชีวิตภายหลังถูกระเบิด รวมถึงผู้ติดตาม และผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย[46] หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่กู้ระเบิดได้รับบาดเจ็บจากระเบิดอีก 1 ราย รวมทั้งหมด 6 ราย
  • 24 สิงหาคม ภายในฐานปฏิบัติการณ์หน่วยพัฒนาสันติที่ 421 ตนร้ายไม่ต่ำกว่า 20 คน ยิงถล่มฐานส่งผลให้นายบาราเหม แฉะ อายุ 37 ปี สมาชิกอาสาสมัคร อ.เทพา ถูกยิงด้วยอาวุธปืนเอ็ม 16 เข้าลำตัวหลายนัด เสียชีวิตส่วน อส.ทพ.มามะ นาวี อายุ 30 ปี อาสาสมัครทหารพราน ชุดพัฒนาสันติถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสถูกนำส่งโรงพยาบาลหาดใหญ่[47] ที่ถนนหน้ามัสยิดซีกู ม.5 บ้านซีกู ต.ละหาร อ.สายบุรี คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงนายอามิ สือมิ อายุ 60 ปี ผู้ใหญ่บ้าน ม.5 บ้านซีกู ต.ละหาร เสียชีวิต[48]

พ.ศ. 2555[แก้]

  • 3 มกราคม - คนร้ายใช้ระเบิดแสวงเครื่องฝังใต้ถนนสายบ้านคลองช้าง-บ้านเขาวัง ม.3 ต.ตรัง อ.มายอ จ.ปัตตานี จุดชนวนระเบิดด้วยสายไฟ ทำให้ร้อยโท ดิเรกสิน รัตนสิน ผบ.ร้อย ร.15312 ฉก.ปัตตานี 25 และสิบเอก ยุธยา จำปามี เสียชีวิต[49]
  • 31 มีนาคม - เกิดเหตุการณ์คาร์บอมบ์ 2 จุดที่ จังหวัดยะลา มีผู้เสียชีวิต 11 ราย บาดเจ็บ 127 ราย[50] และคาร์บอมบ์ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในโรงแรมลีการเด้นส์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย[51] และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 416 ราย[52] (ดูบทความ เหตุระเบิดที่ภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2555)
  • 17 กรกฎาคม 2555 คนร้ายบุกโจมตีฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารราบที่ 15123 (ร้อย ร.15123) หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 30 ที่ อำเภอรือเสาะ มีทหารเสียชีวิต 1 นาย ประชาชนเสียชีวิต 2 ราย[53]
  • 20 กรกฎาคม - อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาสได้เกิดเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 9 ราย[54] บ้านเรือนร้านค้าเสียหายจำนวน 4 คูหาและรถยนต์เสียหาย
  • 25 กรกฎาคม - อำเภอรามันจังหวัดยะลาเกิดเหตุระเบิดขึ้นที่บนถนนสายบ้านอูเป๊าะ-บ้านปากาซาแม หมู่ 7 ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จ.ยะลา มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 ราย และได้รับบาดเจ็บสาหัส 1 ราย[55]
  • 26 กรกฎาคม - ที่ หมู่ 2 ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงเสียชีวิตสองราย[56]
  • 28 กรกฎาคม - คนร้ายก่อเหตุยิงทหารตาย 4 ราย บาดเจ็บสาหัส 2 ราย ที่ ตำบลถนน อำเภอมายอ[57]ส.อ.ลือชัย จุลทอง พลทหารเบญจรงค์ สีแก้ว พลทหารเอกลักษณ์ สีดอกไม้ และพลทหารภาคิน หงส์มาก
  • 31 กรกฎาคม - คนร้ายจุดระเบิดบริเวณโรงแรมซีเอส จังหวัดปัตตานีส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 5 ราย[58]
  • 4 สิงหาคม - ที่ หมู่ 2 ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี ร.ต.ต เกษม ชูเรืองสุข รอง สวป.สภ.ปะนาเระ อำเภอปะนาเระ จ.ปัตตานี ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนเอ็ม 16 ยิงเสียชีวิต[59]
  • 5 สิงหาคม - ที่ หมู่ 3 ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี คนร้ายก่อเหตุยิงตำรวจเสียชีวิต[60]
  • 15 กันยายน - คนร้ายก่อเหตุยิงอาสาสมัครทหารพรานและแม่บ้านกรมทหารพรานเสียชีวิต 4 ราย ที่ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จ.ยะลา [61]ได้แก่อส.ทพ.สมยศ แววเพชร อส.ทพ.กำพล มั่งวงศ์ อส.ทพ.ภานุรัตน์ บุญธานุวงศ์ และนางพร แก้วมาก
  • 20 กันยายน - ร.ต.ต.อับดุลเลาะ ดอเลาะ ถูกคนร้ายดักยิงที่ หมู่ 5 ตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี[62]
  • 21 กันยายน - ที่เขตเทศบาลตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี คนร้ายก่อเหตุคาร์บอมบ์มีผู้เสียชีวิต 6 ราย[63]
  • 31 ตุลาคม - ที่เขตเทศบาลตำบลตะลุบัน ตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี คนร้ายก่อเหตุกราดยิงมีผู้เสียชีวิตทันที 2 ราย บาดเจ็บ 4 ราย[64]
  • 7 พฤศจิกายน - พีระ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีเทศบาลนครสงขลา ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิตบริเวณด้านหน้าสำนักงานสงขลาฟอร์รั่ม ถนนนครใน เขตเทศบาลนครสงขลา ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา[65]

พ.ศ. 2556[แก้]

  • 13 กุมภาพันธ์ - คนร้ายบุกโจมตีฐานปฏิบัติการนาวิกโยธิน อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เกิดการปะทะกับทหารนาวิกโยธิน เบื้องต้นทราบว่าคนร้ายเสียชีวิต 17 คน รวมทั้งมะรอโซ จันทรวดี แกนนำคนสำคัญในจังหวัดนราธิวาส [66]
  • 6 เมษายน - คนร้ายกดระเบิดแสวงเครื่องบรรจุถังแก๊สปิกนิกหนัก 30 กิโลกรัมที่ซุกในท่อระบายน้ำใต้พื้นถนน ทำให้อิศรา ทองธวัช รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา และเชาวลิต ไชยฤกษ์ ปลัดฝ่ายป้องกันจังหวัดยะลา เสียชีวิต[67]
  • 27 พฤษภาคม - อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี คนร้ายก่อเหตุวางระเบิดส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 2 นาย และเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บรวม 8 นาย[68][69]
  • 28 มิถุนายน - คนร้ายลอบยิงเจ้าหน้าที่ บริเวณบริษัท พิธานพานิชย์ สาขานาทวี ถนนสายคลองแงะ-นาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา มีตำรวจเสียชีวิต 2 ราย และชาวบ้าน 1 รายบาดเจ็บ 9 ราย บาดเจ็บสาหัส 4 ราย[70]
  • 29 มิถุนายน - คนร้ายลอบวางระเบิดในพื้นที่ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปีนัง จังหวัดยะลา มีทหารเสียชีวิต 8 ราย ทหารบาดเจ็บสาหัส 2 ราย ชาวบ้านบาดเจ็บสาหัส 2 ราย[71][72]
  • 11 พฤศจิกายน - นายอับดุลย์ก่อนี หมัดเจริญ อายุ 58 ปี นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะแต้วถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต ที่จังหวัดสงขลา[73]
  • 22 ธันวาคม - คนร้ายลอบวางระเบิดที่อำเภอสะเดา 4 จุดจังหวัดสงขลา มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 9 ราย เหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ก่อการร้ายในอำเภอสะเดาในรอบหลายปีที่ผ่านมา[74]

พ.ศ. 2557[แก้]

พ.ศ. 2558[แก้]

  • 1 เมษายน - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกเลิกกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร[79]
  • 3 มิถุนายน - คนร้ายยิงทหารเสียชีวิต 4 ราย ที่ถนนในท้องที่บ้านปาลูกาปาลัส หมู่ 7 ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา[80]
  • 19 ตุลาคม - คนร้ายก่อเหตุลอบวางระเบิดมีทหารเสียชีวิต 2 รายบาดเจ็บ 5 ราย[81]
  • 29 ตุลาคม - เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิด 7 จุด ใน จังหวัดยะลา และ 1 จุด ใน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี[82]
  • 12 พฤศจิกายน - คนร้ายวางระเบิด บริเวณป้อมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน บ้านโคกขี้เหล็ก หมู่ที่ 7 ตำบลท่าเรือ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี มีคนเสียชีวิต 4 ราย และบาดเจ็บสาหัส 4 ราย[83]

พ.ศ. 2559[แก้]

พ.ศ. 2560[แก้]

  • 13 มกราคม - มีคำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรที่ 14/2560 เรื่อง โครงสร้างการจัดและอัตรากำลังของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ประจำปี 2560 จัดเจ้าหน้าที่จำนวน 61,604 ราย[90]
  • 14 มกราคม - มีรายงานว่า สะแปอิง บาซอ ประธานขบวนการบีอาร์เอ็น โคออดีเนต เสียชีวิต[91]
  • 28 กุมภาพันธ์ - ตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา คนร้ายก่อเหตุฆาตกรรมนาย กาจพน ภูววิมล และ นางฐิตาภา ภูววิมล และชิงรถกระบะ[92]ไป
  • 2 มีนาคม - คนร้ายก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิงนาย สมชาย ทองจันทร์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นาง สน ทองจันทร์ นาง รสิกา ดาด้วง เด็กชาย ธนกฤต ทองจันทร์ รวมเสียชีวิต 4 ราย ที่ จังหวัดนราธิวาส และวันเดียวกันที่ตำบลลางา อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี คนร้ายก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิงทหารเสียชีวิต 3 ราย[93]ได้แก่ จ.ส.อ. อาหามัด สะมะอาลี พลทหาร ธนากร ขิมทองดอนคู่ และพลทหาร ณรงค์ศักดิ์ มามุ่ย
  • 30 มีนาคม - คนร้ายก่อเหตุกราดยิงที่ ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส จนเป็นเหตุให้ ส.ต.ต. ศุภักษร สะยุคงทน เสียชีวิต [94]
  • 3 เมษายน - ที่ หมู่ที่ 7 อ.กรงปินัง จ.ยะลา คนร้ายกราดยิงเจ้าหน้าที่ตำรวจและปาระเบิดใส่จนเป็นเหตุให้มีตำรวจบาดเจ็บ 12 ราย[95]
  • 6 เมษายน - เกิดระเบิดจำนวน 26 จุด ในพื้นที่ 4 จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดสงขลา[96] ส่งผลให้ไฟฟ้าดับสนิทเป็นบริเวณกว้าง
  • 27 เมษายน - ที่อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส คนร้ายวางระเบิดรถทหารและใช้อาวุธปืนยิง ทหารเสียชีวิต 6 ราย[97]ได้แก่ ส.อ.พรชัย สงเคราะห์ อส.ทพ. วีรวิทย์ ธรรมนาม อส.ทพ. มาโนช ไมตรีสัมพันธ์ อส.ทพ. ธารา กอบเกตุ อส.ทพ. ธนะพงษ์ ทวีประยูร และ อส.ทพ. ยุพยงค์ มุงธิราช
  • 19 มิถุนายน - ที่อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี [98]คนร้ายดักวางระเบิดมีทหารเสียชีวิต 6 ราย ได้แก่ จ.ส.อ.สมปราถ ศรีวาจา พลทหารอธิชาต หอยแก้ว พลทหารอดิศักดิ์ ฤทธิเดช พลทหารกิตติพงศ์ บ่อหนา พลทหารเจษฏา รุ่งวงศ์ และพลทหารวีรภูมิ บุบผา
  • 16 สิงหาคม - ที่ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา คนร้ายก่อเหตุฆาตกรรม นาย สหรัฐ แหละนิ [99]
  • 22 กันยายน - เกิดเหตุลอบวางระเบิดรถ อาสาสมัครทหารเสียชีวิต 4 ราย ได้แก่ อส.ทพสุวิทย์ บุญชู อส.ทพ.ปฐมพร คงสัย อส.ทพ.พิทักคมสิต ศักดิ์วิเศษสม และ อส.ทพ.ณัฐพล รังสิมันตุชาติ บาดเจ็บ 5 ราย ที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี[100]

พ.ศ. 2561[แก้]

  • 21 พฤษภาคม – เกิดเหตุระเบิดแสวงเครื่องระเบิด 16 จาก 24 จุดภายในช่วงเวลา 50 นาที ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสงขลา[101]
  • 11 มิถุนายน - ที่อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ได้เกิดเหตุคนร้ายยิงปืนฆ่าคนในบ้านพัก เสียชีวิต 5 รายบ้านเลขที่ 228 บ้านตะโละดือลง บ้านย่อยของบ้านตาเนาะปูเต๊ะ หมู่ 4 ต.ตาเนาะปูเต๊ะ[102]

พ.ศ. 2562[แก้]

  • 8 มกราคม - เกิดเหตุระเบิดคาร์บอมบ์ใกล้กับหน่วยเฉพาะกิจสงขลา ซึ่งเป็นฐานของ ตชด.43 อ.เทพา จ.สงขลา เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 6 ราย[103]
  • 10 มกราคม - ที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี คนร้ายบุกเข้าสังหารอาสาสมัครชุดคุ้มครองตำบลประจัน เสียชีวิต 4 ราย ที่ โรงเรียนบ้านบูโกะ หมู่ 5 ตำบลประจัน อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี[104]
  • 5 พฤศจิกายน - ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านทั้งชายหญิงถูกโจมตีเสียชีวิต 15 ราย บาดเจ็บ 5 ราย รวมถึงถูกปล้นอาวุธปืนที่จังหวัดยะลา[105][106]

พ.ศ. 2563[แก้]

พ.ศ. 2564[แก้]

  • 2 สิงหาคม -เจ้าหน้าที่ได้เปิดปฏิบัติการปิดล้อมตรวจค้นบ้านต้องสงสัยในตำบลลิปะสะโง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีจนนำไปสู่การยิงปะทะและวิสามัญฆาตกรรมนายรอซาลี หลำโสซึ่งมีหมายจับอยู่ 9 หมายและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีป้อมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านลำพะยาในปี2562ซึ่งนายซอบรี หลำโสะซึ่งเป็นฝาแฝดกับรอซาลีและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีป้อมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านลำพะยาในปี2562ได้ถูกเจ้าหน้าที่วิสามัญฆาตกรรมจากเหตุยิงปะทะที่ตำบลคอลอตันหยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562[112][113]
  • 28 สิงหาคม -ได้เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดขบวนรถไฟขนส่งสินค้าที่ 986ที่หลักกิโลเมตรที่ 1104 ระหว่างสถานีรถไฟป่าไผ่-ตันหยงมัส ซึ่งเป็นระเบิดใต้รางรถไฟหลังจากนั้นคนร้ายได้ยิงใส่ขบวนรถไฟส่งผลให้ตู้บรรทุกสินค้าตู้ที่5ได้รับความเสียหายและไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้[114]

พ.ศ. 2565[แก้]

  • 28 มกราคม - เกิดเหตุระเบิดแสวงเครื่อง13จุดในเขตเทศบาลนครยะลาส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 1 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถเก็บกู้ระเบิดลูกที่14ได้สำเร็จ[115][116]
  • 16 - 17 สิงหาคม - เกิดเหตุลอบวางเพลิงและวางระเบิดร้านสะดวกซื้อ ปั้มน้ำมันและเสาส่งสัญญาณ รวม17จุดในจังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดยะลา ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ8คนและมีผู้เสียชีวิต1คน[117]
  • 22 พฤศจิกายน - เกิดเหตุระเบิดติดรถซึ่งเป็นระเบิดแสวงเครื่องที่ประกอบไว้ในถังแก๊สหุงต้ม บริเวณที่จอดรถของแฟลตตำรวจของสถานีตำรวจภูธรนราธิวาส ส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 1 นายและมีผู้บาดเจ็บ 46 คน[118][119][120]
  • 3 ธันวาคม - เกิดเหตุระเบิดที่ฝังไว้ใต้รางรถไฟที่ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดาส่งผลให้ขบวนรถสินค้าบรรทุกยางพาราขบวนที่ 707 ตกราง 10 ตู้และสินค้ายางพาราอัดก้อนได้รับความเสียหาย ทางรถไฟเสียหาย 100 เมตร แต่ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้[121]
  • 6 ธันวาคม​ - ได้เหตุระเบิดซ้ำในขณะที่พนักงานของการรถไฟ7คนกำลังเดินไปเก็บกู้รถไฟบรรทุกสินค้าที่ถูกระเบิดเมื่อวันที่3 ธันวาคม​ ซึ่งจุดที่เกิดเหตุระเบิดห่างจากจุดที่เหตุระเบิดรางรถไฟเมื่อวันที่3 ธันวาคมประมาณ250เมตร​ ส่งผลให้พนักงานของการรถไฟเสียชีวิต3 คน​และบาดเจ็บ4 คน[122]

พ.ศ. 2566[แก้]

พ.ศ. 2567[แก้]

  • 11 มกราคม - ที่ ตำบลสุวารี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส คนร้ายดักยิงรถตำรวจจนเป็นเหตุให้ [123]ร.ต.ท.สถาพร สุจิณโณ เสียชีวิต
  • 2 กุมภาพันธ์ - ที่ ม.2 ตำบลดอน อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี คนร้ายก่อเหตุลอบวางระเบิดอาสาสมัครทหารพราน วิลาภ บุญรัตน์ เสียชีวิตหนึ่งราย[124]
  • 6 กุมภาพันธ์ - ที่อำเภอรือเสาะ คนร้ายลอบยิง จ่าสิบตำรวจ บินหลี เศรษฐสุข เสียชีวิต
  • 12 กุมภาพันธ์ - ที่ ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาสคนร้ายลอบวางระเบิดสังหารเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครทหารพรานตาย 2 ราย[125]บาดเจ็บ 3 ราย
  • 19 กุมภาพันธ์ - ที่บ้านโคกยาง หมู่ที่ 5 ตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส คนร้ายซุ่มยิงอาสาสมัครทหารพรานเสียชีวิต2รายบาดเจ็บ 2 ราย

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอยุบ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-21. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  2. เปิดวิวัฒนาการ “องค์กรดับไฟใต้” จาก ศอ.บต. ถึง กอ.สสส.-กอ.รมน. แล้วจะไปทางไหน?
  3. 10 ปีปล้นปืน 10 ปีไฟใต้...ตามไปดูชุมชนรอบค่ายปิเหล็ง
  4. รศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย, กรุงเทพฯ : โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549, หน้า 42-43
  5. ประกาศกองทัพภาคที่ 4 เรื่อง การใช้กฎอัยการศึกจังหวัดนราธิวาส
  6. ประกาศกองทัพภาคที่ 4 เรื่อง ยกเลิกกฎอัยการศึกจังหวัดนราธิวาส
  7. "กรรมการอิสลามขอยุบหน่วยงานเจ้าหน้าที่ตำรวจทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-03. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  8. "มิคสัญญี107ศพ ตร.-ทหารสังเวย6ศพ แฉใช้ปอเนาะรวมพล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-05. สืบค้นเมื่อ 2018-09-26.
  9. โจรใต้เหิมหนัก ประกบยิงผู้พิพากษาศาล จ.ปัตตานี เสียชีวิต
  10. สมเด็จฯทรงให้กำลังใจเด็กเคราะห์ร้ายจากเหตุบึ้มหาดใหญ่
  11. ผู้จัดการออนไลน์, รัฐบาลประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน เก็บถาวร 2013-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. ผู้จัดการออนไลน์, ยกเลิกกฎอัยการศึกในพื้นที่สามจังหวัด เก็บถาวร 2013-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. ยกเลิกฉุกเฉิกในพื้นที่สามจังหวัด[ลิงก์เสีย]
  14. ความไม่วางใจกับการนองเลือดที่ตันหยงลิมอ
  15. เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวนายอาบดุลมานะห์ สุหลง ต้องสงสัยปล้นปืน ปี 48
  16. ปี48 ไฟใต้ยังระอุ! - "บึ้มหาดใหญ่-สังหารนาวิกฯ-ฆ่าพระเผาวัด"
  17. ประกาศกองทัพภาคที่ 4 เรื่องการใช้กฎอัยการศึกเพิ่มเติมในเขตอำเภอจะนะ[ลิงก์เสีย]
  18. บึ้มใหญ่! ศาลากลางยะลา
  19. ด่วน! ยิงถล่มบ้านใน อ.ระแงะ ตายยกครัว 9 ศพ
  20. ตำรวจระบุ รู้มือปืนยิงครู "ประสาน" แล้วสังกัดอาร์เคเค
  21. ตำรวจระบุ รู้มือปืนยิงครู "ประสาน" แล้วสังกัดอาร์เคเค
  22. กรุงเทพธุรกิจ, ลอบบึ้มแบงก์ 22 จุดทั่วยะลา ตาย 1 สาหัส 4 เจ็บกว่า 20 คน เก็บถาวร 2009-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  23. The Nation, Suspect was 'paid to put bomb in Yala bank' เก็บถาวร 2009-09-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  24. กรุงเทพธุรกิจ, บึ้ม 4 จุดกลางหาดใหญ่ ตาย 5 เจ็บครึ่งร้อย เก็บถาวร 2009-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  25. ผู้จัดการออนไลน์, “สุรยุทธ์” ซื้อใจมุสลิมใต้เอ่ยขอโทษต่อเหตุรุนแรง “กรือเซะ-ตากใบ” เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  26. ผู้จัดการออนไลน์, เหตุชาวบ้านประท้วงไล่ ตชด.บันนังสตา ยังไม่มีข้อยุติ – จนท.ระดับสูงเร่งเจรจา เก็บถาวร 2013-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  27. ผู้จัดการออนไลน์, ยอมถอนกำลัง ตชด.3201 ออกจากบ้านบาเจาะ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  28. ผู้จัดการออนไลน์, ชาวยะหากว่า 200 ชุมนุมจี้ถอนกำลังทหารพราน - ตชด.ออกนอกพื้นที่ เก็บถาวร 2013-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  29. ผู้จัดการออนไลน์, โจรใต้เหิมหนัก ไล่ครูออกจากโรงเรียนลงมือเผาอาคารวอดทั้งหลังที่บันนังสตา เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  30. ไฟใต้ ‘2549’ ปีแห่งการสูญเสียทรัพยากรด้านการศึกษา
  31. https://prachatai.com/journal/2007/02/11650 เตรียมรื้อใหญ่งานข่าวชายแดนใต้กันเหตุร้าย]
  32. สรุป10เหตุการณ์ระทึกไฟใต้
  33. บึ้มปัตตานี ข้าวต้มดัง สยอง 4 ศพ
  34. คนร้ายวางระเบิดคาร์บอมบ์ และจักรยานยนต์บอมบ์ 2
  35. คนร้ายก่อเหตุวางระเบิดร้านของชำ จังหวัดนราธิวาส
  36. "รัฐบาลจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-09. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  37. ถล่มเอ็ม 16 อาก้า นายกเล็กเขาหัวช้าง พัทลุง ดับพร้อมพวก 5 ศพ สาหัสอีก 2
  38. เกิดเหตุการณ์คาร์บอมบ์มี สุไหงโกลก[ลิงก์เสีย]
  39. เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่บริเวณศาลาริมแม่น้ำปัตตานี ถนนเลียบแม่น้ำ[ลิงก์เสีย]
  40. "คนร้ายก่อเหตุปาระเบิดชนิดเอ็ม 67 เข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจขณะเคารพธงชาติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-03. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  41. ประกาศเรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
  42. "คนร้ายราว 40 คนบุกถล่มฐานทหารที่จังหวัดนราธิวาส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-20. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  43. ออกคำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรที่ 32/2554
  44. "ภาค 4 ได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2547". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  45. "หน้าที่ได้นำหน่วยรบทหารพรานไปล้อมแล้วเกิดการยิงกัน คนร้ายเสียชีวิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-25. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  46. นายรังสี สุภัทสรชาวบ้านถูกระเบิดได้รับบาดเจ็บระหว่างเดินทางไปกรีดยางพารา[ลิงก์เสีย]
  47. "ฐานปฏิบัติการณ์หน่วยพัฒนาสันติที่ 421". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-20. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  48. "คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงนายอามิ สือมิ อายุ 60 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-03. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  49. โจรใต้บึ้มดับ “ส.อ.-ร.ท.” อนาคตไกลขณะไปมอบกระเช้าปีใหม่ เก็บถาวร 2012-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผู้จัดการออนไลน์ เรียกดข้อมูล 4 มกราคม 2555
  50. "เกิดเหตุการณ์คาร์บอมบ์ 2 จุดที่ จังหวัดยะลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  51. คาร์บอมบ์ที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา[ลิงก์เสีย]
  52. คาร์บอมบ์ที่ อำเภอหาดใหญ่ 416 ราย
  53. ย้อนรอยเหตุการณ์โจมตีฐานปฏิบัติการ-ปล้นปืนที่จังหวัดชายแดนใต้
  54. "อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาสได้เกิดเหตุระเบิดคาร์บอมบ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  55. "อำเภอรามันจังหวัดยะลาเกิดเหตุระเบิดขึ้นที่บนถนนสายบ้านอูเป๊าะ-บ้านปากาซาแม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-27. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  56. โจรใต้ดักยิงชาวบันนังสตาดับ 2
  57. ศาลปัตตานีตัดสินประหาร 5 โจรใต้ยิงถล่มทหารดับ 4 ศพ เมื่อปี 2555
  58. "ยะลาคุมเข้ม!หลังคาร์บอมรร.ซีเอสปัตตานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-28. สืบค้นเมื่อ 2021-10-15.
  59. คนร้ายใช้เอ็ม16ยิงตร.ปัตตานีดับ
  60. โจรใต้กราดยิงตำรวจขณะรดน้ำต้นไม้หน้าบ้านที่ปัตตานี
  61. เจรจาสันติไร้ผล โจรใต้ก่อเหตุเย้ยยิง-เผาทหารพรานและแม่บ้าน ดับ 4 ศพ
  62. กราดยิง ตชด.ปัตตานีดับหน้าตลาดนัด-รถชาวบ้านโดนหางเลขเสียหายอีก 5
  63. ศูนย์ข่าวสืบสวนยิงร้านทอง-คาร์บอมบ์ซ้ำสายบุรีดับ 6 เจ็บเพียบ สงสัยโยงคำขู่หยุดงานวันศุกร์
  64. โจรใต้กราดยิง และระเบิดภายในงานประจำปี ทต.ตะลุบัน จ.ปัตตานี ตาย 2 เจ็บ 4
  65. พีระ ตันติเศรณี นายกเทศมนตรีนครสงขลา ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต
  66. โจรใต้บุกโจมตีฐานทหาร อำเภอบาเจาะ ปะทะเสียชีวิต 17 ศพ
  67. คนร้ายกดระเบิดแสวงเครื่องบรรจุถังแก๊สปิกนิกหนัก 30 กิโลกรัม
  68. "คนร้ายก่อเหตุวางระเบิดส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่เสียชีวิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-12. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  69. "คนร้ายก่อเหตุวางระเบิดส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-03. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  70. คนร้ายลอบยิงเจ้าหน้าที่ บริเวณบริษัท พิธานพานิชย์ สาขานาทวี[ลิงก์เสีย]
  71. คนร้ายลอบวางระเบิดในพื้นที่ตำบลห้วยกระทิง อำเภอกรงปีนัง
  72. "คนร้ายลอบวางระเบิดในพื้นที่ จังหวัดยะลา เจ้าหน้าที่เสียชีวิตระนาด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-03. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  73. "นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะแต้วถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  74. "คนร้ายลอบวางระเบิดที่ อำเภอสะเดา 4 จุด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-25. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  75. คำสั่ง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักรที่ 129/2557
  76. คืบหน้าเหตุระเบิด_4_จุด_ที่ยะลา_พบผู้เสียชีวิต_และบาด[ลิงก์เสีย]
  77. จัดตั้ง คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้[ลิงก์เสีย]
  78. "เกิดเหตุระเบิดซึ่งซุกซ่อนในรถยนต์บริเวณหน้าโรงแรมฮอลิเดย์ ฮิลล์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-15. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  79. พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกเลิก กฎอัยการศึก
  80. "คนร้ายยิงทหารเสียชีวิต 4 ราย ที่ถนนในท้องที่บ้านปาลูกาปาลัส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  81. คนร้ายก่อเหตุลอบวางระเบิดมีทหารเสียชีวิต 2 รายบาดเจ็บ 5 ราย[ลิงก์เสีย]
  82. บึ้มยะลา7จุดไฟฟ้าดับทั่วเมืองเผายางรถยนต์วอดไร้เจ็บตาย[ลิงก์เสีย]
  83. คนร้ายวางระเบิด บริเวณป้อมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน
  84. คนร้ายก่อเหตุลอบวางระเบิด 6 จุด
  85. เกิดเหตุคนร้ายบุกเข้ายึด โรงพยาบาลเจาะไอร้อง
  86. คนร้ายวางระเบิด อำเภอตากใบ 1 จุด
  87. รวมเหตุการณ์ บึ้ม 5 หัวเมืองใต้ 10-12 ส.ค. วางระเบิด 13 ลูก ดับ 4 เจ็บเพียบ คุม 2 ผู้ต้องสงสัย!
  88. "เกิดเหตุการณ์ไม่สงบ 8 จุดในพื้นที่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-05. สืบค้นเมื่อ 2019-05-12.
  89. รัฐบาลประกาศใช้ พรบ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
  90. คำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรที่ 14/2560
  91. ประธานขบวนการบีอาร์เอ็น โคออดีเนต เสียชีวิต
  92. [1]
  93. คนร้ายก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิงนาย สมชาย ทองจันทร์
  94. โจรใต้เหิม ทำเนียนนั่งท้ายกระบะขับโฉบหน้าโรงพัก ก่อนงัดปืนกราดยิง !
  95. ศาลอนุมัติหมายจับคนร้ายยิงถล่มจุดตรวจกรงปินังเพิ่ม 5 คน
  96. สรุปบึ้มเสาไฟฟ้าเกือบ 20 อำเภอ เผาสายส่งแรงสูงทำปัตตานีดับทั้งเมือง
  97. คนร้ายวางระเบิดรถทหารและใช้อาวุธปืนยิง ทหารเสียชีวิต 6 ราย
  98. ลอบกัดชุดจรยุทธ์ดับ6ศพ โจรใต้ซุกบึมถนน
  99. จนท.เร่งค้นหารถที่ใช้ปฏิบัติการปล้นรถที่ยังสูญหายอีก 1 คัน หลังคาร์บอมบ์บ้านพัก ตร.มายอ
  100. เกิดเหตุลอบวางระเบิดรถ อาสาสมัครทหารเสียชีวิต
  101. Muh Nahdohdin, Desca Angelianawati, Ardi Putra Prasetya, Kenneth Yeo Yaoren, Jennifer Dhanaraj, Iftekharul Bashar, Sylvene See and Amalina Abdul Nasir. SOUTHEAST ASIA. Counter Terrorist Trends and Analyses, Vol. 11, No. 1, Annual Threat Assessment (January 2019), pp. 25.
  102. ฆ่า 5 ศพที่บันนังสตา ยิงหมอตำบลสายบุรี สงสัยปมเซฟเฮาส์ปลิดชีพ"แบดุล"
  103. เศร้าทั้งสะบ้าย้อย "ครูจ้อง"คนดี ถูกโจรใต้จับแขวนคอคาบ้าน
  104. ใต้เดือด! บุกยิง อส.ดับ4คาโรงเรียนที่ยะรัง
  105. Insurgents attack security checkpoint in Yala, 15 killed
  106. คนร้ายยิงถล่มจุดตรวจ ชรบ.เสียชีวิตเพิ่มรวม 15 ศพ เร่งสอบปืนที่ถูกปล้น
  107. เผยรายชื่อ"ตำรวจ-นักข่าว-ชาวบ้าน" เจ็บเซ่น"คาร์บอมบ์" - เดลินิวส์
  108. รู้ชื่อ 7 โจรใต้ที่เจ้าหน้าที่วิสามัญแล้ว! เจอหมายจับเพียบ - ThaiPost
  109. ปะทะเดือด 3 วันดับโจรใต้ 7 ศพ เกลื่อนพงหญ้า มีระดับแกนนำพร้อมแนวร่วม
  110. วิสามัญโจรใต้ 7 ศพ ปิดฉากปะทะยืดเยื้อ 3 วัน เผยระดับแกนนำกลุ่ม RKK
  111. เคลียร์พื้นที่ยิงปะทะโจรใต้ พบศพอีก 2 รายรวม 3 วันตาย 7 - เดลินิวส์
  112. “รอซาลี” กับ “สามพี่น้องตระกูลหลำโสะ” บนเส้นทางสายความรุนแรง
  113. สรุปไทม์ไลน์วิสามัญ 'รอซาลี หลำโสะ' แกนนำป่วนใต้ 9 หมายจับ
  114. โจรใต้เหิมหนัก ระเบิดไม่เลือก รถไฟขนผลไม้
  115. "ระเบิดยะลา" 14 จุด ตั้งเวลาระเบิดไล่เลี่ยกัน พบรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ
  116. บอมบ์ยะลา บึมกว่า 10 จุด เป็นระเบิดแสวงเครื่อง คาดป่วน-สร้างสถานการณ์
  117. สรุปบึ้ม-เผา ร้านสะดวกซื้อ-ปั๊มน้ำมัน 17 จุด เจ็บ 3
  118. คาร์บอมบ์ลูกที่ 2 ในปี 65 โจมตีแฟลตตำรวจในนราธิวาส เชื่อจงใจ "ยกระดับความรุนแรง"
  119. ด่วน วางคาร์บอมบ์ หน้าแฟลตตำรวจ กลางเมืองนราธิวาส ตาย 1 เจ็บ 5 (คลิป)
  120. "ทวี สอดส่อง"ยกคณะให้กำลังใจจนท.-ปชช.เหยื่อบึ้มแฟลตตำรวจนราธิวาส
  121. ระเบิดรถไฟขบวนสินค้า เสียหายหนัก จ.สงขลา
  122. บึมรางรถไฟตาย 3 ศพ เจ็บ 4 ระหว่างกู้โบกี้ "โจรใต้" วางไว้ก่อน อีโอดีเคลียร์ไม่จบ
  123. ปะทะเดือด5นาที! โจรใต้เหิม ยิงถล่มรถ ตชด.44 ‘ร.ต.ท.’ พลีชีพ
  124. ที่แท้ “อส.ปะนาเระ” เหยียบกับระเบิดดับ วางดัก จนท.อีกหลายลูก!
  125. คาดฝีมือกลุ่ม 'เลาะห์บูละ' ดักบึ้ม อส. ล่าสุดเสียชีวิตเพิ่มอีก 1 รวมเป็น 2 นาย