อนุตตมา อมรวิวัฒน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุตตมา อมรวิวัฒน์
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
(2 ปี 104 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
25 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
(0 ปี 166 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ถัดไปภักดีหาญส์ หิมะทองคำ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 เมษายน พ.ศ. 2515 (52 ปี)
เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2554–2561,2564–ปัจจุบัน)
ไทยรักษาชาติ (2561–2562)
คู่สมรสพ.ต.อ.ณกฤช บุญศักดิ์

อนุตตมา อมรวิวัฒน์ (ชื่อเล่น จิ๊บ) อดีตสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติ อดีตรองเลขาธิการ และอดีตรองโฆษกพรรคเพื่อไทย [1]อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตโฆษกกระทรวงการคลัง อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 7 และเป็นบุตรสาวของพลตำรวจเอก สมบัติ อมรวิวัฒน์

ประวัติ[แก้]

อนุตตมา อมรวิวัฒน์ เป็นบุตรสาวของพลตำรวจเอก สมบัติ อมรวิวัฒน์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กับนางอัญชลีพรรณ อมรวิวัฒน์ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ 2 ด้านรัฐศาสตร์ สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทสองสาขา คือ สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยบอสตัน กับสาขานโยบายเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และเป็นลูกพี่ลูกน้อง จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รัฐบาลของเศรษฐา ทวีสิน

การทำงาน[แก้]

อนุตตมา อมรวิวัฒน์ เริ่มทำงานภายหลังจากสำเร็จการศึกษา เป็นข้าราชการประจำกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ในตำแหน่ง นักวิชาการพาณิชย์ ระดับ 6 จากนั้นจึงเปลี่ยนแปลงสายงานมาเป็นอาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2] กระทั่งได้ลาออกจากงานอาจารย์ เพื่อลงสมัคร ส.ส. ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย ในเขต 7 กทม. แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[3] และต่อมาได้ย้ายไปเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ [4] ได้รับมอบหมายให้ดูแลเกี่ยวกับงานด้านสังคม โดยเฉพาะ นโยบายสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส หลังจากนั้นก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นอกจากนั้น ยังได้รับแต่งตั้งจากพรรคเพื่อไทย ให้ไปดำรงตำแหน่ง รองโฆษกพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556 และได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้รับตำแหน่ง รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย

สำหรับงานด้านสภาผู้แทนราษฎร เคยดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาคณะกรรมการวิสามัญ การแก้ไขรัษฎากร สภาผู้แทนราษฎร และเคยดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364016113&grpid=03&catid=&subcatid=
  2. เพื่อไทยเปิดตัว “วัน อยู่บำรุง-อนุตตมา อมรวิวัฒน์” สมัครส.ส.กทม.จาก มติชน
  3. "นายกฯ"ชี้มอง"อนุสรณ์-อนุตตมา"ที่ความสามารถ[ลิงก์เสีย]
  4. "แต่งตั้ง "ภักดีหาญส์" นั่งรองโฆษกประจำสำนักนายกฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-12. สืบค้นเมื่อ 2012-02-14.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๘๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๙๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕