เนื้อสัตว์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อสัตว์ต่าง ๆ

เนื้อสัตว์ เป็นเนื้อของสัตว์ที่มนุษย์บริโภคเป็นอาหาร[1] มนุษย์เป็นสัตว์กินทั้งพืชและเนื้อ[2][3][4] ล่าและฆ่าสัตว์เอาเนื้อมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์[4] จุดเริ่มต้นของอารยธรรมทำให้มนุษย์นำสัตว์มาเลี้ยง เช่น ไก่ แกะ หมูและปศุสัตว์ และนำมาใช้ในการผลิตเนื้อสัตว์ในระดับอุตสาหกรรมในที่สุด

เนื้อสัตว์ประกอบด้วยน้ำและโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ และโดยปกติกินร่วมกับอาหารอย่างอื่น เนื้อสัตว์นั้นกินดิบ ๆ ได้ แต่ปกติจะกินสุกและสามารถปรุงรสได้หลายวิธี หากไม่ผ่านการแปรรูป เนื้อสัตว์จะเน่าในเวลาไม่กี่วัน การเน่าเสียของเนื้อสัตว์นั้นเกิดจากการติดเชื้ออันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และจากการย่อยสลายโดยแบคทีเรียและฟังไจ ซึ่งอาจจะมาจากตัวเนื้อสัตว์เอง มาจากมนุษย์จัดการกับเนื้อสัตว์ และจากกระบวนการปรุงอาหาร

การบริโภคเนื้อสัตว์นั้นมีหลากหลายทั่วโลก ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม หรือศาสนา หรือสถานะทางเศรษฐกิจ ผู้กินมังสวิรัติเลือกไม่กินเนื้อ ด้วยเหตุผลด้านจริยธรรม สิ่งแวดล้อม ศาสนาหรือสุขภาพ ซึ่งสัมพันธ์กับการผลิตและบริโภคเนื้อสัตว์

โดยส่วนใหญ่ เนื้อสัตว์หมายถึงกล้ามเนื้อโครงร่างและไขมันและเนื้อเยื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่อาจหมายถึงเนื้อเยื่อที่กินได้ เช่น เครื่องในสัตว์[1] ในทางกลับกัน เนื้อสัตว์ บางครั้งใช้เรียกอย่างจำกัด คือหมายถึงเพียงเนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (หมู, ปศุสัตว์, แกะ, ฯลฯ) ที่ถูกเลี้ยงดูและเตรียมไว้ให้มนุษย์บริโภค แต่ไม่รวมถึงปลา สัตว์ทะเลต่าง ๆ สัตว์ปีก หรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ[5][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Lawrie, R. A.; =Ledward, D. A. (2006). Lawrie’s meat science (7th ed.). Cambridge: Woodhead Publishing Limited. ISBN 978-1-84569-159-2.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  2. Robert E. C. Wildman; Denis M. Medeiros (2000). Advanced Human Nutrition. CRC Press. p. 37. ISBN 0849385660. สืบค้นเมื่อ October 6, 2013.
  3. Robert Mari Womack (2010). The Anthropology of Health and Healing. Rowman & Littlefield. p. 243. ISBN 0759110441. สืบค้นเมื่อ October 6, 2013.
  4. 4.0 4.1 McArdle, John. "Humans are Omnivores". Vegetarian Resource Group. สืบค้นเมื่อ October 6, 2013.
  5. "Meat". Collins English Dictionary. สืบค้นเมื่อ September 24, 2013.
  6. "Meat". Merriam-Webster. สืบค้นเมื่อ September 24, 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]