ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร | |
---|---|
ยิ่งลักษณ์ ใน พ.ศ. 2555 | |
นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 28 | |
ดำรงตำแหน่ง 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (2 ปี 275 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
รอง | |
ก่อนหน้า | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ |
ถัดไป | นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล (รักษาการ) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 (0 ปี 311 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ตนเอง |
รัฐมนตรีช่วย | ยุทธศักดิ์ ศศิประภา |
ก่อนหน้า | สุกำพล สุวรรณทัต |
ถัดไป | ประวิตร วงษ์สุวรรณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2551–ปัจจุบัน) |
คู่อาศัย | อนุสรณ์ อมรฉัตร (สมรส 2538) |
บุตร | ศุภเสกข์ อมรฉัตร |
บุพการี |
|
ญาติ |
|
ความสัมพันธ์ | สกุลชินวัตร |
วิชาชีพ | นักธุรกิจ นักการเมือง |
ลายมือชื่อ | |
ชื่อเล่น | ปู |
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510) ชื่อเล่น ปู เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทย นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 28 และนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ด้วยวัย 44 ปี ถือเป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในรอบกว่า 60 ปี[1][2] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคเพื่อไทย กรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม
ยิ่งลักษณ์เกิดที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต ต่อมาเป็นผู้บริหารในธุรกิจที่ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ผู้เป็นพี่ชาย ก่อตั้งขึ้น ภายหลัง ยิ่งลักษณ์ได้เป็นประธานบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทักษิณ เสนอชื่อยิ่งลักษณ์เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไป ผลปรากฏว่า พรรคเพื่อไทยได้ผู้แทนราษฎร 265 ที่นั่ง นับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ไทยที่พรรคการเมืองพรรคเดียวครองเสียงข้างมากในสภา จากนั้น ยิ่งลักษณ์ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อจากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554[3]
ยิ่งลักษณ์พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยการยุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 และรักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากการรักษาการในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เนื่องจากการย้ายถวิล เปลี่ยนศรี จากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ[4]
ประวัติ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 เป็นบุตรของเลิศ ชินวัตร และยินดี ชินวัตร (สกุลเดิม ระมิงค์วงศ์) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมต้นจากโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย[5] เข้ารับพระราชทานปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สิงห์ขาวรุ่น 21) เมื่อปี พ.ศ. 2531 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2533 สำนักข่าวตันจุงของทางการเซอร์เบีย รายงานเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ว่า รัฐบาลเซอร์เบียได้ให้สัญชาติพลเมืองเซอร์เบีย
สกุลชินวัตร
ยิ่งลักษณ์เป็นบุตรสาวคนสุดท้องของเลิศ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และยินดี ชินวัตร ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าจันทร์ทิพย์ ระมิงค์วงศ์ (หลานตาของเจ้าไชยสงคราม สมพมิตร ณ เชียงใหม่ ซึ่งสืบเชื้อสายจากพระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา พระเจ้านครเชียงใหม่) ยิ่งลักษณ์มีพี่น้อง 10 คน ซึ่งรวมถึง ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี, เยาวเรศ ชินวัตร อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติ, เยาวภา วงศ์สวัสดิ์, และพายัพ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งยังเป็นน้องสะใภ้ของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ผ่านทางเยาวภาผู้เป็นพี่สาว
ยิ่งลักษณ์เป็นหลานอาของสุเจตน์ ชินวัตร อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และสุรพันธ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพลเอก ชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด โดยพลเอก ชัยสิทธิ์เป็นบุตรชายของพันเอกพิเศษ ศักดิ์ ชินวัตร ผู้เป็นพี่ชายคนโตของเลิศ ยิ่งลักษณ์ยังเป็นญาติของพลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผ่านทางคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยาของทักษิณอีกด้วย[6]
ลำดับสาแหรก
ลำดับสาแหรกของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ชีวิตส่วนตัวและครอบครัว
ยิ่งลักษณ์สมรสกับอนุสรณ์ อมรฉัตร อดีตผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และอดีตกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็มลิงก์เอเชียคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยมีธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นประธานในพิธีมงคลสมรส[8] แต่มิได้จดทะเบียนสมรส[9] โดยมีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคนคือ ศุภเสกข์ อมรฉัตร (ชื่อเล่น: ไปค์)[10]
อาชีพธุรกิจ
เมื่อปี พ.ศ. 2534 ยิ่งลักษณ์เริ่มเข้าทำงานที่บริษัทชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเทเลอินโฟมีเดีย จำกัด (มหาชน)) ซึ่งเป็นธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ฐานข้อมูลและการสื่อสาร ในตำแหน่งพนักงานฝึกหัดด้านการตลาดและการขาย หลังจากนั้นในปีเดียวกัน เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ จนกระทั่งสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายผลิตในเวลาต่อมา จากนั้น พ.ศ. 2537 จึงมาเป็นผู้จัดการทั่วไป ของบริษัทเรนโบว์ มีเดีย ซึ่งเดิมเป็นแผนกงานโฆษณา ของบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ไอบีซี; ปัจจุบันคือทรูวิชั่นส์) โดยตำแหน่งสุดท้ายก่อนลาออกจากไอบีซีคือรองกรรมการผู้อำนวยการ จากนั้นในปี พ.ศ. 2545 เข้าสู่แวดวงธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์และการสื่อสาร ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และรองกรรมการผู้อำนวยการสายงานตลาด บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ในเครือชิน คอร์ปอเรชั่น โดยขึ้นถึงประธานกรรมการบริหารบริษัทเป็นตำแหน่งสุดท้าย
หลังจากสกุลชินวัตรและดามาพงศ์ ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป ให้แก่เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ ของรัฐบาลสิงคโปร์ ยิ่งลักษณ์ก็ลาออกจากตำแหน่งในเอไอเอส โดยก่อนหน้านั้น เธอขายหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมด ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2548 เพื่อไปบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์คือ บริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัวชินวัตรโดยตรง ด้วยการเข้ารับตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ดูแลพอร์ตการลงทุนพัฒนาที่ดินทั้งหมดแทนบุษบา ดามาพงศ์ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 และยังเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี เมื่อปี พ.ศ. 2550 ในยุคที่ทักษิณเป็นประธานสโมสรฯ[11] นอกจากนี้ ยังเป็นอดีตที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการต่างประเทศ ของวุฒิสภา[12] ปัจจุบัน ยิ่งลักษณ์ดำรงตำแหน่ง กรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม เพื่อการศึกษาของเยาวชนและสาธารณกุศลต่าง ๆ ที่ทักษิณเป็นผู้ก่อตั้ง
บทบาททางการเมือง
พรรคเพื่อไทย
เมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบ ในราวปลายปี พ.ศ. 2551 และหลังจากนั้นก็มี ส.ส.กับสมาชิกพรรคจำนวนมาก ย้ายเข้าสังกัดพรรคเพื่อไทย ยิ่งลักษณ์ก็เป็นทางเลือกแรกของทักษิณ ที่จะให้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อย่างไรก็ตาม ยิ่งลักษณ์ปฏิเสธโดยกล่าวว่า ตนไม่เคยต้องการจะเป็นนายกรัฐมนตรี และเพียงแต่สนใจจะทำธุรกิจของตนเท่านั้น โดยเธอจะเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นบางครั้ง เฉพาะเมื่อทางพรรคส่งจดหมายเชิญเท่านั้น[13] ยงยุทธ วิชัยดิษฐจึงได้เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยแทน และในสมัยที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อัยการสูงสุดได้มีคำสั่งฟ้องนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมกับพวกอีก 28 คน ในคดีโครงการรับจำนำข้าว โดยมีข้อกล่าวหาว่าปล่อยปะละเลยให้มีการทุจริตโดยไม่ยับยั้ง ซึ่งศาลได้นัดพิจารณาคดีในวันที่ 25 สิงหาคม 2560 เวลา 9.00 น. ซึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่ได่เดินทางไปฟังคำพิพากษาจนกระทั่งนำไปสู่การออกหมายจับ กลายเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง[14]
การรั่วไหลของโทรเลขภายในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2554 เปิดเผยว่า ระหว่างการประชุมเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 อดีตรองนายกรัฐมนตรี และพันธมิตรใกล้ชิดกับทักษิณ (คาดว่าเป็นสมพงษ์ อมรวิวัฒน์) กล่าวแก่อีริก จี.จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยว่า เขาไม่คิดว่ายิ่งลักษณ์จะมีบทบาทสำคัญในพรรคเพื่อไทย และว่า "ตัวทักษิณเองไม่ได้กระตือรือร้น ที่จะยกเธอให้สูงขึ้นภายในพรรค และมุ่งให้ความสำคัญ ในการหาทางให้เขา ยังมีส่วนร่วมในทางการเมืองอยู่มากกว่า" อย่างไรก็ตาม โทรเลขภายในต่อมา ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 เอกอัครราชทูตหมายเหตุว่า ในการประชุมกับยิ่งลักษณ์ เธอพูดด้วยความมั่นใจเกี่ยวกับ "ปฏิบัติการ ยุทธศาสตร์และเป้าหมาย" ของพรรคเพื่อไทย และดูเหมือนจะมี "ความมั่นใจมากขึ้น" กว่าการประชุมครั้งก่อนมาก โทรเลขภายในอ้างถึงยิ่งลักษณ์โดยกล่าวว่า "บางคนสามารถปรากฏออกมาค่อนข้างช้าในเกม เพื่อจะควบคุมพรรคและเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป"[15]
ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อหมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย
ปลายปี พ.ศ. 2553 ยงยุทธ วิชัยดิษฐแสดงเจตจำนงว่าจะลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ท่ามกลางภาวะคาดการณ์ว่า จะมีการเลือกตั้งอย่างกะทันหันในช่วงต้นปี พ.ศ. 2554 ยิ่งเพิ่มการโต้เถียงภายในพรรค เกี่ยวกับผู้ที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ตัวเต็งคือยิ่งลักษณ์กับมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้นำการอภิปรายไม่ไว้วางใจต่อรัฐบาลผสม ซึ่งนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนถึงวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554 ยิ่งลักษณ์ยังคงไม่ยอมรับตำแหน่งหัวหน้าพรรค โดยย้ำว่าเธอต้องการมุ่งความสนใจไปยังการทำธุรกิจ อย่างไรก็ตามเธอได้รับการหนุนหลังจากนักการเมืองอาวุโส (คาดว่าเป็น ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง)[16]
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ที่ประชุมพรรคเพื่อไทยมีมติเลือกยิ่งลักษณ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อในลำดับที่ 1 เพื่อชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 3 กรกฎาคม[17] อย่างไรก็ตาม เธอมิได้เป็นหัวหน้าพรรค และมิได้เข้าร่วมเป็นกรรมการบริหารพรรค การตัดสินใจขั้นสุดท้ายเป็นของทักษิณ โดยเขาให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่า "เธอเป็นโคลนของผม" และ "เธอสามารถตอบ 'ใช่' หรือ 'ไม่' ในนามของผมได้"[18]
ยิ่งลักษณ์ระบุว่า การออกพระราชบัญญัติอภัยโทษหรือการนิรโทษกรรม ที่เสนอโดย ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุงนั้น "เป็นเพียงหลักและวิธีการ โดยหลักของส่วนนี้ต้องมาดูว่าจะได้อะไร และต้องมีคณะกรรมการทำหน้าที่พิจารณา โดยมีร้อยตำรวจเอกเฉลิมเป็นหัวเรือ" ร.ต.อ. เฉลิมระบุว่าความคิดนิรโทษกรรม ไม่ได้ให้ทักษิณเพียงคนเดียว แต่จะให้ทุกคน[19][20]
การรณรงค์เลือกตั้ง
พรรคเพื่อไทยเสนอนโยบายเพิ่มเงินกองทุนหมู่บ้านจากเดิมหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท เป็น 2 ล้านบาท แล้วเร่งพัฒนากองทุนหมู่บ้านให้เป็นธนาคารชุมชนขณะเดียวกันก็รื้อฟื้นกองทุน S M L เพื่อให้ประชาชนจัดงบประมาณและบริหารงบประมาณกันในชุมชนโดยหมู่บ้านขนาดเล็ก รัฐบาลจัดงบให้ 3 แสนบาท หมู่บ้านขนาดกลาง จัดงบให้ 4 แสนบาท และหมู่บ้านขนาดใหญ่ ได้ 5 แสนบาท [21]
ความปรองดองเป็นหนึ่งในเรื่องการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของยิ่งลักษณ์ หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง ที่กินเวลามาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เธอสัญญาว่าจะให้อำนาจแก่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) คณะทำงานซึ่งรัฐบาลนำโดยพรรคประชาธิปัตย์ตั้งขึ้น เพื่อสืบสวนกรณีการเสียชีวิตในระหว่างชุมนุมทางการเมืองเมื่อ พ.ศ. 2553[22] คอป. เคยแสดงท่าทีว่า งานของ คอป. ถูกขัดขวางโดยทหารและรัฐบาลอภิสิทธิ์[23] ยิ่งลักษณ์ยังเสนอให้นิรโทษกรรมทั่วไป แก่อุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเมืองทั้งหมดที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ซึ่งรวมไปถึงรัฐประหารครั้งนั้นด้วย คำพิพากษาที่ห้ามมิให้กรรมการบริหาร พรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง รวมถึงการยึดทำเนียบรัฐบาลกับท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย การสลายการชุมนุมของทหารในปี พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2553 และการวินิจฉัยคดีที่ทักษิณถูกกล่าวหาทางการเมือง ว่าละเมิดอำนาจ[24] ข้อเสนอดังกล่าวถูกโจมตีอย่างรุนแรงโดยฝ่ายประชาธิปัตย์ ซึ่งเชื่อว่าอาจเป็นไปได้ที่จะเป็นการนิรโทษกรรมเฉพาะทักษิณ และจะส่งผลให้เขาได้รับทรัพย์สินมูลค่า 46,000 ล้านบาทที่เคยถูกพิพากษาให้ตกเป็นของแผ่นดินคืน อย่างไรก็ตามยิ่งลักษณ์ปฏิเสธว่า เธอไม่มีเจตนาจะนิรโทษกรรมแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ประชาธิปัตย์ยังกล่าวโทษพรรคเพื่อไทยว่า เป็นต้นเหตุของการนองเลือด ระหว่างการสลายการชุมนุมของทหาร[25]
ยิ่งลักษณ์ยังอธิบาย "วิสัยทัศน์ 2020" ว่าจะกำจัดความยากจน[26] เธอสัญญาว่าจะลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% และลดถึง 20% ภายในปี พ.ศ. 2556 และเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน และค่าแรงขั้นต่ำสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือน นโยบายด้านการเกษตรของเธอ รวมไปถึงการเพิ่มกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (operating cashflow) ให้แก่ชาวนา และจัดหาเงินกู้ที่สามารถกู้ได้ มากที่สุดถึง 70% ของรายได้ที่คาดว่าจะได้รับ โดยอาศัยราคาจำนำข้าว 15,000 บาทต่อตัน[27] เธอยังวางแผนที่จะจัดเตรียมระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายสาธารณะ และคอมพิวเตอร์แบบรับข้อมูลด้วยการเขียนบนจอภาพ (แท็บเล็ตพีซี) แก่เด็กนักเรียนทุกคน ซึ่งเคยเป็นนโยบายของพรรคไทยรักไทย แต่กลับถูกรัฐประหารไปเมื่อปี พ.ศ. 2549 เสียก่อน[28] โดยผลสำรวจความคิดเห็นก่อนการเลือกตั้งเกือบทั้งหมดออกมาว่า พรรคเพื่อไทยจะได้รับชัยชนะเหนือประชาธิปัตย์อย่างถล่มทลาย[29]
ผลการเลือกตั้งและการจัดตั้งรัฐบาล
ผลการหยั่งเสียงหน้าคูหาเลือกตั้งชี้ว่า พรรคเพื่อไทยชนะอย่างถล่มทลาย โดยคาดว่าจะได้สูงถึง 310 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร[30] ผลอย่างเป็นทางการออกมาว่า พรรคเพื่อไทยได้ 265 ที่นั่ง โดยมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์ 75.03% มีบัตรเสียจำนวน 3 ล้านบัตร ซึ่งจำนวนที่มากนี้อาจเป็นสาเหตุของความแตกต่าง ระหว่างผลเอกซิตโพลกับการนับคะแนนอย่างเป็นทางการ เป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ไทยเท่านั้น ที่พรรคการเมืองเดียวจะได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรเกินกว่าครึ่ง โดยครั้งแรกเกิดขึ้นกับพรรคไทยรักไทยของทักษิณ
ยิ่งลักษณ์จัดตั้งรัฐบาลผสมอย่างรวดเร็ว กับพรรคชาติไทยพัฒนา (19 ที่นั่ง) พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (7 ที่นั่ง) พรรคพลังชล (7 ที่นั่ง) พรรคมหาชน (1 ที่นั่ง) และพรรคประชาธิปไตยใหม่ (1 ที่นั่ง) รวมแล้วมี 300 ที่นั่ง[31] รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประวิตร วงษ์สุวรรณกล่าวว่า เขายอมรับผลการเลือกตั้ง และหลังจากที่พูดคุยกับผู้บัญชาการเหล่าทัพแล้ว จะไม่เข้ามาแทรกแซงการเมือง[32] ด้านผู้บัญชาการทหารบก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งโดยปกติแล้วจะให้สัมภาษณ์วิจารณ์พรรคเพื่อไทย ปฏิเสธจะให้สัมภาษณ์ใด ๆ [33]
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ส่วนนี้ของบทความอาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
สภาผู้แทนราษฎรมีมติ 296 ต่อ 3 (งดออกเสียง 197 ไม่เข้าประชุม 4) เลือกยิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และมีการจัดเตรียมพิธีรับพระบรมราชโองการไว้พร้อมแล้ว ณ อาคารที่ทำการพรรคเพื่อไทย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันเดียวกัน แต่จากนั้นให้หลังอีกสามวัน จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีลงมา ในวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม ทว่าประกาศลงวันที่ 5 สิงหาคม[34][35] จากนั้นยิ่งลักษณ์จัดตั้งคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม และเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ ในวันที่ 10 สิงหาคม[36]
นักวิจารณ์รีบชี้ให้ความขาดประสบการณ์การเมืองของยิ่งลักษณ์ โดยว่า เหตุผลหลักที่เธอได้ตำแหน่งเพราะเป็นน้องสาวของ พ.ต.ท. ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งแนะว่า บทบาทหลักของเธอคือเพื่อผนึกกำลังผู้ภักดีต่อทักษิณ คือ ผู้ออกเสียงเลือกตั้งชนบทยากจนเป็นหลักผู้รักษาเขาในอำนาจ แล้วทำหน้าที่เป็นผู้แทนโดยเขาปกครองจากโพ้นทะเล[37]
การทูต
ยิ่งลักษณ์เดินทางเยือนต่างประเทศในฐานะนายกรัฐมนตรี 36 ประเทศ[38] เข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศ 21 ครั้ง[39][40]
มหาอุทกภัย
พ.ศ. 2554 ฤดูฝนในประเทศไทยมีระดับปริมาณน้ำฝนสูงที่สุดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา[41] อุทกภัยเริ่มทางภาคเหนือของประเทศ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่ยิ่งลักษณ์จะเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[42] อุทกภัยลุกลามจากภาคเหนือ ไปยังที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทางภาคกลางอย่างรวดเร็ว และจนถึงต้นเดือนตุลาคม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาถูกน้ำท่วมเกือบทั้งหมด อุทกภัยในประเทศไทยครั้งนี้ นับว่าเลวร้ายที่สุดในรอบมากกว่า 50 ปี ยิ่งลักษณ์จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในส่วนกลาง ราวกลางเดือนตุลาคม และออกตรวจเยี่ยมจังหวัดที่ประสบภัย ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม[43] ยิ่งลักษณ์ยังให้สัญญาว่า จะลงทุนในโครงการป้องกันอุทกภัยระยะยาว รวมทั้งการก่อสร้างคลองระบายน้ำ มาตรการลดอุทกภัยถูกขัดขวาง โดยการพิพาทระหว่างประชาชน จากสองฝั่งของกำแพงกั้นน้ำ โดยฝั่งที่ถูกน้ำท่วมเข้าทำลายกำแพงกั้นน้ำในหลายกรณี และบางครั้งส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้าด้วยอาวุธ[44][45] ผู้นำฝ่ายค้าน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และผู้นำทหาร เรียกร้องให้ยิ่งลักษณ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งให้อำนาจแก่ทหารมากขึ้น ในการรับมือกับปัญหาการทำลายกำแพงกั้นน้ำ[46] ยิ่งลักษณ์ปฏิเสธที่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยระบุว่าไม่ช่วยให้การจัดการอุทกภัยดีขึ้น เธอประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และออกประกาศให้พื้นที่ประสบอุทกภัยเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ซึ่งให้อำนาจรัฐบาลมากขึ้น ในการจัดการการควบคุมอุทกภัยและการระบายน้ำแทน[47]อย่างไรก็ตามเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากเกี่ยวกับการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติเนื่องจากพื้นที่ใดเมื่อเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจะได้รับเงินและงบประมาณลงไปในการช่วยเหลือพื้นที่นั้น[48]
การคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ และการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล
นับแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 มีการชุมนุมคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. .... ซึ่งเดิมวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. เป็นผู้เสนอร่าง แต่ภายหลังมีการแก้ไขในชั้นกรรมาธิการ นำโดยประยุทธ์ ศิริพานิชย์ รองประธานกรรมาธิการ และอดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย จนมีการคัดค้านจากพรรคประชาธิปัตย์ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี[49]
นอกจากนี้ การคัดค้านดังกล่าวยังมีนิสิต-นักศึกษา นักวิชาการบางส่วน พนักงานเอกชน และนักแสดงส่วนหนึ่ง ทั้งในการชุมนุมต่าง ๆ และในเครือข่ายสังคม[50] โดยนัดหมายให้เปลี่ยนภาพอวตาร ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นตามรูปแบบของป้ายจราจรทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสพื้นสีดำ มีข้อความว่า "คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม"[51] คนเสื้อแดงบางกลุ่มก็คัดค้านการนิรโทษกรรมแก่ผู้ใช้อำนาจบริหารและเจ้าหน้าที่รัฐในขณะนั้น ซึ่งออกและรับคำสั่งให้ใช้กระสุนจริงกับประชาชน อาทิ กลุ่มวันอาทิตย์สีแดง[52]
หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรีประกาศว่า สภาผู้แทนราษฎรลงมติถอนร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ และการปรองดองแห่งชาติอีก 6 ฉบับ ออกจากระเบียบวาระทั้งหมดแล้ว จึงขอเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม[53] ด้านสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ และแกนนำเวทีราชดำเนิน ประกาศว่าจะชุมนุมต่อ จนกว่ารัฐบาลจะเป็นผู้ถอนร่างเอง[54]
กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ได้จัดเวทีชุมนุมที่ลานอเนกประสงค์หลังสนามฟุตบอลเอสซีจี เมืองทองธานี ในวันที่ 10 พฤศจิกายน เหวง โตจิราการ ส.ส.พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ได้กล่าวว่า "การชุมนุมวันนี้มีคนเสื้อแดงกทม. ปริมณฑล และในภาคกลาง เดินทางมาร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมาก อาทิ จ.นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา ลพบุรี สระบุรี และสมุทรปราการ ทั้งนี้ แกนนำนปช.และพรรคเพื่อไทยได้ประสานความร่วมมือกันเดินสายจัดเวทีเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนและต่อต้านการล้มประชาธิปไตย ล้มล้างรัฐบาล"[55]
ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ของวุฒิสภานั้น มีสมาชิกจำนวนหนึ่ง ร้องขอให้ประธานวุฒิสภา นิคม ไวยรัชพานิช เลื่อนประชุมเป็นวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายนจากเดิมวันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน เพื่อลงมติถอนร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับดังกล่าวให้ตกไปโดยเร็ว อันจะเป็นการลดความตึงเครียด ของสถานการณ์บ้านเมือง แต่กลุ่ม 40 ส.ว. ไม่ยอมเข้าร่วมการประชุมในวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน แล้วรวมตัวกันอยู่ภายในห้องประชุมเล็ก อาคารรัฐสภา 2 โดยอ้างมติคณะกรรมการประสานงาน (วิป) วุฒิสภา ที่กำหนดให้มีการประชุม ในวันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน แม้ประธานวุฒิสภา และสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานคนที่หนึ่ง จะเข้าเจรจาให้ร่วมการประชุมแล้วก็ตาม[56] ซึ่งสมชาย แสวงการ สมาชิกกลุ่ม 40 ส.ว. ได้อ้างว่า ไม่พอใจการเลื่อนนัดวันประชุม โดยเชื่อว่าเป็นการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม[57] เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน วุฒิสภาลงมติเป็นเอกฉันท์ 141 เสียง ยับยั้งร่างพระราชบัญญัติฯ ไว้เป็นเวลา 180 วัน ก่อนจะส่งคืนให้สภาผู้แทนราษฎร[58]
การประท้วงต่อต้านรัฐบาลเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556 หลังช่วงที่การเมืองค่อนข้างมีเสถียรภาพนานสองปี จนวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์ประกาศทูลเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกาขอยุบสภาผู้แทนราษฎร[59] โดยคณะรัฐมนตรีจะยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
วันที่ 7 พฤษภาคม 2557 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ถอดถอนนายกรัฐมนตรีจากตำแหน่ง จากกรณีมีส่วนใช้อำนาจแทรกแซงการโยกย้ายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ พล.ต.อ. เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[60][61]
การสอบสวนการฉ้อราษฎร์บังหลวง พ.ศ. 2557
ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ยิ่งลักษณ์กำลังถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สอบสวนบทบาทในโครงการรับจำนำข้าวหลังดำเนินคดีฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างเป็นทางการกับรัฐมนตรีสองคน ป.ป.ช. จะตรวจสอบดูว่าเธอประมาทในฐานะประธาน กขช. หรือไม่[62] แม้เป็นประธานคณะกรรมการฯ แต่ยิ่งลักษณ์ยอมรับในการอภิปรายไม่ไว้วางใจปี 2556 ว่า เธอไม่เคยร่วมการประชุมของ กขช.[63]
วันที่ 8 พฤษภาคม 2557 ป.ป.ช. ตกลงอย่างเป็นเอกฉันท์ฟ้องคดีอาญายิ่งลักษณ์ในคดีฉ้อราษฎร์บังหลวงโครงการรับจำนำข้าว โดยอ้างว่าชาวนาหลายล้านคนยังไม่ได้เงิน[64][65][66]
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ปฏิเสธการเพิ่มหลักฐาน 72 ชิ้นในคดีรับจำนำข้าวของยิ่งลักษณ์ มีกำหนดการนั่งพิจารณาคดีถอดถอนจากตำแหน่งครั้งแรกในวันที่ 9 มกราคม 2558[67] มีการตั้งคณะกรรมาธิการซักถาม จำนวน 9 คน[68]
วันที่ 23 มกราคม 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติถอดถอนยิ่งลักษณ์ออกจากตำแหน่งฐานละเลยต่อหน้าที่ต่อโครงการรับจำนำข้าว เป็นผลให้เธอถูกห้ามเล่นการเมืองห้าปี นอกจากนี้ ยังถูกแจ้งข้อกล่าวหาทางอาญาต่อโครงการ ซึ่งอาจส่งผลให้ได้รับโทษจำคุกอีกหากพบว่ามีความผิด[37] หลังมีมติดังกล่าว ยิ่งลักษณ์ถูกห้ามแถลงข่าว[69]
หลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
วันที่ 19 มีนาคม 2558 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำสั่งประทับรับฟ้องคดีหมายเลขดำที่ อม.22/2558 ที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้องยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรณีปล่อยปละละเลยไม่ระงับยับยั้งการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว[70] เริ่มไต่สวนเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2559 และไต่สวนนัดสุดท้ายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2560[71]
วันที่ 1 สิงหาคม 2560 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรแถลงปิดคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีดังกล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่าหนึ่งปีหกเดือน รวม 26 นัดไต่สวนโดยไม่เคยขาดแม้แต่นัดเดียว ด้วยความมั่นใจในความบริสุทธิ์ว่าไม่ได้กระทำตามข้อกล่าวหาและไม่เคยได้รับการไต่สวนภายใต้หลักนิติธรรมจากป.ป.ช. และอัยการสูงสุดในฐานะโจทก์[72] ความตอนหนึ่งว่า
"ดิฉันไม่ได้ทำอะไรผิด แต่สิ่งที่ดิฉันทำ คือ การใช้ประสบการณ์ของผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่ง ที่เกิดในต่างจังหวัด มีโอกาสได้รับรู้ สัมผัสความทุกข์ยากแสนสาหัสของชาวไร่ชาวนา ซึ่งประเทศนี้เคยเรียกพวกเขาว่า เป็นกระดูกสันหลังของชาติ และเรียกร้องให้คนไทยทุกคน เกื้อหนุนดูแล และดิฉันก็ได้ทำแล้วในโครงการรับจำนำข้าว เป็นผลพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรมแล้วว่า ในช่วงที่มีโครงการรับจำนำข้าว ชาวนามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลูกหลานมีโอกาสเรียนต่อ นับเป็นความภูมิใจในชีวิต ที่ครั้งหนึ่ง ดิฉันได้มีโอกาสผลักดันนโยบายนี้ ให้กับชาวนา"[73]
วันที่ 25 สิงหาคม 2560 ซึ่งเป็นวันที่ศาลฯ นัดอ่านคำพิพากษา แต่ยิ่งลักษณ์ไม่มาศาลฯ จึงมีการออกหมายจับและริบเงินประกัน 30 ล้านบาท[74] มีรายงานว่ายิ่งลักษณ์หลบหนีออกนอกประเทศไปก่อนวันนัด มีการเลื่อนอ่านคำพิพากษาเป็นวันที่ 27 กันยายน 2560 อัตราโทษของยิ่งลักษณ์อาจมีโทษจำคุกสูงถึง 10 ปีและถูกห้ามเกี่ยวข้องกับการเมืองตลอดชีวิต[75] ในวันที่ 26 สิงหาคม 2560 สมาชิกอาวุโสพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า เธอหลบหนีออกนอกประเทศไปดูไบตั้งแต่สัปดาห์ก่อน[76] ศาลฯ มีคำสั่งออกหมายจับยิ่งลักษณ์[77] วันเดียวกันมีการอ่านคำพิพากษาในคดีระบายข้าวจีทูจี ว่า จำเลยมีความผิดฐานทำสัญญาซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐปลอม โดยศาลอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยให้จำคุกยิ่งลักษณ์ 5 ปีฐานปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริต[78]
ในเดือนเมษายน 2564 ศาลปกครองกลางเพิกถอนคำสั่งกระทรวงการคลังให้ยิ่งลักษณ์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในโครงการดังกล่าว ซึ่งกรมบังคับคดีอายัดไว้ 35,000 ล้านบาท ทั้งนี้ มีการนำทรัพย์สินไปขายทอดตลาดแล้วมูลค่า 49.5 ล้านบาท แต่ศาลพิเคราะห์ว่าหน่วยงานทั้งสองไม่มีเจตนากลั่นแกล้ง จึงไม่ต้องรับผิด[79]
เกียรติยศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[80]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[81]
- พ.ศ. 2553 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[82]
ปริญญากิตติมศักดิ์
- พ.ศ. 2556 : ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (The Honorary Award Ceremony) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งออกแลนด์ (Auckland University of Technology - AUT) เมืองออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ในฐานะที่มีบทบาทโดดเด่น เป็นที่ยอมรับในเวทีระหว่างประเทศ และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ที่ได้รับเลือกตั้งมาตามระบอบประชาธิปไตย[83]
รางวัลและการยกย่อง
- จากต่างประเทศ
- พ.ศ. 2554 : สตรีผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก ลำดับที่ 59 จาก นิตยสารฟอร์บส์[84]
- พ.ศ. 2554 : 12 สตรีผู้นำโลก จาก นิตยสารไทม์[85]
- พ.ศ. 2555 : 150 สตรีผู้สะเทือนโลก จากนิตยสารนิวส์วีค[86]
- พ.ศ. 2555 : สตรีผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก ลำดับที่ 30 จาก นิตยสารฟอร์บส์[87]
- พ.ศ. 2555 : สตรีตัวอย่างในด้านการจัดการภัยพิบัติ และผู้สนับสนุนบทบาทสตรีในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในภูมิภาคอาเซียน จากองค์การสหประชาชาติ[88]
- พ.ศ. 2556 : สตรีผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก ลำดับที่ 31 จาก นิตยสารฟอร์บส์[89][90][91]
ข้อวิพากษ์วิจารณ์
ส่วนนี้ของบทความอาจต้องปรับปรุงให้มีมุมมองที่เป็นกลาง เนื่องจากนำเสนอมุมมองเพียงด้านเดียว ดูหน้าอภิปรายประกอบ โปรดอย่านำป้ายออกจนกว่าจะมีข้อสรุป |
การซื้อขายหุ้นชินคอร์ป
ทักษิณ ขายหุ้นบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้แก่ยิ่งลักษณ์เมื่อ พ.ศ. 2543 จำนวน 2 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 10 บาท ซึ่งขณะนั้น ราคาหุ้นดังกล่าวที่ซื้อขายกันในตลาด มีมูลค่า 150 บาท ทำให้ยิ่งลักษณ์ได้ผลประโยชน์หรือส่วนต่างประมาณ 280 ล้านบาท โดยเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ซึ่งขณะนั้นเป็นสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร และประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาสอบสวนการทุจริต
ทั้งนี้ ในช่วงปลายปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงที่ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ มีการเจรจาขายหุ้นชินคอร์ปครั้งประวัติศาสตร์กว่า 70,000 ล้านบาท ให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก เพื่อขจัดข้อครหาผลประโยชน์แฝง ในการบริหารประเทศของทักษิณ[92] ที่ถูกกล่าวหาว่าอาศัยอำนาจทางการเมือง เอื้อต่อธุรกิจของครอบครัว[93]นั้น พบว่าระดับราคาหุ้นมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พบว่า ผู้บริหารกลุ่มชินคอร์ปก็มีการขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่น่าสังเกตว่า กรณีที่ยิ่งลักษณ์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในชินคอร์ปจำนวน 20 ล้านหุ้น ซึ่งได้ขายหุ้นให้กลุ่มเทมาเส็ก ไปพร้อมกับครอบครัวนั้น ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548-มกราคม พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจรจาการซื้อขายหุ้นอย่างชัดเจน โดยในช่วงเดือนเศษ มีการเทขายหุ้น บมจ.เอไอเอส 11 ครั้ง เป็นจำนวน 278,400 หุ้น ในระดับราคาตั้งแต่ 101-113 บาทต่อหุ้น ในกรณีนี้ถือเป็นข้อกังขาว่า ยิ่งลักษณ์ใช้ข้อมูลอินไซเดอร์หรือไม่ เพราะยิ่งลักษณ์เป็นหนึ่งในผู้ที่ตกลงขายหุ้นให้แก่เทมาเส็ก ยอมรับทราบข้อมูลการเจรจาตกลงเป็นอย่างดี การที่ขายหุ้น บมจ.เอไอเอสอย่างต่อเนื่องเช่นนั้น ในขณะที่ต่อมาทางกลุ่มผู้ซื้อ ประกาศทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หุ้น บมจ.เอไอเอส ในราคาเพียงหุ้นละ 72.31 บาท[94]
หุ้นเอสซีแอสเซต
ใน พ.ศ. 2543 มีการขายหุ้น บมจ.เอสซีแอสเสทคอร์ปอเรชั่น และบริษัทของครอบครัวชินวัตรอีก 5 แห่ง ให้บริษัทวินมาร์ค จำกัด (Win Mark Limited) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนที่หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน และวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2546 บจก.วินมาร์ค โอนหุ้น บมจ.เอสซีแอสเสทฯ ทั้งหมด ให้กองทุนรวมแวลูอินเวสเมนท์ (Value Investment Mutual Fund Inc.) หรือวีไอเอฟ และวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2546 วีไอเอฟโอนหุ้น บมจ.เอสซีแอสเสทฯ ทั้งหมดให้กองทุนโอเวอร์ซีส์โกรวธ์ (Overseas Growth Fund Inc.) หรือโอจีเอฟ และกองทุนออฟชอร์ไดนามิค (Offshore Dynamic Fund Inc.) หรือโอดีเอฟ
วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2546 วีไอเอฟสละสิทธิ์การซื้อหุ้นเพิ่มทุน บมจ.เอสซีแอสเสทฯ ในราคาพาร์ให้บุตรสาวสองคนของทักษิณ ทั้งที่ในการประชุมครั้งเดียวกันนั้น มีวาระให้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไป เพื่อนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยด้วย เป็นเหตุให้วีไอเอฟต้องเสียผลประโยชน์ จากส่วนต่างของราคาหุ้น ต่อมาใน พ.ศ. 2547 บจก.วินมาร์คขายหุ้นบริษัทของครอบครัวชินวัตร 5 แห่ง ให้พิณทองทา ชินวัตร และบริษัทของครอบครัวชินวัตรอื่นอีก 2 บริษัทรวมเป็นเงิน 18.8 ล้านดอลลาร์ โดย บจก.วินมาร์คไม่ได้รับประโยชน์จากการลงทุน ทำให้กรมสอบสวนคดีพิเศษสงสัยว่า บจก.วินมาร์ค วีไอเอฟ โอจีเอฟ และโอดีเอฟ อาจเป็นนิติบุคคลอำพรางการถือหุ้น (นอมินี) ของทักษิณและครอบครัว[95] อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าความเป็นธุรกิจของครอบครัวชินวัตร กับความวุ่นวายของคดีความที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าเอสซีแอสเสทหรือไม่ ยิ่งลักษณ์ตอบว่า "90% ของลูกค้าที่เข้าชมโครงการ รับรู้อยู่แล้วว่าธุรกิจเราเป็นของใครตั้งแต่ทำมา เพิ่งมีลูกค้าเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ขอเงินคืน หลังจากที่รู้ว่าเราเป็นใคร เพราะไม่มั่นใจว่าอนาคตเราจะเป็นอย่างไร"[96]
ยิ่งลักษณ์ยังถูกกล่าวหาว่า ช่วยทักษิณปกปิดทรัพย์สิน โดยยิ่งลักษณ์ได้รับหุ้น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น 0.68% จาก ทั้งหมด 46.87% ที่ทักษิณและคุณหญิงพจมานมีอยู่ เมื่อปี พ.ศ. 2542[97] และคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ระบุว่ายิ่งลักษณ์ทำธุรกรรมเท็จ โดยเธอกล่าวว่า "ครอบครัวของเธอตกเป็นเหยื่อทางการเมือง"
โดยภายหลังจากการพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงโดยผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถสรุปได้ ดังนี้[98]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กรณีโรงแรมโฟร์ซีซันส์ กรุงเทพ
ยิ่งลักษณ์ เดินทางไปปฏิบัติภารกิจส่วนตัวที่โรงแรมโฟร์ซีซันส์ย่านราชดำริ ในระหว่างที่มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีผู้นำไปวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง[99] จนก่อให้เกิดการยืนประท้วงกลางที่ประชุมสภาฯ ทำให้ต้องปิดการประชุมสภาฯ ในวันนั้นทันที[100] ร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ชวนนท์ เทพไท และศิริโชค นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ พูดจาสองแง่ สองง่าม ดูถูกความเป็นเพศหญิง[101]
ภายหลังที่ผู้ตรวจการแผ่นดินได้วินิจฉัยตามข้อเท็จจริงโดยยังไม่ถือว่านายกรัฐมนตรีขาดประชุมตามระเบียบว่าด้วยการลาการประชุมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548 จึงยังมิอาจถือได้ว่ามีพยานหลักฐานที่ชัดเจนว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551 การประชุมในวันดังกล่าวในช่วงแรก ๆ ของการประชุมยังไม่มีประเด็นที่นายกรัฐมนตรีจะต้องชี้แจงต่อที่ประชุม และเมื่อมีงานในความรับผิดชอบที่ต้องเร่งรัด เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน จึงมิได้อยู่ร่วมในห้องประชุมสภาในช่วงต้น แต่เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจในฐานะนายกรัฐมนตรี จึงเดินทางกลับเพื่อร่วมรับฟังโดยทั้งได้ลงชื่อการประชุมในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[102]
ส่วนกรณีร้องเรียนว่า นายกรัฐมนตรีเดินทางไปพบนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นทำให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าอาจเป็นเรื่องในทางชู้สาว ผู้ตรวจการฯ เห็นว่าสถานที่นั้นเป็นสถานที่เปิดเผยและมีผู้ร่วมเดินทางไปกับนายกรัฐมนตรีหลายคน ประกอบกับไม่มีประจักษ์พยานหรือพยานหลักฐานที่ชี้ชัดได้ว่ามีการกระทำส่อไปในทางชู้สาว จึงมิอาจถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551 จึงวินิจฉัยให้ยุติการพิจารณา[103]
จากการวิพากษ์วิจารณ์เหตุดังกล่าว เธอได้ฟ้องผู้ดำเนินรายการสายล่อฟ้า จำนวน 3 คน ได้แก่ ศิริโชค โสภา, เทพไท เสนพงศ์ และชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ในข้อหาหมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณา ศาลฎีกาพิพากษาเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 จำคุกจำเลยทั้งสาม คนละ 1 ปี ปรับคนละ 5 หมื่นบาท โดยให้รอลงอาญา 2 ปี[104]
อ้างอิง
- ↑ "Yingluck, Pheu Thai win in a landslide". Bangkok Post. 3 July 2011.
- ↑ CNN, Talking politics with Thailand's PM เก็บถาวร 2008-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 18 December 2008
- ↑ ประวัตินายกรัฐมนตรีคนที่ 28 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากเว็บไซต์รัฐบาลไทย
- ↑ ศาลรธน.ชี้ปู-รมต.ร่วมลงมติโยกถวิลพ้นเก้าอี้[ลิงก์เสีย], โพสต์ทูเดย์, 7 พฤษภาคม 2557
- ↑ ชีวประวัติ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เก็บถาวร 2011-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก กรุงเทพธุรกิจ
- ↑ "เบื้องลึก 'ตระกูลชินวัตร' ผู้สร้างนายกรัฐมนตรีไทยถึง 3 คน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-11. สืบค้นเมื่อ 2012-04-18.
- ↑ ทะยานจาก "สันกำแพง" เนชั่น สุดสัปดาห์ ฉบับที่ 454 วันที่ 12-18 ก.พ. 2544
- ↑ เข้าร่วมพิธีสมรส
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[ลิงก์เสีย] จาก สำนักงาน ปปช.
- ↑ สุขสันต์วันแม่กับคำถาม ลูกชายของ "นายกฯปู" มีชื่อเล่นว่า "ไปค์" หรือ "ไปป์" ? เก็บถาวร 2012-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. มติชน. (12 สิงหาคม 2554). สืบค้น 12-8-2554.
- ↑ ชีวประวัติจาก BLOOMBERG Business Week
- ↑ "ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการต่างประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-05. สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.
- ↑ ก๊ก"มิ่งขวัญ"ขวาง"ยิ่งลักษณ์"นั่งหัวหน้า พท. อ้าง"ผู้จัดการอำนาจ"ไม่ปลื้มนามสกุล"ชินวัตร". มติชน. (6 มกราคม 2554). สืบค้น 25-5-2554.
- ↑ บรรยากาศบ้าน “ยิ่งลักษณ์” ผ่านไปกว่า 5 ชั่วโมง ยังคงเงียบสงบ
- ↑ AP, US envoy in 2009 forecast rise of Thaksin's sister เก็บถาวร 2011-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 14 June 2011
- ↑ "Yingluck rules out taking Puea Thai helm", Bangkok Post, 28 January 2011
- ↑ มติเพื่อไทยเอกฉันท์ส่ง "ยิ่งลักษณ์" ลงปาร์ตี้ลิสต์เบอร์1, มติชน
- ↑ "Yingluck takes centre stage", Bangkok Post, 17 May 2011
- ↑ มอบ “เฉลิม” ดูเรื่องนิรโทษกรรม,22 พฤษภาคม 2554 คมชัดลึก หน้า 13,กรุงเทพ,“Chalerm” to look over Amnesty
- ↑ “พันตำรวจโท ทักษิณ” ต้องได้รับความยุติธรรม, 22 พฤษภาคม 2554, คมชัดลึก หน้า 13
- ↑ เปิดนโยบาย 'เร่งด่วน' รัฐบาล 'ยิ่งลักษณ์ 1', ไทยรัฐ, 23 ส.ค.54
- ↑ Straits Times, Yingluck: We'll reconcile, 3 July 2011
- ↑ Bangkok Post, One year on, truth about crackdown remains elusive, 21 April 2011
- ↑ Xin Hua, Profile: Yingluck Shinawatra, 4 July 2011
- ↑ Straits Times, Abhisit: It's us or chaos, 3 July 2011
- ↑ Daily News, ยิ่งลักษณ์เปิดวิสัยทัศน์ 2020 คนไทยหายจน, 2 June 2011
- ↑ Bangkok Post, “Credit cards for farmers and more”, 27 May 27 2011
- ↑ Yingluck Shinawatra, วิเคราะห์ โครงการคอมพิวเตอร์มือถือสำหรับนักเรียนทุกคน (One Tablet PC Per Child) ของพรรคเพื่อไทย, Thursday, June 30, 2011 at 5:46pm
- ↑ Abhisit concedes Democrats are behind Puea Thai, Asian Correspondent, 16 June 2011[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Yingluck Shinawatra opposition leads Thai exit polls". BBC News. 3 July 2011. สืบค้นเมื่อ 5 July 2011.
- ↑ Jagran Post, Yingluck to lead Thailand coalition; military accepts poll verdict, 5 July 2011
- ↑ Bangkok Post, Gen Prawit: Army accepts election, 4 July 2011
- ↑ Matichon, ประยุทธ์ จันทร์โอชา สัมภาษณ์พิจารณาเรื่องการเลือกตั้ง, 4 July 2011
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี [นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร], เล่ม ๑๒๘, ตอน พิเศษ ๘๗ ง, ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑
- ↑ มติชนออนไลน์, โปรดเกล้าฯ "ยิ่งลักษณ์" เป็นนายกฯแล้ว เจ้าตัวลั่นเป็นเกียรติยศอันสูงสุด จะไม่ทำเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง, 8 สิงหาคม 2554
- ↑ "New cabinet set up.", Thairath, 9 Aug 2011, สืบค้นเมื่อ 9 Aug 2011
- ↑ 37.0 37.1 "Profile: Yingluck Shinawatra" (ภาษาอังกฤษ). BBC. 2015-01-23. สืบค้นเมื่อ 2015-01-24.
- ↑ การเยือนต่างประเทศของนายกรัฐมนตรี
- ↑ เข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศ 21 ครั้ง
- ↑ เปิดสถิติทัวร์นอก'นายกฯปู' เกือบ2ปี บินแล้ว52ครั้ง กว่า41ประเทศ, ไทยรัฐ, 28 ส.ค.56
- ↑ CNN, World Business Times, 21 October 2011
- ↑ Bangkok Post, "North, Northeast inundated by effects of Nock-ten", 1 August 2011
- ↑ Bangkok Post, "Yingluck to visit flooded provinces", 12 August 2011
- ↑ Bangkok Post, "Death toll in ravaged provinces climbs to 37", 22 August 2011
- ↑ The Nation, "La Nina to raise risk of flooding", 23 August 2011
- ↑ The Nation, "Military wants PM to declare state of emergency in capital The Nation", 15 October 2011
- ↑ The Nation, Disaster warning issued for Bangkok เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 21 October 2011
- ↑ ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน[ลิงก์เสีย]
- ↑ คม ชัด ลึก ออนไลน์ 'ปชป.'เป่านกหวีดชุมนุมค้าน'นิรโทษกรรม' เก็บถาวร 2013-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 1-11-2556
- ↑ snook news กระแสแรง! ชาวเน็ต-ดารา ต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมสืบค้นวันที่ 9-11-2556
- ↑ mthai news ชาวเน็ตลุกฮือ เปลี่ยนรูป-ลงชื่อต้านนิรโทษสุดซอย วันเดียวกว่า3แสนชื่อแล้ว เก็บถาวร 2013-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นวันที่ 9-11-2556
- ↑ โพสต์ทูเดย์บก.ลายจุดนัดแดงชุมนุมต้านนิรโทษ10พ.ย.[ลิงก์เสีย]สืบค้นวันที่ 9-11-2556
- ↑ คม ชัด ลึก 'ปู'วิงวอน!ยุติชุมนุม-ย้ำนิรโทษถอนแล้ว เก็บถาวร 2013-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นวันที่ 9-11-2556
- ↑ ครอบครัวข่าว "สุเทพ"ประกาศชุมนุมต่อจนกว่ารัฐบาลจะถอนร่างนิรโทษ[ลิงก์เสีย]สืบค้นวันที่ 9-11-2556
- ↑ sanook news “เสื้อแดง“เต็มพรึ่บ! สนามฟุตบอลเมืองทองธานี แกนนำขนทัพขึ้นเวทีเพียบสืบค้นวันที่ 11-11-2556
- ↑ "นิคม"ถอยสุดซอย ยอม 40 ส.ว.เลื่อนลงมติร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม 11 พ.ย., มติชนออนไลน์, 8 พฤศจิกายน 2556.
- ↑ ไทยรัฐ40 ส.ว.อ้าง สิทธิชอบธรรม ไม่ร่วมประชุมวุฒิคว่ำนิรโทษสืบค้นวันที่ 11-11-2556
- ↑ โพสต์ทูเดย์ วุฒิสภามีมติคว่ำร่างนิรโทษกรรม[ลิงก์เสีย]สืบค้นวันที่ 11-11-2556
- ↑ นายกฯ ตัดสินใจทูลเกล้าพระราชกฤษฎีกา “ยุบสภา“ แล้ว
- ↑ "อวสาน "ยิ่งลักษณ์"พ่วง รมต. ! "ศาล รธน.ฟันสิ้นสุดความเป็นรมต.ย้าย "ถวิล" มิชอบใช้อำนาจเอื้อ "เพรียวพันธ์"". Manager. 2014-05-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-08. สืบค้นเมื่อ 2014-05-07.
- ↑ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง ประธานวุฒิสภาสงคำรองของสมาชิกวุฒิสภาเพื่อขอใหศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวา ความเปนรัฐมนตรีของ นางสาวยิ่งลักษณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๘๒ วรรคหนึ่ง (๗) ประกอบมาตรา ๒๖๘ และมาตรา ๒๖๖ (๒) และ (๓) หรือไม, ราชกิจจานุเบกษา, 10 กันยายน 2557.
- ↑ "Yingluck to be probed, ex-ministers charged on rice scheme". Post Publishing. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
- ↑ "PM Admits Rice Panel Absences". Post Publishing. สืบค้นเมื่อ 28 November 2013.
- ↑ "Ousted Yingluck to face impeachment over rice-pledging scheme". The Nation. Bangkok. 8 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-31. สืบค้นเมื่อ 2015-01-24.
- ↑ "Yingluck indicted on rice-pledging scheme". Xinhua. China. 8 May 2014.
- ↑ "Business lobbies, academics blast rice subsidies, govt's 'insincere' anti-graft sentiments". Thailand. 13 February 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-12. สืบค้นเมื่อ 2015-01-24.
- ↑ Shaohui, Tian (November 30, 2014). "Former Thailand's PM Yingluck Impeachment Case to Kick Off in Early 2015". Women of China. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-10. สืบค้นเมื่อ 30 November 2014.
- ↑ "ประกาศสภานิติบัญญัติแหงชาติ เรื่อง ตั้งคณะกรรมาธิการซักถาม กรณีถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหนง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 2015-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-04-02.
- ↑ "คสช. ประสาน "ยิ่งลักษณ์" งดแถลงที่เอสซีปาร์ค ตำรวจ-ทหาร ตรึงกำลังแน่น!". มติชน. 2015-01-23. สืบค้นเมื่อ 2015-01-24.
- ↑ ศาลฎีกาฯ คดีนักการเมือง รับฟ้อง “ยิ่งลักษณ์” ทุจริตจำนำข้าว นัดพิจารณาครั้งแรก 19 พ.ค. 2558
- ↑ โค้งสุดท้ายคดีจำนำข้าว ศาลอาญาฯ นัดฟังคำพิพากษา “ยิ่งลักษณ์” 25 ส.ค. นี้ – ประชาชนให้กำลังใจคับคั่ง
- ↑ ยิ่งลักษณ์ แถลงการณ์ปิดคดี
- ↑ คำกล่าวคดีของยิ่งลักษณ์
- ↑ McKirdy, Euan; Olarn, Kocha; Ly, Elaine (2017-08-25). "Arrest warrant issued for former Thai PM Yingluck Shinawatra". CNN. สืบค้นเมื่อ 2017-08-25.
- ↑ "Yingluck trial: Ex-PM 'flees Thailand' ahead of verdict". BBC. 2017-08-25. สืบค้นเมื่อ 2017-08-25.
- ↑ "Yingluck Shinawatra: former Thai PM fled to Dubai say senior party members". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 26 August 2017.
- ↑ LIVE! ช็อตต่อช็อต บันทึกไทม์ไลน์วันพิพากษาคดีประวัติศาสตร์จำนำข้าว รบ.ยิ่งลักษณ์
- ↑ "สั่งจำคุก 5 ปี ยิ่งลักษณ์ ไม่รอลงอาญา คดีจำนำข้าว". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 3 April 2021.
- ↑ "เปิดสาระสำคัญคำสั่งศาลปกครอง ทำไมยิ่งลักษณ์ไม่ต้องชดใช้ 3.5 หมื่นล้าน คดีจำนำข้าว". บีบีซีไทย. สืบค้นเมื่อ 3 April 2021.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์กรณีพิเศษ, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๒ ข หน้า ๑, ๖ เมษายน ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์กรณีพิเศษ, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๑, ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๒๒, ๕ มิถุนายน ๒๕๕๕
- ↑ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์. มติชนออนไลน์. 23 มีนาคม 2556
- ↑ World's 100 Most Powerful Women 2011
- ↑ "Top 12 Female Leaders Around The world". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-03. สืบค้นเมื่อ 2011-09-10.
- ↑ Newsweek and The Daily Beast Honor 150 Extraordinary Women
- ↑ World's 100 Most Powerful Women
- ↑ "นายกฯ"มอบ"ปลอดประสพ"รับรางวัลสตรีตัวอย่างด้านจัดการภัยพิบัติจาก"ยูเอ็น"แทน[ลิงก์เสีย] กรุงเทพธุรกิจ. 11 ตุลาคม 2555
- ↑ World's 100 Most Powerful Women 2013
- ↑ World's Most Powerful Women 2013
- ↑ ฟอร์บส์จัดอันดับ"ผู้หญิงทรงอิทธิพลที่สุดของโลก" แชมป์ยังหน้าเดิม "ยิ่งลักษณ์" ติดอันดับ 31
- ↑ ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ และ ปราณีย์ คชพร, 2554, หน้า 13
- ↑ ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ และ ปราณีย์ คชพร, 2554, หน้า 83
- ↑ กว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ จะงัวเงียตื่นก็ 11.37 น. ของ 23 มกราคม 27 January 2006
- ↑ "เอสซี แอสเสท" องค์กรซ่อนเงิน โดยชินวัตร ดามาพงศ์. สยามธุรกิจ. สืบค้นวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554
- ↑ ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ และ ปราณีย์ คชพร, 2554, หน้า 101
- ↑ "Special Report: Thaksin´s 76 bn THB asset seizure case". Bangkok. NNT. 10 February 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-20. สืบค้นเมื่อ 2011-06-14.
- ↑ ผู้ตรวจการแผ่นดินวินิจฉัยกรณี"โฟร์ซีซั่น"ของ"ยิ่งลักษณ์"ไม่ผิดจริยธรรม. มติชน. สืบค้นวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, เรื่องลับ ๆ ล่อ ๆ ที่ชั้น 7 โฟร์ซีซันส์ ก้าวย่างพลาดพลั้ง “ยิ่งลักษณ์” เก็บถาวร 2012-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, “ศิริโชค” ปัดเสียดสี “ปู” ยันเปรียบโฟร์ซีซั่นส์พื้นที่รับน้ำ เกรงผลประโยชน์ทับซ้อน เก็บถาวร 2012-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ มติชน, หมวดเจี๊ยบ ตอก ปชป. พูด 2 แง่ 2 ง่ามกรณีโฟร์ซีซั่นส์ ดูถูกศักดิ์ศรีความเป็นผู้หญิงของยิ่งลักษณ์
- ↑ มติชน, ผู้ตรวจการแผ่นดินวินิจฉัยกรณี"โฟร์ซีซั่น"ของ"ยิ่งลักษณ์"ไม่ผิดจริยธรรม
- ↑ มติชน, ผู้ตรวจการแผ่นดินวินิจฉัยกรณี"โฟร์ซีซั่น"ของ"ยิ่งลักษณ์"ไม่ผิดจริยธรรม
- ↑ "ฎีกายืนคุก 1ปี สามเกลอสายล่อฟ้าหมิ่น"ยิ่งลักษณ์ ว.5"". posttoday. 2019-01-24.
บรรณานุกรม
- ถนอมศักดิ์ จิรายุสวัสดิ์ และ ปราณีย์ คชพร (2011). บริหารคนบริหารงานสไตล์ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร. ปราชญ์ สำนักพิมพ์. ISBN 9786162520129.
แหล่งข้อมูลอื่น
- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เฟซบุ๊ก
- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เอกซ์ (ทวิตเตอร์)
- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่อินสตาแกรม
ก่อนหน้า | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ | นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 28 (ครม. 60) นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล (รักษาการ) (5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) |
ประยุทธ์ จันทร์โอชา | ||
สุกำพล สุวรรณทัต | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (ครม. 60) (30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557) |
ประวิตร วงษ์สุวรรณ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2510
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
- บุคคลจากอำเภอสันกำแพง
- สกุลชินวัตร
- ชาวไทยเชื้อสายแคะ
- ผู้มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- นักธุรกิจจากจังหวัดเชียงใหม่
- นักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- นายกรัฐมนตรีไทย
- นายกรัฐมนตรีสตรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อธรรม
- พรรคไทยรักษาชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้หนีคดี
- ผู้ลี้ภัยชาวไทย
- บุคคลในยุครัชกาลที่ 9