อำเภอเจาะไอร้อง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
อำเภอเจาะไอร้อง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Cho-airong |
คำขวัญ: เจาะไอร้อง ถิ่นเรียนทอง คลองเคล้าหมอก ชื่นดอกลองกอง ท่องแดนส้มแขก แมกไม้สูงเสียดฟ้าตะเว เสน่ห์ไอปาแย | |
![]() แผนที่จังหวัดนราธิวาส เน้นอำเภอเจาะไอร้อง | |
พิกัด: 6°12′6″N 101°50′30″E / 6.20167°N 101.84167°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | นราธิวาส |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 162.723 ตร.กม. (62.828 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 41,082 คน |
• ความหนาแน่น | 252.47 คน/ตร.กม. (653.9 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 96130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9613 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเจาะไอร้อง หมู่ที่ 1 ถนนปาไผ่-ไอสะเตีย5002 ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส 96130 |
![]() |
เจาะไอร้อง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนราธิวาส
ประวัติ[แก้]
อำเภอเจาะไอร้องเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอระแงะ ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2539 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2539[1]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอเจาะไอร้องตั้งอยู่ทางตอนกลางของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองนราธิวาส
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอตากใบและอำเภอสุไหงปาดี
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสุไหงปาดี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอระแงะ
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอเจาะไอร้องแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 33 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | จวบ | (Chuap) | 8 หมู่บ้าน | |||||||
2. | บูกิต | (Bukit) | 14 หมู่บ้าน | |||||||
3. | มะรือโบออก | (Maruebo Ok) | 11 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอเจาะไอร้องประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลจวบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจวบทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบูกิต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบูกิตทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะรือโบออกทั้งตำบล
อ้างอิง[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของประเทศไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |